Thursday, April 30, 2009

ภูมิศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์

ภูมิศาสตร์ประเทศฟิลิปปินส์
The geography of the Philippines

ประกอบ คุปรัตน์ แปลและเรยบเรียง
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw114, ประเทศฟิลิปปินส์ Philippines

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะ มีเกาะทั้งสิ้น 7107 เกาะในบริเวณทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณ 116° 40' and 126° 34' E. longitude, และ 4° 40' and 21° 10' N. latitude โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกติดกับทะเลฟิลิปปินส์ ทางตะวันตกติดกับทะเลจีนใต้ (South China Sea) ทางใต้ติดกับทะเลที่เรียกว่า Celebes Sea เกาะ Borneo อยู่ห่างไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไม่กี่ร้อยกิโลเมตร และในทางตอนเหนือมีเกาะที่ใกล้ที่สุดคือไต้หวัน ส่วนทางตอนใต้ลงไปมีเกาะ Moluccas และ Celebes ทางตะวันออกด้านทะเลฟิลิปปินส์มีเกาะ Palau

หมู่เกาะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม


ประเทศโดยรวมแบ่งออกเป็นกลุ่มเกาะหลักๆ 3 กลุ่ม โดย Luzon จัดเป็น เขตที่ 1 – 5 Visayas จัดเป็นเขต 6-8 และ Mindanao จัดเป็นเขต 9-13 โดยบริเวณอ่าวมะนิลา บนเกาะลูซอน (Luzon) จัดเป็นเมืองหลวงของประเทศ และมีเมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ Quezon City


ภูมิอากาศ ร้อน ชื้นแบบเขตศูนย์สูตร มีอุณหภูมิตลอดปีที่ประมาณ 26.5 องศาเซลเซียส มีภูมิอากาศร้อนชื้นคล้ายทางภาคใต้ของประเทศไทย


มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน และฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่มีลมมรสุมพัดผ่านมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม ซึ่งเรียกกันในท้องถิ่นว่า Habagat และช่วงที่มีลมแล้งมาจากมรสุมทางตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เรียกว่า Amihan


ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะ เคยปกคลุมด้วยป่าฝนร้อนชื้น และเถ้าถ่านภูเขาไฟ ส่วนที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาชื่อ Mount Apo บนเกาะ Mindanao มีความสูงที่ 2,954 เมตร เนื่องจากเป็นเขตหินใหม่ จึงมีภูเขาไฟที่ยังกรุ่นอยู่ทั่วไปในประเทศ และประเทศอยู่ในเขตที่มีพายะใต้ฝุ่นพัดผ่าน เรียกว่า Typhoon Belt ที่ทำให้มีพายุจากทางแปซิฟิกตะวันตก มีไต้ฝุ่นพัดเข้าปีละประมาณ 19 ลูกทุกปี


ในทางตะวันออกเฉียงเหนือมีเขตที่เขาเรียกว่า Pacific Ring of Fire ฟิลิปปินส์จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดเป็นระยะ ในแต่ละวันมีแผ่นดินไหวประมาณ 20 ครั้ง ซึ่งจะมีคลื่นการไหวที่จะสังเกตุไม่พบหรือไม่รู้สึกเป็นส่วนใหญ่


การปกครองท้องถิ่น


Main articles: Provinces of the Philippines, Regions of the Philippines


Provinces and regions of the Philippines

ประเทศฟิลิปปินส์มีการแบ่งการปกครองออกเป็นเขตเรียกว่าจังหวัด (Province) โดยทั้งหมดมี 79 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งออกเป็นส่วนเมือง (Cities) และนคร (Municipalities) และมีการแบ่งออกไปเป็นส่วนที่ย่อยที่สุดเรียกว่า “บารังกาย” (Barangays)


ประเทศฟิลิปปินส์แบ่งการปกครองออกเป็น 17 ภาค (Regions) โดยจังหวัดทั้งหมดนั้นมีการแบ่งออกเป็น 16 ภาค เพื่อความสะดวกในการปกครอง และมีเขตเมืองหลวง เรียกว่า National Capital Region ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 4 เขตพิเศษ ในแต่ละภาคมีสำนักงานของรัฐบาลเพื่อช่วยในการปกครองของแต่ละจังหวัด แต่ละภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นของตน ยกเว้นเขตการปกครองอิสระสำหรับมุสลิมในมินดาเนา (Muslim Mindanao) ซึ่งมีการปกครองเป็นอิสระ


เขตการปกครอง (Regions) 14 เขตมีรายชื่อดังต่อไปนี้


1. Ilocos Region (Region I)

2. Cagayan Valley (Region II)
3. Central Luzon (Region III)
4. CALABARZON (Region IV-A) ¹ ²
5. MIMAROPA (Region IV-B) ¹ ²
6. Bicol Region (Region V)
7. Western Visayas (Region VI)
8. Central Visayas (Region VII)
9. Eastern Visayas (Region VIII)
10. Zamboanga Peninsula (Region IX)
11. Northern Mindanao (Region X)
12. Davao Region (Region XI)
13. SOCCSKSARGEN (Region XII) ¹
14. Caraga (Region XIII)
15. Autonomous Region in Muslim Mindanao (ARMM)
16. Cordillera Administrative Region (CAR) และ
17. National Capital Region (NCR) (Metro Manila) อันเป็นเขตที่ตั้งของเมืองหลวง

¹ Names are capitalized because they are acronyms, containing the names of the constituent provinces or cities (see Acronyms in the Philippines).

² These regions formed the former Southern Tagalog region, or Region IV.

มหานครมะนิลา (Metro Manila)


เปรียบเทียบมหานครมะนิลา (Metro Manila) ซึ่งประกอบด้วยเมืองหลายเมืองที่อยู่ติดกัน และรวมกลุ่มกันเป็นมหานคร (Metropolitan Areas) หากเทียบกับกรุงเทพฯ ก็จะมีรวมไปถึงจังหวัดและเมืองข้างเคียง เช่น สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธาน นนทบุรี


เมืองยิ่งมีขนาดใหญ่ ปัญหาความใหญ่ก็จะกลายเป็นทวีความรุนแรง กรุงเทพฯและมะนิลาประสบปัญหาในลักษณะใกล้เคียงกัน และเรียนรู้จากกัน



เปรียบเทียบฟิลิปปินส์และไทย
ภูมิภาค (Region)

ทั้งมะนิลา และกรุงเทพ นอกจากเป็นเมืองใหญ่สุดของประเทศแล้ว ยังเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย (National Capital Region - NCR)


กรุงเทพมหานคร มีชื่อเรยกในภาษาอังกฤษว่า Bangkok Metropolitan


Metro Manila เปรียบเทียบกับ

Bangkok Metropolitan

กรุงมะนิลา พื้นที่ Area 636 ตรกม. เปรียบกับเฉพาะกรุงเทพมหานคร 1,568.20 ตรกม. เมื่อรวมจังหวัดใกล้เคียงปริมณฑล เป็น 7,761.50 ตรกม.

ตำแหน่ง
ของกรุงมะนิลา Coordinates: 14°34' N 121°02' E
การจัดแบ่งเขตการปกครอง (Administrative Divisions) มีนคร (Cities) 14 แห่ง
เมือง Municipalities—3 แห่ง, เขต Districts—27 แห่ง, หมู่บ้าน Barangays—1694 แห่ง

กรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขต (Districts)


ประชาชน
(People)

กรุงมะนิลา Ethnic Groups—Filipinos

Languages—Filipino และ English

กรุงเทพมหานคร Ethnic Groups—ไทย (Thai)

Languages—ไทย (Thai)

ประชากร

ประขากรในกรุงมะนิลา (Population) จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2000 census กรุงมะนิลาและปริมณฑบ มีประชากร 11,289,368
คน และมีอัตราการเกิดที่รวดเร็วกว่าประเทศไทย

ความหนาแน่นของประชากร (Density) 15,617 per km² เทียบกับ 9,766,111 คนในกทม. และปริมณฑล

3,604.คนต่อตารางกิโลเมตร ในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อรวมอีก 5 จังหวัดปริมณฑลอีก 5 จังหวัด เฉลี่ยเท่ากับ 1258 คนต่อตารางกิโลเมตร

เขตเวลา

Time Zone:

UTC +8


สนามบิน


Airports 4


มหานครมะนิลา


มหานครมะนิลา เรียกเต็มๆ ว่า Metropolitan Manila (Filipino: Kalakhang Maynila) หรือจัดเป็นส่วนการปกครองระดับภาคที่เรียกว่า National Capital Region (NCR) จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 7 ของเอเซียในเชิงขนาด และเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ในเชิงของประชากร มหานครมะนิลารวมถึงนครมะนิลา (Manila) ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีนคร และเมือง (Municipalities) 16 แห่งล้อมรอบ รวมถึง Quezon City ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเมื่อช่วงปี 1948-1976


ในการจัดกลุ่มความหนาแน่นของประชากรที่อยู่รวมกันจัดได้ว่ามหามครมะนิลามีคนกว่า 11.3 ล้านคน หรือประมาณ 1.2 เท่าของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล



ภาพ Metro Manila

ภาพ Bangkok Metropolitan


กรุงเทพมหานคร

Bangkok Metropolitan Area

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Metropolitan and Vicinity Areas) เป็นเขตเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งล้อมรอบด้วยจังหวัดต่างๆ คลุมพื้นที่ 7761 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 9,766,111 คน ามหนาแน่นของประชากรที่ตารามกิโลเมตรละ 1258 คน ครอบคลุมพื้นที่ใน 5 จังหวัด และ 1 มหานคร ดังต่อไปนี้


Area
km² Population Pop.Density Inh/km²

1. Bangkok
1,568.20 5,652,903 3,604.70
2. Nonthaburi 622.30 968,862 1,556.91
3. Samut Prakan 1,004.50 1,074,478 1,069.66
4. Pathum Thani 1,525.90 808,074 529.57
5. Samut Sakhon 872.30 451,063 517.10
6. Nakhon Pathom 2,168.30 810,738 373.90

สรุปรวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพื้นที่รวม 7,761.50 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวม 9,766,111 คน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,258.28
คนต่อตารางกิโลเมตร

เฉพาะกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan) นี้ มีพื้นที่ 1568 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 5.6 ล้านคน มีความหนาแน่นของประชากรที่ 3,604 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่ในสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงแล้ว กรุงเทพมหานครต้องมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพากับเขตเมืองของจังหวัดใกล้เคียงอีก 5 จังหวัดอย่างมาก


ภูมิศาสตร์มหานครมะนิลา


มหานครมะนิลา (Metro Manila) เป็นภูมิภาคปกครอง (Administrative Region) ที่มีขนาดเล็กที่สุดของประเทศ แต่มีประชากรมากที่สุด และหนาแน่นที่สุด มีประชากรรวม 9,932,560 คน มีพื้นที่ 636 ตารางกิโลเมตร เป็นภูมิภาคที่ไม่มีจังหวัด โดยมีเขตแดนติดกับจังหวัดใกล้เคียงคือ ทางเหนือติดกับ Bualcan ทางตะวันออกติดกับ Rizal ทางใต้ติดกับ Cavite และ Laguna มะนิลาถูกประกบด้วยอ่าว 2 อ่าว คือ ทางตะวันตกติดกับ Manila Bay ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับ Laguna de Bay และมีแม่น้ำ Pasig ไหลผ่านระหว่าง 2 อ่าวนี้


Metro Manila หรือ National Capital Region (NCR) แบ่งออกเป็น 4 เขต (Districts) ที่ไม่มีหน้าที่ชัดเจน 4 เขต เขตเหล่านี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1976 แต่ไม่ได้มีรัฐบาลท้องถิ่น ไม่มีตัวแทนในวุฒิสภา ซึ่งแตกต่างจากส่วนจังหวัด (Provinces) เขตเหล่านี้มีไว้เพื่อการจัดทำงบประมาณ และเพื่อการทำสถิติ


เขตที่ 1 First District

เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 1 เมือง
1. City of Manila

เขตที่ 2 Second District

ประกอบไปด้วย 5 เมือง Quezon City จัดเป็นเมืองใหญ่ที่สุด
1. Mandaluyong City
2. Marikina City
3. Pasig City
4. Quezon City
5. San Juan

เขตที่ 3 Third District

ประกอบไปด้วย 4 เมือง
1. Caloocan City
2. Malabon City
3. Navotas
4. Valenzuela City

เขตที่ 4 Fourth District

ประกอบไปด้วย 7 เมือง
1. Las Piñas City
2. Makati City
3. Muntinlupa City
4. Parañaque City
5. Pasay City
6. Pateros
7. Taguig City

ในทางการ มะนิลาถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวงของประเทศ เป็นสถานที่กลางในการตั้งสถานที่ราชการส่วนกลาง แต่ในทางปฏิบัติ สถานที่ต่างๆ กลับไปอยู่กระจายรอบๆ กรุงมะนิลา ฝ่ายบริหารและระบบบริหารราชการอยู่ในมะนิลา รวมถึงศาลของประเทศ แต่วุฒิสภา (Senate of the Philippines) ตั้งอยู่ที่เมือง Pasay City และสภาผู้แทนราษฎร (Congress of the Philippines) ตั้งอยู่ในเมือง Quezon City

มหานครมะนิลา ประกอบด้วย นคร (City) ซึ่งมีประชากร (Population) ดังต่อไปนี้

1. Quezon City - 2,173,831
2. Manila - 1,581,082
3. Caloocan City - 1,177,604
4. Las Piñas City - 528,011
5. Pasig City - 505,058
6. Valenzuela City - 485,433
7. Taguig City - 467,375
8. Parañaque City - 449,811
9. Makati City - 444,867
10. Marikina City - 391,170
11. Muntinlupa City - 379,310
12. Pasay City - 354,908
13. Malabon City - 338,855
14. Mandaluyong City - 278,474

มีส่วนที่เขาจัดเรียกว่า Municipality 3 แห่ง ซึ่งมีประชากรต่อหน่วย (Population) ดังต่อไปนี้

1. Navotas - 230,403
2. San Juan - 117,680
3. Pateros - 57,407

No comments:

Post a Comment