Wednesday, March 21, 2012

สังเขป ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์

สังเขป ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์

จากหนังสือรุ่นเทพศิรินทร์ 04-06,
ไม่ทราบชื่อผู้เขียน, เขียนเมื่อปี พ.ศ.
2506

เมื่อพระบาทสมเด็กพระปรมินทร์มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าอยู่หัวประปิยมหาราช ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติได้ ๙ ปี ทรงพระราชดำริว่า ในสมัยที่พระองค์ดำพระชันษาเข้าเบญจเพสมงคงนี้ จะทรงสร้าพระอารามหลวง เพื่อถวายพระราชกุศลสนิงพระเดชพระคุณแด่ สมเด็จพระเทพศิรินทร์ฯ บรมราชินี (รำเพย กมราภิรมย์) พระราชชนนี ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดที่ และสร้างพระราอารมขึ้น ณ ตำบลยศเส อำเภอป้อมปราบฯ ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ เมื่อเสร็จแล้ว พระราชทานนามว่า “วัดเทพศิรินทราวาส”

ครั้นต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้เริ่มมีการสร้างโรงเรียนสำหรับภาษาไทยขึ้นในบริเวณหน้าวัดทางตอนเหนือ ด้วยทุนบริจาคของสามเจ้าของ รวมทั้งเงินสมทบของรัฐบาล ดังมีรายการบริจาคดังนี้ สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์ ภาณุรังษีสว่างวงศ์ จำนวนเงินสมทบ ๑๕,๐๐๐ บาท เจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตกุล) จำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท พระยาโชฎึกราชเศรษฐ์ (มิ้น เลาหะเศรษฐ์) จำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท และเฉพาะตึกโชฎึก เลาหะเศรษฐี (ใช้เป็นตึกเรียนวิทยาศาสตร์) สร้างด้วยทุนบริจาคของพระยาโชฎึก ราชเศรษฐี เป็นเงิน ๑๑,๐๐๐ บาทและตึกที่สร้างด้วยทุนของสามเจ้าของนั้น รัฐบาลออกเงินสมทบสร้างอีก ๒,๐๐๐ บาท สร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระราชทานนามว่า “ตึกแม้นนฤมิต” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่าน แม้น (คุณแม้นภาณุพันธุ์ ณ กรุงเทพ) ชายาของสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์

ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ทางริมกำแพงรั้วแนวทิศใต้ตรงข้ามกับตึกแม้นนฤมิตได้สร้างตึกขึ้นอีกหลังหนึ่ง ด้วยทุนบริจาคอันเป็นมรดกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี เป็นจำนวนเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท สมทบด้วยเงินของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสัชชนาลัย สุรกัญญา กับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนอู่ทองเขตต์ขัตติยนารี อีกองค์ละ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑ แสนบาท พระราชทานนามตึกหลังนี้ว่า “ตึกเยาวมาลย์อุทิศ”

ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ รัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างตึกเพิ่มขึ้นอีกหลังหนึ่ง เคียงข้างตึกเยาวมาลย์อุทิศ เป็นคู่ข้ามกับตึกโชฎึกเลาหะเศรษฐี ตึกหนังนี้เป็นทุนบริจาคของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนอู่ทองเขตต์ขัตติยนารี ซึ่งทรงอุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระมารดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาถ ปิยมหาราชประดิวรัดา ด้วยจำนวนเงิน ๒๖,๒๘๐ บาท และได้ให้นามตึกว่า “ตึกปิยราชบพิตรประดิวรัดา” ซึ่งบัดนี้ใช้ชั้นบนเป็นห้องสมุด ชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์และห้องศิลปวิทยา (วาดเขียน)

โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์นี้ แต่เดิมใช้เป็นที่เล่าเรียนภาษาไทยอยู่ในความควบคุมของพระมหามงกุฏราชวิทยาลัย จัดการโดยท่านเจ้าอาวาส เวลานั้นหม่อมเจ้าศรีสุคตคัตยานุวัตร และมีชื่อเรียกว่าโรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาส ครั้นต่อมา มหามงกุฎราชวิทยาลัยงดจัดการแผนกโรงเรียนภาษาไทย แล้วกิจการของโรงเรียนก็โอนไปอยู่กับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการและทางกระทรวงได้จัดเป็นประเภทโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า ฝึกหัดครู ซึ่งย้ายมาจากโรงเลี้ยงเด็กคือโรงเรียนเบ็ญจมราชูทิศ ต่อมาได้ย้ายหลักสูตรฝีกหัดครูไปทกการสอนที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก คือ โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เดี๋ยวนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ และย้ายนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบเดิม ซึ่งในครั้งนั้นทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนสายสวลีสัณถาคาร โรงเลี้ยงเด็กมาอยู่โรงเรียนนี้ และใน พ.ศ. ๒๔๕๐ จึงได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมแผนกภาษาต่างประเทศ นับเนื่องในโรงเรียนประเภทโรงเรียนภาษาอังกฤษ และได้ชื่อเนื่องมาจากโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มตั้งขึ้นเป็นแผนกหนึ่ง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวังตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ และได้แก้ไขหลักสูตรการศึกษาให้ดีขึ้นโดยลำดับ

ถึง พ.ศ. ๒๔๕๖ ทางโรงเรียนได้รับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ แบ่งการสอนเป็นประถม ๓ ชั้น มัธยม ๗ ชั้น เรียกนามใหม่ว่า โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จัดเป็นโรงเรียนชั้นที่หนึ่ง ขึ้นอยู่ในแขวงพระนครใต้ ครั้น พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้งดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา คงให้มีแต่นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๑-๘ และต่อมาเมื่อแผนการศึกษาของชาติเปลี่ยนแปลงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงคงให้มีแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมปีที่ ๖ และต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางโรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๑-๒ และในปี ๒๕๐๐ ได้เลิกรับนักเรียนชั้นมัธยมต้นเสีย คงรับแต่ชั้นมัธยมปลาย (ม.๔) และเตรียมอุดมเท่านื้น มาในปีนี้ ชั้น ม.๔ เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ (ม.ศ.๑) ตามแผนการศึกษาชาติ ๒๕๐๔ ชั้นอื่นๆ ยังคงเดิมอยู่ ทางโรงเรียนเปิดรับสมัครสอบนักเรียนเข้าชั้น ม.ศ.๑ และชั้นเตรียมเพิ่มเติมในราวปลายเดือนมีนาคมทุกปีเป็นประจำ

เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาเกิดขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่ง ที่ต้องถูกภัยแห่งสงครามมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ การศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรกุลธิดาต้องชะงักลงชั่วขณะหนึ่ง และมรสุมแห่งการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทวีความรุนแรงขึ้น ในเมื่อปลายแห่งสงคราม เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฏาคม ๒๔๘๘ เครื่องบินจำนวนมากได้มาทำการทิ้งระเบิดทำลายบริเวณสถานีหัวลำโพง และเนื่องจากสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ไม่ห่างไกลจากจุดยุทธศาสตร์ครั้งนี้มากนัก จึงพลอยได้รับความเสียหาย ตึกแม้นนฤมิต กับ ตึก โชฎึกเลาหะเศรษฐี ต้องพินาศลงเหลือรูปเพียงซาก ตึกเยาวมาลย์อุทิศ กับ ตึกปิยราชบพิตรฯ ส่วนบนชำรุดเสียหายไม่น้อย แต่ยังพอซ่อมแซมได้ ไม่ถึงกับพังทลาย เมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้วสถานศึกษาทั่วๆ ไปของรัฐบาลเปิดทำการสอนตามปกติ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ซึ่งขาดตึกเรียน จึงจำเป็นต้องย้ายไปทำการสอนชั่วคราว ณ ศาลาในสุสานหลวงทางเบื้องหลังของวัด และโดยรีบด่วนกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยความอุปการะของวัด และความช่วยเหลืออย่างแข็งขันของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ซึ่งสมาชิกทุกท่านที่มีน้ำใจรักสถานศึกษาเดิมของตนเป็นอย่างมาก ได้จัดการในการซ่อมแซมตึกเยาวมาลย์อุทิศ และตึกปิยราชบพิตรฯ ให้ใช้เป็นสถานที่เรียนได้อีก เมื่อกลางปีการศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๙ และแล้วก็จับงานสร้างตึกโชฎึกเลาหะเศรษฐี เพื่อใช้เป็นตึกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ตรง ณ ที่เก่าสำเร็จใช้เป็นที่เรียนได้ในปีการศึกาษา ๒๔๙๑ แล้วก็ดำเนินการสร้างตึกแม้นนฤมิตต่อไป โดยอาศัยเค้าโครงตามรูปตึกเดิม เพียงแต่ดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อขยายให้ห้องเรียนกว้างขวางเหมาะยิ่งขึ้น เสร็จเรียบร้อยเมื่อยปลายเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๒ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส ตื้งนาตึกให้ใหม่ว่า “แม้นศึกษาสถาน” และได้มีพิธีเปิดตึกใหม่นี้เป็นทางราชการ ณ วันที่ ๔ ธันวามคม พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยประธานผู้สำเร็จราชการเป็นผู้ทรงพิธีเปิดผ้าคลุมป้าย และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาส (ถึงแก่มรณภาพแล้ว) เป็นผู้พิธีไขกุญแจตึก

ในปีการศึกษานี้ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์มีชั้นเรียนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๕ รวมจำนวนห้องเรียน ๑๑ ห้อง จำนวนนักเรียน ๘๑๒ คน ครูอาจารย์ ๔๒ คน.

No comments:

Post a Comment