Wednesday, April 29, 2009

แม้สตางค์แดงเดียวก็มีค่า

ภาพ เหรียญ 1 เซนต์ ของสหรัฐอเมริกา ทำโดยมีส่วนประสมของทองแดง
เป็นภาพของประธานาธิบดีลินคอล์น (Abraham Lincoln)
ภาพ อีกด้านของเหรียญ 1 เซนต์ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา
มีภาพกระท่อมของ Lincoln ซึ่งเป็นภาพ Log Cabin

แม้สตางค์แดงเดียวก็มีค่า
ประกอบ คุปรัตน์

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5, โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org, E-mail: pracob@sb4af.org

Updated:Wednesday, April 29, 2009
Keywords: สุภาษิต เศรษฐกิจพอเพียง สหรัฐอเมริกา สตางค์แดง

ในทุกปี จะมีค่าเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 3.0-3.5 สำหรับปีการเงินปกติทั่วไป

40 ให้หลัง ค่าของเงินก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แม้ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐเป็นค่าเงินสำหรับเปรียบเทียบแลกเปลี่ยนหลักในโลก ซึ่งไม่ควรจะมีความผันผวนมากนัก

เมื่อ 40 ปีก่อน ผู้เขียนเริ่มมาใช้ชีวิตในสหรัฐในฐานะนักศึกษา ค่าของเงิน 25 เซ็นต์ ที่คนไทยมักจะเรียกว่า “สลึง” หรือฝรั่งเองก็เรียกว่า A Quarter หรือ ¼ ของเหรียญ เหรียญ 25 เซ็นต์นี้ ใช้ใส่ในเครื่องขายน้ำอัดลมประเภทกระป๋อง หยอดเหรียญ ก็จะได้น้ำอัดลมอัดใส่กระป๋องอลูมิเนียม 1 กระป๋อง แต่เดี๋ยวนี้ต้องใช้ 4

เหรียญขึ้นไป หรือพูดง่ายๆว่าค่าเงินได้เปลี่ยนไป โดยลดลงเหลือ 1 ใน 4

ลองมาดูเงิน 1 เซ็นต์ (1 US Cent) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1ใน 100 ของ 1 เหรียญสหรัฐ (1/100 ของ USD 1) หรือ 100 Cent เท่ากับ US$ 1

ยังมีคนเรียกค่าเงิน 1 Cent นี้ว่า 1 Penney อยู่ แต่ชื่ออย่างเป็นทางการ คือ 1 Cent

เงิน 1 Cent แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลยทางการเงินของสหรัฐ แต่ตามกฏหมายก็จะต้องมีไว้ มีฉะนั้นจะนำไปสู่สภาพเงินเฟ้อ และอื่นๆตามมา เพราะยกเลิกค่าเงิน 1 Cent การซื้อขายก็ต้องมีการปัดเศษ และกลายเป็นต้องใช้เงิน 5 Cents เป็นเงินเหรียญต่ำสุด โดยเหตุดังกล่าวจึงต้องมีการเก็บรักษาค่าเงิน 1 Cent เอาไว้อย่างเป็นทางการ แม้ในปัจจุบัน คนหันไปใช้บัตรเครดิต หรือเงินพลาสติกกันมากขึ้น คนขายของก็ชอบใช้เงินพลาสติก เพราะไม่ต้องเสียเวลานับเงิน ไม่ต้องเสียเวลาตรวจว่าเป็นเงินปลอมหรือไม่

Cent (Penny) (United States)
Value: 0.01 U.S. dollar
Mass: 2.5 g (0.080 troy oz)
เส้นผ่าศูนย์กลาง (Diameter) 19.05 มิลิเมตร
ความหนา (Thickness) 1.55 มิลิเมตร
ขอบเรียบ (Edge: Plain)

ส่วนประกอบ (Composition) เป็นทองแดงประสมสังกะสี (Copper-plated zinc) โดยร้อยละ 97.เป็นสังกะสี ( Zn) และร้อยละ 2.5 เป็นทองแดง (Cu) เหรียญดังกล่าวได้มีการออกแบบและผลิตใช้กันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909
ด้านหน้า (Obverse) เป็นภาพของประธานาธิบดี Abraham Lincoln มีเขียนคำว่า In god we trust.

ภาพ เป็นการออกแบบโดย Victor D. Brenner เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909

ด้านหลัง (Reverse) เป็นภาพของกระท่อมของลินคอล์น (Lincoln’s Cabin) ออกแบบโดย Richard Masters ในปี ค.ศ. 2009 เป็นการฉลองครบครอบการใช้ครบรอบ 1 ร้อยปีของเหรียญนี้

ประวัติส่วนประสมของเหรียญ 1 เซนต์
History of composition

Further information: Lincoln cent
ปี และวัสดุที่ใช้ผลิต

1793–1857 copper
1857–1864 88% copper, 12% nickel (also known as NS-12)
1864–1942 bronze (95% copper, 5% tin and zinc)
1943 zinc-coated steel (also known as steel penny)
1944–1946 brass (95% copper, 5% zinc)
1946–1962 bronze (95% copper, 5% tin and zinc)
1962–1982 brass (95% copper, 5% zinc)
1982– present 97.5% zinc core, 2.5% copper plating

1 comment:

  1. สิ่งที่เป็นความยุ่งยากสำหรับคนอเมริกัน คือ เวลาไปจับจ่ายซื้อของด้วยเงินสด ในทางปฏิบัติ เราใช้เงินขนาดเล็กไม่ค่อยสะดวก เช่น ไม่สามารถใช้เงินขนาด 1 เซนต์, 5 เซบต์, 25 เซนต์ ไปซื้อของได้ โดยเฉพาะการซื้อที่ต้องใช้เงินขนาด 10 เหรียญขึ้นไป แต่เวลาเขาทอนเิงินให้เรามา จะมีทั้งที่เป็นเงิน Cents ต่างๆ โดยเฉพาะเงินขนาด 1 เซนต์, 5 เซนต์, 10 เซนต์ ตู้หยอดเหรียญก็จะรับตั้งแต่เหรียญ 25 เซนต์ขึ้นไป

    เงินเหรียญจึงกองอยู่เต็มบ้าน นานๆที่ก็ต้องไปที่ร้าน Supermarket ที่เขามีเครื่องนับเหรียญ เมื่อนับเสร็จก็จะมีใบสำคัญเป็นจำนวนเงินออกมา ซึ่งเขาจะหักร้อยละ 10 สำหรับเป็นค่าบริการ แล้วเราก็ต้องไปซื้อสินค้าของเขาต่อไป ส่วนที่ต่างก็จะมีเงินทอนได้ ถ้าจ่ายของมากกว่าเงินที่ได้แลกมา ก็เติมเงินได้

    ReplyDelete