Thursday, April 30, 2009

Emilio Aguinaldo ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์



ภาพ Emilio Aguinaldo
ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org


แปลและเรียบเรียง
 จาก  Wikipedia, the free encyclopedia.

Keywords: ประิวัติศาสตร์ ฟิลิปปินส์

Emilio Aguinaldo
Order 1st President of the Philippines (President of the 1st Republic) ดำรงตำแหน่ง (Term of office) January 23, 1899 – April 1, 1901
ยังไม่มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี (Vice President None)

ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งต่อมา (
Predecessor)

เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1869
Cavite El Viejo (Kawit), Cavite
เสียชีวิตเมื่อ (Died) February 6, 1964 ณ เมือง Quezon City, Metro Manila ในปัจจุบัน

อีมิลิโอ อากินัลโด (Emilio Aguinaldo ) มีชื่อเต็มว่า Emilio Aguinaldo y Famy เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1869 และเสียชีวิตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 ด้วยโรคชรา เป็นชาวฟิลิปปินส์เลือดผสมเชื้อสายจีน เป็นนักการเมือง การทหาร ผู้นำต่อสู้ในการประกาศอิสรภาพแห่งประเทศฟิลิปปินส์ นำการสู้รบกับสเปนในสงครามประกาศอิสรภาพ Philippine Revolution และ ในภายหลัง ได้นำทัพในการสู้รับกับสหรัฐในสงคราม Philippine-American War


หากโฮเซ่ ริซาล (Jose Rizal) เป็นวีรบุรุษที่ทำหน้าที่ปลุกจิตใจรักชาติในเชิงความคิดและปัญญา อากินัลโดเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำในการต่อสู้ การเป็นนักรบ นักการทหาร และนักการเมืองในการต่อสู้กับทั้งสเปน และสหรัฐอเมริกา เพื่ออิสรภาพของประเทศฟิลิปปินส์


ชีวิตในช่วงแรก


อีมิลิโอ อากินัลโด เป็นบุตรคนที่ 7 ของจำนวน 8 คนอันเกิดจากบิดา คือนาย Carlos Aguinaldo และมารดา คือนาง Trinidad Famy เป็นครอบครัวลูกประสมเชื้อสายจีน พ่อของเขาเป็นบุคคลระดับหัวหน้าบริหารเมือง ( เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า gobernadorcillo หรือในภาษาอังกฤษว่า town head) ที่มีชื่อว่า Cavite El Viejo (ในปัจจุบันมีชื่อว่า Kawit), ในเขตจังหวัด Cavite โดยทั่วไปจัดว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี มีทรัพย์สมบัติและอำนาจ


เมื่อเป็นเด็ก อากินัลโดได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากภายในครอบครัว และได้เข้าโรงเรียนประถมศึกษา ในปี ค.ศ. 1880 เขาได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาที่ Colegio de San Juan de Letran แต่ต้องออกจากการศึกษาเพื่อกลับมาช่วยงานบ้าน ช่วยแม่ทำไร เนื่องจากพ่อได้ถึงแก่กรรม


เมื่ออายุได้ 17 ปี เขาได้รับเลือกตั้งให้ทำงานในตำแหน่ง cabeza ของหมู่บ้าน ( barangay) แห่ง Binakayan ซึ่งจัดเป็นบริเวณที่ก้าวหน้าที่สุดของ Cavite El Viejo เขาดำรงตำแหน่งอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลา 8 ปี และในระหว่างนี้เขาทำธุรกิจด้านการขนส่งระหว่างเกาะต่างๆ ท่องเที่ยวไปในทางตอนใต้ ไกลจนถึงหมู่เกาะ Sulu Archipelago


ในปี ค.ศ. 1893 เมื่อมีการปรับปรุงระบบบริหารท้องถิ่นใหม่ มีการปกครองเป็นแบบเมือง เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าเมือง เรียกว่า capitan municipal และในวันที่ 1 มกราคม ค..ศ. 1895 อากินัลโดได้รับเลือกเป็นผู้บริหารเมืองที่เรียกว่า Town Head และได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารเมือง (capitan municipal ) คนแรกของ Cavite El Viejo.


การปฏิวัติฟิลิปปินส์
Emilio Aguinaldo c. 1898

อากินัลโดได้เข้าร่วมกับกลุ่ม Katipunan brotherhood สมาคมลับนำโดย Andrés Bonifacio ทำหน้าที่ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของฟิลิปปินส์ เขาได้ร่วมในการทำสงครามกับสเปน สู้รบกู้ชาติ โดยอยู่ภายใต้การนำของนายพล Baldomero Aguinaldo จนได้รับตำแหน่งนายพลภายในไม่กี่เดือนของการทำสงครามกับสเปน ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1896 เขาได้ร่วมสู้รบในสงครามมาตลอด แต่ในระยะต่อมา ได้ขัดแย้งในด้านการนำการต่อสู้ และการจัดตั้งรัฐบาลกับ Bonifacio ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มมาแต่เดิม Bonifacio แพ้ในคะแนนเสียง แต่ไม่ยอมรับการจัดตั้งรัฐบาลที่มี Aguinaldo เป็นผู้นำ Bonifacio ถูกจับได้ โดยมีการนำขึ้นศาล และถูกตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1897 ในข้อหาทรยศต่อกองทัพ


การต่อสู้กับสเปน Biak na Bato


การต่อสู้กับสเปนมีความรุนแรงยิ่งขึ้น


การบุกของฝ่ายสเปนเพิ่มความรุนแรง และทำให้ฝ่ายกองกำลังของ Katipunan ต้องถอยเข้าสู่ป่า แต่ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1897 ได้มีการทำความตกลงกันที่เรียกว่า Pact of Biak-na-Bato และตามข้อตกลงมีการจ่ายเงินให้ 400,000 pesos อากินัลโดพร้อมด้วยผู้นำกบฎคนอื่นๆ สมัครใจที่จะไปลี้ภัยที่ฮ่องกง อากินัลโดรับเงิน แต่ได้หลบลี้ภัยภายในประเทศและใช้เงินในการสั่งสมอาวุธเพื่อการปฏิวัติฟิลิปปินส์ต่อไป


ตามข้อตกลงนี้ได้มีการจัดตั้ง Supreme Council เพื่อการบริหารงานและดูแลให้เป็นไปตามข้อตกลง อีมิลิโอ อากินัลโด ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี Mariano Trias เป็นรองประธานาธิบดี ผู้รับตำแหน่งคนอื่นๆ ได้แก่ Antonio Montenegro ว่าการต่างประเทศ (Foreign Affairs) Isabelo Artacho ว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือภายในประเทศ (the Interior) Baldomero Aguinaldo ว่าการคลัง (Treasury) และ Emiliano Riego de Dios ว่าการกระทรวงสงคราม (for War)


เมื่ออีมิลิโอ อากินัลโด กลับคืนประเทศในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1898 เขาได้กลับมาเริ่มกิจกรรมปฏิวัติต่อสู้กับสเปนต่อ โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสหรัฐ


ช่วงสงคราม Spanish-American War


การเข้าร่วมกับอเมริกันในการสู้รบกับสเปน


ในปี ค.ศ. 1898 ในสงคราม Spanish-American War อากินัลโดได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐเพื่อรับการสนับสนุนในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และเขาได้รับสัญญาณที่จะต่อสู้ร่วมกับสหรัฐเพื่อขับไล่สเปน ซึ่งเขาได้กระทำ และสามารถจับเชลยฝ่ายสเปนได้ 15000 คน และได้ส่งให้นายพลเรือ Dewey. แต่หลังจากนั้นสัมพันธภาพกับฝ่ายอเมริกันก็เริ่มเลวร้ายลงเมื่อฝ่ายสหรัฐไม่แสดงความสนใจที่จะให้อิสรภาพและยอมรับอธิปไตยแห่งชาติของฟิลิปปินส์ แต่กลับส่งกำลังทหารเข้ายึดครองฟิลิปปินส์แทนสเปน อากินัลโดได้ประกาศอิสรภาพแห่งชาติในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 และมีการร่างรัฐธรรมนูญ และเลือกประธานาธิบดีในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1899


สงครามฟิลิปปินส์กับสหรัฐ
Philippine-American War


การประกาศสงคราม วันเสียงปืนแตก


ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899 มีชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งถูกยิงโดยฝ่ายทหารอเมริกันที่สะพาน San Juan bridge เหตุการณ์นี้จัดเป็นวันเริ่มต้นของสงครามฟิลิปปินส์กับสหรัฐที่เรียกว่า Philippine-American War การต่อสู้ฝ่ายอเมริกันมีกำลังที่เหนือกว่าทั้งด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ทหารฝ่ายฟิลิปปินส์ต้องล่าถอยไป รัฐบาลแห่งชาติ (Malolos government) ต้องอพยพพลัดถิ่นไปตั้ง จากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง
การล่าถอย
อากินัลโดได้นำการต่อต้านการยึดครองของสหรัฐ และได้ย้ายไปยัง Luzon ตอนเหนือ โดยมีฝ่ายอเมริกันไล่ติดตามไป ได้มีโทรเลขจากอากินัลโดรับโดยนายพล Antonio Luna ผู้เป็นนายพลที่ชาญฉลาด แต่มีลักษณะโอ่อ่า และเป็นคู่แข่งกับอากินัลโดในกองทัพ เพื่อนัดไปพบ ณ Cabanatuan, Nueva Ecija โดยพบกันที่โบสถ์แห่ง Cabanatuan


Luna ได้ไปตามที่นัดหมายในสามวันต่อมา แต่พบว่าอากินัลโดยไม่พร้อมที่จะพบ ณ ที่นัดหมาย และขณะที่เขาจะจากไป ได้ถูกยิงและแทงจนถึงแก่ความตายโดยคนของอากินัลโดที่ไม่พอใจในท่าทีของ Luna และที่วัดนี้เองที่ Luna ได้ถูกฝัง


หลังจากนั้นอีกไม่ถึง 2 ปี อากินัลโดถูกจับที่ Palanan, ใน Isabela ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1901 โดยนายพล Frederick Funston แห่งกองทัพสหรรัฐ เพราะมีคนฟิลิปปินส์หักหลังและแจ้งเบาะแส โดยอาศัยแสร้งทำเป็นพวกฟิลิปปินส์ยอมจำนนต่อพวกกองกำลังของฟิลิปปินส์


นายพล Funston ได้ให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ แต่ขณะเดียวกันได้ยื่นข้อเสนอที่จะไว้ชีวิตหากอากินัลโดยอมที่ประกาศสวามิภักดิ์ต่อสหรัฐ


อากินัลโดได้ยอมแพ้ต่อฝ่ายสหรัฐในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1901 และเป็นการจบความเป็นสาธารณรัฐครั้งแรก เป็นการยอมรับความีอธิปไตยเหนือฟิลิปปินส์ แต่ส่วนอื่นๆ ก็ยังมีการสู้รบต่อไป
Presidency of the First Republic of the Philippines

ในยุคที่อากินัลโดสถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีคนแรกของฟิลิปปินส์นั้น เขาได้แต่งตั้งนายกรัฐมตรี 2 คน คือ Apolinario Mabini และ Pedro Paterno.


คณะรัฐมนตรีนำโดย Mabini ประกอบด้วย


1. Apolinario Mabini – ว่าการต่างประเทศ (Foreign Affairs)
2. Mariano Trias – ว่าการคลัง (Finance ) 3. Teodoro Sandico – ว่าการมหาดไทย หรือกิจการภายใน (Interior ) 4. Baldomero Aguinaldo – ว่าการสงคราม (War ) 5. Gracio Gonzaga – ว่าการสวัสดิการสังคม (Welfare )

คณะรัฐมนตรีนำโดย Paterno ประกอบด้วย


1. Leon Ma. Guerrero – ว่าการเกษตร อุตสาหกรรม และการค้า (Agriculture, Industry and Commerce อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการสังคม (Welfare)
2. Hugo Ilagan – ว่าการคลัง (Finance ) 3. Felipe Buencamino – ว่าการต่างประเทศ (Foreign Affairs ) 4. Severino de las Alas – ว่าการมหาดไทย ผInterior ) 5. Aguedo Velarde – ว่าการการศึกษา (Public Instruction ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจการสังคม - Welfare) 6. Maximo Paterno – ว่าการงานสาธารณะ และการสื่อสาร (Public Works and Communications เดิมเป็นส่วนหนึ่งของกิจการสังคม Welfare) 7. Mariano Trias – ว่าการสงคราม หรือกลาโหม (War )

การยึดครองโดยสหรัฐ
U.S. Occupation


ในขณะที่สหรัฐยึดครองฟิลิปปินส์ บทบาทของอากินัลโดได้ถูกลดทอนลงแต่เป้าหมายของเขาคือการได้ประเทศฟิลิปปินส์ที่มีอิสรภาพ เขาสนับสนุนกลุ่มที่เรียกร้องเพื่อความเป็นอิสระของฟิลิปปินส์ และช่วยทหารผ่านศึกษา เขาได้ร่วมจัดตั้งสมาคมทหารผ่านศึกกู้ชาติ (Association of Veterans of the Revolution) ซึ่งสมาชิกจะได้รับการจัดหาด้านเบี้ยบำนาญ และช่วยในการจัดหาที่ดินทำกินที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลอเมริกันอนุญาตให้ฟิลิปปินส์ได้ใช้ธงชาติในปี ค.ศ. 1919 อากินัลโดได้เปลี่ยนบ้านของเขาที่ Kawit ให้เป็นอนุสรสถาน และปัจจุบันได้กลายเป็น Aguinaldo Shrine

การเลิกมีบทบาท


อากินัลโดได้เกษียณตนเองจากชีวิตการต่อสู้จนกระทั่งเมื่อมีการเลือกตั้งเพื่อเตรียมประเทศสู่ความเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1935 เขาได้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แข่งกับ ฟิลิปปินส์เชื้อสายสเปน ชื่อ Manuel L. Quezon อากินัลโดเป็นฝ่ายแพ้ แต่ได้ทำการประท้วง และได้มีการตกลงที่จะเปลี่ยนวันชาติเป็นวันที่ 12 มิถุนายน อันเป็นวันประกาศอิสรภาพของฟิลิปปินส์

สังคมและวัฒนธรรมของประเทศฟิลิปปินส์

สังคมและวัฒนธรรมของประเทศฟิลิปปินส์
Philippines: Society and Culture

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ประเทศฟิลิปปินส์, Philippines,

ชนเผ่า


เด็กๆ ในชนเผ่า Negritos มีลักษณะคล้ายพวกเงาะป่าในประเทศไทยตอนใต้ ปัจจุบันได้มีการผสมเผ่าพันธุ์กับชนเผ่าอื่นๆ จนมีเหลือที่เป็น Negritos แท้ๆ ไม่มากนัก


นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าดั่งเดิม Negritos หรือ Aetas มีลักษณะคล้ายเงาะป่าในประเทศไทย แต่คนกลุ่มนี้มีเหลือไม่มากด้วยการมีผสมเผ่าพันธุ์ไปกับชนกลุ่มอื่นๆ ปัจจุบันมีเหลือไม่เกิน 30,000 คน ส่วนพวกประชากรลูกประสมที่เรียกว่า Mestizo มีอยู่ร้อยละ 2 แต่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก จากการศึกษาเผ่าพันธุ์ Stanford genetic study ชาวฟิลิปปินส์มีเลือดผสมที่มาจากยุโรปประมาณร้อยละ 3.6

สำหรับชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์และกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือชาวจีน มีเป็นร้อยละ 3 ของประชากร ที่เหลือนอกนั้นมีกระจัดกระจาย เช่น อเมริกาเหนือ (North Americans) สเปน (Spaniards) และพวกชาวยุโรป (Europeans) เมกซิกันจากทวีปอเมริกาตอนกลาง (Mexicans) และจากประเทศทางอเมริกาใต้ (Latin Americans) มีบางส่วนจากอาหรับ (Arabs) จากเอเซียใต้ (South Asians) ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesians) จากเอเซียตะวันออกอย่างเกาหลี (Koreans) ญี่ปุ่น (Japanese) เวียดนาม (Vietnamese) และผู้อพยพจากเอเซียอื่นๆ ,


ในลักษณะดังกล่าวจึงจัดได้ว่าประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชนกลุ่มต่างๆ หลากหลายมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเซีย ในช่วงหลายทศวรรษหลัง รัฐบาลพยายามทำให้ประเทศมีความเป็นหนึ่งเดียวทางวัฒนธรรมมากขึ้น แต่ก็ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชนต่างๆ ในประเทศที่ต้องการสงวนวัฒนธรรมและฐานรากทางภาษาของตนไว้ โดยมองว่ารัฐบาลพยายามทำให้ความหลากหลายนั้นถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมกระแสหลักของชาติที่เป็นพวกพูดภาษาตากาลอก (Tagalog)


ภาษา Languages


ดังได้กล่าวแล้วประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้ภาษาพูดมากกว่า 170 ภาษา เกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มภาษาที่เรียกว่า Western Malayo-Polynesian language อ้นมีพื้นฐานภาษามาจากภาษาในตระกูล Austronesian แต่ตามรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1987 ภาษาตากาลอก และภาษาอังกฤษ คือภาษาของทางราชการ


ภาษาถิ่นอีก 12 ภาษา อ้นมีการพูดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ภาษาเหล่านี้ได้แก่ Tagalog, Cebuano, Ilokano, Hiligaynon, Waray-Waray, Bikol, Kapampangan, Pangasinan, Kinaray-a, Maranao, Maguindanao, และ Tausug. อันภาษาตากาลอค (Tagalog) จัดเป็นภาษาถิ่นที่มีการใช้มากที่สุด เป็นภาษาที่เป็นภาษาพูดเป็นฐาน แต่มีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นการออกเสียง ซึ่งคล้ายกับภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียตนามที่ใช้ฐานภาษาพูดของตน แต่ใช้ตัวอักษรเป็นภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรแบบโรมันเป็นฐานในการออกเสียง


ภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ Spanish, จีน Hokkien, จีน Cantonese, Indonesian, Sindhi, Punjabi, Korean, และ Arabic.


ศาสนา Religion


ประเทศฟิลิปปินส์จัดเป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีคนนับถือนิกายโปรเตสแตนท์มากเป็นอันดับ 13 ของโลก มีนับถืออิสลามมากเป็นอันดับที่ 40 เป็นพวกนับถือฮินดูมากเป็นอันดับที่ 7 และนับถือพุทธศาสนามากเป็นอันดับที่ 17 ของโลก


แต่โดยส่วนใหญ่จัดว่าเป็นพวกนับถือคริสตศาสนา ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์เป็นชาวคริสเตียน และร้อยละ 83 เป้นโรมันแคธอลิก และร้อยละ 9 เป็นชาวโปรเตสแตนท์ แม้ชาวฟิลิปปินส์จะได้รับอิทธิพลด้านศาสนาจากตะวันตกมาก แต่ก็ยังมีพวกนับถือประเพณีท้องถิ่นเดิม


ภาพ Jaime Cardinal Sin ผู้มีบทบาทอย่างมากใน
ช่วงการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตย

โรมันคาธอลิกมีอิทธิพลต่อทั้งรัฐบาลและกิจกรรมของเอกชนทั่วไป แม้ในรัฐธรรมนูญจะได้มีการแยกศาสนาออกจากรัฐ ในปัจจุบันประเทศมีพระระดับ Cardinals 2 รูป คือ Ricardo Cardinal Vidal และ Jose Cardinal Sanchez ศาสนามีอิทธิพลทางการเมืองสูง ดังเช่น พระ Jaime Cardinal Sin ผู้ได้เสียชีวิตไปแล้ว ได้เป็นผู้นำทางวิญญาณและมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างรัฐบาลสมัยประธานาธิบดีมาร์คอส (People Power I) และรวมถึงการขับไล่ประธานาธิบดีเอสตราดา (People Power II) ในกรุงมะนิลามีโบสถ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงชือ Manila Cathedral

พวกนิกายโปรเตสแตนท์เป็นอิทธิพลมาจากอเมริกาเหนือ โดยมีพวกนักบวชเผยแพร่ศาสนามาประจำอยู่ โดยมีคริสเตียนในสายท้องถิ่นอิสระอยู่ 2 กลุ่ม อันได้แก่ Aglipay (Philippine Independent Church) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1902 และ กลุ่ม Iglesia Ni Cristo (Church of Christ) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1914 นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Eliseo Soriano-นำโดยพวก Members Church of God International, ซึ่งเรียกโดยชาวท้องถิ่นว่า กลุ่ม Ang Dating Daan ซึ่งเป็นกลุ่มคริสเตียนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสมาชิกกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

ร้อยละ 5 ของชาวฟิลิปปินส์เป็นมุสลิม พวกที่อยู่ในเขตที่ราบจะเป็นพวกอิสลามทั่วไป แต่ในพวกที่เป็นชาวเขาอาศัยในแถบมินดาเนา ห่างไกลความเจริญ จะเป็นพวกประสมความเชื่อกับไสยศาสตร์ (Animism)

วัฒนธรรม Culture


วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นลักษณะวัฒนธรรมลูกประสมที่ได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน เมกซิกัน อเมริกา อาหรับ และมาเลเซีย ในปัจจุบัน อิทธิพลหลักๆ ของฟิลิปปินส์น่าจะมีด้วยกันอย่างน้อย 3 สาย คือพวกสเปน จีน และอเมริกัน


อิทธิพลจากสเปน


อิทธิพลวัฒนธรรมจากสเปนและเมกซิโก เรียกว่า Hispanic Influences ที่มีมากว่า 300 ปีในช่วงการปกครองแบบอาณานิคม จะเห็นได้จากความเชื่อในศาสนาคาธอลิก งานประเพณีทางศาสนา ในทุกปี ฟิลิปปินส์จะมานรื่นเริง อันเรียกว่า Barrio Fiesta เป็นการฉลองนักบุญของเมือง หมู่บ้านและเขตการปกครองต่างๆ มีการประกอบพิธีทางศาสนา การเดินขบวนในเมืองฉลองนักบุญ การจุดพลุไฟ การประกวดความงามและการเต้นรำ รวมทั้งมีการตีไก่


ภาพ มหาวิทยาลัยซานโต โธมัส
ในมหานครมะนิลา (Manila)

มหาวิทยาลัยซานโต โธมัส (The Pontifical and Royal University of Santo Tomas) เป็นมหาวิทยาลัยในศาสนาแคธอลิกของฟิลิปปินส์ มีชื่อเรียกย่อๆว่า UST มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกขนในศาสนาแคธอลิก ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1611 โดย archbishop Miguel de Benavides นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในฟิลิปปินส์ และในเอเซีย และจัดเป็นมหาวิทยาลัยแคธอลิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีนักศึกษา ประมาณ 37000 คน

อิทธิพลจากจีน

ภาพ หากดูในแผนที่ ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ไม่ห่างจากฝั่งของประเทศจีนนัก

อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีน จะพบได้จากอาหาร ซึ่งอาหารของฟิลิปปินส์นั้นจัดได้ว่าเป็นเหมือนอาหารจีน มีรสชาติค่อนข้างไม่เผ็ดร้อนนัก ไม่เหมือนอาหารพื้นบ้านของไทย ฟิลิปปินส์นิยมกินก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเส้น เรียกว่า Mami เช่นเดียวกับอาหารจานเนื้ออื่นๆ นอกจากนี้คือภาษาจีนที่ชาวจีนในฟิลิปปินส์นิยมพูดกันในหมู่ชุมชนของตน


อิทธิพลจากอเมริกัน


ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐ 14 ปี แต่ได้รับอิทธิพลจากอเมริกันอย่างมาก

สหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งที่คนมีการศึกษาในฟิลิปปินส์นิยมไปแสวงหาโชค การหางานทำมากที่สุด
อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอเมริกัน นับว่ามีการแพร่หลาย ดังเช่น การพูดและใช้ภาษาอังกฤษ

ในด้านกีฬาจะเห็นได้จากกีฬาบาสเก็ตบอล (basketball) ซึ่งจัดเป็นกีฬายอดนิยมของชาติ กีฬาทำชื่อเสียงให้กับฟิลิปปินส์อื่นๆ ได้แก่ ชกมวย ว่ายน้ำ ศิลปะการต่อสู้ นักมวยของฟิลิปปินส์ที่ทำชื่อเสียงในระดับนานาชาติมีเช่น Manny Pacquiao., แชมเปี้ยนบิลเลียด ได้แก่ Efren Reyes, แชมเปี้ยนหมากรุกได้แก่ Eugene Torre.สำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลฟิลิปปินส์มีทีมอาชีพและมีการจัดการแข่งขันที่มีบริษัทและองค์กรสนับสนุนอย่างดีและมีผู้ชมหนาตา

ภาพ นักมวยชาวฟิลิปปินส์ Manny Pacquiao ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

อาหารการกิน


อาหารจานด่วน (Fastfood) อันเป็นวัฒนธรรมแบบตะวันตก สามารถเติบโตได้อย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ ดังเช่น McDonald จากสหรัฐอเมริกา หรือเป็น Jollibee อันเป็นร้านอาหารแบบ Franchise ที่ดำเนินการโดยชาวฟิลิปปินส์เอง
ภาพ MacDonald's ในฟิลิปปินส์

ภาพ ร้านอาหารจานด่วน MacDonald ของสหรัฐ
กับร้าน Jolibee ที่เป็นของท้องถิ่น

ร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) เป็นอิทธิพลมาจากอเมริกัน ซึ่งโดยเปรียบเทียบชาวฟิลิปปินส์จะชื่นชมอาหารจานด่วนมากว่าชาวไทย เครือร้านอาหารเหล่านี้ได้แก่ McDonald's, Pizza Hut, Burger King, KFC, Kenny Rogers Roasters, Wendy's, Shakey's, Carl's Jr. นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารจานด่วนของท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน ได้แก่ Jollibee, Greenwich Pizza, Chowking, และ Max's Fried Chicken และยังมีอื่นๆ อีกมาก
ภาพ สัญญลักษณ์ Jollibee ร้านอาหารจานด่วนประเภท Hamburger ในประเทศฟิลิปปินส์

อาหารตะวันตกแบบทำง่ายกินง่ายมีขายตามร้านอาหารหรือรถเข็นริมทางทั่วไป ได้แก่ Hamburgers, hotdogs, และ ice cream ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอเมริกันอย่างเห็นได้ชัด

วัฒนธรรมดนตรี

หากท่องเที่ยวไปในประเทศภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วได้ยินเสียงร้องเพลงตามสถานเริงรมย์ของประเทศต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นเพลงสากล เขาว่าให้เข้าใจเสียว่า นักร้องนักดนตรีเหล่านั้นอาจมาจากฟิลิปปินส์

วัฒนธรรมดนตรีเป็นลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งที่ได้รับมาจากตะวันตก คนฟิลิปปินส์จะชอบร้องรำทำเพลง และสามารถเล่นดนตรีตะวันตก ตลอดจนการร้องที่ต้องฝึกเสียงอย่างดีเป็นมาตรฐาน มาจากการสวดและร้องเพลงในโบสถ์ และร้องเพลงเป็นกันแทบทุกคน จึงไม่แปลกใจว่าในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะมีศิลปิน นักแสดงของฟิลิปปินส์มาประกอบอาชีพและหารายได้อยู่มากมายทั่วไป รวมทั้งในประเทศไทย

รถโดยสาร Jeepney

ภาพ Jeepney รถสองแถวของฟิลิปปินส์

Jeepney รถสองแถว จุผู้โดยสารได้ประมาณ 12-16 คน ใช้ตัวถังเดิมจากรถ Jeep ที่หลงเหลือจากสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมาได้มีการพัฒนาไปใช้เครื่องยนต์ยน Diesel เก่าจากญี่ปุ่น ต่อตัวถึงให้ยาวขึ้น รับผู้โดยสารนั่งแบบสองแถว เป็นการดำเนินธุรกิจที่ทางรัฐบาลและเมืองอยากปรับเปลี่ยนไปสู่รถโดยสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานดีกว่า แต่ก็ยังต้องดูแลผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ


ชาวต่างชาติรู้จักรถประจำชาติของไทย คือ “ตุ๊กตุ๊ก” (Tuk Tuk) ประเทศฟิลิปปินส์จะมีรถโดยสารที่คนทั่วไปรู้จักกันดี คือ Jeepney


ในบรรดาวัฒนธรรมที่ชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวจะสังเกตุได้โดยง่าย คือการใช้รถโดยสารสองแถวที่เรียกว่า “จีปนี่” (Jeepney) ซึ่งเป็นการนำรถจีปของทหารสหรัฐที่เหลือใช้จากสงครามโลกครั้งที่สองมาต่อเติมใหม่ ขยายให้ยาวขึ้น และใช้บันทุกผู้โดยสารในแบบระยะสั้นในเมืองและชนบทเป็นแบบสองแถว ในระยะหลังมีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนตร์เก่าดัดแปลงจากญี่ปุ่น และใช้เป็นน้ำมันดีเซล ประหยัดขึ้น ทำให้มีควันดำออกมามาก สร้างมลพิษในเมืองใหญ่ รัฐบาลหาทางจะปรับเปลี่ยนวิถีการขนส่งนี้ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการแทนที่ด้วยระบบขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเฉพาะ แต่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มเจ้าของรถและคนขับรถจีปนี่นี้


การเมือง


หลังจากการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองประเทศมาได้สักระยะหนึ่ง เริ่มมีคนถามว่าระบบการปกครองประเทศอย่างฟิลิปปินส์นี้มีอะไรบกพร่องหรือผิดพลาดหรือ เมื่อไม่มีเผด็จการอย่าง Marcos แล้วทำไมการปกครองประเทศจึงยังประสบปัญหา นำความไม่ราบรื่นและไม่แน่นอนกลับมาอีก อันเป็นผลให้ความเชื่อมั่นในการพัฒนาประเทศต้องหยุดชะงักลงไป


ทางออกของการเมืองการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์ คล้ายกับประเทศไทย คงต้องมีการพัฒนา และหาทางออกทางเลือกใหม่อยู่เป็นระยะ และก็ยังจัดเป็นการเมืองของประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังไม่พัฒนา

วีรบุรุษแห่งชาติ

วีรบุรุษของชาติของฟิลิปปินส์มักจะเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตย มีที่มีชื่อเสียงในบรรดาคนอื่นๆ ได้แก่

ภาพ โฮเซ ริซาล (JOSE RIZAL) เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของฟิลิปปินส์

โฮเซ ริซาล (JOSE RIZAL) เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของฟิลิปปินส์ เป็นความภูมิใจของชนเผ่ามาเลย์ เกิดในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1861 ในเมืองชื่อ Calamba ในจังหวัด Laguna เขาเป็นบุตรคนที่ 7 ของครอบครัวที่มีลูกทั้งสิ้น 11 คน เป็นชาย 2 และหญิง 9 คน พ่อแม่ของเขาเป็นคนมีฐานะและมาจากตระกูลที่มีคนนับหน้าถือตา


Jose Rizal นวนิยายของวีรบุรุษ Jose Rizal ชื่อ Noli me Tangere และ El Filibusterismo เป็นหนังสือให้อ่านและเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เพื่อให้เข้าใจชีวิตในสมัยเป็นอาณานิคมภายใต้การปกครองของสเปน และเป็นการสร้างจิตสำนึกความเป็นชาติ

Andrés Bonifacio เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวชื่อ Katipunan อันเป็นกำลังสำคัญ ที่ได้ช่วยให้ฟิลิปปินส์หลุดพ้นการปกครองของสเปน และ


Ninoy Aquino เป็นบุคคลล่าสุดที่ได้เสียชีวิตไปกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย (People Power revolution) เป็นการจุดประกายต่อสู้เผด็จการภายใต้การนำของมาร์คอส


วีรบุรุษของชาติ จำนวนมากคือคนที่ต้องต่อสู้ และอาจไม่ประสบความสำเร็จในยุคนั้นๆ หลายคนต้องเสียชีวิต ถูกประหาร จับกุมคุมขัง ลอบสังหาร ประสบอุบัติเหตุ และมักไม่ได้อยู่ในอำนาจได้นาน


ผู้นำประเทศหลายแบบ


ประเทศฟิลิปปินส์มักจะมีวีรบุรุษแห่งชาติ ซึ่งเป็นอันมากเสียชีวิตไปในการต่อสู้ ไม่ได้มีชีวิตอยู่เป็นผู้นำและเสวยสุขได้นานนัก


ผู้นำอยู่ได้นาน
ภาพ ประธานาธิบดี Ferdinand Marcos

อีกประเภทหนึ่งคือผู้นำ นักการเมืองที่อยู่ได้นาน และก็มีปัญหาด้านเผด็จการ ก่อปัญหาทำให้ระบบการปกครองของประเทศกลายเป็นเล่นพรรคเล่นพวก ดังเช่นประธานาธิบดีอย่าง Ferdinand Marcos ซึ่งช่วงที่ได้ปกครองประเทศกว่า 30 ปี เป็นยุคความเสื่อมโทรมในทุกด้านของประเทศ


ผู้นำนักปฏิรูป
ภาพ นางคอราซอน อากีโน (Corazon Aquino)

ในอีกด้านหนึ่งคือเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแล้ว สังคมได้เลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี อย่างนาง Corazon Aquino ซึ่งมีความตั้งใจดี มีความพยายามที่จะนำประเทศสู่ประชาธิปไตย แต่ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้าน การมีความพยายามรัฐประหารเกือบตลอดเวลาโดยกลุ่มคนที่เสียอำนาจ และอีกประการหนึ่งคือความไม่มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์กรและประเทศขนาดใหญ่

ผู้นำประชานิยม

ภาพ ประธานาธิบดี Joseph Estrada

ในระยะหลังมีประธานาธิบดีที่มีฐานมวลชนให้การสนับสนุนอย่างหนาแน่น ดังประธานาธิบดี Estrada พระเอกภาพยนตร์ที่คนรู้จักก้นทั่วประเทศ เป็นประธานาธิบดีแบบประชานิยม (Populists) ไม่ต่างอะไรกับมิตร ชัญบัญชา พระเอกจอเงินตลอดกาลของไทย แต่ก็ต้องประสบกับความไม่มีความสามารถทางการบริหาร และประกอบกับการมีปัญหาด้านความไม่โปร่งใสทางการเมือง การมีกลุ่มผลประโยชน์เข้าไปแอบแผง แสวงหาโอกาสทางธุรกิจต่างๆ


ผู้นำนักปฏิบัติ


มีผู้นำอีกลักษณะหนึ่งที่เข้าสู่ตำแหน่งชนะการเลือกตั้งได้อย่างเฉียดฉิว มีคนหวาดระแวงเพราะเป็นญาติกับเผด็จการเดิม อย่าง Marcos และยังมีพื้นฐานมาจากทหาร เขาคือฟิเดล รามอส



ภาพ ฟิเดล วาลเดซ รามอส (Fidel Valdez Ramos)
ประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์คนที่ 12 ต่อจากสมัย

นางคอราซอน อากีโน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1928 จัดได้ว่าเป็นประธานาธิบดีที่หลายคนบอกว่าไม่มีสีสัน ต่างจากคนมีตำแหน่งการเมืองระดับสูงดังกล่าวของประเทศคนอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันในบรรดาข้าราชการ นักบริหารที่ต้องทำงานร่วมกับภาครัฐของประเทศ และรวมถึงผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องใกล้ชิดกับคณะรัฐบาลภายใต้ผู้บริหารระดับสูง ต่างให้ความเห็นคล้ายกันว่า รามอสเป็นประธานาธิบดีที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการประนีประนอมกับฝ่ายต่างๆ และทำให้ประเทศที่มีปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจได้กลับคืนสู่เสถียรภาพและเติบโตได้อีกครั้ง


การศึกษา Education :


ฟิเดล รามอส Fidel Ramos จัดเป็นคนมีการศึกษา ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ดังมีประวัติการศึกษาดังนี้


- College, Bachelor of Science, US Military Academy, West Point, New York, 1950
- Post Graduate, Master of Science in Civil Engineering, University of Illinois, 1951
- Associate Infantry Company Officers Course, Fort Benning Georgia, 1955
Special Forces/Psychological Operations/Airborne Course, Fort Bragg, North Carolina,


- ปี่ ค.ศ. 1950 รามอสได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการทหาร US Military Academy ที่ West Point รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ปี ค.ศ. 1951 ได้รับปริญญามหาบัณฑิตด้านวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
- ปี ค.ศ. 1955 ได้รับการฝึกนายทหารขั้นสูงที่ Fort Benning รัฐจอร์เจีย เป็นปฏิบัติการรบด้านสงครามจิตวิทยา กำลังรบพิเศษ และการโจมตีทางอากาศ ณ Fort Bragg รัฐแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี ค.ศ. 1960 ได้ดำรงเข้ารับการฝึกและเป็นนายทหารบกประจำกองทัพฟิลิปปินส์
- ปี ค.ศ. 1985 ได้รับปริญญามหาบัณฑิตด้านการบริหารความมั่นคงแห่งชาติ วิทยาลัยป้องกันประเทศ
- Command and General Staff Course, Phil. Army CGSC,
1985 Master of National Security Administration, National Defense College of the Phil.
1969 Master of Development Administration, Ateneo de Manila University,
1980


ฟิเดล รามอสเกือบจะเป็นคนเดียวที่สามารถดำเนินการปกครองประเทศได้อย่างราบรื่น สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และเมื่อจะพ้นวาระที่กำหนดไว้ 6 ปี นับเป็นคนเดียวที่อยู่จนครบวาระ และส่งมอบงานให้กับประธานาธิบดีคนต่อมาได้อย่างภูมิใจได้


ฟิลิปปินส์กำลังต้องการผู้นำในลักษณะนี้ คือไม่มีสีสันมากนัก พูดไม่เก่งแต่สื่อสารได้ บริหารงานเป็น ประนีประนอมได้ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนมากนัก ตามงานไล่งานกับข้าราชการได้อย่างทันเกมส์ เพราะเคยเป็นข้าราชการมาก่อน และขณะเดียวกันสามารถนำพลังจากภาคเอกชน นักลงทุนเข้ามารับงาน โดยไม่ได้รับการต่อต้านมากจนในระดับเดินหน้าไม่ได้


ประเทศฟิลลิปปินส์กำลังเผชิญกับปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมืองเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่มีการเมืองประชาธิปไตยในระบบตัวแทน (Representative Democracy) ที่เมื่อฝ่ายได้รับการเลือกตั้งแล้ว ไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ ไม่สามารถประนีประนอม แต่มีปัญหาด้านการสร้างและแสวงโอกาสทางธุรกิจให้กับพวกพ้อง


ท้ายสุด หลายคนกำลังมองหาผู้นำที่พูดไม่เก่ง แต่บริหารงานเป็นอย่าง Ramos


ค้นคว้าเพิ่มเติม See also


ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากการศึกษาข้อมูลได้จาก Wikipedia.ในเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้:


• ศิลปะการต่อสู่ป้องกันตัว Filipino Martial Arts

• การสื่อสารในประเทศฟิลิปปินส์ Communications in the Philippines
• อาหารแบบฟิลิปปินส์ Filipino Cuisine
• วันหยุดในประเทศฟิลิปปินส์ Holidays in the Philippines
• บริษัทขนาดใหญ่ในฟิลิปปินส์ List of Philippine companies
• กองทัพและกำลังรบในฟิลิปปินส์ Military of the Philippines
• ประวัติศาสตร์การทหารของฟิลิปปินส์ Military history of the Philippines
• สถานที่สำคัญในฟิลิปปินส์ Philippine landmarks
• การขนส่งในฟิลิปปินส์

พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์

พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw114 ประเทศฟิลิปปินส์, Philippines, เศรษฐกิจ การคมนาคม

ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) และระบบโครงสร้างพื้่นฐานที่เกี่ยวข้อง

ประเทศฟิลิปปินส์จัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มีฐานทางเศรษฐกิจมาจากด้านเกษตรกรรม โดยมีแนวโน้มการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเบา และการให้บริการ ประเทศมีรายได้ประชาชาติ (GDP) ที่ 86,429 ล้านเหรียญสหรัฐ จัดเป็นเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 46 จาก 184 ประเทศของโลก เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศในเอเซีย

ลำดับที่ ประเทศ รายได้เฉลี่ยต่อคน GDP per capita

— World 8,724

1 Luxembourg 63,609
2 Norway 40,005
3 United States 39,496
— Hong Kong SAR (PRC) 30,558
12 Japan 29,906
13 Australia 29,893
25 Singapore 26,799
26 Taiwan (Republic of China) 25,983
28 Brunei 24,143
62 Malaysia 10,423
72 Thailand 7,901
108 Philippines 4,561
121 Indonesia 3,703
131 Vietnam 2,570
143 Cambodia 2,074
165 Myanmar 1,364
192 East Timor 400

หากนับเป็นรายได้ประชาชาติต่อหัว หรือ GDP Per Capita ชาวฟิลิปปินส์จะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ USD 4,561 จัดเป็นอันดับที่ 108 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทย คนไทยมีรายได้เฉลี่ยที่ USD 7,901 หรือเป็นอันดับที่ 72 ของโลก
ภาพ ร้านอาหารจานด่วน แบบ Chain ที่เป็น MacDonald ของอเมริกัน
ควบคู่กับของท้องถิ่น (jollibee)

ประเทศฟิลิปปินส์เคยจัดเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเซีย (New Tiger of Asia) แต่เศรษฐกิจได้ถดถอยในช่วงวิกฤติการเงินในเอเซียในช่วงปี ค.ศ. 1998 โดยมีปัญหาตามมาคือราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น มีเงินเฟ้อ และสภาพอากาศที่ไม่ดี ทำให้ในปี 1998 อันเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 0.6 ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้านี้ คือ ปี ค.ศ. 1997 มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 5 หลังจากนั้นได้มีการฟื้นตัวอีกครั้ง โดยในปี ค.ศ. 1999 เติบโตร้อยละ 3 และในปี ค.ศ. 2000 เติบโตร้อยละ 4 โดยเปรียบเทียบแล้วช่วงเศรษฐกิจได้รับผลกระทบนั้นนับว่ายังน้อยกว่าในประเทศไทย แต่ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศไทยโดยเฉลี่ยมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษหลังอันเหตุด้วยชะงักงันและความไม่แน่นอนทางการเมือง

ในปี ค.ศ. 2008
ประเทศฟิลิปปินส์มีรายมวลรวมประชาติ (GDP) ที่ $173.200 ล้าน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth) ที่ร้อยละ 4.5 มีรายได้ประชาชาติต่อหัว/ปี (GDP per capita) ที่ $3,400
โดยแบ่งรายได้เป็นแต่ละส่วน (GDP by sector) ทางการเกษตร (agriculture) ร้อยละ 13.8% อุตสาหกรรม (industry) ร้อยละ 31.9, ภาคบริการ (services) ร้อยละ 54.3
อัตราเงินเฟ้อ (Inflation - CPI) ที่ร้อยละ 9.6
โดยรวม ประชากร (Population) มีรายได้ที่ต่ำกว่าระดับยากจนร้อยละ 36.8-40.6% (2007 est.) แต่มีแรงงานอยู่ทั้งสิ้น (Labour force) จำนวน 36.82 ล้านคน

ปฏิรูปเศรษฐกิจ

ในยุครัฐบาลหลังประธานาธิบดี Ferdinand Marcos ที่ครองอำนาจอย่างยาวนานและติดยึดไปสู่ระบบเผด็จการ การฉ้อราษฎรบังหลวง ในยุคต่อมาเป็นยุคที่มีความพยายามฟื้นฟูประชาธิปไตย และปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ไปพร้อมก้น

ยุคประธานาธิบดี Corazon Aquino และ Fidel Ramos รัฐบาลได้พยายามใช้มาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตราการมีหนี้ภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ 77 ของรายได้ประชาชาตินับเป็นตัวปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะอัตราการต้องใช้หนี้ต่างชาติสูงกว่างบประมาณด้านการศึกษาและการป้องกันประเทศรวมกัน

ภาพ Corazon Aquino อยู่ในตำแหน่งครบวาระ

ภาพ Fidel Ramos อยู่ในตำแหน่งครบวาระ ภาพ

ภาพ Joseph Estrada อยู่ในตำแหน่งไม่ครบวาระ

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญคือการปรับปรุงระบบโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่นการพัฒนาถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ การสื่อสารอื่นๆ ปรับแก้ระบบภาษีใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ภาครัฐ และขณะเดียวกันคือลดกฎเกณฑ์และการเข้าไปดำเนินการในกิจการต่างๆเองโดยรัฐบาล และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามารับผิดชอบในงานสาธารณูปโภค การเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าและการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น นอกจากนี้คือปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการและความไม่แน่นอนในนโยบายภาครัฐ

การลงทุนเพิ่มขึ้น

ในช่วงหลายปีหลัง ได้มีกลุ่มธุรกิจได้เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างงานและทำให้เกิดการปรับปรุงกิจการด้านบริการ บริษัทที่มาใช้บริการด้านแรงงานในฟิลิปปินส์มีรวมถึงบริษัทระดับนำในรายชื่อ 500 จัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune ด้วยการที่มีประชากรจำนวนมาก ค่าแรงงานต่ำ จึงทำให้เป็นแหล่งดึงดูดบริษัทต่างๆ ให้เข้ามาใช้แรงงานเหล่านี้ มีการใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มภาคขยาย (Expanded Value Added Tax หรือเรียกว่า E-VAT) ซึ่งได้มีการออกเป็นกฎหมายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เป็นมาตรการลดการเป็นหนี้ต่างประเทศ และปรับปรุงระบบบริการภาครัฐ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และการสร้างถนนหนทาง

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกขององค์กรเศรษฐกิจสำคัญอันได้แก่ Asian Development Bank, World Bank, International Monetary Fund, และเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญเช่น theAsia Pacific Economic Cooperation (APEC), Colombo Plan, และกลุ่ม G-77.

การคมนาคม

สภาพการคมนาคมขนส่งของประเทศฟิลิปปินส์มีลักษณะดังต่อไปนี้

- การขนส่งทางบก Land Transportation
- รถไฟ Railways

ภาพ รถสองแถว Jeeney เป็นรถที่ดัดแปลงจากรถ Jeep หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ โดยใช้ตัวถึงที่พัฒนาเอง และเครื่องยนต์ดีเซลเก่าดัดแปลง

เนื่องด้วยสภาพความเป็นเกาะ การขนส่งและระบบคมนาคมโดยการรถไฟจึงอยู่ในเกณฑ์จำกัด ฟิลิปปินส์มีทางรถไฟยาวทั้งสิ้น 1400 กิโลเมตร เป็นของ Maniacutela Railway Company มีฐานอยู่ที่ Luzon) หรือบริษัทชื่อ he Philippine Railway Company แต่เป็นของบริษัทอเมริกัน ฐานที่ตั้งอยู่ที่ Panay และที่ Cebu ระบบทางรถไฟเกือบทั้งหมด ยกเว้นทางรถไฟฟ้ามวลชนลอยฟ้าในมะนิลาที่เป็นระบบมีคู่รางไปมาแยก นอกนั้นเป็นระบบสายเดี่ยวต้องรอสับราง

ทางรถไฟสายหลักจึงมีเพียงภายในเกาะหลัก คือ Luzon ดำเนินการบริหารโดยการรถไฟแห่งชาติฟิลลิปปินส์ (Philippine National Railways) ทางรถไฟสายหลักเป็นการเชื่อมระหว่างกรุงมะนิลากับเขต Bicol Region ระบบทางรถไฟเป็นแบบรางแคบ (Narrow Gauge) มีควากว้างเพียง 1067 มิลิเมตร ความยาว 492 กิโลเมตร การขยายออกไปอีก 405 กิโลเมตรยังไม่ได้ดำเนินการ

ระบบทางรถไฟฟ้ายกระดับ
Elevated Mass Railway Systems (Greater Manila Area)

ทางรถไฟฟ้ายกระดับเพื่อการขนส่งผู้คนในเมือง มี 2 สาย คือ

รถไฟฟ้า LRT มหานครมะนิลา การรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานี
ระบบรถ LRT ใช้ต่อเชื่อสายไฟฟ้าด้านบน

• Light Rail Transit (LRT-1/Metrorail/Yellow Line), จาก Monumento, Caloocan City ไปยัง Baclaran, ในเมือง Parañaque City.
• Light Rail Transit (LRT-2/Megatren/Purple Line), จาก Marikina City ไปยัง Avenida,ในกรุง Manila.
• Metro Rail Transit (MRT-3/Metrostar/Blue Line), จาก North Avenue, .ในเมือง Quezon City ไปยังTaft Avenue, ในเมือง Pasay City.

ทางรถไฟฟ้าคล้ายกับระบบ BTS ในประเทศไทย แต่เป็นระบบที่เรียกว่า Light Rail Transit – LRT สามารถรับผู้โดยสารได้จำกัดกว่าระบบ Heavy Rail ดังที่มีใช้ในกรุงเทพมหานคร อีกประการหนึ่งคือค่าโดยสารและต้นทุนดำเนินการทำให้ค่าบริการยังมีราคาสูงเกินไปสำหรับชาวเมืองในเขตมหานครมะนิลา ซึ่งยังมีผู้มีรายได้น้อยอยู่มาก แต่กระนั้นก็เป็นทางออกในการระบายคน แก้ปัญหาด้านการจราจร การเดินทางในเมืองใหญ่ ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบสังคม และการจัดระบบสนับสนุนค่าใช้จ่ายอย่างที่เรียกว่า Subsidy สำหรับกิจการที่เป็นความจำเป็นเช่นระบบ Mass Transit

ทางหลวง Highways

ประเทศฟิลิปปินส์มีทางหลวงความยาวทั้งสิ้น 199,950 กิโลเมตร ประกอบด้วย

1. ราดผิวจราจร 39,590 กิโลเมตร
2. ไม่ราดผิวจราจร 160,360 กิโลเมตร (1998 est.)

ทางหลวง (Highway ที่มีใช้ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นไปอย่างจำกัด และจำนวนครึ่งหนึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางและตอนใต้ของ Luzon โดยทั่วไป ระบบการขนส่งทางบกของฟิลิปปินส์ยังมีอย่างจำกัด เมื่อเทียบกับประเทศไทย หรือมาเลเซีย ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และมีโอกาศพัฒนาได้ลำบากกว่าในประเทศเวียดนาม ลาว หรือกัมพูชาที่เป็นแบบภาคพื้นทวีป เพราะมีสภาพความเป็นเกาะแก่ง และเป็ภูเขาที่มีความลาดชัน

ทางหลวงสายหลัก
Main Highways


ทางหลวงสายหลักของฟิลิปปินส์ ได้แก่

ทางหลวงที่สร้างขึ้นใหม่หลายๆ สายเป็นแบบต้องจ่ายค่าใช้ทาง อย่างที่เรียกว่า Toll Way

1. Pan Philippine Highway (Maharlika Highway)
2. North Luzon Expressway, ไปยัง Quezon City ในเขตมหานคร Metro Manila ไปยัง Santa Ines, Pampanga.
3. South Luzon Expressway, จาก Taguig ในเขตมหานคร Metro Manila ไปยัง Calamba City ใน Laguna.
4. ทางยกระดับ ต้องจ่ายเงิน Skyway, เชื่อมระหว่าง South Luzon Expressway และเป็นเส้นทางจาก Sen. Gil Puyat Ave ในเขต

เมือง Makati City ไปยัง Bicutan, Parañaque City ทางยกระดับดังกล่าวคล้ายกับการทางพิเศษ ที่มีให้บริการในกรุงเทพมหานคร แต่ก็มีปัญหามีทางรถวิ่งไม่เพียงพอกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเดินทางไปและกลับจากที่ทำงานเป็นเรื่องที่สร้างความยากลำบากให้กับชีวิตคนเมืองอย่างมากเช่นกัน คล้ายกับกรุงเทพมหานคร แต่มีความรุนแรงยิ่งกว่า

5. ทางด่วนสาย Manila-Cavite Expressway (Coastal Road), from Parañaque City in Metro Manila to Bacoor, Cavite
6. ทางสาย Manila North Road (MacArthur Highway)

ในช่วงรัฐบาลมาร์คอส มีความพยายามที่ดีที่จะสร้างระบบบริการสาธารณะ เช่นทางหลวงต่างๆ คล้ายกับในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ของประเทศไทย อันเป็นไปตามแนวทางการสนับสนุนของอเมริกันเพื่อการต่อต้านการคุกคามจากคอมมิวนิสต์ แต่จะเป็นด้วยการที่เผด็จการได้ครองอำนาจนานเกินไป และระบบการเมืองการปกครองพื้นฐานยังไม่เข้มแข็ง มีการฉ้อราษฏร์บังหลวงมาก จึงทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไม่ได้คืบหน้าไปเท่าที่ควร และยังเป็นข้อจำกัดสำหรับต่างประเทศที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศ แม้ค่าแรงงานจะยังถูกกว่าหลายประเทศในภูมิภาค

การขนส่งทางน้ำ
Water Transportation


ท่าเรือและอ่าว Ports and Harbors

การขนส่งสินค้าหลักไปยังประเทศเป็นการขนส่งทางเรือ

การเดินทางในแบบมีเรือขนาดใหญ่ ขนทั้งคน รถยนตร์ และรถโดยสาร เพราะเวลาขึ้นฝั่งก็ขับรถต่อไปได้เรียกว่า Republic Nautical Highway ที่ซึ่งผู้โดยสารใช้บริการไปตามเกาะแก่งต่างๆ ได้โดยทางรถยนตร์ ชาวบ้านเขาเรียกว่า RoRo มาจากคำว่า Roll-on & Roll-off ซึ่งระบบดังกล่าวจะต้องใช้เรือและท่าเรือที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และต้องมีความปลอดภัย

ท่าเรือในมะนิลา (Port in Manila)

ภาพ Port Authority of Manila ท่าเรือเมองมะนิลา

ท่าเรือสำคัญของฟิลิปปินส์ประกอบด้วย Port of Manila และ the Eva Macapagal Port Terminal, ซึ่งอยู่ในเขต Manila เช่นกัน ส่วนเมืองอื่นๆ ที่มีการขนส่งทางเรืออย่างมากได้แก่ Batangas City, Cagayan de Oro, Cebu City, Davao City, Guimaras Island, Iligan, Iloilo, Jolo, Legaspi, Lucena, Puerto Princesa, San Fernando, Subic Bay Freeport, Zamboanga, Matnog, Allen, Ormoc, and Dalahican. ท่าเรือเหล่านี้มีการขนส่งในแบบ RoRo ดังได้อธิบายมาแล้ว

เรือพานิชย์ Merchant marine

ฟิลิปปินส์มีเรือพาณิชย์จดทะเบียน: 480 ลำ (1,000 ตันหรือมากกว่า - GRT or over) มีน้ำหนักบรรทุกรวมได้ 5,973,024 ต้น GRT/ และเป็นน้ำหนักสูงสุดได้ไม่เกิน 9,025,087 ตัน (DWT)

- GRT มาจากคำว่า Gross Registered Tonnage แปลว่าน้ำหนักบันทุกตามที่จดทะเบียน
- DWT มาจากคำว่า Deadweight Tonnage หรือน้ำหนักบรรทุกสูงสุดได้อย่างปลอดภัย

การบรรทุกใดๆ ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบดูจากสิ่งที่เขาเขียนติดกับเรือนั้นๆ เพราะในบางช่วงเทศกาลที่มีคนและความต้องการบันทุกมาก แต่เรือมีอย่างจำกัด ทำให้มีผู้ให้บริการเสี่ยงบรรทุกสินค้าและคนเกินพิกัด และเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายในภูมิภาคแถบนี้อยู่เป็นระยะๆ ปัญหานี้พบในประเทศอินโดนีเซีย และทางใต้ของไทยที่มีการท่องเที่ยวไปตามเกาะแก่งอยู่บ้างเช่นกัน

ประเภทของเรือ Ships by type

หากประเทศไทยมีการเดินทางหลักๆ ด้วยระบบรถโดยสารสำหรับประชาชนระดับทั่วไปและระดับล่าง ในประเทศฟิลิปปินส์ จะมีการเดินทางระหว่างเกาะแก่งต่างๆ ที่ต้องใช้การเดินทางด้วยเรือโดยสารข้ามเกาะ หรือเรียกว่า Ferries

เนื่องจากความเป็นเกาะแก่ง ความจำเป็นในการใช้เรือเพื่อการคมนาคมและการขนส่งจึงเป็นความจำเป็นอย่างมาก และมีเรือหลากหลายประเภทที่เขาใช้เพื่อการคมนาคมและการขนส่ง ดังจะได้นำเสนอต่อไปนี้

ประเภท จำนวน หมายเหตุ

บันทุกของใหญ่ Bulk 159
บันทุกสินค้า cargo 122
บันทุกสารเคมี chemical tanker 5
บันทุกสินค้าแบบประสม combination bulk 9
บันทุกตู้สินค้า container 7
บันทุกแก็สและของเหลว liquified gas 13
บันทุกสัตว์ livestock carrier 9
บันทุกผู้โดยสาร passenger 4
บันทุกผู้โดยสารและสินค้า passenger/cargo 12
บันทุกปิโตรเลียม petroleum tanker 47
บันทุกสินค้าแบบมีตู้แช่เย็น refrigerated cargo 20
บันทุกระบบเคลื่อนขึ้นและลง roll-on/roll-off 19
โดยสารทางทะเลระยะสั้น short-sea passenger 32
บันทุกของเหลวพิเศษ specialized tanker 2
บันทุกยานพาหนะ vehicle carrier (1999 est.) 20

เรือที่ใช้มาจากหลายสัญชาติ เช่น Japan owns 19 ships, Hong Kong 5, Cyprus 1, Denmark 1, Greece 1, Netherlands 1, Singapore 1, และ UK 1 (1998 est.)

การขนส่งทางเรือ อย่างไรก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา การสร้างงานที่ต้องกระจายงานไปตามเกาะแก่งต่างๆ ก็จะมีปัญหาด้านค่าขนส่งที่ตามมาด้วย นอกจากนี้ความที่เป็นเกาะที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางของภูมิภาค ไม่เหมือนกับประเทศไทย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์จึงต้องมีรูปแบบการขนส่งและวิถีชีวิตที่เป็นเฉพาะของตน

ทางน้ำ Waterways

การขนส่งด้วยคลองและแม่น้ำเป็นไปอย่างจำกัด มีเส้นทางขนส่งทางน้ำในแผ่นดิน 3,219 กิโลเมตร มีความลึกจำกัดที่ 1.5 เมตร
การขนส่งทางอากาศ Air Transportation

ท่าอากาศยาน Airports

มีท่าอากาศยานทั้งสิ้น 266 แห่ง (1999 est.) สนามบินและการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นทางเลือกในการเดินทางระหว่างเกาะต่างๆ ประเทศฟิลิปปินส์มีสนามบินที่มีทางลาดผิวลานบิน 76 แห่ง

ภาพ สนามบินนานาชาติ Ninoy Aquino International Airport

• มีความยาวลานบินมาตรฐานคือ 3,047 เมตรขึ้นไป 4 แห่ง
• 2,438 to 3,047 เมตร 5 แห่ง
• 1,524 to 2,437 เมตร: 26 แห่ง
• 914 to 1,523 เมตร: 31 แห่ง
• ต่ำกว่า 914 เมตร: 10 แห่ง (1999 est.)

ยังไม่มีลาดผิวลานบิน: 190 แห่ง ซึ่งเป็นการรองรับการบินด้วยเครื่องบินขนาดเล็กต่างๆ
• 1,524 to 2,437 เมตร: 3 แห่ง
• 914 to 1,523 เมตร: 66 แห่ง
• ต่ำกว่า 914 เมตร: 121 แห่ง (1999 est.)

สนามบินนานาชาติ International Gateways
Ninoy Aquino International Airport (Manila)

1. Ninoy Aquino International Airport (Manila) นับเป็นสนามบินนานาชาติหลักของประเทศ
2. Mactan-Cebu International Airport (Cebu City)
3. Francisco Bangoy International Airport (Davao City)
4. Diosdado Macapagal International Airport (Clark Special Economic Zone, Pampanga)
5. Subic Bay International Airport (Subic Bay Freeport Zone, Zambales)
6. Laoag International Airport (Laoag, Ilocos Norte)
7. Zamboanga International Airport (Zamboanga City)

ลานเฮลิคอปเตอร์ Heliports

จำนวน 1 แห่ง (1999 est.)

สายการบิน Airlines

ภาพ สายการบิน Philippines Airlines

สายการบินแห่งชาติของฟิลิปปินส์ Philippines Airlines มีพื้นฐานด้านกำลังคนที่ดี สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีทัศนคติด้านบริการลูกค้าที่ดี แต่ประสบปัญหาด้านการบริหารและแรงงานสัมพันธ์ คล้ายๆ กับสายการบินรุ่นเก่าหลายๆแห่งในโลก

1. Philippine Airlines (national flag carrier)
2. Air Philippines
3. Cebu Pacific
4. Asian Spirit
5. South East Asian Airlines (Seair)
6. Laoag International Airlines

เพราะความเป็นประเทศนอกทวีป แม้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์จึงต่างจากประเทศไทย สิงคโปร์ หรือมาเลเซียที่ต่างมีสนามบินขนาดใหญ่ที่แข่งขันกันเป็นศูนย์กลางการสื่อสารทางอากาศ แต่ฟิลิปปินส์ไม่สามารถมีสนามบินที่จะเป็น Hub เพื่อการสื่อสารแข่งขันกันในระแวกนี้ได้

ประเทศฟิลิปปินส์มีการพัฒนาการเดินทางด้วยรถไฟได้น้อยมาก ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาทางรถไฟและการเดินทางด้วยรถไฟไปอย่างมากเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แต่ก็ไม่เติบโตได้มากนักในระยะหลัง เมื่อมีการพัฒนาถนนหนทางในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา แต่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงเวลาเดียวกันประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองที่ไม่พัฒนาจนทำให้ไม่มีโอกาสได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ทั้งนี้รวมไปถึงระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และอื่นๆ ด้วย

การสื่อสาร (Communication)

ประเทศฟิลิปปินส์มีสภาพเป็นเกาะ การวางระบบสื่อสารที่จะเป็นระบบสาย (Cabling) จึงเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากกว่าในประเทศไทย ดังจะสังเกตุได้ว่าในประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 6.797 ล้านคู่สาย แต่ในประเทศฟิลิปปินส์มี 3.4 ล้านคู่สาย

แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยในปี ค.ศ. 2005 มีโทรศัพท์มือถือ หรือโทรศัพท์ไร้สาย 27.38 ล้านเครื่อง แต่ในประเทศฟิลิปปินส์มี 32.9 ล้านเครื่อง ที่เป็นดังนี้เพราะในประเทศที่เป็นเกาะแก่งมากๆ อย่างในฟิลิปปินส์นั้นเมื่อโลกยุคใหม่เปิดทางให้มีการใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวก จึงหันไปใช้โทรศัพท์มือถือทดแทนการใช้โทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้สายสัญญาณ ซึ่งมีความยุ่งยากในการวางสายดังกล่าวมากกว่า

ประชากร

ประเทศฟิลิปปินส์จัดเป็นประเทศทีมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีประชากรสำรวจในปี ค.ศ. 2005 ที่ 86,241,697 คน ประมาณ 2 ใน 3 อาศัยอยู่ในเกาะลูซอน มีเมืองหลวงชื่อมะนิลา (Manila) ซึ่งจัดเป็นเขตประชากรเมือง (Metropolitan) เป็นอันดับที่ 12 ของโลก ระบบการศึกษาจัดว่ามีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรเดินตามแนวทางของสหรัฐอเมริกา อัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 95.9 โดยชายและหญิงได้รับการศึกษาในระดับเท่าเทียมกัน อัตราอายุเฉลี่ยที่ 69.29 ปี โดยหญิงมีอายุเฉลี่ยที่ 72.28 ปี และชายที่ 66.44 ปี อัตราการเติบโตของประชากรที่ค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 1.92 ต่อปี (เทียบกับประเทศไทยที่ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 มานานแล้ว) มีอัตราการเกิดที่ 26.3 คนต่อประชากร 1,000 คน

ประเทศกำลังประสบปัญหาสำคัญคือประชากรล้นประเทศ เพราะไม่สามารถควบคุมการเกิดเพิ่มของประชากรได้ ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาได้มีการวางแผนครอบครัวและการควบคุมจำนวนประชากรได้ดีกว่า ไม่มีการต่อต้านการคุมกำเนิดด้วยความเชื่อทางศาสนาเหมือนดังในประเทศฟิลิปปินส์

การใช้ภาษา

ในการสื่อสารด้วยภาษาราชการ ฟิลิปปินส์จะใช้ภาษาฟิลิปปิโน หรือ Tagalog และภาษาอังกฤษ เป็นหลัก ซึ่งเป็นลักษณะภาษาสไตล์อเมริกัน และความที่มีภาษาที่เขาใช้ทั้งสองภาษา คือภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษ จึงมีลักษณะปนกันทั้งคำศัพท์ และสำเนียง จนเขาเรียกกันว่า Tagalish หรือภาษาอังกฤษแบบ Tagalog

ในประเทศฟิลิปปินส์มีการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมากกว่าในประเทศไทย นักเรียนมัธยมศึกษาโดยทั่วไปในประเทศสามารถสื่อสารด้วยการพูดและเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างดี เมื่อเทียบกับนักเรียนในประเทศไทย และด้วยความที่มีภาษาอังกฤษในการสื่อสารที่ดี ชาวฟิลิปปินส์จึงสามารถออกไปทำงานในต่างประเทศค่อนข้างมาก ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และในเอเชียด้วยกัน
ชาวฟิลิปปินส์มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Filipinos แต่ในหมู่คนฟิลิปปินส์เองเขาเรียกตัวเองว่า “ปินอย” (Pinoy) แต่ถ้าเป็นหญิงจะเรียกว่า “ปินาย” (Pinay) ประชาชนฟิลิปปินส์สืบสายเลือดมาจากพวก Austronesian ทีอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงเป็นพันปี และมีการตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปตามเกาะแก่งต่างๆ

ชาวฟิลิปปินส์มีการใช้ภาษาถิ่น แบ่งออกได้เป็น 12 กลุ่มภาษา อันได้แก่ Tagalogs, Cebuanos, Ilocanos, Ilonggos, Bicolanos, Pampangos, Pangasinenses, Karay-as, Warays, Maranaos, Maguindanaos, and Tausugs, และตามด้วยกลุ่มภาษาย่อยๆ อื่นๆ อีกมาก หากเปรียบเทียบความหลากหลายด้านภาษาและวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์แล้วจะมีมากกว่าประเทศไทยมาก ด้วยเหตุประการหนึ่งเพราะความเป็นเกาะแก่งของเขา แต่ละชุมชนต้องดำรงอยู่กันเอง และมีการเติบโตทางวัฒนธรรมกันมาเองแต่เก่าก่อน การจะไปสร้างความเป็นชาติมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเหมือนในประเทศในแถบแผ่นดินเช่น จีน ไทย หรือพม่านั้นคงกระทำได้ยาก

ภูมิศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์

ภูมิศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์
The geography of the Philippines

ประกอบ คุปรัตน์ แปลและเรยบเรียง
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw114, ประเทศฟิลิปปินส์ Philippines

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะ มีเกาะทั้งสิ้น 7107 เกาะในบริเวณทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณ 116° 40' and 126° 34' E. longitude, และ 4° 40' and 21° 10' N. latitude โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกติดกับทะเลฟิลิปปินส์ ทางตะวันตกติดกับทะเลจีนใต้ (South China Sea) ทางใต้ติดกับทะเลที่เรียกว่า Celebes Sea เกาะ Borneo อยู่ห่างไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไม่กี่ร้อยกิโลเมตร และในทางตอนเหนือมีเกาะที่ใกล้ที่สุดคือไต้หวัน ส่วนทางตอนใต้ลงไปมีเกาะ Moluccas และ Celebes ทางตะวันออกด้านทะเลฟิลิปปินส์มีเกาะ Palau

หมู่เกาะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม


ประเทศโดยรวมแบ่งออกเป็นกลุ่มเกาะหลักๆ 3 กลุ่ม โดย Luzon จัดเป็น เขตที่ 1 – 5 Visayas จัดเป็นเขต 6-8 และ Mindanao จัดเป็นเขต 9-13 โดยบริเวณอ่าวมะนิลา บนเกาะลูซอน (Luzon) จัดเป็นเมืองหลวงของประเทศ และมีเมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ Quezon City


ภูมิอากาศ ร้อน ชื้นแบบเขตศูนย์สูตร มีอุณหภูมิตลอดปีที่ประมาณ 26.5 องศาเซลเซียส มีภูมิอากาศร้อนชื้นคล้ายทางภาคใต้ของประเทศไทย


มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน และฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่มีลมมรสุมพัดผ่านมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม ซึ่งเรียกกันในท้องถิ่นว่า Habagat และช่วงที่มีลมแล้งมาจากมรสุมทางตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เรียกว่า Amihan


ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะ เคยปกคลุมด้วยป่าฝนร้อนชื้น และเถ้าถ่านภูเขาไฟ ส่วนที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาชื่อ Mount Apo บนเกาะ Mindanao มีความสูงที่ 2,954 เมตร เนื่องจากเป็นเขตหินใหม่ จึงมีภูเขาไฟที่ยังกรุ่นอยู่ทั่วไปในประเทศ และประเทศอยู่ในเขตที่มีพายะใต้ฝุ่นพัดผ่าน เรียกว่า Typhoon Belt ที่ทำให้มีพายุจากทางแปซิฟิกตะวันตก มีไต้ฝุ่นพัดเข้าปีละประมาณ 19 ลูกทุกปี


ในทางตะวันออกเฉียงเหนือมีเขตที่เขาเรียกว่า Pacific Ring of Fire ฟิลิปปินส์จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดเป็นระยะ ในแต่ละวันมีแผ่นดินไหวประมาณ 20 ครั้ง ซึ่งจะมีคลื่นการไหวที่จะสังเกตุไม่พบหรือไม่รู้สึกเป็นส่วนใหญ่


การปกครองท้องถิ่น


Main articles: Provinces of the Philippines, Regions of the Philippines


Provinces and regions of the Philippines

ประเทศฟิลิปปินส์มีการแบ่งการปกครองออกเป็นเขตเรียกว่าจังหวัด (Province) โดยทั้งหมดมี 79 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งออกเป็นส่วนเมือง (Cities) และนคร (Municipalities) และมีการแบ่งออกไปเป็นส่วนที่ย่อยที่สุดเรียกว่า “บารังกาย” (Barangays)


ประเทศฟิลิปปินส์แบ่งการปกครองออกเป็น 17 ภาค (Regions) โดยจังหวัดทั้งหมดนั้นมีการแบ่งออกเป็น 16 ภาค เพื่อความสะดวกในการปกครอง และมีเขตเมืองหลวง เรียกว่า National Capital Region ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 4 เขตพิเศษ ในแต่ละภาคมีสำนักงานของรัฐบาลเพื่อช่วยในการปกครองของแต่ละจังหวัด แต่ละภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นของตน ยกเว้นเขตการปกครองอิสระสำหรับมุสลิมในมินดาเนา (Muslim Mindanao) ซึ่งมีการปกครองเป็นอิสระ


เขตการปกครอง (Regions) 14 เขตมีรายชื่อดังต่อไปนี้


1. Ilocos Region (Region I)

2. Cagayan Valley (Region II)
3. Central Luzon (Region III)
4. CALABARZON (Region IV-A) ¹ ²
5. MIMAROPA (Region IV-B) ¹ ²
6. Bicol Region (Region V)
7. Western Visayas (Region VI)
8. Central Visayas (Region VII)
9. Eastern Visayas (Region VIII)
10. Zamboanga Peninsula (Region IX)
11. Northern Mindanao (Region X)
12. Davao Region (Region XI)
13. SOCCSKSARGEN (Region XII) ¹
14. Caraga (Region XIII)
15. Autonomous Region in Muslim Mindanao (ARMM)
16. Cordillera Administrative Region (CAR) และ
17. National Capital Region (NCR) (Metro Manila) อันเป็นเขตที่ตั้งของเมืองหลวง

¹ Names are capitalized because they are acronyms, containing the names of the constituent provinces or cities (see Acronyms in the Philippines).

² These regions formed the former Southern Tagalog region, or Region IV.

มหานครมะนิลา (Metro Manila)


เปรียบเทียบมหานครมะนิลา (Metro Manila) ซึ่งประกอบด้วยเมืองหลายเมืองที่อยู่ติดกัน และรวมกลุ่มกันเป็นมหานคร (Metropolitan Areas) หากเทียบกับกรุงเทพฯ ก็จะมีรวมไปถึงจังหวัดและเมืองข้างเคียง เช่น สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธาน นนทบุรี


เมืองยิ่งมีขนาดใหญ่ ปัญหาความใหญ่ก็จะกลายเป็นทวีความรุนแรง กรุงเทพฯและมะนิลาประสบปัญหาในลักษณะใกล้เคียงกัน และเรียนรู้จากกัน



เปรียบเทียบฟิลิปปินส์และไทย
ภูมิภาค (Region)

ทั้งมะนิลา และกรุงเทพ นอกจากเป็นเมืองใหญ่สุดของประเทศแล้ว ยังเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย (National Capital Region - NCR)


กรุงเทพมหานคร มีชื่อเรยกในภาษาอังกฤษว่า Bangkok Metropolitan


Metro Manila เปรียบเทียบกับ

Bangkok Metropolitan

กรุงมะนิลา พื้นที่ Area 636 ตรกม. เปรียบกับเฉพาะกรุงเทพมหานคร 1,568.20 ตรกม. เมื่อรวมจังหวัดใกล้เคียงปริมณฑล เป็น 7,761.50 ตรกม.

ตำแหน่ง
ของกรุงมะนิลา Coordinates: 14°34' N 121°02' E
การจัดแบ่งเขตการปกครอง (Administrative Divisions) มีนคร (Cities) 14 แห่ง
เมือง Municipalities—3 แห่ง, เขต Districts—27 แห่ง, หมู่บ้าน Barangays—1694 แห่ง

กรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขต (Districts)


ประชาชน
(People)

กรุงมะนิลา Ethnic Groups—Filipinos

Languages—Filipino และ English

กรุงเทพมหานคร Ethnic Groups—ไทย (Thai)

Languages—ไทย (Thai)

ประชากร

ประขากรในกรุงมะนิลา (Population) จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2000 census กรุงมะนิลาและปริมณฑบ มีประชากร 11,289,368
คน และมีอัตราการเกิดที่รวดเร็วกว่าประเทศไทย

ความหนาแน่นของประชากร (Density) 15,617 per km² เทียบกับ 9,766,111 คนในกทม. และปริมณฑล

3,604.คนต่อตารางกิโลเมตร ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อรวมอีก 5 จังหวัดปริมณฑลอีก 5 จังหวัด เฉลี่ยเท่ากับ 1258 คนต่อตารางกิโลเมตร

เขตเวลา

Time Zone:

UTC +8


สนามบิน


Airports 4


มหานครมะนิลา


มหานครมะนิลา เรียกเต็มๆ ว่า Metropolitan Manila (Filipino: Kalakhang Maynila) หรือจัดเป็นส่วนการปกครองระดับภาคที่เรียกว่า National Capital Region (NCR) จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 7 ของเอเซียในเชิงขนาด และเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ในเชิงของประชากร มหานครมะนิลารวมถึงนครมะนิลา (Manila) ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีนคร และเมือง (Municipalities) 16 แห่งล้อมรอบ รวมถึง Quezon City ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเมื่อช่วงปี 1948-1976


ในการจัดกลุ่มความหนาแน่นของประชากรที่อยู่รวมกันจัดได้ว่ามหามครมะนิลามีคนกว่า 11.3 ล้านคน หรือประมาณ 1.2 เท่าของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล



ภาพ Metro Manila

ภาพ Bangkok Metropolitan


กรุงเทพมหานคร

Bangkok Metropolitan Area

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Metropolitan and Vicinity Areas) เป็นเขตเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งล้อมรอบด้วยจังหวัดต่างๆ คลุมพื้นที่ 7761 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 9,766,111 คน ามหนาแน่นของประชากรที่ตารามกิโลเมตรละ 1258 คน ครอบคลุมพื้นที่ใน 5 จังหวัด และ 1 มหานคร ดังต่อไปนี้


Area
km² Population Pop.Density Inh/km²

1. Bangkok
1,568.20 5,652,903 3,604.70
2. Nonthaburi 622.30 968,862 1,556.91
3. Samut Prakan 1,004.50 1,074,478 1,069.66
4. Pathum Thani 1,525.90 808,074 529.57
5. Samut Sakhon 872.30 451,063 517.10
6. Nakhon Pathom 2,168.30 810,738 373.90

สรุปรวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพื้นที่รวม 7,761.50 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวม 9,766,111 คน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,258.28
คนต่อตารางกิโลเมตร

เฉพาะกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan) นี้ มีพื้นที่ 1568 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 5.6 ล้านคน มีความหนาแน่นของประชากรที่ 3,604 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่ในสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงแล้ว กรุงเทพมหานครต้องมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพากับเขตเมืองของจังหวัดใกล้เคียงอีก 5 จังหวัดอย่างมาก


ภูมิศาสตร์มหานครมะนิลา


มหานครมะนิลา (Metro Manila) เป็นภูมิภาคปกครอง (Administrative Region) ที่มีขนาดเล็กที่สุดของประเทศ แต่มีประชากรมากที่สุด และหนาแน่นที่สุด มีประชากรรวม 9,932,560 คน มีพื้นที่ 636 ตารางกิโลเมตร เป็นภูมิภาคที่ไม่มีจังหวัด โดยมีเขตแดนติดกับจังหวัดใกล้เคียงคือ ทางเหนือติดกับ Bualcan ทางตะวันออกติดกับ Rizal ทางใต้ติดกับ Cavite และ Laguna มะนิลาถูกประกบด้วยอ่าว 2 อ่าว คือ ทางตะวันตกติดกับ Manila Bay ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับ Laguna de Bay และมีแม่น้ำ Pasig ไหลผ่านระหว่าง 2 อ่าวนี้


Metro Manila หรือ National Capital Region (NCR) แบ่งออกเป็น 4 เขต (Districts) ที่ไม่มีหน้าที่ชัดเจน 4 เขต เขตเหล่านี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1976 แต่ไม่ได้มีรัฐบาลท้องถิ่น ไม่มีตัวแทนในวุฒิสภา ซึ่งแตกต่างจากส่วนจังหวัด (Provinces) เขตเหล่านี้มีไว้เพื่อการจัดทำงบประมาณ และเพื่อการทำสถิติ


เขตที่ 1 First District

เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 1 เมือง
1. City of Manila

เขตที่ 2 Second District

ประกอบไปด้วย 5 เมือง Quezon City จัดเป็นเมืองใหญ่ที่สุด
1. Mandaluyong City
2. Marikina City
3. Pasig City
4. Quezon City
5. San Juan

เขตที่ 3 Third District

ประกอบไปด้วย 4 เมือง
1. Caloocan City
2. Malabon City
3. Navotas
4. Valenzuela City

เขตที่ 4 Fourth District

ประกอบไปด้วย 7 เมือง
1. Las Piñas City
2. Makati City
3. Muntinlupa City
4. Parañaque City
5. Pasay City
6. Pateros
7. Taguig City

ในทางการ มะนิลาถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวงของประเทศ เป็นสถานที่กลางในการตั้งสถานที่ราชการส่วนกลาง แต่ในทางปฏิบัติ สถานที่ต่างๆ กลับไปอยู่กระจายรอบๆ กรุงมะนิลา ฝ่ายบริหารและระบบบริหารราชการอยู่ในมะนิลา รวมถึงศาลของประเทศ แต่วุฒิสภา (Senate of the Philippines) ตั้งอยู่ที่เมือง Pasay City และสภาผู้แทนราษฎร (Congress of the Philippines) ตั้งอยู่ในเมือง Quezon City

มหานครมะนิลา ประกอบด้วย นคร (City) ซึ่งมีประชากร (Population) ดังต่อไปนี้

1. Quezon City - 2,173,831
2. Manila - 1,581,082
3. Caloocan City - 1,177,604
4. Las Piñas City - 528,011
5. Pasig City - 505,058
6. Valenzuela City - 485,433
7. Taguig City - 467,375
8. Parañaque City - 449,811
9. Makati City - 444,867
10. Marikina City - 391,170
11. Muntinlupa City - 379,310
12. Pasay City - 354,908
13. Malabon City - 338,855
14. Mandaluyong City - 278,474

มีส่วนที่เขาจัดเรียกว่า Municipality 3 แห่ง ซึ่งมีประชากรต่อหน่วย (Population) ดังต่อไปนี้

1. Navotas - 230,403
2. San Juan - 117,680
3. Pateros - 57,407

การเมืองและรัฐบาล ของประเทศฟิลิปปินส์

การเมืองและรัฐบาล ของประเทศฟิลิปปินส์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw114 ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

ในการปกครองประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการจำลองรูปแบบอย่างหลวมๆ มาจากสหรัฐอเมริกา และเป็นการปกครองในระบบสาธารณรัฐในแบบมีตัวแทน (Representative Republic) ที่ซึ่งประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล เป็นผู้นำเหล่าทัพทั้งมวล ในการบริหารประเทศประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (Cabinet) เพื่อทำหน้าที่ช่วยบริหารประเทศ

อำนาจในการบริหารประเทศมีการแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ที่เป็นอิสระต่อกัน อันประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ผ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

ฝ่ายบริหาร


ฝ่ายแรก คือฝ่ายบริหาร (Executive Branch) อันได้แก่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรีที่ได้แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี (President of the Philippines)

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1987 ตอนที่ 4.ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้มาด้วยการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และวาระของประธานาธิบดีระบุชัดว่าเริ่มที่เวลาเที่ยงของวันที่ 30 เดือนมิถุนายน และจะดำรงตำแหน่งจนถึงเวลาเที่ยงของอีก 6 ปี หลังจากนั้น ประธานาธิบดีจะไม่มีสิทธิลงรับเลือกตั้งได้อีก และใครด้วยเหตุผลใดหากได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมากว่า 4 ปีแล้ว จะไม่มีสิทธิรับการเลือกตั้งให้เข้ามาในตำแหน่งได้อีก

ในกรณีประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งด้วยเหตุเสียชีวิต หรืออื่นใด รองประธานาธิบดีจะทำหน้าที่ต่อไป ไม่มีรองประธานาธิบดี (Vice President) จะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีโดยกฎหมายจะเริ่มต้นในวันจันทร์สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม

หลักของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1987 นี้ เพื่อเป็นการคงอำนาจของประธานาธิบดีให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กำกับด้วยวาระการดำรงตำแหน่ง เพื่อป้องกันการเข้ามาดำรงตำแหน่งแบบครอบงำแล้วสร้างฐานอำนาจ เล่นพรรคเล่นพวก เพื่อการคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป ดังที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์คอส

ฝ่ายนิติบัญญัติ


ฝ่ายที่สอง คือฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative Branch) มีรัฐสภาเป็นสภาแห่งชาติเรียกว่า Congress ประกอบด้วยสภาสูง หรือวุฒิสภา (Senate) และสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) โดยวุฒิสภามีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในระดับชาติจำนวน 24 คน ทำหน้าที่วาระละ 6 ปี และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เขาเรียกว่า Congressmen ที่ได้รับเลือกจากแต่ละเขต (District) มีการดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี ในแบบของฟิลิปปินส์นั้น วุฒิสมาชิกจะมีอำนาจสูงมาก สูงกว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลของประธานาธิบดีเสียอีก เพราะโดยธรรมเนียมปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีของฟิลิปปินส์เป็นอันมาก มาจากนักวิชาการ นักเทคนิควิทยา อาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการที่ประธานาธิบดีเชิญไปร่วมงาน ซึ่งทำงานและอยู่ในตำแหน่งภายใต้การนำของประธานาธิบดี แต่วุฒิสมาชิกเป็นอิสระ ไม่ถือว่ามีสังกัด

ฝ่ายตุลาการ


ฝ่ายที่สาม คือฝ่ายตุลาการ (Judiciary Branch) ของรัฐบาลมีประธานศาลสูง (Chief Justice) เป็นหัวหน้า
ฝ่ายบริหารการตุลาการ โดยมีคณะผู้ช่วยจำนวน 24 คน ทั้งหมดนี้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อการแต่งตั้งโดย
ประธานาธิบดี โดยการเสนอชื่อผ่านทางฝ่ายสภาฝ่ายตุลาการ

การต่างประเทศ
ภาพ สัญญลักษณ์ของ ASEAN

ภาพ ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) เป็นสมาชิกของเครือข่าย 10 ประเทศ
และกำลังจะมีอีก 1 ประเทศคือ East Timore

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเริ่มแรกของอาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) เป็นสมาชิกระดับนำของ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน หรือปกครองโดยสเปนเดิม เรียกว่า Latin Union ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม 24 ชาติ

ในปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ยังมีปัญหาความขัดแย้งกับไต้หวัน (Republic of China – Taiwan) ประเทศจีน เวียดนาม และมาเลเซียเกี่ยวกับแหล่งที่มีน้ำมันและก๊าสธรรมชาติบริเวณหมู่เกาะสแปรตลี่ (Spratly Islands) และ Scarborough Shoal, และขัดแย้งกับมาเลเซีย (Malaysia) ในการถือสิทธิในเหนือซาบา (Sabah)
ซุลต่านแห่งซูลู (Sultan of Sulu) ผู้ได้รับซาบาเป็นของขวัญในปี ค.ศ. 1703 ในการช่วยซุลต่านแห่งบรูไนต่อสู้กับกบฎ ซึ่งทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์เรียกถือสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าว ในปัจจุบันครอบครัวของซุลต่านแห่งซูลู ก็ยังได้รับค่าเช่าแผ่นดินจากรัฐบาลมาเลเซีย

ประวัติศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์

ประวัติศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์

แปลและเรียบเรียง โดย
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ประเทศฟิลิปปินส์, Philippins, ประวัติศาสตร์, Ferdinand Magellan, Jose Rizal, Andres Bonifacio, Emilio Aguinaldo,  Ramon Magsaysay, Benigno Aquino Jr, Ferdinand E. Marcos, Corazon Aquino, Fidel Ramos

ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

นักมนุษยวิทยามีหลักฐานว่า มนุษย์โบราณ homo sapiens ได้มีขึ้นในบริเวณ Palawanมานานอย่างน้อย 50,000 ปี และคนเหล่านี้เรียกว่า Tabon Man

ภาพ ถ้ำ Tabon ในประเทศฟิลิปปินส์

หลายพันปีต่อมา ได้มีการเคลื่อนย้ายคนที่มีเชื้อสายลูกประสมออสเตรเลียชาวเกาะ (Austronesian) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน นอกจากนี้คือคนที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (Indonesia) และผ่านทางจีนตอนใต้ ไต้หวัน และพ่อค้าชนกลุ่มน้อยของจีน ซึ่งได้มาถึงจีนในราวๆคริสตศตวรรษที่ 8

ภาพ Ferdinand Magellan นักสำรวจชาวปอร์ตุเกส
ชาวตะวันตกผู้ค้นพบฟิลิปปินส์

การเดินทางมาของนักสำรวจชาวปอร์ตุเกส ชื่อ เฟอร์ดินาน แมเกลแลน (Ferdinand Magellan) ซึ่งได้ไปรับทางานสำรวจให้กับสเปน ในช่วงปี ค.ศ. 1521 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้เข้ามารู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากที่พยายามเปลี่ยนคนพื้นเมืองไปนับถือศาสนาคริสต์ได้ทำให้เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมืองคนหนึ่งชื่อ Lapu-lapu ในการสู้รบนั้นกลุ่มนักเดินทางสำรวจ พ่ายแพ้ และ Magellan ถูกฆ่าตาย แต่มีเรือของเขาสามารถกลับไปยังสเปนได้ ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1565 ได้มีการจัดตั้งชุมชนสเปนแรกในหมู่เกาะนี้
การเดินทางมาของนักบวชคริสตศาสนาในนิกายต่างๆ ได้แก่ Augustinians และ Franciscans,ตามมาด้วยพวก Jesuits, Dominicans, และ Recollects นักบวชเหล่านี้มาพร้อมกองทหารไปยังเกาะต่างๆ เพื่อค้นหาชาวพื้นเมืองและหมู่บ้านต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานพวกสเปนก็จัดตั้งโบสถ์และค่ายทหาร และแสวงหาทรัพยากรมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องเทศ นิกายโรมันแคธอลิกได้กลายเป็นศาสนากระแสหลักของฟิลิปปินส์

ในระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เกิดขึ้นระหว่างพวกชนเผ่าชาวที่สูงของ Luzon และชนเผ่าบริเวณชายผั่ง พวกมุสลิมได้ต่อต้านการมาของชาวยุโรปอย่างเหนี่ยวแน่นในเกาะแถบมินดาเนา (Mindanao) ในช่วงนี้พวกสเปนต้องคอยต่อสู้กับโจรสลัดชาวจีน กองกำลังของญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ดัช และอังกฤษ และกลุ่มประเทศเหล่านี้สนใจในการมีผลประโยชน์ในฟิลิปปินส์เช่นกัน

ภายใต้การปกครองของสเปน


สเปนได้ปกครองฟิลิปปินส์กว่า 300 ปี และนับได้ว่าได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์อย่างมาก

ภาพ แผนที่คลองสุเอส (Suez Canal)

ภาพ คลองสุเอส (Suez Canal) ถ่ายในปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1781 ฟิลิปปินส์กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของสเปน โดยมีผู้ว่าการอาณานิคมชื่อ Jose Basco y Vargas ได้สร้างสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศทางด้านนี้ และฟิลิปปินส์ถูกบริหารโดยตรงจากสเปน การมีคลองสุเอซ (Suez Canal) ในปี ค.ศ. 1869 ได้ช่วยร่นเวลาในการเดินทางระหว่างยุโรปกับฟิลิปปินส์ ซึ่งทำให้มีลูกหลานชนชั้นกลางและชั้นสูงของชาวฟิลิปปินส์ได้เดินทางไปศึกษาในประเทศสเปนและประเทศในยุโรปอื่นๆ

ผลจากการมีนักศึกษาหัวใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตกมากขึ้น จึงเกิดขบวนการประกาศอิสรภาพ ในช่วงเวลานั้นเองได้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านสเปน (Propaganda Movement) ที่ได้มีการปกครองในแบบอาณานิคมอย่างไม่เป็นธรรม โดยใช้ศาสนาบังหน้า (frailocracy) และในการปกครองนี้ไม่ได้มีตัวแทนของฟิลิปปินส์ในสภาของสเปนอย่างเพียงพอ Jose Rizal ปัญญาชนชาวฟิลิปปินส์ได้เป็นผู้นำต่อสู้ในเรื่องนี้ที่ผู้คนรู้จักดีที่สุดคนหนึ่งได้ถูกลงโทษประหารชีวิตฐานก่อการกบฏ สร้างความไม่สงบ และจัดตั้งกลุ่มผิดกฎหมาย

ภาพ Jose Rizal
ภาพ Andres Bonifacio

ภาพ Emilio Aguinaldo

ในการนี้ได้มีผู้นำชาวฟิลิปปินส์สูงสุดชื่อ Andres Bonifacio โดยตั้งสมาคมลับชื่อ Katipunan มีวัตถุประสงค์เพื่อขับไล่ชาวสปนออกไปจากฟิลิปปินส์ แต่ในที่สุดกระบวนการปฏิวัตินั้นก็แตกสลายเป็นสองกลุ่ม กลุ่ม Magdiwang นำโดย Andres Bonifacio และอีกกลุ่มชื่อ Magdalo นำโดย Emilio Aguinaldo การปฏิวัติต้องหยุดลงชั่วคราว และในที่สุดผู้นำต้องลี้ภัยไปอยู่ฮ่องกง

ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ

ในปี ค.ศ. 1898 สหรัฐอเมริกาและสเปนได้มีความขัดแย้งกันขึ้นและเกิดสงครามระหว่างสองชาตินี้ที่เรียกว่า Spanish-American war ผู้นำการต่อสู้ของฟิลิปปินส์ที่สำคัญคนหนึ่ง คือ Emilio Aguinaldo ได้รับการชักจูงจากฝ่ายสหรัฐให้กลับจากลี้ภัย และได้รับการสัญญาว่าฟิลิปปินส์จะได้รับอิสรภาพในลักษณะเดียวกับคิวบา

ในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 เมื่อชัยชนะใกล้มือ Emilio Aguinaldo หัวหน้าปฏิวัติได้ประกาศอิสรภาพของฟิลิปปินส์ที่ Kawit, Cavite แต่แล้วก็มาทราบว่าสงครามระหว่างสเปนและสหรัฐที่มะนิลา ทั้งสเปนและสหรัฐไม่ได้สนใจการมีตัวแทนของฟิลิปปินส์ในการเจรจาที่เรียกว่า Treaty of Paris สเปนถูกบังคับให้ต้องสละ Guam ฟิลิปปินส์ และ Puerto Rico ให้กับสหรัฐเพื่อแลกกับเงิน 20 ล้านเหรียญ ซึ่งในระยะต่อมาสหรัฐอ้างว่าเป็นของขวัญ ไม่ใช่การซื้อประเทศ

ภาพ การสู้รบในสงคราม Philippine-American War ในบริเวณเมืองมะนิลา

ในช่วงปี ค.ศ. 1899 – 1913 เมื่อสหรรัฐเข้ายึดครองฟิลิปปินส์แทนที่สเปน ก็ได้เกิดการกบฎต่อต้านโดยชาวฟิลิปปินส์ และเป็นสงครามที่เรียกว่า Philippine-American War เป็นสงครามช่วงเวลายาวนานถึง 14 ปี ในระหว่างการยึดครอง ในระยะต่อมา สถานะของฟิลิปปินสืได้ปรับเปลี่ยนไป ในปี ค.ศ. 1935 ฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพของสหรัฐ มีความเป็นอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้น แต่อิสรภาพของฟิลิปปินส์ได้รับอย่างสมบูรณ์นั้นคือในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 หลังจากญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองจนผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว

ในช่วงสงครามระหว่างสหรัฐกับฟิลิปปินส์ที่ยาวนาน 14 ปีนี้ มีหลายหลักฐานอ้างว่ามีผู้เสียชีวิต 1 ล้านคน มีทั้งที่เป็นทหารตายในสงครามสู้รบ เป็นพลเรือนที่ถูกสังหาร และตายเพราะความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บ
หล้งสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาพ Ramon Magsaysay

ภาพ Benigno Aquino Jr

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศได้รับการคุกคามจากสงครามลัทธิการเมือง การเติบโตของกระบวนการคอมมิวนิสต์ และสงครามกองโจรก่อความไม่สงบขึ้น

ฟิลิปปินส์ต้องประสบกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองหลังจากปี ค.ศ. 1946 กลุ่มกบฎก่อการร้ายที่เรียกว่า Hukbalahaps ที่ได้เคยต่อสู้กับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้ครอบครองบริเวณชนบทและเข้ายึดครองเมืองหลวง ที่ Quezon City และกรุงมะนิลาในช่วงทศวรรษที่ 1950 ทั้งนี้เพราะผู้แทนของเขาถูกโกงในการเลือกตั้ง และไม่ได้มีส่วนในสภา การขู่จากกบฎ Huk ได้ยุติลงด้วยการเจรจาของนักข่าวหนุ่มในขณะนั้นและต่อมาได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา คือ Benigno Aquino Jr และรัฐมนตรีกลาโหมขณะนั้น คือ Ram?n Magsaysay ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 70 เป็นช่วงที่มีการประท้วงโดยนักศึกษา และมีการต่อต้านสหรัฐ

ภาพ Ferdinand E. Marcos อดีตประธานาธิบดีของ
ประเทศฟิลิปปินส์ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด

ในช่วงดังกล่าวได้มีการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการประชุมตัวแทนเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญใหม่ทดแทนฉบับปี ค.ศ. 1935 และมีการลงประชามติ (Referendum) ในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยความไม่สงบ มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง จนต้องประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยแม้มีรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ก็มีการบังคับใช้อย่างมีข้อกังขา และได้มีการเสนอให้ต้องขึ้นศาลสูงเพื่อการตีความ และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้หัวหน้าศาลสูงชื่อ Roberto Concepci?n ต้องลาออกจากตำแหน่ง สถานการณ์สงบเงียบไปจนกระทั่งในช่วงปลายๆ สมัยเผด็จการของประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์คอส (Ferdinand E. Marcos) ซึ่งมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการเล่นพรรคเล่นพวก (Despotism) กันอย่างกว้างขวาง จนทำให้ต้องมีการเดินขบวนต่อต้านและประท้วงรัฐบาลขนานใหญ่ ในปี ค.ศ. 1986 มาร์คอส ครอบครัว และสมัครพรรคพวกของเขาต้องไปลี้ภัยอยู่ที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่นางคอราซอน อากีโน (Corazon Aquino) ภรรยาหม้ายของอดีตวุฒิสมาชิก Benigno Aquino ผู้ซึ่งถูกลอบสังหาร และเป็นคู่แข่งขันประธานาธิบดีได้เข้ารับตำแหน่งแทน

ภาพ นางคอราซอน อาคีโน (Corazon Aquino) ภาพในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน
ที่ต่อสู้กับประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์คอส ในช่วงการรณรงค์ต่อต้าน
เผด็จการที่เรียกว่า People’s Revolution และนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจ
ของมาร์คอส ปี ค.ศ. 1986

อย่างไรก็ตาม แม้มีความพยายามนำประเทศกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยและมีการปฏิรูประบบราชการหลังจากนั้น แต่ก็ยังมีการก่อความวุ่นวาย ข่าวคราวความพยายามปฏิวัติรัฐประหาร มีปัญหาจากกลุ่มก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และกบฎแบ่งแยกดินแดนมุสลิม ซึ่งทำให้มีความชะงักงันทางด้านเศรษฐกิจ และมีความถดถอยด้านผลิตผลของประเทศ ในช่วงดังกล่าวประเทศได้เข้าสู่ยุควิกฤติในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสองครั้ง และในปี ค.ศ. 2005 ประเทศก็ยังประสบปัญหาจากวิกฤติการเลือกตั้งประธานาธิบดี