ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
แปลและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
Keywords: พม่า, Myanmar, Burma, โรฮิงญา, โรฮิงญา, Rohingya, การเมือง, สิทธิมนุษยชน, refugee,
ความนำ
ภาพ ชาวโรฮิงญา ที่ได้ขึ้นฝั่งในประเทศเพื่อนบ้านของไทย และเขากล่าวว่าบาดแผลที่เห็นเกิดจากการทารุณของทหารฝ่ายไทย บาดแผลที่เห็นนั้นเป็นจริงแน่ แต่จะเกิดจากการต่อสู้ในพม่า หรือจากทหารไทยคงต้องมีการศึกษากันต่อไป
ภาพ ชาวโรฮิงญาอพยพ เมื่อขึ้นฝั่งได้ เขาพักผ่อน
ภาพ หลังจากแรมรอนไปในเรือลำไม่โตพร้อมกับผู้อพยพจำนวนนับร้อย
เมื่อขึ้นฝั่ง สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคืออาหารและน้ำ
เมื่อขึ้นฝั่ง สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคืออาหารและน้ำ
นานๆครั้งจะมีข่าวเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาเกิดขึ้นในประเทศไทย และบางครั้งกลายเป็นข่าวใหญ่ให้ชาวโลกได้หันมาให้ความสนใจ ชาวโรฮิงญา หรือโรฮิงยา เป็นใคร เขามาจากที่ไหน มีชาวโรฮิงญาอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ เราได้ปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาอพยพทางเรือ แบบผลักใสเขาให้ออกพ้นน่านน้ำไทย แบบไม่ใยดี ปล่อยให้ไปเสี่ยงภัย ตายเอาดาบหน้าจริงหรือ มีพวกเขาอย่างไรบ้างที่ได้เสียชีวิตในท้องทะเล
ชาวโรฮิงยา (Rohingya)
ประชากรทั้งสิ้น (Total population) ประมาณ 3 ล้านคนพบมากในประเทศ (Regions with significant populations) Myanmar (Arakan), Bangladesh, Pakistan, UAE, Saudi Arabia, และในประเทศไทย Thailand
ภาษาที่ใช้ (Languages) คือ ภาษาโรฮิงยา (Rohingya language), ภาษาพม่า (Burmese language)
ศาสนา (Religion) - อิสลามนิกายซุนนี (Sunni Islam)
โรฮิงยา (Rohingya) เป้นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางเหนือของรัฐระขิ่น (Rakhine State) ทางตะวันตกของประเทศพม่ (Burma, Myanmar) ประชากรชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่อยู่กันอย่างหนาแน่นในสองเขตเมองของรัฐระขิ่น ซึ่งแต่ก่อนรู้จักกันในนามชาวอาราข่าน (Arakan) พบมากที่สุดในพม่า ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งจัดเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ซึ่งมีประชากรรวม 47 ล้านคน อยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณตะวันตกของพม่า ใกล้เขตแดนบังคลาเทศ
ประวัติศาสตร์ (History)
เป็นที่เชื่อหรือเข้าใจกันว่าชาวโรฮิงยามีประวัติยาวนานมาจากสมัยคริสตศวรรษที่ 7 ของรัฐอาราข่าน (Arakan State) ในภาษาไทยมีเขียนว่า อาระกัน ที่ซึ่งชาวมุสลิมที่ทำการค้าได้มาพักอาศัย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการบันทึกเอาไวเป็นประวัติศาสตร์มากนักชาวโรฮิงยามีลักษณะร่างกาย ภาษา และวัฒนธรรมใกล้ไปทางชาวเอเซียใต้ โดยเฉพาะมีลักษณะใกล้ไปทางพวกเบงกัล (Bengali people) นอกจากนี้ พวกโรฮิงยาที่ตั้งถิ่นฐานในรัฐอาราข่านเป็นพวกมีเชื้อสายมาจากพวกอาหรับ (Arabs), ชาวเปอร์เชีย (Persians) และชาวปาธาน (Pathans) ในช่วงอาณาจักรที่เรียกว่า Mughal Empire
ในด้านความสัมพันธ์กับประเทศพม่า ได้มีชาวโรฮิงยาที่มีความมั่งคั่งและมีอิทธิพลคนหนึ่ง คือ Sultan Mahmood ได้เป็นเลขาธิการให้กับรัฐบาลพม่าในสมัยรัฐบาลอูนุ (U Nu’s government) ซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือนในระบอบประชาธิปไตย และในสมัยต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (Health Minister) ชาวโรฮิงยาอื่นๆ ที่ได้มีบทบาททางการเมืองในฐานะเลขาธิการรัฐสภา (Parliamentary secretaries) คือ Sultan Ahmed และ Abdul Gaffar. Abdul Bashar, Zohora Begum, Abul Khair, Abdus Sobhan, Abdul Bashar, Rashid Ahmed, และ Nasiruddin (U Pho Khine)
การละเมิดสิทธิมนุษยชน(Human rights violations)
ข้อมูลจาก Amnesty International ชาวโรฮิงยาได้รับความเดือดร้อนจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารของพม่า เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 และทำให้ต้องมีการอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง Bangladeshการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของชาวโรฮิงยาได้ถูกจำกัดอย่างมาก ด้วยชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธความเป็นพลเมืองของพม่า นอกจากนี้เขายังถูกข่มขู่ รีดไถ และการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม การยึดที่ดิน การผลักดัน การทำลายล้างบ้านเรือน การมีข้อกำหนดด้านการเงิน และการสมรส ชาวโรฮิงยาถูกใช้งานบังคับ (Forced labours) ในการสร้างถนน และถูกให้ไปทำงานในค่ายทหาร แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้แรงงานในทางตอนเหนือของรัฐระขิ่นได้ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 1978 ประมาณว่ามีชาวโรฮิงยาประมาณ 200,000 คน ได้หนีเข้าไปในบังคลาเทศ หลังจากมีปฏิบัติการทางทหารโดยรัฐบาลพม่าที่เรียกว่า “Nagamin” หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า Dragon King หรือ “ปฏิบัติการงูใหญ่” ที่มีการสอดส่องเป็นรายบุคคลอย่างเป็นทางการ และในทางกฎหมายมีการคัดกรองบุคคลที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฏหมาย การรณรงค์นี้พุ่งเป้าไปที่พลเรือน และทำให้เกิดการฆ่ากัน การข่มขืน และการทำลายสถานที่ประกอบการทางศาสนา (Mosques) อย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การประหัตประหารด้วยเหตุทางศาสนา
ในช่วงปี ค.ศ. 1991-92 ได้มีคลื่นผู้อพยพชาวโรฮิงยากว่า 250,000 คนได้อพยพเข้าไปในบังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิลลามด้วยกัน ในช่วงดังกล่าวได้มีรายงานการใช้แรงงานบังคับ (Forced labour) การสังหาร ทารุณกรรม การข่มขืน ชาวโรฮิงยาถูกบังคับใช้งานโดยไม่ได้รับค่าจ้างโดยกองทัพบกพม่า ในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานในโครงการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีสภาพการทำงานที่ยากลำบาก มีการฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลมาจากการใช้แรงงานบังคับกับชาวโรฮิงยาที่เป็นพลเรือนในกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของพม่า
ผู้อพยพ (Refugees)
ด้วยเหตุของการกวาดล้างชาวโรฮิงยานับหลายแสนคนได้อพยพออกนอกประเทศ และได้กลายเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศ ซึ่งรวมถึงผู้ได้อพยพมาก่อนในช่วงปี ค.ศ. 1978 ในยุทธการงูใหญ่ในรัฐระขิ่น (King Dragon operation in Arakan) และด้วยการกวาดล้างดังกล่าว ชาวโรฮิงยาได้กลายเป็นผู้ลี้ภัยกว่า 250,000 คนที่ได้จัดเป็นค่ายในเขตอำเภอ Cox's Bazar district ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศ อย่างไรก็ตามเกือบทั้งหมดได้ถูกผลักดันกลับพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่ปฏิเสธความเป็นพลเมืองของพวกเขา หลายคนยังเป็นผู้ลี้ภัยในต่างแดน อาศัยอยู่ใน Bangladesh, Pakistan, และ Saudi Arabia, UAE, Thailand และ Malaysia ซึ่งประเทศเหล่านี้ยกเว้นประเทศไทย เป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในปี ค.ศ. 2005 หน่วยงานดูแลผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ให้ความช่วยเหลือเป็นตัวกลางเจรจาให้ชาวโรฮิงยาได้กลับสู่ประเทศพม่า แต่ก็ได้มีข่าวเกี่ยวกับชาวโรฮิงยาได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นการคุกคามต่อความพยายามที่จะส่งชาวโรฮิงยากลับสู่บ้านเกิดในพม่า
นอกจากความพยามยามโดยสหประชาชาติแล้ว ชาวโรฮิงยาอพยพส่วนใหญ่ยังคงพักอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ ไม่สามารถกลับสู่ถิ่นบ้านเกิดในพม่า ในปัจจุบันชาวโรฮิงยาก็ยังประสบปัญหาที่ไม่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลของบังคลาเทศเอง
การสังหารหมู่ด้วยการปล่อยทิ้งในทะเล(Mass killings by abandonment at sea)
ในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ได้มีข่าวลือที่โจมตีรัฐบาลพลเรือนของไทย ที่มีต่อชาวโรฮิงยาอพยพที่มากับเรือ จากการรายงานข่าวของสำนักข่าว CNN เรือที่นำชาวโรฮิงยาอพยพมาได้ถูกลากออกสู่ทะเลลึก โดยมีคนจำนวนมากในลำเรือที่ถูกถอดเครื่องยนต์ออก รายงานนี้ได้โจมตีรัฐบาลไทยที่ได้ทอดทิ้งชาวโรฮิงยาไว้ในทะเลลึก โดยไม่มีการกำหนดว่าให้ไปสู่ที่ใด จำนวนคนที่อยู่ในลำเรือนั้นไม่ทราบจำนวนแน่ชัด และได้มีการผลักดันไปในลักษณะดังกล่าวสักเท่าใดแล้ว ซึ่งในเรื่องดังกล่าว สำนักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ได้กำลังสอบสวนข้อเท็จจริงอยู่ทางฝ่ายไทย อันประกอบด้วยกองกำลังของทัพเรือ ฝ่ายดูแลรักษาความมั่นคง ได้พร้อมกันออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยทางฝ่ายรัฐบาลพลเรือนของไทย ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ได้แถลงทั้งในประเทศและแก่ต่างประเทศว่า ไทยไม่ได้นิ่งดูดาย และพร้อมที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามกรอบสิทธิมนุษยชน และต้องการให้องค์การผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ตัวแทนประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งไทย ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาเหล่านี้
ศึกษาเพิ่มเติม (See also)
Rakhine people
Islam in Burma
Burmese Indians
ข้อคิดเห็น ( Notes)
^ State of Myanmar's Rohingyas 2007^ Assessment for Rohingya (Arakanese) in Burma
^ Myanmar - The Rohingya Minority: Fundamental Rights Denied, Amnesty International, 2004.^ "UNHCR threatens to wind up Bangladesh operations". New Age BDNEWS, Dhaka (2005-05-21). Retrieved on 2007-04-25.^ Burmese exiles in desperate conditions
^ [http://english.aljazeera.net/news/asia-pacific/2009/01/20091267174292748.html Al Jazeera^ ISO 639 Code Tables - SIL Internationl
การอ้างอิง (References)
"Rohingya". Banglapedia, Asiatic Society of Bangladesh. Retrieved on June, 2005."A Short History of Arakan". Mohammed Ashraful Alam. Retrieved on June, 2005.
"Myanmar, The Rohingya Minority: Fundamental Rights Denied". Amnesty International. Retrieved on August, 2005.Amnesty International (English)
เชื่อมโยงภายนอก (External links)
Arakan Rohingya Co-operation Council Europe
Free Rohingya Campaign
Rohingya Times
Rohingya Sprache
Rohingya News (Burmese)Golden Arakan
Arakan Rohingya National Organization
Kaladanpress Network
UNHCR Homepage
Rohingya League for Democracy
Rohingya Students Development Movement
Arakan Today News in (Arabic)
Arakan Today News in (Urdu)
Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Rohingya_people"
No comments:
Post a Comment