Sunday, April 5, 2009

ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (George Washington)

ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (George Washington)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
Springboard For Asia Foundation (SB4AF)


Updated: Sunday, May 11, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง 2 สมัยในช่วงปี ค.ศ.1789-1797 เขาเป็นผู้นำทัพฝ่ายประกาศอิสรภาพในขณะนั้นที่เรียกว่า “กองทัพบกแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Army) มีชัยเหนือประเทศสหราชอาณาจักร (Kingdom of Great Britain) ในสงครามที่เรียกว่า “สงครามปฏิวัติแห่งอเมริกา” (American Revolutionary War) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1775–1783 ประชาชนในเขตอาณานิคมของอังกฤษได้ทำสงครามเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

วอชิงตันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำสูงสุดของกองทัพปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1775 ในปีต่อมา เขาได้นำทัพเข้าสู้รบกับอังกฤษนอกเมืองบอสตัน ในรัฐแมสสาชูเสท และพ่ายแพ้ ต่อมาในการสู้รบที่เมืองนิวยอร์ค ก็ยังแพ้ในการรบครั้งนั้น ในปีต่อมาเมื่อได้ตั้งตัวติด เขาได้ฟื้นฟูกองทัพใหม่ โดยเน้นความรักชาติ นำทหารข้ามแม่น้ำเดลาแวร์ในนิวเจอร์ซี (New Jersey) และได้ชัยชนะเหนืออังกฤษอย่างพลิกความคาดหมาย และด้วยยุทธศาสตร์นั้น ทำให้เขาสามารถจับกองทัพหลัก 2 กองทัพที่ Saratoga และที่ Yorktown ในช่วงของการทำงาน เขาต้องต่อรองกับสภาปฏิวัติในขณะนั้น (Congress) กับรัฐต่างๆที่รวมตัวกันต่อสู้กับอังกฤษ และต้องต่อรองกับฝ่ายฝรั่งเศสที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตร (French allies) เขารวมกองทัพที่เปราะบาง อ่อนประสบการณ์ และนำชาติที่มีความอ่อนไหวและแตกต่างด้วยผลประโยชน์ ที่ทำให้การสู้รบใกล้ที่จะล้มเหลวลงหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อกองทัพฝ่ายปฏิวัติมีชัยเหนือฝ่ายอังกฤษและทำให้สงครามสงบลงในปี ค.ศ. 1783 วอร์ชิงตันได้เกษียณจากกองทัพ และกลับสู่ไร่การเกษตรของตนเองที่ Mount Vernon.

หลังจากที่เขาได้รับคำเตือนเกี่ยวกับความอ่อนแอและอ่อนไหวของชาติที่เกิดขึ้นใหม่ ภายใต้ธรรมนูญที่เรียกว่า Articles of Confederation เขาได้รับเป็นประธานในการประชุมใหม่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia Convention) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งประเทศสหรัฐในปี ค.ศ. 1987 (The United States Constitution) วอร์ชิงตันได้รับเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศในปี ค.ศ. 1789 ซึ่งต้องมีการกำหนดทำเนียมประเพณีทางการบริหารขึ้นในรัฐบาลใหม่ เขาพยายามที่จะสร้างประเทศใหม่ที่มีความสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ในโลกที่เต็มไปด้วยสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เขาได้ทำสัญญาประกาศความเป็นกลางกับอังกฤษ (Proclamation of Neutrality) ในปี ค.ศ. 1793 โดยยึดหลักพื้นฐานว่าสหรัฐจะไม่เข้าร่วมในสงครามที่เกิดความขัดแย้งในต่างประเทศ

ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศใหม่ เขาสนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง โดยมีการจัดเก็บเงินเพื่อชำระหนี้จากสงคราม มีการจัดวางระบบจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างธนาคารกลางของชาติ (National Bank) วอร์ชิงตันหลีกเลี่ยงสงครามและเริ่มทศวรรษใหม่ของสันติภาพกับอังกฤษ ตามข้อตกลงที่เรียกว่า Jay Treaty ในปี ค.ศ.1795 เขาต้องใช้บารมีส่วนตัวที่จะทำข้อตกลงที่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มสนับสนุน Thomas Jefferson ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความคิดแตกต่างออกมา และสนับสนุนประเทศให้คงลักษณะของความเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอย่างหลวมๆ ซึ่งกลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า Democratic Republican Party แม้เขาจะไม่ได้เข้าร่วมพรรคเน้นรัฐบาลกลาง (Federalist Party) อันเป็นส่วนที่ต้องการสร้างรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง วอร์ชิงตันไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มใด แต่ก็ให้การสนับสนุนโปรแกรมต่างๆ และเป็นผู้นำที่ให้แรงจูงใจหลักของกลุ่ม Federalist

ในการกล่าวสุนทรพจน์อำลาตำแหน่ง เขาแสดงให้เห็นความยึดมั่นในหลักของความเป็นสาธารณรัฐ (Republican virtue) และยืนหยัดความคิดที่ว่าสหรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามที่เป็นความขัดแย้งของต่างชาติ ซึ่งในขณะนั้นหลักๆ คือความขัดแย้งของอังกฤษกับฝรั่งเศสในยุโรปและในการแย่งชิงเป็นจ้าวอาณานิคมในโลก

ในทางปฏิบัติ วอร์ชิงตันได้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศสหรัฐ และเป็นนักปฏิบัติต้นแบบแห่งความเป็นสาธารณรัฐ (republicanism) ซึ่งหมายถึงการยึดมั่นในการปกครองประเทศโดยไม่มีระบบกษัตริย์ ให้ความสำคัญต่อการปกครองภายใต้การนำของตัวแทนประชาชน และทหารอยู่ภายใต้การนำของรัฐบาลพลเรือน อันเป็นแบบอย่างการปกครองของประเทศหรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนปัจจุบัน เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1799 คำสดุดีในพิธีศพโดย Henry Lee ได้กล่าวว่า “สำหรับชาวอเมริกัน เขาคือที่หนึ่งในยามสงคราม ที่หนึ่งในการปกป้องสันติภาพ และที่หนึ่งในหัวใจเพื่อนร่วมชาติ” วอร์ชิงตันได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดการของสหรัฐอเมริกา

No comments:

Post a Comment