Sunday, April 19, 2009

ประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา


ประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา
สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat


เรียบเรียงจาก Wikepedia


Updated: Thursday, January 29, 2009

Keywords: การเมือง, politics, Cw105, การปกครอง, governance, ประธานาธิบดี, presidents, presidency, สหรัฐอเมริกา, USA, United States


ภาพ แกะสลักในภูเขาหินที่ Mount Sushmore, South Dagota, USA
ประธานาธิบดี 4 คน ได้แก่ George Washington, Thomas Jefferson,
Theodore Roosevelt, และ Abraham Lincoln

ในประเทศที่มีสถานะอภิมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ จึงมีความสำคัญอย่างมาก

คุณสมบัติ


ในมาตราที่ 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้คนที่จะสามารถเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐได้ต้องเป็นประชากร (Citizen) ของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยกำเนิด อันหมายถึงการมีพ่อหรือแม่เป็นประชากรของประเทศ หรือบุคคลผู้นั้นได้เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปี และเป็นผู้มีถิ่นฐาน (Resident) ในสหรัฐอเมริกามาไม่น้อยกว่า 14 ปี

ในรัฐธรรมนูญไม่ได้จำกัดด้านเพศ เชื้อชาติ หรือศาสนา

แต่ประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มคนแรกในปี ค.ศ. 1789 จนถึงปัจจุบัน มีประธานาธิบดีที่เข้ามารับตำแหน่งทั้งสิ้น 41 คน เป็นชายทั้งสิ้น แม้โดยรัฐธรรมนูญไม่ได้มีข้อจำกัดด้านเพศในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ


ยังไม่มีประธานาธิบดีที่ไม่ใช่คนมีเผ่าพันธุ์จากทางยุโรป ยังไม่มีคนผิวดำที่มีเชื้อสายอัฟริกัน เมกซิกัน เอเซีย หรืออื่นๆ และยังไม่มีสตรีเป็นประธานาธิบดี หรือรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2009 ที่สหรัฐอเมริกาได้มีประธานาธิบดีที่เชื้อสายอัฟริกัน คือ Barrack H. Obama ซึ่งมีบิดาเป็นชาวเคนย่า และมีมารดาเป็นอเมริกันผิวขาว


เงินเดือนประธานาธิบดีและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ

Presidential salary and benefits

เงินเดือน (Salary)

เงินเดือนประธานาธิบดีสหรัฐ

วันประกาศใช้ เงินเดือน เทียบปี 2001
September 24,1789$25,000 $250,000 (1800)
March 3, 1873 $50,000 $710,000 (1873)
March 4, 1909 $75,000 $1,420,000 (1909)
January 19, 1949 $100,000 $708,000 (1949)

January 20, 1969 $200,000 $979,000 (1969)
January 20, 2001 $400,000 $400,000 (2001

เมื่อประธานาธิบดี George Washington เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นคนแรกนั้น ได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นรายปีๆ ละ 25,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนมากในขณะนั้น และ Washington ได้ปฏิเสธที่จะรับเงินเดือนดังกล่าว

โดยทั่วไป ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นลูกจ้างรัฐที่จะได้รับเงินเดือนสูงที่สุดในประเทศ ดังนั้นจึงจะต้องมีเงินเดือนสูงที่สุดในรัฐบาลกลาง ซึ่งรวมถึงสูงกว่าผู้พิพากษาศาลสูงด้วย การจะเลื่อนเงินเดือนประธานาธิบดีได้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ในปี ค.ศ. 1999 หลังจากไม่ได้มีการปรับเงินเดือนประธานาธิบดีมาเป็นเวลานานจึงได้ปรับเงินเดือนให้เป็นเงิน 400,000 เหรียญสหรัฐ และมีผลใช้เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2001 ในประวัติศาสตร์ มีการขึ้นเงินเดือนประธานาธิบดีทั้งสิ้นในช่วงกว่า 200 ปีรวมเพียง 4 ครั้ง หรือประมาณ 50 ปีปรับเงินเดือนเสียครั้งหนึ่ง การจะขึ้นเงินเดือนประธานาธิบดีไม่สามารถทำได้ง่าย เพราะประธานาธิบดีจะขึ้นเงินเดือนให้ตนเองไม่ได้ จะต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา

โดยทั่วไป ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีรายได้สูง แต่เมื่อเทียบกับความรับผิดชอบในฐานะผู้บริหารสูงสุดของบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว นับว่าไม่สูง หลายคนที่ทำงานเป็นผู้บริหารในภาคเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่านี้มากนัก

ประธานาธิบดีกับพรรคการเมือง

ประธานาธิบดีเกือบทั้งหมดเข้าสู่ตำแหน่งโดยการมีพรรคการเมืองในยุคสมัยนั้นให้การสนับสนุน ยกเว้นประธานาธิบดีคนแรก คือ George Washington ที่เข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่สังกัดพรรค และไม่มีคู่แข่ง หลังจากนั้นจะมีคู่แข่งทางการเมืองเสมอ

ในระยะแรก เริ่มมีการจัดตั้งกลุ่มการเมืองชื่อว่า Federalist หรือผู้ที่เห็นด้วยกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลาง แต่ขณะเดียวกันก็จะมีพวกที่เห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ควรมีโครงสร้างความเป็นประเทศแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐต่างๆ เข้าร่วมโดยสมัครใจ และเน้นการให้เสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย กลุ่มนี้นำโดย Thomas Jefferson ซึ่งได้เป็นประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา กลุ่มหรือพรรคการเมืองนี้มีชื่อว่า Republican ซึ่งยังไม่ใช่ในแนวคิดและปรัชญาพรรครีพับลิกัน (Republican Party) ดังในปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นในอีก 100 ปีหลังจากนั้น

ต่อมาก็มีพรรคการเมืองใหม่ที่ได้มีตัวแทนรับการเสนอชื่อและเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีได้ในนามพรรคดีโมแครต (Democratic Party) เริ่มต้นด้วย Andrew Jackson ในปี ค.ศ. 1829 และได้กลายเป็นพรรคหลัก โดยมีการเสนอชื่อบุคคลเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอย่างต่อเนื่องมาจนถึงในปัจจุบัน

หลังจากนั้นได้มีพรรคการเมืองที่มีบทบาทสำคัญเกิดขึ้นอีก 1 พรรค คือ Whig Party ประธานาธิบดีที่ได้รับเสนอชื่อเข้ามาโดยในนามพรรค Whig คือ William Henry Harrison ในปี ค.ศ. 1841 ซึ่งเสียชีวิตในตำแหน่ง และมี John Tyler รองประธานาธิบดีได้เข้ารับตำแหน่งสืบมา มีตัวแทนพรรค Whig ได้เข้าสู่ตำแหน่งต่อมาอีก 2 คน ในช่วงสั้นๆ คือ Zachary Taylor และ Millard Fillmore และหลังจากนั้นได้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในพรรค และพรรคค่อยๆ หมดบทบาทลงไป

ในช่วงก่อนสงครามการเมือง ได้มีประธานาธิบดีจากพรรคดีโมแครตเข้ามารับตำแหน่งในขณะความขัดแย้งการมีทาส และการค้าทาสกำลังทวีความรุนแรงในประเทศ

ในขณะนั้นได้เกิดพรรคการเมืองใหม่ คือพรรครีพับลิกัน (Republican Party) และบุคคลที่ได้เข้าสู่ตำแหน่งด้วยนโยบายเลิกการค้าทาส คือประธานาธิบดีที่ชื่อ Abraham Lincoln ซึ่งในความหมายของพรรครีพับลิกันนี้ คือการยังคงความเป็นสาธารณรัฐร่วมกัน ในขณะที่รัฐฝ่ายใต้ได้แยกตัวเองออกไปเป็นอีกรัฐบาลหนึ่งเรียกว่า Confederacy ไม่ขึ้นต่อรัฐบาลกลาง

ในระยะหลังจากสงครามกลางเมืองเป็นต้นมา ระบบพรรคการเมืองของสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นระบบ 2 พรรค โดยมีพรรคการเมืองหลัก (1) คือพรรครีพับลิกัน ซึ่งในระยะหลังได้กลายเป็นพรรคเก่า ซึ่งคนทั่วไปให้ชื่อว่า Grand Old Party หรือ GOP มีนโยบายอนุรักษ์ คล้ายพรรคอนุรักษ์ของประเทศสหราชอาณาจักร และ (2) พรรคดีโมแครต อันเป็นพรรคที่มีนโยบายที่เป็นฝ่ายก้าวหน้า หรือเน้นการตอบสนองต่อคนเบื้องล่างมากกว่า คล้ายกับพรรคแรงงานของประเทศสหราชอาณาจักร


อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังแนวทางของสองพรรคการเมืองลดความแตกต่างกันลงไปมาก กลายเป็นพรรคที่มีทางเลือกดึงดูดคนส่วนใหญ่ และมีลักษณะเป็นสายกลาง (Moderate) ทำให้มีแนวโน้มว่าประชาชนไม่มีทางเลือกมากนักจากระบบสองพรรค จึงได้มีแรงผลักดันที่จะมี “พรรคการเมืองที่สาม” เกิดขึ้นเป็นระยะๆ เพื่อเป็นพรรคการเมืองเสนอทางเลือกที่แตกต่างกันออกไป บางพรรคอาจเน้นไปทางขวาของฝ่ายรีพับลิกัน กลายเป็นพรรคขวาจัด และบางครั้งเน้นไปในฝ่ายก้าวหน้าเสียกว่าพรรคดีโมแครต เพื่อเสนอแนวทางเลือกใหม่ที่พรรคดั่งเดิมไม่กล้านำเสนอ

รายนามประธานาธิบดีสหรัฐจากคนแรกถึงปัจจุบัน และพรรคการเมืองที่สังกัด
ลำดับที่ รายชื่อ ช่วงดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ

1. George Washington, 1789-1797 ไม่สังกัดพรรค
2. John Adams, 1797-1801 Federalist
3. Thomas Jefferson, 1801-1809 Republican
4. James Madison, 1809-1817 Republican
5. James Monroe, 1817-1825 Republican
6. John Q Adams, 1825-1829 Republican
7. Andrew Jackson, 1829-1837 Democrat
8. Martin Van Buren, 1837-1841 Democrat
9. William H Harrison, 1841 Whig เสียชีวิตในตำแหน่ง
10. John Tyler, 1841-1845 Whig Party
11. James Knox Polk, 1845-1849 Democrat
12. Zachary Taylor, 1849-1850 Whig
13. Millard Fillmore, 1850-1853 Whig
14. Franklin Pierce, 1853-1857 Democrat
15. James Buchanan, 1857-1861 Democrat
16. Abraham Lincoln, 1861-1865 Republican ถูกลอบสังหาร
17. Andrew Johnson, 1865-1869 Republican
18. Ulysses S Grant, 1869-1877 Republican
19. Rutherford B Hayes,1877-1881 Republican
20. James A Garfield, 1881 Republican ถูกลอบสังหาร
21. Chester A Arthur, 1881-1885 Republican
22. Grover Cleveland, 1885-1889 Democrat
23. Benjamin Harrison, 1889-1893 Republican
24. Grover Cleveland, 1893-1897 Democrat
25. William McKinley, 1897-1901 Republican
26. T Roosevelt, 1901-1909 Republican
27. William H Taft, 1909-1913 Republican
28. Woodrow Wilson, 1913-1921 Democrat
29. Warren G Harding, 1921-1923 Republican
30. Calvin Coolidge, 1923-1929 Republican
31. Herbert C Hoover, 1929-1933 Republican
32. F D Roosevelt, 1933-1945 Democrat เสียชีวิตในตำแหน่ง
33. Harry S. Truman, 1945-1953 Democrat
34. D D Eisenhower 1953-1961 Republican
35. John F Kennedy, 1961-1963 Democrat ถูกลอบสังหาร
36. Lyndon B Johnson, 1963-1969 Democrat
37. Richard M Nixon, 1969-1974 Republican ลาออกจากตำแหน่ง
38. Gerald R Ford, 1974-1977 Republican
39. James E Carter, Jr.,1977-1981 Democrat
40. Ronald W Reagan, 1981-1989 Republican
41. George W Bush, 1989-1993 Republican
42. William J Clinton, 1993-2001 Democrat
43. George W Bush, 2001- 2009 Republican
44. Barrack H. Obama 2009 Democrat

ความมั่นคงและความต่อเนื่อง

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีประธานาธิบดีตั้งแต่เริ่มตั้งประเทศจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เป็นลำดับที่ 44 แล้ว

โดยทั่วไป วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยละ 4 ปี และมีเป็นอันมากที่สมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อในสมัยที่สอง ยกเว้นในบางกรณีที่จะดำรงตำแหน่งสมัยเดียวอันเป็นผลจาก ไม่สามารถทำงานตอบสนองต่อประชาชนได้ หรือมีปัญหาความขัดแย้งด้านนโยบาย หรือมีอายุมาก มีปัญหาด้านสุขภาพ

โดยประเพณีประธานาธิบดีของสหรัฐจะดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย เริ่มตั้งแต่ประธานาธิบดี George Washington มี Franklin Delano Roosevelt ซึ่งอยู่ในสถานการณ์พิเศษ คือเริ่มต้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และติดตามด้วยการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้ดำรงตำแหน่งนานถึง 4 สมัย แต่ก็มาเสียชีวิตหลังจากเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัยที่ 4 ไม่นานนัก หลังจากนั้น ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ในปี ค.ศ. 1951 ได้กำหนดให้บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้นั้นไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน และเมื่อรวมการรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีคนก่อน ด้วยเหตุผลการเสียชีวิต การต้องออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ก็จะเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกิน 2 ปี หรือรวมกันแล้ว บุคคลใดๆ ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

ในการรณรงค์เพื่อจะได้เข้าไปดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นเรื่องหนักหนาอย่างมาก เพราะต้องมีการรณรงค์ภายในพรรคของตนเอง เพื่อให้ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนของพรรค และแล้วก็จะต้องมาแข่งขันกับผู้สมัครในพรรคตรงกันข้าม ในการรณรงค์เพื่อหาเสียงนี้ต้องเตรียมตัวกันล่วงหน้าหลายปี และส่วนใหญ่มักจะได้แก่คนที่อยู่ในแวดวงการเมืองมาแล้ว ที่มีเป็น 2 สายใหญ่ๆ คือ สายที่เป็นผู้ว่าการรัฐ นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นสายคนที่มีประสบการณ์ทางการบริหารรัฐกิจมาแล้ว อีกสายหนึ่งคือสายที่เติบโตมาจากสายนิติบัญญัติ คือเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา

อีกด้านหนึ่งคือคนที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีมาก่อนแล้ว และเมื่อประธานาธิบดีหมดวาระลงไป และคนยังให้ความนิยมในพรรคและแนวทางการเมืองอยู่ ก็จะทำให้รองประธานาธิบดีมีโอกาสได้รับการเลือกเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้เช่นกัน

ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ผ่านการแข่งขันกันมา แม้จะแพ้ชนะกันด้วยคะแนนเฉียดฉิวอย่างไร แต่ท้ายสุดเมื่อได้ประกาศผู้ชนะแล้ว ทุกฝ่ายก็จะถือเป็นประเพณีว่าการแข่งขันได้สิ้นสุดลงแล้ว และก็จะต้องยอมรับความเป็นประธานาธิบดีของผู้ชนะไปในที่สุด ในด้านการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของประธานาธิบดีมีได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับการเมืองในประเทศกำลังพัฒนา ประธานาธิบดีไม่ว่าจะเป็นคนมีฐานะร่ำรวยเพียงใด แต่ไม่มีใครที่จะมาจากบริษัทที่ต้องมีผลประโยชน์จากกิจการผูกขาดหรือสัมปทานจากรัฐบาลกลางโดยตรง ความร่ำรวยจึงเป็นฐานเฉพาะในแต่ละรัฐของตน นอกจากนี้คือเรื่องของการมีระบบตรวจสอบ คือมีทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ นอกจากนี้คือเรื่องของสถาบันอิสระของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยก็เป็นระบบอิสระ ระบบหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนก็เป็นอิสระ รัฐบาลกลางไม่ได้เป็นเจ้าของสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์


ระบบการกระจายอำนาจการปกครองของสหรัฐเป็นตัวที่ทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เพราะรัฐแต่ละรัฐมีการเลือกผู้ว่าการรัฐ (State Governor) ซึ่งมีอำนาจในการบริหารงานภายในรัฐของตนเองอย่างสูง ในแต่ละเมืองหรือมหานคร มีนายกเทศมนตรี (Mayor) ที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในเมืองนั้นๆ ซึ่งก็มีอำนาจในการปกครองและให้บริการแก่ประชาชนในแต่ละเมืองของตนอย่างมากเช่นกัน

ความหนักหนาของอาชีพ

จากประธานาธิบดีที่ได้ดำรงตำแหน่ง 41 คน 4 คนได้ถูกลอบสังหารขณะดำรงตำแหน่ง ซึ่งได้แก่ (1)Abraham Lincoln ปี ค.ศ. 1865 (2) James Garfield ค.ศ. 1881 (3) William McKinley ค.ศ. 1901 (4) John F. Kennedy ค.ศ. 1963 นับเป็นอัตราความเสี่ยงของอาชีพที่สูงมาก

การอาสาเป็นนักการเมือง เป็นผู้นำที่จะเสนอประเด็นที่ประชาชนต้องการให้ดำเนินการผลักดันให้เป็นนโยบายและเป็นกฎหมายของประเทศหรือรัฐนั้น เป็นเรื่องที่มักต้องมีความขัดแย้ง มีคนชอบมาก และก็มีคนเกลียดมาก และด้วยเหตุที่ต้องเป็นคนของประชาชน (Public Figures) จึงต้องทำตัวให้ปรากฏต่อสายตาประชาชนและอยู่ในที่เปิดเผยบ่อยครั้ง ทำให้มีช่องว่างที่จะทำให้คนร้ายหรือฝ่ายตรงกันข้ามวางแผนลอบสังหารได้ง่าย

ในประวัติศาสตร์ มีประธานาธิบดีเสียชีวิตในขณะดำรงตำแหน่ง โดยที่ไม่ได้เกิดจากการลอบสังหาร 2 คนได้แก่ (1) William Henry Harrison, ค.ศ. 1841 เสียชีวิตด้วยอาการป่วยหลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน (2) Franklin Delano Roosevelt ในปี ค.ศ. 1945 หลังจากดำรงตำแหน่งมาเป็นสมัยที่ 4 และสุขภาพทรุดโทรมลงเป็นลำดับ ระหว่างช่วงการดำรงตำแหน่งอันยาวนานถึง 3-4 สมัยในระยะวิกฤติของบ้านเมือง


ต้องลาออกจากตำแหน่งด้วยคดีอื้อฉาว 1 คนได้แก่ Richard Milhous Nixon ในปี ค.ศ. 1974 หลังจากกรณีการลอบดักฟังพรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามในกรณีที่เรียกว่า Watergate

สรุป

การเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐเป็นระบบสาธารณรัฐ (Republic) และได้ยึดถือระบอบดังกล่าวตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ ที่ให้มีความแตกต่างจากเมืองแม่เดิม คืออังกฤษ และเน้นในเรื่องของเสรีภาพ การเมืองของประเทศสหรัฐเป็นแบบเน้นการให้บทบาทความเป็นผู้นำของประเทศกับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างสูง แต่ก็มีระบบคานอำนาจของสามอำนาจหลัก คือฝ่ายบริหาร คือส่วนของประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลากร
แต่เพราะความที่มีอำนาจมาก จึงเป็นเป้าโจมตีในหลายๆด้าน ทั้งจากภายในประเทศและจากนอกประเทศ อาชีพเป็นผู้นำประเทศเป็นความเสี่ยง ในปัจจุบันจึงมีมาตรการป้องกันการก่อการร้าย และมีระบบสำรองป้องกันการมีสูญญากาศทางอำนาจเกิดขึ้น โดยมีการเรียนลำดับ หากเกิดมีเหตุอันเป็นไปของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

การเมืองของสหรัฐเมื่อจะเลือกผู้นำประเทศ เขาต่อสู้กันหนัก แต่เป็นการต่อสู้ทางความคิด ไม่เคยมีสงครามกลางเมืองเพราะการแย่งชิงอำนาจเหมือนในประเทศกำลังพัฒนา ยกเว้นสงครามกลางเมืองอันเป็นประเด็นเรื่องหลักการและความเชื่อเรื่องสิทธิมนุษยชน
ตาราง – กรณีลอบสังหารบุคคลสำคัญในสหรัฐอเมริกา

ลำดับที่ ผู้ถูกลอบสังหาร ปีเกิดเหตุ อธิบาย

1. Joseph Smith, Jr. (1844)
Mormon leader Presidential candidate
2. Hyrum Smith (1844)
Mormon leader killed along with Smith
3. Henry Heusken (1861)
American diplomat (accompanying Townsend Harris from Amsterdam)
4. Abraham Lincoln (1865)
President of the United States
5. Thomas Hindman (1868)
Confederate General
6. Edward Canby (1873)
Union General leader of a peace conference
7. Crazy Horse (1877)
Oglala Sioux chief killed by American troops
8. James Garfield (1881)
President of the United States
9. William Goebel (1900)
Governor of Kentucky
10. William McKinley (1901)
President of the United States
11. Frank Steunenberg (1905)
former governor of Idaho
12. Don Mellett (1926)
newspaper editor and campaigner against organized crime
13. Anton Cermak (1933)
mayor of Chicago
14. Huey P. Long (1935)
Louisiana senator and former governor
15. Curtis Chillingworths(1955)
a Florida judge
16. John F. Kennedy (1963)
President of the United States
17. Lee Harvey Oswald (1963)
alleged assassin of John F. Kennedy
18. Medgar Evers (1963)
U.S. civil rights activist
19. Malcolm X (1965)
black leader killed in a Manhattan banquet room after giving a speech
20. George L Rockwell (1967)
founder of the American Nazi Party
21. Martin L King Jr. (1968)
U.S. civil rights activist
22. Robert F. Kennedy (1968)
Presidential candidate
23. Harold Haley (1970)
Marin County Superior Court Judge taken hostage in an effort to free George Jackson from police custody.
24. Orlando Letelier (1976)
Chilean ambassador to the United States under the administration of Salvador Allende
25. Harvey Milk (1978)
gay rights campaigner and city supervisor of San Francisco, California
26. George Moscone (1978)
Mayor of San Francisco killed along with Milk
27. John Wood (1979)
first US federal judge killed in the twentieth century
28. John Lennon (1980)
musician and anti-war icon (British national)
29. Alan Berg (1984)
Radio talk-show host killed by Neo-nazis
30. (Alex Odeh 1985),
Arab anti-discrimination group leader, killed when bomb explodes in his Santa Ana, California office.
31. Alejandro G Malavé, (1986),
famous undercover policeman, in Bayamón, Puerto Rico
32. Don Aronow, (1987),
inventor of the cigarette boat
33. Meir Kahane, (1990),
American rabbi, founder of Jewish Defense League, former member of Israel's Knesset, shot in New York City by Islamic terrorist
34. Ioan P. Culianu, (1991),
professor of divinity
35. Tupac Shakur (1996)
Rapper
36. Tommy Burks, (1998),
Tennessee State Senator
37. Thomas C. Wales, (2001),
Washington federal prosecutor and gun control advocate
38. James E., Member (2003),
New York City Council
39. Rowland Barnes, (2005),
Atlanta judge

No comments:

Post a Comment