Saturday, November 7, 2009

อาร์เจนติน่าบุกเกาะฟอล์คแลนด์

ประกอบ คุปรัตน์

แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลหลักจาก
Wikipedia

Updated: Sunday, November 08, 2009
Keywords: สงคราม, การเมือง, การปกครอง

ความนำ

ต่อเหตุการณ์ที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งประเทศก้มพูชา แต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา อันเป็นผลที่ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสองประเทศ จนระดับมีการเรียกเอกอัครราชฑูตกลับ และในที่สุด ใครคือผู้พ่ายแพ้

ผมนำบทความเรื่อง "อาร์เจนติน่าบุกเกาะฟอล์คแลนด์" นี้นำเสนอ เพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ทุกท่าน และแก่ผู้นำประเทศทั้งสองฝ่าย คือไทย และกัมพูชาที่ต้องมีความบาดหมางกันในเรื่องต่างๆ และต่อบทบาทอย่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องดิ้นรนกระวนกระวายที่จะกลับประเทศไทย จนกลายเป็นสาเหตุของการขัดแย้งในรอบใหม่

สำหรับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หากใช้สติและความอดทน และทบทวนการกระทำของท่านเอง และให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติแล้ว ท่านไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่จะเป็นความขัดแย้ังนี้

ในทางยุทธศาสตร์ บางครั้งฝ่ายเร่งรุก อาจกลายเป็นฝ่ายต้องมาตั้งรับ ส่วนฝ่ายตั้งรับนั้น หากมีจุดยืนอันเหมาะ มีความอดทน และมีการตอบโต้เพียงพอแก่สาเหตุ และกลายเป็นฝ่ายชนะ ทั้งนี้โดยต้องใช้สติและปัญญา ไม่วู่วาม โดยขอทุกฝ่าย ลองศึกษาประวัติศาสตร์การรบที่ "อาร์เจนติน่าบุกเกาะฟอล์คแลนด์ ดูเหมือนน่าจะชนะ แต่ก็เพียงช่วงสั้นมาก และในที่สุดมันนำหายนะมาสู่ประเทศ และนับเป็นความพ่ายแพ้ที่อาร์็เจนตินาไม่สามารถจะกลับไปแก้ไขอะไรได้อีกเลยเป็นเวลายาวนาน

อาร์เจนตินาบุก

ในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1982 กองทัพของรัฐบาลเผด็จการทหารของประเทศอาเจนติน่า (Argentina) ได้บุกหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ (Falkland Islands) ซึ่งเป็นอาณาบริเวณภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก (The South Atlantic) ซึ่งบริเวณดังกล่าว รวมถึง South Georgia และ South Sandwich Islands

ในระยะนั้น กองทัพของเผด็จการทหารของประเทศอาร์เจนติน่า ผู้ได้ครองอำนาจตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 ได้ใช้กำลังทหารบุกหมู่เกาะดังกล่าว เพื่อเบนความสนใจจากความล้มเหลวทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยการสร้างกระแสรักชาติของชาวอาเจนติน่าที่มีต่อหมู่เกาะดังกล่าวที่ถือว่าเป็นอาณาเขตของอาร์เจนติน่ามาแต่แรก ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น สหราชอาณาจักรซึ่งประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและต่อเนื่องหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในทางการทหารก็ได้มีการลดกำลังทหารในทะเลแอตแลนติกใต้ลง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย และอันที่จริงก็ได้พ้นยุคสมัยของการมีกองกำลังแบบอาณานิคมแล้ว

ในการสู้รบที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ คือ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1982 จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1982 นับเป็นเวลา 2 เดือน 12 วัน บริเวณที่มีการรบพุ่งคือ เกาะฟอล์คแลนด์ (Falkland Islands, South Georgia และท้องทะเลและอากาศโดยรอบ

อาร์เจนตินาแพ้

ผลของการสู้รบคือทำให้สหราชอาณาจักรได้รับชัยชนะทางการทหารโดยเด็ดขาด (Decisive British military victory) และยึดหมู่เกาะฟอล์คแลนดคืนมาได้ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของเผด็จการทหารนำโดยประธานาธิบดี Leopoldo Galtieri แห่งอาร์เจนติน่า

ในอีกด้านหนึ่ง เป็นการทำให้รัฐบาลของสหราชอาณาจักร นำโดยพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) ที่มีนายกรัฐมนตรีหญิง Margaret Thatcher ได้รับความนิยมจากคนอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และทำให้ครองอำนาจติดต่อกันมาอีกนับเป็นสิบปี

ความสูญเสีย

ในประวัติการรบได้มีบันทึกไว้ดังนี้

ในการบัญชาการรบในขณะนั้น ฝ่ายอาร์เจนติน่าคือ ประธานาธิบดี Leopoldo Galtieri มีนายทัพ คือ กองทัพเรือนำโดย Vice-Admiral Juan Lombardo, ในกองทัพภาคพื้นดิน นำโดย Brigadier-General Ernesto Crespo, และ Brigade-General Mario Menéndez

ฝ่ายสหราชอาณาจักร ผู้บัญชาการทัพคือ นายกรัฐมนตรีหญิง (Prime Minister) Margaret Thatcher, โดยมีฝ่ายทหารประกอบด้วย กองทัพสหราชอาณาจักร นำโดย พลเรือเอก (Admiral) Sir John Fieldhouse, พลเรือตรี (Rear-Admiral) John “Sandy” Woodward, พลตรี (Major-General) Jeremy Moore, พลจัตวา (Brigadier) Julian Thompson, และ พลเรือจัตวา (Commodore) Mike Clapp

ผลความสูญเสียทางการทหาร ของฝ่ายอาร์เจนติน่า คือ มีทหารสูญเสีย (killed) 649 คน บาดเจ็บ (wounded) 1,068 คน และถูกจับเป็นเฉลย (taken prisoner) 11,313 คน ในด้านยุทโธปกรณ์ที่สูญเสียคือ เรือลาดตระเวณ (cruiser) 1 ลำ, เรือดำน้ำ (submarine) 1 ลำ, เรือบรรทุกสินค้า (cargo vessels) 4 ลำ, เรือลาดตระเวณชายฝั่ง (patrol boats) 2 ลำ, และเรือลากอวนที่ใช้เพื่อสืบราชการลับ (spy trawler) 1 ลำ

ในด้านกองทัพอากาศ อาร์เจนติน่าเสียหายดังนี้ เฮลิคอปเตอร์ (helicopters) 25 ลำ, เครื่องบินต่อสู้ (fighters) 35 ลำ, เครื่องบินทิ้งระเบิด (bombers) 2 ลำ, เครื่องบินขนส่ง (transports) 3 ลำ, เครื่อง COIN aircraft 25 ลำ, เครื่องบินฝึก (9 armed trainers) 9 ลำ

ฝ่ายสหราชอาณาจักรเสียชีวิต (killed) 258 คน, บาดเจ็บ (wounded) 777 คน, และถูกจับเป็นเฉลย (taken prisoner) 115 คน ในด้านยุทโธปกรณ์ก็มีความสูญเสีย คือ เรือพิฆาต (destroyers) 2 ลำ, เรือรบเร็วขนาดเล็ก (frigates) 2 ลำ, เรือ LSL landing ship 1 ลำ, ยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (LCU amphibious craft) 1 ลำ, และเรือบรรทุกสินค้า (container ship) 1 ลำ

ทบทวนและเตือนสติ

ในด้านอากาศ สหราชอาณาจักรสูญเสีย เฮลิคอปเตอร์ (helicopters) 24 ลำ, และเครื่องบินต่อสู้ (fighters) 10 ลำ

ความจริง เรื่องอาจไม่เป็นเรื่องเลย หากประเทศอาร์เจนติน่าสามารถอดทนไปสักระยะ และใช้การเจรจา สหราชอาณาจักรก็จะต้องปล่อยหมู่เกาะฟอล์คแลนด์อยู่แล้ว เพราะไม่มีผลทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างไร หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุคล่าอาณานิคมก็ได้หมดไปแล้ว ประกอบกับความเป็นมหาอำนาจทางทะเลกำลังหมดไป ย่านหมู่เกาะห่างไกลอเมริกาใต้ ก็ไม่ใช่เขตเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร หมู่เกาะมีพื้นที่รวม (Total) 12,173 ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันมีประชากร (Population) เพียง 3,140 คน มีกิจกรรมธุรกิจเพียงการท่องเที่ยว

เมื่อมองย้อนกลับไป สหราชอาณาจักรมีทางเลือกที่จะตัดสินใจไม่มากนัก หากสหราชอาณาจักรจะยอมแพ้สงคราม ผลของความรู้สึกที่ชาติมหาอำนาจทางทะเลที่ยิ่งใหญ่มาหลายศตวรรษอย่างอังกฤษก็ต้องหมดไป พรรคอนุรักษ์นิยมก็ต้องพลอยเสื่อมความนิยมลงไปและอาจสูญเสียอำนาจไปในที่สุด ดังนั้นความเสี่ยงของเผด็จการทหารของประธานาธิบดี Leopoldo Galtieri จึงไม่ใช่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอาร์เจนติน่า นับเป็นความเสียหายของประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ ศักดิ์ศรี และการทหาร และการเจรจาเพื่อขอหมู่เกาะคืน ก็จะไม่สามารถกระทำได้ไปอีกเป็นเวลายาวนาน

No comments:

Post a Comment