Wednesday, March 28, 2012

มารู้จักรถโดยสารนักเรียน (School bus)

มารู้จักรถโดยสารนักเรียน (School bus)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก From Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: การศึกษา, รถโดยสารนักเรียน, School bus

รถโดยสารนักเรียน
School bus


บริษัทผู้ผลิตManufacturer

รายชื่อบริษัทผู้ผลิตรถโดยสารนักเรียน
List of school bus manufacturers

ขนาดความจุผู้โดยสาร
Capacity

จุได้ 10-90 คน ขึ้นอยธู่กับขนาดและรุ่น10-90 passengers, depending on model

ผู้ดำเนินการ
Operator(s)

เขตพื้นที่การศึกษา (school districts), ผู้รับจ้างเหมา (school bus contractors)

ข้อกำหนดรายละเอียด
Specifications

ขนาดความยาว
Length

Up to 45 feet (14 m)

ความกว้าง
Width

Up to 102 inches (2,600 mm)

ประตู
Doors

ประตูเข้าและออกด้านหน้า (Front entry/exit door); มีประตูฉุกเฉินด้านหลัง (rear emergency exit door)

น้ำหนักรถ
Weight

≤10,000–36,000 pounds (4,500–16,000 kg) (GVWR)

ข้อกำหนดทางเลือก
Options

ในแต่ละรัฐในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาอาจมีข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษที่แตกต่างกันออกไป

รถโดยสารนักเรียน (School bus) เป็นรถโดยสารประเภทหนึ่งที่ออกแบบและผลิตมาเพื่อการรับส่งนักเรียน นำเด็กและวัยรุ่นไปโรงเรียนและจากโรงเรียนกลับบ้าน และในกิจกรรมอันเกี่ยวกับการศึกษาของโรงเรียน รถโดยสารนักเรียนคันแรกเป็นรถที่ลากด้วยม้า มีขึ้นในปี ค.ศ. 1827 โดย George Shillibeer สำหรับสถานศึกษาชื่อ Newington Academy for Girls อันเป็นโรงเรียนในคริสต์ศาสนานิกายเควกเกอร์ (Quaker School) ที่เมือง Stoke Newington ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร (UK) ออกแบบมาเพื่อรับเด็กๆได้ครั้งละ 25 คน

ในอเมริกาเหนือ รถโดยสารนักเรียน (School buses) ถูกออกแบบให้แตกต่างจากรถโดยสารประเภทอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลของรัฐ/จังหวัด ในสหรัฐอเมริการัฐบาลกลางมีข้อกำหนดให้รถโดยสารนักเรียนต้องใช้สีเหลืองที่เรียกว่า “เหลืองรถโดยสารนักเรียน” (School Bus Yellow) มีอุปกรณ์เตือนภัยและรักษาความปลอดภัย บริการรถโดยสารนี้เป็นบริการที่เกือบจะไม่คิดค่าใช้จ่ายจากครอบครัว การรับส่งนักเรียนไปและกลับจากโรงเรียน ในช่วงหนึ่งซึ่งมีการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ได้มีการบังคับการเดินทาง (Desegregation busing) เพื่อทำให้เด็กนักเรียนต่างสีผิวกัน ต้องมีการได้เรียนร่วมกัน (Racial integration) รถโดยสารนักเรียนนี้มีลักษณะคล้ายกับรถโดยสารทั่วไปอื่นๆในอเมริกาเหนือ แต่มีการออกแบบเฉพาะบางอย่าง เช่นลักษณะที่นั่งแข็งแรง อาจมีเข็มขัดนิรภัย นั่งไม่สบายนัก เพราะเป็นการเดินทางช่วงสั้นระหว่างบ้านกับโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ที่ได้มีกำหนดขึ้นทั้งโดยรัฐบาลกลาง และรัฐบาลของแต่ละรัฐ อาจมีข้อกำหนดเรื่องไฟสัญญาณ หรือระบบติดตามควบคุมการเดินทางด้วยระบบสื่อสาร และหรือระบบนำทาง GPS (Global Positioning System)

ในที่อื่นๆของโลก รถโดยสารนักเรียนอาจมีรูปแบบและสีที่แตกต่างกันออกไป บางแห่งอาจใช้ประโยชน์แบบอเนกประสงค์ นอกเหนือจากการรับส่งนักเรียน บางแห่งอาจไม่มีกฏเกณฑ์จากรัฐบาลกลางมากนัก ดังเช่นในประเทศไทย มีการใช้รถกระบะ รถสองแถว รถตู้โดยสาร แม้แต่รถอีแต๋นมาใช้เพื่อการขนส่งโดยสารนักเรียน บางที่มีการแจกรถจักรยานสองล้อ เพื่อเป็นการเสริมกับระบบการศึกษาของราชการ

ในสหรัฐอเมริกากิจการรับส่งนักเรียนนับว่าเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ละปีประมาณว่ามีการขนส่งนักเรียนกว่า 10,000 ล้านเที่ยว ใช้รถโดยสารนักเรียนกว่า 480,000 คัน ขนนักเรียนประมาณ 26 ล้านคนไปและกลับจากโรงเรียน และในกิจกรรมเพื่อการศึกษาอื่นๆ มีนักเรียนกว่าครึ่งหนึ่งที่ใช้บริการรถโดยสารนักเรียน รถโดยสารนักเรียนนี้อาจได้มาด้วยการเช่า หรือซื้อโดยเขตพื้นที่การศึกษา (School districts) แต่บางเขตพื้นที่การศึกษาอาจใช้สัญญาเช่าเหมา (School bus contractors) ในกิจการรับส่งนักเรียน ในสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 40 ของเขตพื้นที่การศึกษาใช้การจ้างเหมาบริษัทเอกชน เพื่อการรับส่งนักเรียน ส่วนในแคนาดาใช้บริการจ้างเหมาเกือบจะทั้งหมด

ภาพ ด้านหน้าของรถโดยสารนักเรียนที่ใช้กันโดยทั่วไปในอเมริกาเหนือ

ภาพ ภายในรถโดยสารนักเรียนในสหรัฐอเมริกา

ภาพ รถโดยสารนักเรียนแบบ D (Type D) แบบเดียวกับรถโดยสารที่วิ่งในเมือง หรือระหว่างเมืองในสหรัฐอเมริกา (Transit-style)

ภาพ รถโดยสารแบบ C (Conventional) เป็นแบบดั่งเดิมที่มีใช้มากที่สุด ใช้โครงสร้างของหัวรถบรรทุก แล้ววางห้องโดยสารแบบยาวในแบบกล่องทางด้านหลัง

ภาพ รถโดยสารนักเรียนแบบ B (Type B) ซึ่งเลิกผลิตและไม่มีการใช้ไปแล้ว

ภาพ รถโดยสารนักเรียนแบบ A (Type A) เป็นรถโดยสารขนาดเล็กใช้วิ่งในเส้นทางที่ไม่มีนักเรียนมากนัก

ภาพ ที่นั่งภายในของรถโดยสารนักเรียน จะเป็นเบาะแบบสูงเพื่อรองรับการกระแทก หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

ภาพ ส่วนบนเป็นภาพรถโดยสารนักเรียนที่มีพบกันทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ส่วนตอนล่าง เป็นภาพรถโดยสารนักเรียนที่มีใช้ในสหราชอาณาจักร

ภาพ รถโดยสารนักเรียนที่ใช้ในประเทศเยอรมนีใช้รูปแบบ Transit เหมือนรถโดยสารทั่วไป ส่วนสีเป็นแบบสัญญลักษณ์ชาติเยอรมัน

ภาพ รถที่ใช้ในการเกษตร ดัดแปลงมารับส่งนักเรียน วิ่งได้ด้วยความเร็วต่ำ เด็กนักเรียนโดยสารด้วยการยืน

ภาพ รถโดยสารนักเรียน เขาเรียกกันว่า Nanny van หรือรถพี่เลี้ยงเด็ก ที่ใช้ Microbus ขนาด 12 ที่นั่งที่มีอยู่ทั่วไป แล้วใช้สีเหลืองรถโดยสารนักเรียน

ภาพ รถโดยสารนักเรียนแบบ Blue Bird TC/3000 ที่มีใช้ในเมือง Quebec ในแคนาดา ส่วนใช้ภาษาฝรั่งเศส

No comments:

Post a Comment