Wednesday, April 8, 2009

ระบบมหาวิทยาลัยของเมืองนิวยอร์ค CUNY


ระบบมหาวิทยาลัยของเมืองนิวยอร์ค CUNY
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail:
pracob@sb4af.org
Updated: Wednesday, April 08, 2009
ความนำ

ระบบมหาวิทยาลัยมหานครนิวยอร์ค (The City University of New York) มีชื่อเรียกย่อๆว่า CUNY เป็นคำย่อ อ่านว่า คูนี่ จัดเป็นระบบมหาวิทยาลัยในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย วิทยาลัยระดับสองปีหลัง (Senior Colleges) จำนวน 11 แห่ง วิทยาลัยชุมชน (Community Colleges) จำนวน 6 แห่ง และมีสถาบันที่สอนในระดับบัณฑิตศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงอีกหลายๆแห่ง มีนักศึกษารวมกว่า 450000 คน กระจายกันเรียนในวิทยาเขตที่มีอยู่ในทุกเขตที่เขาเรียกว่า Boroughs ที่มหานครแห่งนี้มีแบ่งออกเป็น 5 แห่ง
CUNY จัดเป็นระบบมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขตที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 เมื่อนับประชากรผู้เรียน เป็นรองจาก State University of New York (SUNY) ซึ่งเป็นระบบที่อิสระต่อกัน แม้รับเงินสนับสนุนจากรัฐเช่นกัน และรองจาก California State University systems


CUNY นอกจากรับเงินสนับสนุนจากรัฐ หรือ New York State แล้ว ยังรับเงินสนับสนุนอีกต่างหากจากเมือง คือ The City of New York

บทความนี้ แนะนำสำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครองที่ภาษาอังกฤษอาจไม่แข็งแรงนัก เพื่อให้สามารถหาความรู้ได้โดยตรง และสำหรับคนที่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้ว ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงใน

- Wikipedia
- Websites ของแต่ละนสถาบันโดยตรง โดยใช้พิมพ์คำหลัก เช่น CUNY, และชื่อวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษลงในระบบสืบค้นอย่าง Google และอื่นๆ


ระบบวิทยาลัย (Colleges)

เข้าไปศึกษาได้ที่: List of City University of New York units



ภาพ Tribecca College, ส่วนหนึ่งของ CUNY, New York City

CUNY ประกอบด้วยสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า Senior colleges ที่มีการเรียนใน 2 ปีหลังของปริญญาตรี และในบางที่มีการเรียนในระดับบัณฑิตวิทยาลัยและการเรียนในระดับอนุปริญญาด้วย มีระบบที่เรียกว่า “วิทยาลัยชุมชน” (Community Colleges) เรียน 2 ปี จบแล้วรับอนุปริญญา (Associate Degrees) มีวิทยาลัยที่เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาและปริญญาวิชาชีพชั้นสูง (Graduate/Professional Schools) มีการเรียนที่สูงถึงระดับปริญญาเอก โดยปริญญาดำเนินการโดยหน่วยงานที่เรียกว่า CUNY Graduate Center คล้ายกับบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในประเทศไทย

ระบบวิทยาลัยสองปีหลัง (Senior colleges)

วิทยาลัยแบ่งออกเป็นระบบ Senior College คือเป็นระบบ 2 ปีหลังของระดับปริญญาตรี เป็นระบบแบ่งกันทำงาน และรับผิดชอบ มีวิทยาลัยที่มีที่ตั้งกระจายไปในมหานครนิวยอร์ค


ภาพ CUNY ที่ Stratten Island เป็นเขตที่เป็นชานเมือ (Suburban Areas)

(1847) City College
(1870)
Hunter College
(1919)
Baruch College (as City College’s School of Business and Civic Administration, renamed in 1953 to honor Bernard M. Baruch)
(1930)
Brooklyn College
(1937)
Queens College (formed by the merger of Hunter and City Colleges' Queens campuses)
(1946)
New York City College of Technology
(1955)
College of Staten Island
(1964)
John Jay College of Criminal Justice
(1966)
York College
(1968)
Lehman College (from (1931) Lehman was the Bronx branch of Hunter College, known as Hunter-in-the-Bronx)
(1970)
Medgar Evers College


ภาพ Lehman College, ส่วนหนึ่งของ CUNY, New York City

ระบบวิทยาลัยชุมชน (Community colleges)

สถาบันในระบบวิทยาลัยชุมชน (Community colleges) เป็นการเรียนในระดับ 2 ปีแรกของปริญญาตรี แต่มีโปรแกรมที่เรียกว่า Terminal program คือเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปทำงาน ไม่ได้หวังศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสมบูรณ์

1. (1957) Bronx Community College
2. (1958)
Queensborough Community College
3. (1963)
Borough of Manhattan Community College
4. (1963)
Kingsborough Community College
5. (1968)
LaGuardia Community College
6. (1970)
Hostos Community College

ระบบบัณฑิตวิทยาลัย (Graduate and professional schools)


ภาพ CUNY Graduate Center, New York City

การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา เขามีสายวิชาการทั้งทางด้านชีววิทยาทางการแพทย์ การสาธารณสุข กฏหมาย สื่อสารมวลชน และการศึกษาด้านวิชาชีพในอีกหลายๆสาขาวิชาการ

1. (1961) CUNY Graduate Center
2. (1973)
Sophie Davis School of Biomedical Education
3. (1983)
CUNY School of Law
4. (2005)
William E. Macaulay Honors College
5. (2006)
CUNY Graduate School of Journalism
6. (2006)
CUNY School of Professional Studies
7. (2008)
CUNY School of Public Health

ค่าเล่าเรียนที่ CUNY

ค่าเล่าเรียนที่ City University of New York

สำหรับประชากรของรัฐ (NYS Residents) และคนนอกรัฐ (Out-of-State Residents) ซึ่งฝ่ายหลังจะเสียค่าเล่าเรียนโดยไม่ได้รับการสนับสนุน
USD = 35 บาท

ค่าเล่าเรียนมีความแตกต่างกัน ระหว่างคนที่เป็นประชากรของเมืองเขา กับคนที่เป็นคนนอกรัฐ ซึ่งในที่นี้รวมถึงนักศึกษาต่างชาติด้วย ดังเช่นถ้าเรียนในวิทยาลัย 4 ปี หรือที่เรียกว่า Senior Colleges จะเสียค่าเล่าเรียนแบบเต็มเวลาเท่ากับ USD360 หากเรียนเทอมละ 15 หน่วยกิต และพอทำงานไปได้บ้าง ก็จะเสียค่าเล่าเรียนประมาณ USD7,200

ถ้าเป็นผู้ที่จบโรงเรียนมัธยมศึกษา หรือ High Schools มาแล้ว และเรียนในขั้นพื้นฐาน คือสองปีแรก ถ้าเป็นคนของเขาเองเสียค่าเล่าเรียนเต็มเวลา USD1,400 เหมารวม ถ้าเป็นคนนอกรัฐของเขา (New York State) จะเสียค่าเล่าเรียนตามจำนวนหน่วยกิต คือหน่วยกิตละ USD190 หากเรียนภาคการศึกษาละ 15 หน่วยกิต จะตกเป็นเงิน USD2,850 หรือปีละ USD5,700

การศึกษาในระบบของ CUNY นี้ เป็นระบบที่ต้องการสนับสนุนคนระดับล่าง คนทำงานแล้ว เยาวชนที่ต้องทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย ได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน สถานที่เรียนก็กระจายอยู่ทั้งใกล้ที่ทำงานในเมือง และใกล้บ้านมีให้เลือก ในมาตรฐานและคุณภาพแบบใกล้เคียงกัน

สำหรับคนไทยที่ไม่ถือในระบบชนชั้นและเชื้อชาติ มาสหรัฐอเมริกา อาจมีญาติ หรือแวดวง ทำงานไปด้วย แล้วหาโอกาสเรียนพัฒนาตนเองไป ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นด้วย และสามารถพึ่งตนเองได้มากกว่าเลือกเรียนในสถาบันอุดมศึกษาแบบอื่นๆ

บทส่งท้าย

เมื่อลองศึกษาระบบของเขาแล้ว ผมอยากเห็นมหาวิทยาลัยในเมืองใหญ่ของประเทศไทย ที่เมือง นคร หรือมหานคร มาร่วมสร้าง ร่วมจัดการระบบอุดมศึกษา ซี่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีความเป็นพลภาพ เข้มแข็ง และเติบโตอย่างมีวิสัยทัศน์ และอนาคต

ภาพ ในชั้นเรียนที่มีผู้เรียนจากหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งเป็นปกติของสถานศึกษา
และสังคมในมหานครนิวยอร์ค ที่มีลักษณะเป็น Multi Culture และชั้นเรียนเป็นสำหรับผู้ใหญ่

เมืองเข้มแข็งได้ด้วยคนในเมืองที่มีความเข้มแข็ง และคนจะเข้มแข็งได้ด้วยเมืองต้องมีระบบที่ทำให้คนได้พัฒนาตนเอง

สนใจต้องการศึกษาต่อต่างประเทศ ติดต่อได้ที่

มูลธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
(ตั้งอยู่ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)

Website: http://www.sb4af.org/
E-mail: info@sb4af.org

No comments:

Post a Comment