Saturday, November 14, 2009

แผนธุรกิจ (Business plan) จุดเริ่มต้นของการดำเนินการ

แผนธุรกิจ (Business plan) จุดเริ่มต้นของการดำเนินการ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ธุรกิจ, business, การบริหารธุรกิจ, business management, ผู้ประกอบการ, entrepreneur, SMEs, การลงทุน, investment, แผนธุรกิจ, business plan, Cw154 ยุทธศาสตร์การจัดการ 


From Wikipedia, the free encyclopedia

ความนำ

ในการดำเนินกิจการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเพื่อผลกำไร การทำงานในภาครัฐ ภาคประชาสังคม ชุมชน ศาสนา ฯลฯ ล้วนต้องมีการวางแผนและเตรียมการ แต่การเตรียมการนั้นเป็นเรื่องที่คนไทยโดยทั่วไปไม่มีความคุ้นเคย ส่วนใหญ่เป็นการตอบสนองไปทีละสั้น มีปัญหาก็ค่อยปรับแก้กันไป แต่การมีแผนธุรกิจนั้น คือการต้องเตรียมการคิด เขียน ศึกษาหาข้อมูล ปรับเขียน รับฟังความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย และปรับปรุงไปสู่ความเป็นแผนธุรกิจที่มีความเป็นเหตุเป็นผลและรับได้ในฝ่ายที่เกี่ยวข้องสำคัญ

แผนธรกิจ (Business Plan) คือเป็นส่วนย่อของการที่เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ หรือผู้ประกอบการมุ่งหมายที่จะจัดการกิจการนั้นๆ และการมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นที่จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ ประสบความสำเร็จ เป็นการเขียนอธิบายรูปแบบธุรกิจ (Business Model)

A business plan is a summary of how a business owner, manager, or entrepreneur intends to organize an entrepreneurial endeavor and implement activities necessary and sufficient for the venture to succeed. It is a written explanation of the company's business model.

แผนธุรกิจ เป็นการมีไว้เพื่อใช้ในการจัดการ และการวางแผน และเพื่อจูงใจให้ฝ่ายสนับสนุนการเงิน เช่นธนาคาร ฝ่ายลงทุนได้เข้ามาใช้เงินลงทุนหรือให้การสนับสนุน

Business plans are used internally for management and planning and are also used to convince outsiders such as banks or venture capitalists to invest money into a venture.

แผนธุรกิจ นั้นจะมีลักษณะล้าสมัยได้ในเวลาอันรวดเร็ว บางฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงมักคิดว่าไม่ต้องไปให้ความสำคัญมากนัก แต่ไปให้ความสำคัญต่อกระบวนการวางแผน ซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องมีความเข้าใจที่กว้างขวางมากขึ้นเกี่ยวกับธุรกิจ และแนวทางที่จะมีโอกาสเลือก

ตัวอย่างเนื้อหาในแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจ อาจเป็นการรวบรวมแผนย่อยๆหลายๆ แผนที่รวมถึง แผนการตลาด (Marketing Plan) แผนการเงิน (Financial Plan) แผนการผลิต (Production Plan) หรือแผนการจัดการกำลังคน หรือทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Plan)

แผนธุรกิจ อาจเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะมีวัตถุประสงค์ และกลุ่มคนที่ต้องการสื่อความถึงที่แตกต่างกัน หากต้องการนำเสนอต่อธนาคารหรือแหล่งเงินสนับสนุน ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ถ้าต้องการสื่อไปยังคนทำงานภายใน เพื่อให้เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงตรงกัน ประสานงานกันได้ ก็จะสื่ออีกแบบหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเขียนหรือมีเอาไว้หลอกๆ แต่การมีเอกสารเพื่อการสื่อสารนั้นต้องให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้ต้องการรับสาระนั้นๆ ด้วย

แผนธุรกิจ อาจมีการเขียนได้หลายรูปแบบ แต่สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้จัดว่าจะพบเห็นโดยทั่วๆ ไป

บทคัดย่อสำหรับนักบริหาร (Executive summary)

อธิบายเกี่ยวกับพื้นฐานและรูปแบบของธุรกิจ – (explains the basic business model )
ให้เหตุผลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการ – (gives rationale for the strategy )
บางครั้งในการสื่อสารกับนักบริหารที่มีระดับสูงขึ้นไป เขามีเรื่องที่มาเกี่ยวข้องอยู่มาก จึงต้องมีการเขียนเอกสารย่อๆ หรือที่เรียกว่า Executive Summary ที่ทำให้เข้าใจได้ในภาพรวมๆ อย่างเร็วที่สุด เป็นการนำเสนอแต่ละในสาระที่สำคัญ แต่หากต้องการอ่านเพิ่มเติมก็จะมีเอกสารแผนที่สมบูรณ์แนบไปด้วย

ภูมิหลัง (Background)

อธิบายอย่างย่อๆ เกี่ยวกับประวัติของบริษัท/องค์กร (gives short history of company ) ยกเว้นในกรณีที่เป็นบริษัทตั้งใหม่ (unless it is a new company)

- ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์กร (provides background details such as: )
- อายุขององค์กร (age of company ) ก่อตั้งมาเมื่อใด และอย่างไร
- จำนวนพนักงานหรือคนทำงาน (number of employees )
- การขายหรือรายได้ต่อปี (annual sales figures )
- สถานที่ อาคาร และวัสดุอุปกรณ์ (location of facilities )
- ลักษณะความเป็นเจ้าของ (form of ownership including ) อ้นต้องอธิบายลักษณะดังต่อไปนี้
- เจ้าของเดี่ยว (sole proprietor )
- ความเป็นหุ้นส่วน (partnership )
- ผู้ประกอบการเพิ่งเริ่มธุรกิจ (entrepreneurial startup )
- วิสาหกิจเอกชนที่เริ่มดำเนินการ (private corporate startup )
- บริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (publicly traded corporation )
- บริษัทในลักษณะหุ้นส่วนจำกัด (limited liability company )
- เป็นของสาธารณะ หรือของรัฐ (public utility )
- องค์กรไม่แสวงกำไร (non-profit organization )
- ภูมิหลังของการบุคคล (background of key personnel including )
- ความเป็นเจ้าของ ใครเป็นเจ้าของ (owners )
- ผู้บริหารระดับสูง (senior managers )
- ผู้บริหารจากฝ่ายหุ้นส่วน (managing partners )
- หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์และวิจัย (head scientists and researchers )

การตลาด (Marketing)

ในธุรกิจนั้น ตลาดมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังที่เขาเรียกเศรษฐกิจในปัจจุบันว่าเป็นแบบ Market Driven คือมันผลักดันกันด้วยตลาด ของจะดีหรือไม่ส่วนหนึ่งคือความยอมรับในตลาด ของดีๆ บริการที่โดยเหตุผลแล้วน่าจะไปได้ดี แต่ตลาดไม่ได้ให้การยอมรับ มีความผิดพลาดแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ แต่ท้ายสุดทำให้กิจการนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินไปได้ดี สภาพแวดล้อมทางตลาดที่ต้องคำนึงถึงในแผนธุรกิจคือ

- สภาพแวดล้อมมหภาค (the macroenvironment) สภาพแวดล้อมภายนอก ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ชุมชนแวดล้อมอุตสาหกรรมนั้นๆ จะเอื้อต่อการผลิตสินค้าอย่างนั้นในตลาดหรือไม่ เช่น ในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของตลาดร่วม ASEAN สินค้าบางอย่างเป็นการแลกเปลี่ยนโดยไม่เสียภาษีระหว่างกัน นักลงทุนจากต่างประเทศ ก็มองการลงทุนในเขตหนึ่ง แล้วอาศัยการส่งออกไปยังอีก 9-10 ประเทศในภูมิภาคนี้ โดยได้สิทธิทางภาษี

- สภาพการแข่งขันในตลาด (the competitive environment) สภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้นๆ มีการแข่งขันกันรุนแรงมากน้อยเพียงใด หรือเป็นลักษณะกิจการใหม่ที่ยังไม่มีใครดำเนินการมาก่อน

- ลักษณะอุตสาหกรรม (the industry ) อุตสาหกรรมนั้นเกี่ยวกับอะไร ผลิตอะไรออกมา หรือให้บริการอะไร ยกตัวอย่างกิจการด้านการศึกษา ทั้งภาคราชการและเอกชน ต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพ แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง ดังเช่นโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย แม้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็มีพ่อแม่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

- ลักษณะลูกค้า ลำดับตามความสำคัญ (the customer priorities ) กลุ่มลูกค้าหลักและรองๆ ลงมา มีลักษณะเป็นอย่างไร มีความจำเป็นที่ต้องใช้สินค้าหรือบริการอย่างไร มีอำนาจการซื้อ หรือการจ่ายเงินสนับสนุนอย่างไร

- ยุทธศาสตร์ด้านผลิตภัณฑ์ (product strategy ) จะผลิตสินค้าหรือบริการให้ออกมามีลักษณะอย่างไร ที่จะตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าที่ได้ศึกษา

- ยุทธศาสตร์ด้านราคา (pricing strategy ) มีการตั้งราคาอย่างไร

- ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริม (promotion strategy ) มียุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการขายหรือการให้บริการอย่างไร หรือมีการส่งเสริมสินค้าและบริการด้วยการลด แลก แจก หรือแถม อย่างไร เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สินค้าและบริการนั้นได้รับการรู้จัก คุ้นเคย หรือได้รับการยอมรับในตลาด

- ยุทธศาสตร์ด้านการจัดส่ง (distribution strategy ) จะดำเนินการจัดส่งหรือให้บริการลูกค้าอย่างไร ต้องการให้ครอบคลุมกว้างขวางเพียงใด จะมีใครมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ดำเนินการด้านการจัดส่งสินค้าหรือให้บริการอย่างไร

การผลิต และกระบวนการอุตสาหกรรม (Production and manufacturing)

ในกิจการต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ หรือภาครัฐ ล้วนต้องมีกระบวนการผลิต หรือกระบวนการในการให้บริการ ทั้งนี้รวมถึงกระบวนการในวงการศึกษา ซึ่งกรอบในการที่จะใช้พิจารณาอย่างกว้างๆ มีดังต่อไปนี้

- อธิบายกระบวนการทั้งหมด (describe all processes) ในบางกรณีให้มีการนำเสนอเป็น Flow Chart ของกระบวนการผลิต

- ข้อกำหนดด้านสถานที่ อาคาร วัสดุเครื่องจักร หรือเครื่องมือที่ต้องใช้ (production facility requirements - size, layout, capacity, location )

- ข้อกำหนดด้านรายการที่ต้องมี (inventory requirements) การสำรวจวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว โกดังและพื้นที่จัดเก็บ- (raw materials inventory, finished goods inventory, warehouse space requirements)

- ข้อกำหนดด้านเครื่องมือ (equipment requirements ) มีความจำเป็นด้านเครื่องไม้เครื่องมืออย่างไร

- กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและอื่นๆ (supply chain requirements )

- รายการใช้จ่ายพื้นฐาน (fixed cost allocation ) มีความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่จะต้องใช้จ่าย หรือจำเป็นต้องมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะดำเนินการที่ประหยัดอย่างไร

การบริหารการเงิน (Finance)

เงินและทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด และต้องมีการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำแผนบริหารการเงินนั้น ก็เพื่อให้คำตอบแก่ผู้เกี่ยวข้องในกรณีต่างๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

- แหล่งเงินที่ใช้ (source of funds) จากเจ้าของ หุ้นส่วน ธนาคาร หรือแหล่งกู้ยืมต่างๆ

- แหล่งเงินกู้ยืมที่มี (existing loans and liabilities) การผูกพันด้านหนี้สินกับองค์กรหรือแหล่งเงินต่างๆ

- ประมาณการการขายและค่าใช้จ่าย (projected sales and costs ) ซึ่งอาจทำเป็นเกณฑ์ปานกลาง โดยพิจารณาจากโอกาสได้สูงสุด และโอกาสที่ได้ต่ำสุด และหาจุดปานกลาง

- การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (break even analysis) จุดที่ต่ำสุดแล้วยังอยู่ได้ แม้ไม่อยู่ในสถานะมีกำไร หรือเป็นการดำเนินการที่ดีนัก

- ผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected return ) คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนอย่างไร จะคุ้มกับการที่ได้ลงทุนไปแล้วภายในเวลากี่ปี คุ้มกับการที่ต้องไปกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือไม่

- รายงานกระแสเงินหมุนเวียนที่ปรากฏ (monthly pro-forma cash flow statement ) ในกรณีที่ต้องไปใช้แหล่งเงินทุน เช่น ธนาคาร เขาจะต้องการดูสภาพคล่อง กระแสเงินเข้าออก เพื่อดูว่าการปล่อยเงินให้กู้ไปนั้น ทางบริษัท/องค์กรจะมีความสามารถในการใช้เงินคืนได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาจากการประกอบการที่ผ่านมา

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resources)

การบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น หมายความว่าจะใช้คนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นคนจากภายในองค์การที่มีอยู่แล้ว หรือต้องสรรหาและคัดเลือกจากภายนอก จะมีระบบจูงใจคนมาร่วมงานอย่างไร จะพัฒนาเขาให้มีขีดความสามารถที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไร ฯลฯ

- การมอบหมายความรับผิดชอบ (assign responsibilities ) มีการจัดแบ่งความรับผิดชอบของคนทำงานกันอย่างไร อาจแสดงเป็น Organization Charts การแสดงให้เห็นว่าในแต่ละฝ่ายมีการจ้างคนกันอย่างไร ใช้คนในระดับใดบ้าง

- ความจำเป็นด้านฝึกอบรม (training required ) ในสภาพที่เป็นอยู่หากต้องมีการพัฒนาธุรกิจต่อไป จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมกำลังคนเพื่อรองรับงานใหม่ให้ได้นั้น ต้องมีการพัฒนากำลังคนกันอย่างไร เช่น ถ้าระบบธนาคารได้เปลี่ยนไปเป็นใช้ระบบ E-Banking นั้น กำลังคนที่มีอยู่ในระบบธนาคารนั้นๆ จะต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนคนส่วนเกิน เพราะระบบ Electronic มาทดแทนนั้น จะพัฒนาไปสู่อะไร ต้องมีขีดความสามารถที่เปลี่ยนไปอย่างไร และจะฝึกอบรมอย่างไร มีระบบแรงจูงใจหรือบท Sanction อย่างไร เมื่อเขาได้พัฒนาไปดังที่ต้องการ หรือไม่ได้ร่วมมือพัฒนาไปในทิศทางนั้นๆ

- ความจำเป็นด้านทักษะ (skills required ) ทักษะอะไรบ้างที่ต้องการพัฒนากำลังคนเมื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพการทำงานใหม่ มีทักษะอะไรบ้าง เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ภาษาต่างประเทศ ทักษะตัวเลข ทักษะการทำงานกับคน ประสานงาน การจัดการ การบริหารโครงการ การสื่อสาร การทำสัญญาขัอกำหนดทางกฎหมาย ฯลฯ

- ประเด็นเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน (union issues ) ในแผนธุรกิจนั้นต้องเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลง และอาจมีผลกระทบต่อแรงงาน บางครั้งต้องไปเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานอย่างไร เตรียมการอย่างไร ตัวอย่างในกิจการรัฐวิสาหกิจ เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต พนักงานรัฐวิสาหกิจเองไม่ประสงค์จะให้องค์กรถูกแปลงสภาพเป็นบริษัท (มหาชน) มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และขณะเดียวกันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังมีข้อคำถามว่าทรัพย์สิน เช่น เขื่อนที่กั้นน้ำอันเป็นทรัพย์สมบัติของแผ่นดินจะนำมาซื้อขายได้หรือไม่ สำหรับผู้บริโภค จะมีคำตอบให้ได้อย่างไรว่าค่าไฟฟ้าจะไม่มีการขึ้นราคากันอย่างเกินเหตุและไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้อยู่ในจุดพอเหมาะได้อย่างไร

- ระบบค่าตอบแทน (compensation ) ระบบค่าตอบแทนที่เป็นอยู่หรือกำหนดใหม่ จะตอบสนองจูงใจ และแข่งขันได้กับตลาดแรงงานอย่างไร

- ทักษะที่มีอยู่แล้ว (skills availability ) ทักษะหรือขีดความสามารถที่มีอยู่แล้วในองค์กร

- บุคลากรจ้างใหม่ (new hiring) ได้มีแผนในการจ้างบุคลากรใหม่อย่างไร ในปริมาณ และคุณสมบัติเฉพาะอย่างไร

ส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ในการดำเนินการส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาให้อยู่ในแผนธุรกิจนั้น อาจมีดังต่อไปนี้

- การดำเนินการด้านวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ มีการทดสอบทำเป็นโครงการนำร่องอย่างไร

- ยุทธศาสตร์ด้านกฎหมาย (legal strategies) ต้องมีการปรับปรุงด้านกฎหมาย หรือกฎระเบียบเพื่อรองรับอย่างไร ทั้งในด้านกฎหมายของประเทศหรือสังคมภายนอก และกฎระเบียบภายในองค์กรเอง เช่น ในด้านภายนอก การพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ให้เป็นระบบ Hybrid ในประเทศไทยนั้น ต้องมีการนำชิ้นส่วนจากภายนอกเข้ามาประกอบที่บางส่วนหากถูกพิจารณาว่าเป็นของสินค้าราคาแพง สิ้นเปลือง ถูกจัดเก็บภาษีสูง ก็ทำให้การดำเนินการนั้นเป็นได้ได้ยาก แต่หากกฎหมายยกเว้นให้เป็นงานวิจัย หรือพัฒนา เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคยกับนวตกรรมใหม่ ก็จะจัดเก็บภาษีในแบบพิเศษ หรือได้รับข้อยกเว้น ดังเช่นในวงการแพทย์ มีการยกเว้นไม่เก็บภาษียาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์บางรายการ

- การวิจัยการตลาด (marketing research) ก่อนที่จะดำเนินการนั้น หากคิดอย่างดีดลูกคิดรางแก้ว หรือมองแต่ในแง่ดี แต่ในสภาพข้อเท็จจริงไม่ได้มีการศึกษากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้เกิดข้อผิดพลาด เมื่อได้ดำเนินการไปจริงๆ จากการวิจัยแล้วได้ลองทดลองตลาดขนาดย่อยๆ ไปนำหน้าก่อน ก็จะทำให้รู้สภาพตลาดได้ดียิ่งขึ้น ความเสี่ยงก็จะลดลง

- ความร่วมมือระหว่างบริษัท (inter-company collaborations)ในการดำเนินการนั้นๆ จะต้องใช้บริษัทอื่นๆ ที่มีทักษะและวิทยาการที่เข้มแข็งที่ทางเราไม่มีอย่างไร และมีแผนความร่วมมืออย่างไรที่จะเป็นแบบ Win/Win คือทำให้ทั้งสองฝ่ายประสบความสำเร็จ แทนที่จะทำให้เป็นความสูญเปล่าแก่ทั้งสองฝ่าย

ลักษณะที่เป็นความเฉพาะของกิจการนั้นๆ และรวมไปถึงตลาดที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ

- แผนการตลาด (Marketing plan )
- แผน (Plan) โครงการ (Project) การจัดการหรือบริหารโครงการ (Project management)
- การจัดการด้านยุทธศาสตร์ (strategic management) การวางแผนยุทธศาสตร์ (strategic planning )

-----------------------------------------

2 comments:

  1. ตัวอย่างทำแผนธุรกิจเพื่อการศึกษา

    มีหน่วยงานพัฒนาระบบทดสอบภาษาอังกฤษในแบบออนไลน์ หรือเรียกว่า Internet Based Testing (IBT) ที่มีระบบทดสอบที่มีคุณภาพ เหมาะแก่การใช้งานตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับมหาวิทยาลัย รายละเอียดทางการเงินและค่าใช้จ่าย ผมจะเล่าให้ฟัง

    ต้องการส่งเสริมให้มีการใช้ระบบทดสอบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ระดับรวม 100,000 accounts แผนงาน 3 ปี ประเทศไทยมี Radio ที่ร้อยละ 20-25 ประเทศไทยมีประชากร 65 ล้านคน ใน SEA มีประชากร 550 ล้านคน

    ลองร่างแผนงานมาว่า ควรจะมียุทธศาสตร์ดำเนินการอย่างไร
    - ควรจะมีหน่วยงานอะไรที่เข้าไปมีส่วนร่วมบ้าง
    - ใครควรเป็น Strategic Partners ในประเทศไทย รัฐบาล หรือเอกชน
    - แผนการบริหารงานในช่วง 3 ปี ควรจะเป็นอย่างไร ใครรับผิดชอบ และอย่างไร
    - โดยรวมจะมีแผนงานการเงินอย่างไร รายจ่ายหลักอะไรบ้าง รายได้หลักควรจะมาจากอะไร

    ลองทำเป็นแบบฝึกหัด และส่งมาถึงผมได้ครับ

    ReplyDelete
  2. มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ReplyDelete