Sunday, April 5, 2009

บทที่ 13 สหรัฐอเมริกา ยุคสังคมยิ่งใหญ่กับสงครามเวียตนาม

ประกอบ คุปรัตน์แปลและเรียบเรียง
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

ยุคสังคมยิ่งใหญ่กับสงครามเวียตนาม
(The Great Society and the Vietnam War)


ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ประธานาธิบดีเคเนดี้ได้ถูกลอบสังหารในขณะที่นั่งในขบวนรถแห่ในเมืองดัลลัส รัฐเทกซัส รองประธานาธิบดีของเขา คือ Lyndon B Johnson ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อมาและได้นำนโยบายหลายประการสู่การรับรองเป็นกฎหมาย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติและสีผิว การต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน (Civil Rights Act) ในปี ค.ศ. 1964 และสิทธิในการออกเสียงในปี ค.ศ. 1965 โดยเป็นการแก้ไขในรัฐธรรมนูญที่กำหนดสิทธิในการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับ แต่เดิมถูกจำกัดด้วยการเสียภาษี การแก้กฎหมายเพื่อการต่อสู้ด้านความยากจน การสร้างสังคมใหม่ที่เขาเรียกว่า The Great Society รวมทั้งการมีแผนให้โอกาสทางเศรษฐกิจ (Economic Opportunity Act) ในปี ค.ศ. 1964 กฎหมายลดหย่อนภาษีสำหรับคนยากจน การมีสวัสดิการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ การเพิ่มแรงงานขั้นต่ำ และเงินช่วยเหลือด้านการศึกษา

การขยายตัวของสงคราม

ในขณะที่มีการปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชนและความเป็นอยู่ของคนระดับล่างโดยอาศัยมาตราการด้านกฎหมาย แต่ปัญหาด้านสงครามก็ได้ถลำลึกเข้าสู่ส่งครามในอินโดจีน

ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1964 Johnson ได้รับความยอมรับจากประชาชนอย่างสูงมาก และชนะวุฒิสมาชิก Barry Goldwater อย่างท่วมท้น และได้เป็นประธานาธิบดีต่อมาอีก 1 สมัย ในทางการต่างประเทศ รัฐบาลของ Johnson ได้ใช้นโยบายการทหารที่แข็งกร้าวในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยส่งทหารเข้าไปดูแลความสงบในสาธารณรัฐโดมินิกัน และการพยายามจะเผด็จศึกในสงครามเวียดนาม (Vietnam War) ที่เวียดนามฝ่ายเหนือซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ได้รุกคืบเข้ามาทางใต้ด้วยกองกำลังแบบกองโจร เขาได้ส่งกองทัพและกำลังคนเพิ่มขึ้นในเวียดนาม และได้มาขออนุมัติจากรัฐสภาภายหลังในปี ค.ศ. 1964 และได้รับอนุมัติเมื่อเรือพิฆาตของสหรัฐ 2 ลำถูกโจมตีในเวียดนามเหนือด้วยเรือในอ่าวทองคิน (Tonkin Gulf Resolution) งบประมาณเพื่อการทหารได้เพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ

การต่อต้านสงครามเวียตนาม

สงครามเวียดนามได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสหรัฐอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่ต้องส่งกองกำลังที่เป็นชายหนุ่มจำนวนมากเข้าสู่สงครามที่เขาและคนอเมริกันเริ่มคิดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเขา การต่อต้านได้มีการขยายตัวไปกว้างขวางทั้งในเมืองใหญ่และตามวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยทั้งหลาย สังคมอเมริกันกลายเป็นสังคมแตกแยก คนรุ่นหนุ่มสาวคิดไปอย่างหนึ่ง เป็นพวกเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ แต่คนรุ่นพ่อแม่และบรรพบุรุษของเขาเป็นฝ่ายเห็นว่าต้องมีการเสียสละเพื่อไปรบให้ประเทศชาติ การเดินขบวนเริ่มเพิ่มความรุนแรงและบางครั้งมีผู้คนบาดเจ็บและล้มตาย ดังกรณีการก่อการจราจลที่เขต Watts ในเมือง Los Angeles รัฐ California ในปี ค.ศ. 1965 และที่เมือง Detroit และ Newark ในปี ค.ศ. 1967 ในช่วงนั้นความรุนแรงได้เข้าสู่ยุคการลอบสังหาร เริ่มต้นด้วย การลอบสังหาร Dr. Martin Luther King, Junior นักบวชและผู้เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนผิวดำ ตามด้วยในปี ค.ศ. 1968 วุฒิสมาชิก Robert F Kennedy น้องชายของ John F Kennedy ได้ถูกลอบสังหารในขณะกำลังหาเสียงเลือกตั้งเป็นตัวแทนพรรค Democrat เพื่อลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดี ในช่วงนี้ได้มีวิกฤติด้านสังคม มีการใช้ยาเสพติดกันมากขึ้นในหมู่วัยรุ่นและคนหนุ่มสาว เป็นประเภทยากล่อมประสาท อาชญากรรมสูงขึ้นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในเขตที่มีการต่อต้านการเข้าสู่สงครามเวียดนาม ทำให้คะแนนนิยมของ Johnson ได้ลงลงอย่างมาก และเขาได้ตัดสินใจที่จะไม่ลงสมัครรรับเลือกตั้งในสมัยต่อไป

No comments:

Post a Comment