แปลและเรียบเรียง โดย
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com
Keywords: ประเทศฟิลิปปินส์, Philippins, ประวัติศาสตร์, Ferdinand Magellan, Jose Rizal, Andres Bonifacio, Emilio Aguinaldo, Ramon Magsaysay, Benigno Aquino Jr, Ferdinand E. Marcos, Corazon Aquino, Fidel Ramos
ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
นักมนุษยวิทยามีหลักฐานว่า มนุษย์โบราณ homo sapiens ได้มีขึ้นในบริเวณ Palawanมานานอย่างน้อย 50,000 ปี และคนเหล่านี้เรียกว่า Tabon Man
หลายพันปีต่อมา ได้มีการเคลื่อนย้ายคนที่มีเชื้อสายลูกประสมออสเตรเลียชาวเกาะ (Austronesian) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน นอกจากนี้คือคนที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (Indonesia) และผ่านทางจีนตอนใต้ ไต้หวัน และพ่อค้าชนกลุ่มน้อยของจีน ซึ่งได้มาถึงจีนในราวๆคริสตศตวรรษที่ 8
ชาวตะวันตกผู้ค้นพบฟิลิปปินส์
การเดินทางมาของนักสำรวจชาวปอร์ตุเกส ชื่อ เฟอร์ดินาน แมเกลแลน (Ferdinand Magellan) ซึ่งได้ไปรับทางานสำรวจให้กับสเปน ในช่วงปี ค.ศ. 1521 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้เข้ามารู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากที่พยายามเปลี่ยนคนพื้นเมืองไปนับถือศาสนาคริสต์ได้ทำให้เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมืองคนหนึ่งชื่อ Lapu-lapu ในการสู้รบนั้นกลุ่มนักเดินทางสำรวจ พ่ายแพ้ และ Magellan ถูกฆ่าตาย แต่มีเรือของเขาสามารถกลับไปยังสเปนได้ ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1565 ได้มีการจัดตั้งชุมชนสเปนแรกในหมู่เกาะนี้
การเดินทางมาของนักบวชคริสตศาสนาในนิกายต่างๆ ได้แก่ Augustinians และ Franciscans,ตามมาด้วยพวก Jesuits, Dominicans, และ Recollects นักบวชเหล่านี้มาพร้อมกองทหารไปยังเกาะต่างๆ เพื่อค้นหาชาวพื้นเมืองและหมู่บ้านต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานพวกสเปนก็จัดตั้งโบสถ์และค่ายทหาร และแสวงหาทรัพยากรมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องเทศ นิกายโรมันแคธอลิกได้กลายเป็นศาสนากระแสหลักของฟิลิปปินส์
ในระหว่างนั้นได้มีการต่อสู้เกิดขึ้นระหว่างพวกชนเผ่าชาวที่สูงของ Luzon และชนเผ่าบริเวณชายผั่ง พวกมุสลิมได้ต่อต้านการมาของชาวยุโรปอย่างเหนี่ยวแน่นในเกาะแถบมินดาเนา (Mindanao) ในช่วงนี้พวกสเปนต้องคอยต่อสู้กับโจรสลัดชาวจีน กองกำลังของญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ดัช และอังกฤษ และกลุ่มประเทศเหล่านี้สนใจในการมีผลประโยชน์ในฟิลิปปินส์เช่นกัน
ภายใต้การปกครองของสเปน
สเปนได้ปกครองฟิลิปปินส์กว่า 300 ปี และนับได้ว่าได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์อย่างมาก
ในปี ค.ศ. 1781 ฟิลิปปินส์กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของสเปน โดยมีผู้ว่าการอาณานิคมชื่อ Jose Basco y Vargas ได้สร้างสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศทางด้านนี้ และฟิลิปปินส์ถูกบริหารโดยตรงจากสเปน การมีคลองสุเอซ (Suez Canal) ในปี ค.ศ. 1869 ได้ช่วยร่นเวลาในการเดินทางระหว่างยุโรปกับฟิลิปปินส์ ซึ่งทำให้มีลูกหลานชนชั้นกลางและชั้นสูงของชาวฟิลิปปินส์ได้เดินทางไปศึกษาในประเทศสเปนและประเทศในยุโรปอื่นๆ
ผลจากการมีนักศึกษาหัวใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตกมากขึ้น จึงเกิดขบวนการประกาศอิสรภาพ ในช่วงเวลานั้นเองได้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านสเปน (Propaganda Movement) ที่ได้มีการปกครองในแบบอาณานิคมอย่างไม่เป็นธรรม โดยใช้ศาสนาบังหน้า (frailocracy) และในการปกครองนี้ไม่ได้มีตัวแทนของฟิลิปปินส์ในสภาของสเปนอย่างเพียงพอ Jose Rizal ปัญญาชนชาวฟิลิปปินส์ได้เป็นผู้นำต่อสู้ในเรื่องนี้ที่ผู้คนรู้จักดีที่สุดคนหนึ่งได้ถูกลงโทษประหารชีวิตฐานก่อการกบฏ สร้างความไม่สงบ และจัดตั้งกลุ่มผิดกฎหมาย
ในการนี้ได้มีผู้นำชาวฟิลิปปินส์สูงสุดชื่อ Andres Bonifacio โดยตั้งสมาคมลับชื่อ Katipunan มีวัตถุประสงค์เพื่อขับไล่ชาวสปนออกไปจากฟิลิปปินส์ แต่ในที่สุดกระบวนการปฏิวัตินั้นก็แตกสลายเป็นสองกลุ่ม กลุ่ม Magdiwang นำโดย Andres Bonifacio และอีกกลุ่มชื่อ Magdalo นำโดย Emilio Aguinaldo การปฏิวัติต้องหยุดลงชั่วคราว และในที่สุดผู้นำต้องลี้ภัยไปอยู่ฮ่องกง
ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐ
ในปี ค.ศ. 1898 สหรัฐอเมริกาและสเปนได้มีความขัดแย้งกันขึ้นและเกิดสงครามระหว่างสองชาตินี้ที่เรียกว่า Spanish-American war ผู้นำการต่อสู้ของฟิลิปปินส์ที่สำคัญคนหนึ่ง คือ Emilio Aguinaldo ได้รับการชักจูงจากฝ่ายสหรัฐให้กลับจากลี้ภัย และได้รับการสัญญาว่าฟิลิปปินส์จะได้รับอิสรภาพในลักษณะเดียวกับคิวบาในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 เมื่อชัยชนะใกล้มือ Emilio Aguinaldo หัวหน้าปฏิวัติได้ประกาศอิสรภาพของฟิลิปปินส์ที่ Kawit, Cavite แต่แล้วก็มาทราบว่าสงครามระหว่างสเปนและสหรัฐที่มะนิลา ทั้งสเปนและสหรัฐไม่ได้สนใจการมีตัวแทนของฟิลิปปินส์ในการเจรจาที่เรียกว่า Treaty of Paris สเปนถูกบังคับให้ต้องสละ Guam ฟิลิปปินส์ และ Puerto Rico ให้กับสหรัฐเพื่อแลกกับเงิน 20 ล้านเหรียญ ซึ่งในระยะต่อมาสหรัฐอ้างว่าเป็นของขวัญ ไม่ใช่การซื้อประเทศ
ในช่วงปี ค.ศ. 1899 – 1913 เมื่อสหรรัฐเข้ายึดครองฟิลิปปินส์แทนที่สเปน ก็ได้เกิดการกบฎต่อต้านโดยชาวฟิลิปปินส์ และเป็นสงครามที่เรียกว่า Philippine-American War เป็นสงครามช่วงเวลายาวนานถึง 14 ปี ในระหว่างการยึดครอง ในระยะต่อมา สถานะของฟิลิปปินสืได้ปรับเปลี่ยนไป ในปี ค.ศ. 1935 ฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพของสหรัฐ มีความเป็นอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้น แต่อิสรภาพของฟิลิปปินส์ได้รับอย่างสมบูรณ์นั้นคือในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 หลังจากญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองจนผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว
ในช่วงสงครามระหว่างสหรัฐกับฟิลิปปินส์ที่ยาวนาน 14 ปีนี้ มีหลายหลักฐานอ้างว่ามีผู้เสียชีวิต 1 ล้านคน มีทั้งที่เป็นทหารตายในสงครามสู้รบ เป็นพลเรือนที่ถูกสังหาร และตายเพราะความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บ
หล้งสงครามโลกครั้งที่สอง
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศได้รับการคุกคามจากสงครามลัทธิการเมือง การเติบโตของกระบวนการคอมมิวนิสต์ และสงครามกองโจรก่อความไม่สงบขึ้น
ฟิลิปปินส์ต้องประสบกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองหลังจากปี ค.ศ. 1946 กลุ่มกบฎก่อการร้ายที่เรียกว่า Hukbalahaps ที่ได้เคยต่อสู้กับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้ครอบครองบริเวณชนบทและเข้ายึดครองเมืองหลวง ที่ Quezon City และกรุงมะนิลาในช่วงทศวรรษที่ 1950 ทั้งนี้เพราะผู้แทนของเขาถูกโกงในการเลือกตั้ง และไม่ได้มีส่วนในสภา การขู่จากกบฎ Huk ได้ยุติลงด้วยการเจรจาของนักข่าวหนุ่มในขณะนั้นและต่อมาได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา คือ Benigno Aquino Jr และรัฐมนตรีกลาโหมขณะนั้น คือ Ram?n Magsaysay ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 70 เป็นช่วงที่มีการประท้วงโดยนักศึกษา และมีการต่อต้านสหรัฐ
ประเทศฟิลิปปินส์ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด
ในช่วงดังกล่าวได้มีการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการประชุมตัวแทนเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญใหม่ทดแทนฉบับปี ค.ศ. 1935 และมีการลงประชามติ (Referendum) ในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยความไม่สงบ มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง จนต้องประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยแม้มีรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ก็มีการบังคับใช้อย่างมีข้อกังขา และได้มีการเสนอให้ต้องขึ้นศาลสูงเพื่อการตีความ และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้หัวหน้าศาลสูงชื่อ Roberto Concepci?n ต้องลาออกจากตำแหน่ง สถานการณ์สงบเงียบไปจนกระทั่งในช่วงปลายๆ สมัยเผด็จการของประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์คอส (Ferdinand E. Marcos) ซึ่งมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการเล่นพรรคเล่นพวก (Despotism) กันอย่างกว้างขวาง จนทำให้ต้องมีการเดินขบวนต่อต้านและประท้วงรัฐบาลขนานใหญ่ ในปี ค.ศ. 1986 มาร์คอส ครอบครัว และสมัครพรรคพวกของเขาต้องไปลี้ภัยอยู่ที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่นางคอราซอน อากีโน (Corazon Aquino) ภรรยาหม้ายของอดีตวุฒิสมาชิก Benigno Aquino ผู้ซึ่งถูกลอบสังหาร และเป็นคู่แข่งขันประธานาธิบดีได้เข้ารับตำแหน่งแทน
ที่ต่อสู้กับประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์คอส ในช่วงการรณรงค์ต่อต้าน
เผด็จการที่เรียกว่า People’s Revolution และนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจ
ของมาร์คอส ปี ค.ศ. 1986
เผด็จการที่เรียกว่า People’s Revolution และนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจ
ของมาร์คอส ปี ค.ศ. 1986
อย่างไรก็ตาม แม้มีความพยายามนำประเทศกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยและมีการปฏิรูประบบราชการหลังจากนั้น แต่ก็ยังมีการก่อความวุ่นวาย ข่าวคราวความพยายามปฏิวัติรัฐประหาร มีปัญหาจากกลุ่มก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และกบฎแบ่งแยกดินแดนมุสลิม ซึ่งทำให้มีความชะงักงันทางด้านเศรษฐกิจ และมีความถดถอยด้านผลิตผลของประเทศ ในช่วงดังกล่าวประเทศได้เข้าสู่ยุควิกฤติในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสองครั้ง และในปี ค.ศ. 2005 ประเทศก็ยังประสบปัญหาจากวิกฤติการเลือกตั้งประธานาธิบดี
เก่งจัง เนื้อหา เรียบเรียงได้ดี ^^
ReplyDeleteขอบคุณครับ หากมีความคิดเห็นอะไร ก็แสดงมาได้นะครับ เพื่อจะได้มีโอกาสปรับปรุงให้เป็นประโยชน์เสมอ
ReplyDeleteอยากให้กล่าวถึงระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์หน่อยครับ
ReplyDelete