บทที่ 4 สหรัฐอเมริกา ยุคเมดิสัน มอนโรว์ และอาดัมส์
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: ประวัติศาสตร์ history, สหรัฐอเมริกา, United States, USA, James Madison, James Monroe, founding fathers
ภาพ เจมส์ แมดิสัน (James Madison)
ภาพ เจมส์ มอนโร (James Monroe)
ภาพ จอห์น ควินซี อาดัมส์ (John Quincy Adams)
ยุคเมดิสัน มอนโรว์ และอาดัมส์
(Madison, Monroe, and Adams)
ยุคหลัง Jefferson ได้มี James Madison เป็นประธานาธิดีคนต่อมา ซึ่งส่งเสริมการเข้ามีบทบาทในโลกของการค้า โดยสร้างความเข้มแข็งทางการรบ ดังที่เรียกว่าพวก War Hawks โดยเน้นการที่สหรัฐปรารถนาที่จะเข้ายึดครอง Canada ทางเหนือ และ Florida ทางใต้ ซึ่งนำไปสู่สงครามในช่วงปี ค.ศ. 1812 ซึ่งได้รับการต่อต้าน ไม่เห็นด้วยในหมู่ชาว New England การมีข้อตกลง Ghent (Treaty of Ghent) ที่ได้มีขึ้น แท้จริงไม่ได้มีผลอะไรโดยเฉพาะ แต่ทำให้เห็นถึงกลุ่มคนที่ต้องการเป็นสหรัฐรุ่นใหม่ ในยุคนี้เป็นยุคที่เขาเรียกว่า Era of Good Feeling คือพวกที่คิดฝันดี ส่วนพวกที่ต้องการขยายบทบาทรัฐบาลกลางและแผ่อำนาจก็ได้สลายตัวไป กลายเป็นการไปบุกเบิกดินแดนใหม่ทางตะวันตก ซึ่งยังมีให้เลือกได้อย่างไม่จำกัด พวกประชาธิปัตย์ในระยะนี้ก็ยอมรับบทบาทของการต้องมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง และเห็นด้วยกับการที่จะขยายอาณาเขตของประเทศ และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยในปี ค.ศ. 1816 ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองภายใน มีการจัดเก็บภาษีเพื่อการป้องกันประเทศ และเกิดธนาคารแห่งชาติเป็นแห่งที่สอง
นโยบายต่างประเทศ
นโยบายด้านการต่างประเทศในยุคของ James Monroe ได้เป็นประธานาธิบดีก็ยังไม่เปลี่ยน ดังที่เรียกว่า Monroe Doctrine ที่ปฏิเสธการเข้ามาจัดตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาของประเทศในยุโรป โดยถือว่าโลกตะวันตก หรือทวีปอเมริกานี้จะต้องมีศักดิ์ศรี ในทางกิจการภายใน ความเข้มแข็งของรัฐบาลกลางได้เพิ่มขึ้น โดยการนำเสนอของ John Marshall ได้มีการจัดตั้งศาลสูงที่เรียกว่า the U.S. Supreme court ในปี ค.ศ. 1820 ในช่วงนั้นได้เริ่มมีความตึงเครียดในบางส่วนของประเทศที่ต้องการความเป็นอิสระและไม่ต้องการอยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาลกลาง
ในทางตอนเหนือประกอบด้วยพวกพ่อค้า นักอุตสาหกรรม นักลงทุน และชาวนา พวกคนงานก็จะวุ่นอยู่กับการค้า การปรับปรุงการเกษตรสมัยใหม่ และการเริ่มต้นเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนในทางตอนใต้ ได้มีการเครื่องปั่นด้ายแบบ Whitneys’ Cotton Gin ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอ พวกฝ้ายกลายเป็นสินค้าที่มีการตื่นตัว รัฐทางตอนใต้ อันได้แก่ อลาบามา (Alabama), ลุยเซียนา (Louisiana), และ มิสซิสซิปปี้ (Mississippi) กลายเป็นอาณาจักรของการปลูกฝ้ายแบบอุตสาหกรรม การได้รัฐฟลอริดามาด้วยการซื้อจากฝรั่งเศส ก็ยิ่งทำให้รัฐทางภาคใต้มีความสำคัญยิ่งขึ้น ทางอเมริกาตะวันตก ก็มีการขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง ในราวตอนเปลี่ยนศตวรรษ ได้มีรัฐเกิดใหม่ทางตะวันตกของเทือกเขา Appalachians มีรัฐใหม่ได้แก่ Kentucky, Tennessee, and Ohio และอเมริกาก็ยังเคลื่อนขยายไปทางตะวันตก และชีวิตการผจญภัยและการสร้างอนาคตใหม่ได้กลายเป็นตำนานของประเทศนี้
แรงงานทาส
ประเด็นการค้าทาสและใช้แรงงานทาสในทางใต้เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความแตกแยกภายในประเทศ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Quincy Adams ได้มีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างประณีประนอมในรัฐที่เกิดใหม่ ดังกรณีที่เรียกว่า Missouri Comprimise ในปี ค.ศ. 1820 และนำไปสู่การยกเลิกทาส โดยมีระบบภาษีที่กำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1828 ที่เอื้อต่อรัฐภาคเหนือที่มีฐานอุตสาหกรรม แต่ภาษีมาตกอยู่กับรัฐทางใต้ที่เป็นกสิกรรม ในช่วงทศวรรษที่ 1820 และ 1830 ได้มีการพูดถึงประชาธิปไตย และการทนทุกข์ของคนในหลายๆรัฐ และประเด็นเหล่านี้มีส่วนปรากฎในการเลือกประธานาธิบดี ส่วนประชาธิปไตยได้มีการเลือกตัวแทนของพรรคการเมืองเพื่อชิงตำแหน่ง แทนระบบที่เป็น Caucus ส่วนศาสนาและการเมืองได้มีการแบ่งแยกกันอย่างสมบูรณ์ คล้ายกับในฝรั่งเศส
No comments:
Post a Comment