Monday, April 6, 2009

การพยาบาลศึกษา (Nurse education)


การพยาบาลศึกษา (Nurse education)
ประกอบ คุปรัตน์ ศึกษาและเปิดประเด็น
E-mail:
pracob@sb4af.org
Updated: Monday, April 06, 2009

ความนำ

ผมอาจเป็นนักการศึกษา และเป็นครูอาจารย์วิชาชีพ เพราะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสายครุศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโท และเอกสายบริหารการศึกษา และอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ คือสหรัฐอเมริกา แต่ทำไมจึงมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับพยาบาลศึกษา จึงขอเล่าให้ฟังดังนี้
เมื่อเป็นอาจารย์อายุยังน้อย ผมเคยเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ให้ชื่อว่า “บนเส้นทางคุ่ขนานของแพทย์และพยาบาลไทย” โดยผมมองดังนี้ว่า เมื่อผมเคยต้องผ่าตัดเล็กน้อยด้วยตนเอง หรือไปเยี่ยมไข้คนอื่นๆ เห็นคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด ก็คือพยาบาล บางทีเห็นหมอหนุ่มหรือสาวๆ ที่เป็นแพทย์ฝึกหัด บางทีก็ต้องถามความรู้จากพยาบาล และพยาลบาลไทยก็ต้องเรียนจนจบปริญญาตรี แล้วเมื่อทำอาชีพทางพยาบาลมา ทำให้เห็นอาชีพด้านนนี้ว่าส่วนสำคัญคือเรื่องของจิตใจ คนเป็นพยาบาลมาแล้วจะเข้าใจเรื่องของบริการสุขภาพ ความเจ็บป่วย เห็นเลือด เห็นความเครียดมามากพอแล้ว เมื่อสักวันพร้อมที่จะอยากเป็นแพทย์ ทำไมไม่เปิดทางให้มีแพทย์ที่เป็นสายปฏิบัติที่มาจากพยาบาล ที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องไปเรียนเตรียมแพทย์ และให้นับประสบการณ์เหล่านั้นบางส่วนมาใช้ในการศึกษาต่อทางด้านแพทย์ จะได้หรือไม่ คำตอบที่ได้จากเพื่อนอาจารย์ที่เป็นผู้สอนแพทย์ มักจะได้เหตุผลนานาประการว่าไม่ได้

เมื่อทำงานในมหาวิทยาลัยดังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำในส่วนที่เรียกว่า “หน่วยพัฒนาคณาจารย์” มีแพทย์หลายท่านที่มาร่วมงานเป็นอาจารย์สอน เพื่อพัฒนาครูอาจารย์ เพื่อให้ทำหน้าที่ผู้สอน ผู้ผลิตบัณฑิตให้ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จึงพบกับอาจารย์หมอต่างๆ จึงมีความเข้าใจในวิชาชีพทางด้านนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเห็นว่า อาชีพการพยาบาล เช่นเดียวกับอาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ หากมองเอาคนไข้ และสุขภาพอนามัยโดยรวมเป็นฐาน วิธีการคิดเกี่ยวกับการอาชีพด้านสุขภาพ และรวมทั้งการพยาบาลแล้ว น่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่านี้

บัดนี้มาเขียนบทความ ขอเขียนใน Blogger อย่างเปิดประเด็น เปิดให้ทุกท่านที่ได้อ่าน ได้แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่ผมนำเสนออย่างเสรี เพื่อยังประโยชน์แก่วิชาชีพที่มีคุณค่าต่อสังคมประเทศ คือ การพยาบาลนี้

ความหมาย การพยาบาลศึกษา

From Wikipedia, the free encyclopedia

การพยายาบาลศึกษา หรือการศึกษาของพยาบาล (Nurse Education) ประกอบไปด้วยการฝึกอบรมทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่ให้แก่พยาบาลที่จะทำหน้าที่ในอาชีพพยาบาล การศึกษานี้ให้แก่นักเรียนพยาบาล (Nursing students) โดยพยาบาลและนักวิชาชีพด้านการแพทย์และสุขภาพที่มีประสบการณ์ที่จะทำหน้าที่ทางด้านการเรียนการสอนพยาบาล ทุกประเทศในปัจจุบันมีการให้การฝึกอบรมด้านพยาบาลที่สอดคล้องกับการเป็นพยาบาลทั่วไป (General nursing) และการพยาบาลในสายวิชาชีพเฉพาะ เช่น พยาบาลเด็ก (Pediatric nursing) การพยาบาลหลังการผ่าตัด (Post-operatory nursing) การเรียนเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องใช้เวลา 4 ปี และการที่จะเรียนเพื่อให้ได้คุณสมบัติเป็นพยาบาลวิชาชีพเฉพาะพิเศษ ก็จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นมากไปกว่านั้นอีก

ในประเทศไทย การจะเรียนให้ได้เป็นพยาบาลวิชาชีพนี้ นับเป็นการศึกษาที่รัฐบาลให้ทุนการศึกษาอย่างมาก เพราะเป็นอาชีพที่ต้องการ และเป็นอาชีพที่ไม่ได้แสวงกำไร และอำนวยประโยชน์สุขให้กับประชาชนโดยตรง ดังมีวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดของรัฐบาล ที่ให้การศึกษาด้านพยาบาลจนจบถึงปริญญาตรี โดยรับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลบางส่วน หรือทั้งหมด อันมีหน่วยงานที่เป็นวิทยาลัยพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล โดยมีวิทยาลัยพยาบาลสนสังกัด หรือกำกับของหน่วยงานต่างๆดังนี้

- คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 16 แห่ง
- สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 29 แห่ง แต่เขาจะใช้ชื่อแต่ละวิทยาลัยเป็น “วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี” แล้วตามด้วยชื่อตามสถานที่จังหวัด ที่ตั้งหรืออื่นๆ
- สังกัดกระทรวงกลาโหม 4 แห่ง
- สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง
- สังกัดกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง
- สังกัดสถาบันการศึกษาเอกชน 9 แห่ง

งานทำตามคำสั่ง

เมื่อผมทำงานพัฒนาคณาจารย์ มีวงการให้คำจำกัดความอาชีพพยาบาลว่า “ททท” สงสัยว่า เขาหมายความว่าอย่างไร ไม่ใช่ย่อมาจากคำว่า “สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยนะครับ” เขาบอกว่า มาจากคำว่า ทำทันที
ลักษณะอาชีพพยาบาลในส่วนหนึ่ง เป็นงานที่ต้องทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด โดยในลักษณะอาชีพตามกฏหมายแล้ว คนสั่งการด้านการรักษาพยาบาลในบางลักษณะนั้น ต้องมาจากแพทย์ แม้ในการทำงานจริง พยาบาลก็อาจมีความสามารถปฏิบัติงานได้เท่าๆกับแพทย์ หากเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใช้วิชาชีพแพทย์เฉพาะทางมากนัก

แต่เพราะลักษณะอาชีพที่ทำตามคำสั่งนี้เอง จึงทำให้คนรุ่นสาวๆ มักจะไม่เลือกวิชาชีพพยาลเป็นอาชีพแรก หากเรียนดีสักหน่อย เขาก็จะไปเลือกเรียนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช ฯลฯ ก่อนที่จะมาเรียนทางพยาบาล แนวคิดแบบนี้ น่าจะต้องคิดเปลี่ยนแปลงกันบ้าง ผมเคยคิดท้าทายมาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่เปลี่ยน
พยาบาลต้องมีสายอาชีพที่เตรียมเป็นแพทย์ได้ และจะเป็นแพทย์ที่ดีได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นทางคู่ขนาน

ใครมีความเห็นอย่างไรก็เสนอมา

งานหนัก ผลตอบแทนน้อย

คนไม่อยากทำอาชีพพยาบาล เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่หนัก ต้องทำงานทั้งวัน และอยู่ท่ามกลางความเครียด อาชีพแพทย์ก็เป็นเช่นนั้น คือต้องทำงานหนัก เครียด และแถมยังมีโอกาสถูกฟ้องได้ด้วย แต่ผลตอบแทนระหว่างอาชีพแพทย์และพยาบาลนั้นต่างกันหลายเท่า

แพทย์ในประเทศไทย สามารถมีรายได้เหยียบแสนบาทต่อเดือนไม่ยาก อาชีพพยาบาลนั้นความจริง ก็มีรายได้ดี มักไม่มีใครตกงาน แต่การต้องอยู่ทำงานกันเป็นเวรยาม บางทีมีผลต่อครอบครัว เวลาทำงานตามกะดึก สามีหรือคู่ครองทำงานตอนกลางวัน ไม่มีใครคอยดูแลครอบครัว เวลาหลับนอนไปเป็นส่ำ อย่างนี้เป็นงานหนัก เกิดความเครียดในครอบครัวได้ บางทีเขาเลยผลักงานที่ต้องอยู่กันเป็นกะให้กับพยาบาลรุ่นใหม่ๆ พอรุ่นพี่ๆมีครอบครัวแล้ว ก็ได้สิทธิพิเศษ แต่ข้อเสียคือ คนเวลาเจ็บป่วยมักไม่เลือกเวลา หากต้องเจ็บป่วยตอนกลางคืน แพทย์ประจำก็ไม่ค่อยมี ต้องใช้พยาบาลอาชีพที่มีประสการณ์คอยตัดสินปัญหาได้บ้าง ก็ไม่ค่อยมี ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพยาบาลฝึกหัด กับแพทย์ฝึกหัด อย่างนี้ก็เป็นจุดอ่อนทางการแพทย์

งานคู่ขนานกับการอาชีพแพทย์

ทำงานอยู่ใกล้แพทย์ ทำงานใกล้กัน เป็นผู้ช่วยได้ หรือบางทีทำงานเกินหน้าที่กฏหมาย ลดงานแพทย์ลง แต่ไม่สามารถเป็นแพทย์ได้

เหตุจากการคิดถึงการแพทย์แบบตะวันตก โดยเฉพาแบบอเมริกันที่สร้างค่าให้กับอาชีพแพทย์มาก ตั้งแต่วิธีการฝึกอบรมคนกว่าจะเป็นแพทย์อาชีพ แพทย์เฉพาะทาง และยังมีการกันด้วยกฏหมายนานาประการที่ทำให้คนในอาชีพอื่นๆ หรือคนที่จะเข้าสู่อาชีพทางการแพทย์นั้นเป็นไปได้ยาก

การแพทย์ไทย เดินตามแนวทางตะวันตกค่อนข้างมาก มากจนการแพทย์ในแผนเดิม การแพทย์ทางเลือกเป็นไปได้ยาก แต่ขณะเดียวกัน การแพทย์เองก็ไม่มีกำลังคนที่จะดูแลผู้ป่วยได้เต็มที่

ทำไมพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถ แต่ในระหว่างที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เขาไม่สามารถสอบเข้าได้ จะด้วยเหตุใดก็ตาม แต่โดยศักยภาพแล้วมีเป็นอันมากที่มีขีดความสามารถที่จะเป็นแพทย์ที่ดีได้
ทำไมในทางปฏิบัติจึงไม่มีการเปิดโอกาส ทำไมไม่พัฒนการอาชีพพยาบาลที่ต้องมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) อย่างที่แพทย์ส่วนหนึ่งอ้างว่าพยาบาลไม่มีความคิดวิเคราะห์ คิดแบบแยกแยะ แบบมีวิจารณญาณ
ทำไมเราจะต้องผลิตพยาบาลแบบที่เป็นวิชาชีพทางตัน

งานเสี่ยงมากขึ้น

โรคติดต่อที่มีโอกาสเสี่ยงติดโรคมาจาคนไข้มีมากขึ้น โรคมีโอกาสติดตามตัวของคนไข้ ที่มีการเคลื่อนไหว เคลื่อนย้ายถิ่น ข้ามประเทศ ข้ามทวีปมีมากขึ้น

โรคเอดส์ ไวรัสลงตับ โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โรคเหล่านี้มีโอกาสแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็ว เพียงข้ามคืน

เป็นความจริงที่โลกทุกวันนี้ มีความเสี่ยงจากโรคระบาด โดยเฉพาะโรคจากไวรัส จากระบบางเดินหายใจ โรคติดต่อที่พยาบาลต้องมีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยอย่างมาก

ปัญหานี้สร้างความหวาดหวั่นให้กับคนหนุ่มสาวที่จะเป็นแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ และบุคลากรที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย ที่มีโอกาสเกิดบาดแผลในขณะรักษาพยาบาล และมีโอกาสติดต่อกันโดยทางเลือดและแผลเปิดได้

แล้วอาชีพเหล่านี้มีทางในการป้องกันหรือทำให้อาชีพมีความเสี่ยงลดลงได้หรือไม่

านขยาย และครอบคลุม

การพยาบาลแลผดุงครรภ์ (Nurse and Midwifery)

ในประเทศสหราชอาณาจักร หรืออังกฤษ หลายวิทยาลัยใช้ชื่อ Nurse and Midwifery

งานที่ทำร่วมกัน ประสานงานกัน และหาเส้นแบ่งแยกได้ไม่ชัดเจน กับบุคลากรทางการแพทย์และสุขภาพต่างๆ เช่นเดียวกับงานดูแลสุขภาพที่บางส่วนควรเริ่มจากที่บ้าน และที่โรงเรียน ก่อนที่จะต้องปล่อยให้ป่วยแล้วจึงมาหาแพทย์

งานการผดุงครรภ์ (Midwifery) เป็นงานให้บริการสุขภาพวิชาชีพที่ให้บริการขณะตั้งครรภ์ (prenatal care) สำหรับคนที่จะเป็นมารดาคน (expecting mothers) ดูแลขณะคลอด (birth) การดูแลทารก (infant) การดูแลหลังการคลอด (postpartum) ดูแลทั้งแม่และทารก งานเหล่านี้ต้องการนักวิชาชีพที่มีความรู้และได้รับการฝึกฝน ต้องให้เวลากับคนไข้ที่อยู่ในฐานะยากในการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง และในบางกรณีต้องอยู่ในสถานที่ห่างไกล ยากแก่การเดินทาง คนทำงานในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า “ผดุงครรภ์” (Midwifes)
งานในลักษณะดังกล่าว จะเป็นงานที่ลดงานของแพทย์ที่ปกติก็มีงานล้นมืออยู่แล้ว และมองดูในสภาพความเป็นจริงแล้ว ในหลายๆสถานที่ห่างไกล มันเป็นทางเลือกสำหรับคนไข้ที่จะเลือกว่าอะไรเป็นทางเลือกในการรับบริการรักษาพยาบาลที่เป็นประโยชน์แก่เขา

งานที่ต้องก้าวหน้า และทันสมัยยิ่งขึ้น

งานที่ต้องเกี่ยวกับข้อมูล ฐานข้อมูล การใช้ช้อมูลร่วมกัน อย่างรวดเร็ว และไม่ผิดพลาดมีมากขึ้น ข้อมูลทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลมีการส่งผ่านทางระบบสายและไร้สาย เพื่อการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทั้งข้ามท้องที่ และในบางกรณีเป็นการสื่อข้ามประเทศ ข้ามทวีป ก็มีให้เห็นมากขึ้น

งานข้อมูลร่วมกับแพทย์ งานร่วมกับฝ่ายการจ่ายยา การดูแลด้านการเงิน ค่าใช้จ่าย ตลอดจนระบบประกันต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและอื่นๆ

อาชีพพยาบาลในฐานะผู้ต้องเฝ้าผู้ป่วย ต้องรายงานข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบและถูกต้องที่สุด จะเตรียมตัวเองอย่างไรต่อความคาดหวังดังกล่าว

การเรียนรู้ตลอดชีวิต

อาชีพพยาบาลจำเป็นต้องเป็นอาชีพที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องมีความสมดุลย์ระหว่างความต้องกาทางการศึกษา การฝึกปฏิบัติของพยาบาล การทำให้บริการด้านสุขภาพที่ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้บรรลุในความท้าทายเหล่านี้ อาชีพพบาบาลจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงานทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติด้านการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิผล

ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่สอนพยาบาล ทั้งที่เป็นพยาบาล และส่วนที่มาจากสายอาชีพอื่นๆ ก็ต้องมีการเตรียมพร้อมที่จะมีแนวคิด ทัศนคติ และทักษะอันควรในการฝึกสอนพยาบาลด้วย

การพยาบาลศึกษา

อาชีพพยาบาลจะนิ่งเฉยไม่ได้ รวมทั้งครูอาจารย์ผู้สอนพยาบาล และผู้บริหารโรงเรียนและวิทยาลัยพยาบาลก็หยุดเฉยไม่ได้

แล้วท่านที่ต้องรับผิดชอบต่องานด้านการศึกษาเหล่านี้ จะทำอย่างไร จะต้องมีการเตรียมตัวกันอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องมีการศึกษา แลกเปลี่ยนกัน ทั้งระหว่างคนในวิชาชีพเดียวกัน และกับคนภายนอกวิชาชีพ เพื่อยังประโยชน์ที่เป็นจริงในสภาพสังคมปัจจุบัน และอนาคต

ท่านมีทัศนะและความคิดเห็นอย่างไร โปรดร่วมกันนำเสนอได้

No comments:

Post a Comment