Friday, April 24, 2009

มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน (Roehampton University), London

ภาพ Roehampton Court, Whiteland
มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน (Roehampton University)

มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน
(Roehampton University), London
From Wikipedia, the free encyclopedia

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat, Ph.D.
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย (SB4AF)
อาคาร 2, ห้อง 2-106, เลขที่ 2/1 ถ.พญาไท
ทุ่งพญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ
10400 ประเทศไทย
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255

Email:pracob@sb4af.org,
Website: www.sb4af.org

Updated: Friday, April 24, 2009
Keywords: UK, London, Roehampton, การศึกษาต่อต่างประเทศ

ความนำ

การศึกษาต่อต่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี แต่กระนั้น ก็อยากให้มีการไปศึกษาต่อตามความจำเป็นและอย่างมีแผนงาน เพราะการศึกษาต่อต่างประเทศนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งด้านค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน

การศึกษาหรือให้มีประสบการณ์ในประเทศอื่นนอกประเทศของตน เป็นความจำเป็นสำหรับนักศึกษายุคใหม่ ในยุโรป เขามีการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนกันทางการศึกษา จนทำให้มีการจัดระบบค่าเล่าเรียนแบบที่เสียค่าเล่าเรียนเท่ากัน ระหว่งนักศึกษาของประเทศหนึ่ง กับเมื่อไปศึกษาต่อในสถานศึกษาของอีกประเทศหนึ่ง ก็เสียในอัตราเดียวกัน โดยถือเป็นความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union – EU)

เมื่อผมทำงานให้กับสำนักงานรัฐมนตรีศึกษาธิการแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Secretariat – Southeast Asia Ministers of Education Organization Secretariat) โดยรับผิดชอบตำแหน่งรองเลขาธิการฝ่ายบริหารและการสื่อสาร (Administration and ICT) ได้ทราบและติดตามนโยบายของประเทศมาเลเซีย ที่เขาเขิญให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้าไปเปิดการเรียนการสอน ร่วมกับสถาบันการศึกษาในประเทศของเขาในลักษณะที่เรียกว่า Twinning Programme หรือโปรแกรมแฝด

โปรแกรม 2 + 2

โปรแกรมการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่เป็นแบบนานาชาติ

เขาเรียกว่า 2+2 คือเรียนในหลักสูตรแบบนานาชาติ สอนเป็นภาษาอังกฤษในประเทศมาเลเซีย 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีความร่วมมืออีก 2 ปี ผมได้ติดตามเพื่อนนักวิชาการชาวมาเลเซีย ก็พบว่า เขาประสบความสำเร็จอย่างดี และในปัจจุบันมีการเปิดเป็นแบบ 3 + 1คือเรียนในประเทศมาเลเซีย 3 ปี แล้วไปศึกษาต่อในต่างประเทศอีก 1 ปี

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้สนใจที่จะหามหาวิทยาลัยในประเทศสหราชอาณาจักร ที่เขามีชื่อด้านการจัดการศึกษาในแบบใส่ใจด้านการเรียนการสอน ให้การดูแลเอาใจใส่ในคุณภาพการเรียนการสอนที่ดี มีความสนใจที่จะจัดบริการการศึกษาร่วมกันกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย แบบร่วมมือกันเป็นคู่
จึงได้อาศัยเพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษของผม Mr. Colin Glass เพื่อให้เขาประสานงานที่จะหามหาวิทยาลัยในความร่วมมือในประเทศอังกฤษ และผมก็ติดต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีศักยภาพ และจะได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าว

มหาวิทยาลัยความร่วมมือ

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้เลือกมหาวิทยาลัยโรแฮมตัน (Roehampton University – RU) ในกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร และสำหรับในประเทศไทย ได้เลือกมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University – SRRU) จังหวัดสุรินทร์ (Surin Province, Thailand) เพื่อเป็นคู่มหาวิทยาลัยความร่วมมือ

ในปี พ.ศ. 2550 ตัวแทนของมหาวิทยาลัย RU ได้เดินทางไปประเทศไทย และ Mr. Chris Bond ผู้ดูแลหลักสูตร “ธุรกิจนานาชาติ” (International Business Programme) ได้เดินทางไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งผมได้เดินทางร่วมไปด้วย

ในระยะต่อมา ได้มีการติดต่อ พบกันระหว่างผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารหลักสูตร ตัวแทนของมหาวิทยาลัยในกิจกรรมเผยแพร่ หรือที่เรียกว่า Education Exposition ต่างๆที่ได้มีการจัดขึ้น โดยพบกันที่กรุงเทพฯ

22 มีนาคม – 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

ผมได้มีโอกาสมาติดต่อมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย RU ได้เป็นเจ้าภาพสนับสนุน ตลอดจนประสานงาน เพื่อให้ได้ไปเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่ง เป็นการปัดฝุ่นความรู้ความเข้าใจของผมที่มีต่อการศึกษาของประเทศอังกฤษ

ผมต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัย Roehampton University ที่ได้อำนวยความสะดวกให้ในระหว่างการเดินทาง และขอขอบคุณ Mr. Colin Glass เพื่อนชาวอังกฤษของผม ที่ได้ให้ข้อมูล ประสานงาน และสนับสนุนการเดินทางของผมในคราวนี้

ณ เวลานี้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ผมได้เดินทางมาพักใน Brooklyn, มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา (New York – NYC, USA) และได้ใช้เวลาที่ว่าง รวบรวมข้อมูล และเรียบเรียงบทความนี้ ที่จะนำเสนอใน Blogger ของผม ชื่อ My Words โดยท่านเข้าไปที่ http://pracob.blogspot.com/ แล้วพิมพ์คำว่า Roehampton University ในช่องสืบค้น ก็จะนำมาสู่บทความที่ท่านได้อ่านนี้

มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน
(Roehampton University)






มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน (Roehampton University – RU) จัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขต ตั้งอยู่ในย่าน Roehampton ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน (London) ประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) บริเวณของมหาวิทยาลัยอยู่ติกับสวนสาธารณะขนาดใหญ่ Richmond Park และย่านชามเมืองของลอนดอน ที่ชื่อว่า Putney ซึ่งสามารถเดินทางไปยังกลางกรุงลอนดอนได้อย่างสะดวก เพียงห่างไปไม่กี่ไมล์

มหาวิทยาลัยมีพื้นฐานการจัดตั้งเดิมที่เกี่ยวกับศาสนา โดยวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง มีพื้นฐานเดิมจากศาสนาดังนี้

1. Whitelands College – จัดตั้งโดยกลุ่มศาสนา Anglican foundation
2. Southlands College – จัดตั้งโดยกลุ่มศาสนา Methodist foundation
3. Digby Stuart College – จัดตั้งโดยชื่อจากผู้บุกเบิกศาสนาฝ่ายแคธอลิก (Catholic education)
4. Froebel College – จัดตั้งเพื่อส่งเสริมปรัชญาการศึกษาก้าวหน้าตามแนวทางของ Friedrich Fröbel

ช่วง 10 ปีแรกของการก่อตั้งเป็นสถาบันที่ประสาทปริญญาภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัย the University of London และผู้เรียนใช้บริการวัสดุอุปกรณ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยลอนดอน วิธีการบริหารจัดการศึกษาให้ได้มีคุณภาพนั้น แบบดังกล่าวเรียกว่า Affiliation เป็นแบบมหาวิทยาลัยพี่มหาวิทยาลัยน้อง
ในช่วงปี ค.ศ. 1983/84 ต่อมาได้มีสร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยเซอเรย์ (University of Surrey) ผู้จบการศึกษาได้รับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเซอเรย์ มีชื่อที่เปลี่ยนไปเป็น University of Surrey Roehampton

ในปี ค.ศ. 2003 ด้วยพระราชบัญญัติใหม่ทางการศึกษา จึงได้แยกเป็นอิสระ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์ในตัวเอง มีชื่อว่า Roehampton University จัดเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล มีตำแหน่งบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย คือ Vice Chancellor ซึ่งคือตำแหน่งในประเทศไทยเรียกว่า “อธิการบดี” หรือ University President ที่ใช้กันทั่วไปในสหรัฐอเมริกา

Digby Stuart College


Froebel College


Southlands College


Whitelands College

ทำไมจึงเลือกศึกษาที่ RU

การที่ผมจะตอบคำถามนี้ ก็คือเหตุผลเดียวกับที่ได้เลือกมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการศึกษาของอังกฤษ และมาที่ลอนดอนนี้
ภาพ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นนานาชาิติมาก จากหลากหลายประเทศ
ร้อยละ 25 ของนักศึกษาเป็นนักศึกษาต่างชาติ

การมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น เราไม่ได้ศึกษาเพียงในชั้นเรียน แต่ช่วงเวลาที่เราอยู่ในประเทศเขา เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตผู้คน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การใช้ชีวิต การทำงาน และอื่นๆอีกมากมาย

เขาประชาสัมพันธ์ว่า Roehampton University จัดเป็นมหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตแห่งเดียวในเขตลอนดอน โดย RU มีที่ตั้งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง จัดเป็นย่านชานเมือง (Suburb) มีที่พักอาศัยที่ดี ราคาไม่แพงนัก และเป็นสภาพแวดล้อมที่หาบ้านพัก ที่จะไปเรียนแบบเดิน หรือขี่จักรยานไปเรียนได้ สะดวก และปลอดภัย ค่าใช้จ่ายไม่แพง และยังได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวเมืองของเขาได้อย่างประหยัด โดยใช้ระบบรถใต้ดิน (Underground) พร้อมรถประจำทาง (Buses)

ภาพ แผนที่จุดที่ตั้งของมหาวิทยาลัย Roehampton University
ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน

ในด้านค่าเล่าเรียน ก็อยู่ในเกณฑ์ไม่แพง ผมลองเทียบกับมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ก็จะถูกกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐของเขา และยังมีโครงการที่ให้ฝึกงานระหว่างเรียน และหลังจบการศึกษา พร้อมมีรายได้เสริมค่าใช้จ่ายด้านที่พักอาศัยและอาหารการกินได้ในระดับหนึ่ง การเรียนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ต้องหาโอกาสในการหางานทำแบบ Part-time ควบคู่ไปด้วย

มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน จัดเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ (Public institution/university) มีนักศึกษารวม 8,535 คน เป็นนักศึกษาปริญญาตรี (Undergraduates) 6,720 คน เป็นระดับบัณฑิตศึกษา (Postgraduates) 1,810 คน มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งในมหานครลอนดอน (Roehampton, London, England, UK) ประเทศสหราชอาณาจักร ท่านสามารถเข้าไปเยี่ยม Website อย่างเป็นทางการของเขาได้ที่
http://www.roehampton.ac.uk/

การเรียนในมหาวิทยาลัยโรแฮมตัน เขามีทุนการศึกษา (Scholarships) ที่ให้ถึง GBP3,000 และเบิกคืนได้ GB1,500 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเรื่องนี้ให้ศึกษารายละเอียดจากเขา เพราะหลายมหาวิทยาลัยมีการให้เงินทุนคืนสำหรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่เขากำหนด ผมคิดว่าคงต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ได้เรียนจริงและเรียนได้จริงๆ คือต้องมีคะแนนผ่านที่เขากำหนด

บุคคลที่ได้ติดต่อ

ในการต้องประสานติดต่อกับมหาวิทยาลัยของเขา และการต้องมีสัมพันธ์กันต่อไประหว่างมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ ผมจึงขออนุญาต นำภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ เพื่อความสะดวกในการประสานกันต่อไป

Prof Yvonne Guerrier

Job Title: Dean of School, Business School and Social Sciences
Qualifications: BA MA PhD
Telephone: +44 (0)20 8392 3063

คณบดี คณะบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์

Daljit Kang

Job Title: Assistant Dean (Enterprise and External Relations)
Qualifications: B.Sc, M.Sc
Telephone: +44 (0)20 8392 3640
Email Address: D.Kang@roehampton.ac.uk

ผู้ช่วอธิการบดี ฝ่ายวิสาหกิจและความสัมพันธ์ภายนอก

Chris Bond

Job Title: Principal Lecturer, Subject Head (Management)
Qualifications: BA(Hons),PG Dip,MSc
Telephone: +44 (0)20 8392 3000 ext 5752
Email Address: C.Bond@roehampton.ac.uk
หัวหน้า ส่วนวิชาการบริหาร คณะบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์

ภาพ เรียงจากซ้ายไปขวา Dr. Pracob Cooparat, Mark Blackmore, Martin Hookham, Prof Dr. Yvonne G

Martin Hookham

Job Title: International Development Manager
Qualifications: BSc (Hons) CIM
Telephone: +44 (0)20 8392 3001
Email Address: M.Hookham@roehampton.ac.uk
ผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนากิจการนานาชาติ

ภาพ จากซ้ายไปขวา Mark Blackmore, Martin Hookham,
Prof Dr. Yvonne G คณบดีบริหารธุรกิจ และสังคมศาสตร์

Mark Blakemore
ภาพ Mark Blackmore

International Officer for Thailand
International Centre
Downshire House
Roehampton University
Roehampton Lane
London SW15 4HT
UK
Tel: +44 (0)20 8392 5009
Fax: +44 (0)20 8392 3031
Email: m.blakemore@roehampton.ac.uk
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษานานาชาติ
เคยเดินทางมาประเทศไทยแล้ว

โปรแกรมที่คนไทยนิยมมาเรียน

การศึกษาระดับปริญญาตรี
(Undergraduate)

• Business Management
• Computing
• Early Childhood Studies
• Education

กล่าวโดยสรุป คือ นักศึกษาที่สนใจมาเรียน คือในสายวิชาด้าน บริหารธุรกิจ, คอมพิวเตอร์, การศึกษาก่อนวัยเรียน, การศึกษา
ถ้าต้องการทราบโปรแกรมการศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งหมดของมหาวิทยาลัย โปรดคลิกไปที่Click here

การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
(Postgraduate)

• Special and Inclusive Education
• International Management
• International Management of Information Systems

ในระดับปริญญาโท คนไทยสนใจมาเรียนในสายวิชา การศึกษาพิเศษ, การบริหารธุรกิจนานาชาติ, การบริหารนานาชาติ และระบบข้อมูข่าวสาร

ที่คณะบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์
Business and Social Sciences
ภาพ คณบดี Dr. Yvonne G และเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน
ภาพ Pracob Cooparat คนกลาง ด้านขวา Prof Dr. Yvonne G
คณบดีคณะบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์

ศูนย์การเรียนภาษาอังกฤษ
(English Language Unit)

ภาพ Mark Blackmore, และอาจารย์ผู้รับผิดชอบสอนภาษาอังกฤษ



มหาวิทยาลัย RU กำหนดให้ผู้มาเรียนจากต่างประเทศแบบรับเข้าตรงเลยนั้น ต้องมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เทียบเท่ากับ TOEFL 550 คะแนน ซึ่งจัดว่าสูง จึงมีโปรแกรมเตรียมความพร้อม 1 ปี ก่อนเริ่มเรียนปริญญาตรี

คำอธิบาย คือในประเทศอังกฤษเขามีระบบการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Elementary & Secondary Education) เท่ากับ 13 ปี แต่ในประเทศไทยมีเรียน 12 ปีดังในแบบสหรัฐอเมริกา

ดังนั้นในช่วงปีเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนปริญญาตรีนั้น จะต้องเรียนในหลักสูตรแบบเตรียมตัว ซึ่งในช่วงนี้ สำหรับนักศึกษาต่างชาติ จะเรียนภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาการ โดยเขามีศูนย์ภาษาอังกฤษ (English Language Unit) ให้บริการเสริมการศึกษาดังกล่าว

นักศึกษาระดับปริญญาตรี
Undergraduate students

นักศึกษาระดับปริญญาตรี มีโปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษดังนี้

• English language support to prepare you for your degree
(including International Foundation Certificate and Pre-sessional English courses)
• English language support during your studies

นักศึกษาระดับปริญญาโท
(Postgraduate students)

นักศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีโปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษดังนี้

• English language support to prepare you for your degree
(including International Foundation Certificate, Pre-masters Certificate and Pre-sessional English courses)
• English language support during your studies

ค่าใช้จ่าย

ค่าเล่าเรียนในระดับปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาที่เป็นประชากรของสหราชอาณาจักร

นักศึกษาที่เป็นประชากร
(Full-time UK students)

นักศึกษาที่เป็นประชากรของสหราชอาณาจัก (Full-time UK students) จะเสียค่าเล่าเรียนต่อปีที่ GBP3,225 มีสิทธิใช้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศกษา (Student Loans Company) และใช้คืนเงินยืม เมื่อสามารถหารายได้ปีละ GBP15,000

นักศึกษากลุ่มประเทศ EU
(Full-time EU students)

นักศึกษาที่เป็นประชากรของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เสียค่าเล่าเรียนเท่ากันกับนักศึกษาจากประเทศกลุ่มสหราชอาณาจักร คือที่ GBP3,225 ซึ่งนักศึกษากลุ่มดังกล่าวนี้จะสามาถกู้ยืมเงินค่าเล่าเรียน จากหน่วยงานชื่อ the European Team at Student Finance Direct และใช้เงินค่าเล่าเรียนคืน เมื่อจบการศึกษา และออกจากมหาวิทยาลัยแล้ว

นักศึกษานานาชาติ
Full-time international students

นักศึกษานานาชาติ หรือนักศึกษาที่ไม่ได้เป็นประชาชนของสหราชอาณาจักร หรือประชาชนในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จะเสียค่าเล่าเรียนเต็มที่ GBP9230 หรือประมาณ 461,500 หรือคิดแล้วจะตกใกล้เคียงกับค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐอื่นๆในสหราชอาณาจักร

ประเภทนักศึกษา
สหราชอาณาจักร (UK student) GBP3225 เท่ากับ 161250 บาท
ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU student) GBP3225 เท่ากับ 161250 บาท
ประเทศอื่นๆ (International student) GBP9230 เท่ากับ 461500 บาท

Financial support:
• Information on financial support for international students.

การเรียนเป็นบางเวลา
(Part-time UK/EU students)

สำหรับนักศึกษาที่เป็นคนอังกฤษ หรือจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ต้องการเรียนบางเวลา อันด้วยจากการทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ดังนี้จะมีค่าเล่าเรียนที่ GBP277 ต่อ 10 Credit module

นักศึกษานานาชาติเรียนไม่เต็มเวลา
(Part-time international students)

นักศึกษานานาชาติที่เรียนไม่เต็มเวลา จะเสียค่าเล่าเรียนตามจำนวนหนุ่วยกิต ที่GBP770 ต่อการเรียน 10-credit module

ค่าเล่าเรียนนี้จะมีการพิจารณาเป็นรายปี บางภาควิชาอาจมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่นค่าเดินทางไปทัศนศึกษา ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญของการเรียน

การเรียนแบบร่วมฝึกงาน
(Foundation degrees)

Tuition fees: £1,248 a year (UK/EU students)

การเรียนในแบบ Foundation Degrees ในประเทศอังกฤษ คือการเรียนในระดับปริญญาที่สถาบันการศึกษา เน้นการออกแบบร่วมกับฝ่ายผู้จ้างแรงงาน เพื่อให้เกิดการเรียน ณ สถานที่ทำงาน โรงงาน หรือสำนักงาน เพื่อให้คนที่ทำงานได้เรียนรู้ความรู้ที่สอดคล้องกับงานที่เขาทำ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จะทำให้เขาได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการได้รับใบประกาศ หรือปริญญาจากสถาบันการศึกษา
สำหรับนักศึกษาที่เป็นประชากรของประเทศสหราชอาณาจักรหรือกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จะเสียค่าเล่าเรียนที่ GBP1248 ต่อปี

การเรียนในลักษณะดังกล่าว หากเป็นในสหรัฐอเมริกา จะเรียกว่า Continuing Education หรือในประเทศไทยจะเรียกว่า “การศึกษาต่อเนื่อง”

ที่พักอาศัย
(Living Accommodation)

ค่าที่พักนี้นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญประการหนึ่ง คิดเป็นประมาณร้อยละ 23-28 ของค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ซึ่งที่ RU นี้จะมีให้เลือกแบบพักในมหาวิทยาลัย (Live on campus) หรือจะพักนอกบริเวณมหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน

การพักในบริเวณมหาวิทยาลัย
(Live on campus)
ภาพ หอพัก ที่เรียกว่า Dormitory ของมหาวิทยาลัย Roehamton University

• หาเพื่อนใหม่ได้ง่าย
• รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย
• เดินทางไปชั้นเรียนได้สะดวก

การพักนอกมหาวิทยาลัย
(Live off campus)

• share with friends
• greater independence
• feel part of London’s vibrant communities.

Find out how we can help you find suitable off-campus accommodation.

ค่าที่พัก

หากการพักนอกมหาวิทยาลัย ก็ต้องไปติดต่อเอง ดูสถานที่เอง แต่ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว จะมีที่สโมสรนักศึกษา ที่เขาจะติดประกาศเรื่องการหาเพื่อนร่วมพัก และบางทีสามารถเข้าดูได้ในระบบอินเตอร์เน็ต ต้องลองคุยกับเพื่อนๆ หรือปรึกษาฝ่ายบริการนักศึกษานานาชาติ

หากเป็นการพักนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีวิธีการปฏิบัติที่คล้ายๆกัน ตัวอย่าง

ห้องเช่าแบบเป็นเฉพาะตัว เป็นแบบแบ่งกันอยู่ในอพาร์ทเมนต์ หรือบ้าน (Shared House or Flat) เขาคิดค่าเช่าที่ GBD85-90 ต่อสัปดาห์ หรือเดือนละประมาณ GBP360-400 ซึ่งเป็นค่าเช่าที่สามารถหาได้ เป็นห้องที่ อาจมีห้องน้ำในตัว หรือแบ่งใช้ร่วมกับคนอื่น อีก 1-2 คน ห้องครัวอาจร่วมกันใช้และต้องร่วมกันดูแลความสะอาด

พักแบบร่วมกับคนอื่นๆ ในอพาร์ทเมนท์หรือบ้านเดียวกัน เจ้าของบ้าน (Landlord) เขาเก็บแบบเหมารวม ซึ่งจะต้องมีสักคนหนึ่งไปทำสัญญากับเขา และทำหน้าที่จัดรวบรวมเงินค่าเช่าไปจ่ายให้เขา

ค่าเช่าที่เหมารวม GBP1191 ต่อเดือน แล้วแบ่งกัน 3 คน ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายไม่แพงนัก ซึ่งเลือกที่จะประกาศหาเพื่อนร่วมอพาร์ตเมนท์ เรียกว่า Roommate ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ในห้องเดียวกัน

ในการทำสัญญาเช่าพัก จะมีเงินมัดจำ (Whole Deposit) ประกันความเสียหาย โดยคิดเป็นต่อปีที่ BGP400 เมื่อพักตามเวลาที่กำหนด และไม่ได้ทำให้บ้านเรือนเขาเสียหาย ก็สามารถรับเงินคืนได้

ในสัญญาเช่านั้นให้ดูหรือสอบถามรายละเอียดเรื่อง ค่าไฟฟ้า (Electricity) แก๊สหุงต้มและทำความอบอุ่น (Gas) และน้ำประปา (Water) ค่าเช่าอาจรวมจ่ายใน 3 สิ่งนี้แล้ว หรือหากไม่รวมก็ให้เข้าใจไว้ในแต่แรก
ในด้านที่พักนี้ให้ศึกษาค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปพร้อมๆกัน อันได้แก่ หนังสือ ค่าเดินทาง ในกรณีศึกษาที่ RU หากเลือกพักในบริเวณรอบๆมหาวิทยาลัย ในระยะเดินได้ไม่เกิน 10-15 นาที จะสะดวก และประหยัดค่าเดินทาง ค่โทรศัพท์ ซึ่งปัจจุบัน ผู้เรียนมักจะใช้โทรศัพท์แบบมือถือ ค่าใช้จ่ายในแต่ละคนจะต่างกัน

ค่าสันทนาการ เที่ยว เดินทางไปในเมืองอย่างลอนดอน ค่าเสื้อผ้า ค่าซักรีดเสื้อผ้า (Laundry) ซึ่งมักจะเป็นแบบมีสถานที่บริการให้ใช้เครื่องซักผ้าและอบผ้าแบบหยอดเหรียญ ก็ให้รู้จักเลือกใช้เสื้อผ้าที่ทนการซักผ้าด้วยเครื่องได้ เป็นเสื้อผ้าที่ไม่ยับง่าย ไม่ต้องรีดฝ้า

ในด้านอาหาร สำหรับคนไทยหรือชาวเอเซียที่รับประทานอาหารที่ต้องมีข้าวสวย ก็จะต้องรู้จักใช้หม้อหุงข้าว (Electric Rice Cooker) ส่วนการทำกับข้าว หรือจะซื้อแบบที่เขาประกอบมาแล้ว ก็ทำได้ นักศึกษาต้องรู้จักเลือกนิสัยการกินการอยู่ที่ไม่สร้างความลำบากหรือใช้เวลามาก

อีกด้านหนึ่งคือเรื่องนิสัยการดื่ม ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่อาจต่างกัน ตั้งแต่ดื่มน้ำเปล่า น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อันเกี่ยวกับการอยู่อาศัยได้แก่

• ค่าอินเตอร์เน็ต (internet connection) ถ้าพักในมหาวิทยาลัยก็รวมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หากพักนอกมหาวิทยาลัย ก็ต้องเจรจากับเพื่อนร่วมห้องว่าจะใช้บริการอย่างไร หรือจะแบ่งค่าใช้จ่ายกันอย่างไร
• ค่าประกันสุขภาพแบบรวม (Block Insurance) ซึ่งมหาวิทยาลัยมีสัญญาบริการกับ Endsleigh Insurance

รายละเอียดด้านการประกัน สามารถศึกษาได้จาก the Endsleigh Insurance website.

ค่าทะเบียนโทรทัศน์
(Television Licence)

ในประเทศสหราชอาณาจักร เป็นประเทศเดียวในโลกที่คนจะมีเครื่องรับโทรทัศน์จะต้องจ่ายค่าทะเบียน แต่สำหรับคนที่เป็นนักศึกษา ซึ่งมักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบไร้สาย ซึ่งสามารถต่อเข้ากับ Freewire TV แล้วสามารถใช้ชมทีวีแบบหลายๆช่องได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่า TV Licensing

ในทุกปีจะมีผู้ที่ถูกจับได้ว่าไม่ได้จ่ายค่า TV Licensing แล้วเขาตรวจสัญญาณพบ จำนวนกว่า 700 ราย ซึ่งต้องถูกดำเนินคดี แต่ทั้งนี้จะไม่รวมนักศึกษา ที่จะมีวิธีการเข้าใช้ด้วยระบบ Internet TV ดังกรณีของ Freewire for Students ซึ่งในอีกด้านหนึ่ง ได้จ่ายค่าโทรศัพท์ หรือ ค่าสายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปแล้ว จะด้วยตนเอง หรือสถาบันการศึกษาที่ตนศึกษาอยู่

For further information visit the TV Licensing website.

No comments:

Post a Comment