Thursday, April 30, 2009

พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์

พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw114 ประเทศฟิลิปปินส์, Philippines, เศรษฐกิจ การคมนาคม

ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) และระบบโครงสร้างพื้่นฐานที่เกี่ยวข้อง

ประเทศฟิลิปปินส์จัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มีฐานทางเศรษฐกิจมาจากด้านเกษตรกรรม โดยมีแนวโน้มการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเบา และการให้บริการ ประเทศมีรายได้ประชาชาติ (GDP) ที่ 86,429 ล้านเหรียญสหรัฐ จัดเป็นเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 46 จาก 184 ประเทศของโลก เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศในเอเซีย

ลำดับที่ ประเทศ รายได้เฉลี่ยต่อคน GDP per capita

— World 8,724

1 Luxembourg 63,609
2 Norway 40,005
3 United States 39,496
— Hong Kong SAR (PRC) 30,558
12 Japan 29,906
13 Australia 29,893
25 Singapore 26,799
26 Taiwan (Republic of China) 25,983
28 Brunei 24,143
62 Malaysia 10,423
72 Thailand 7,901
108 Philippines 4,561
121 Indonesia 3,703
131 Vietnam 2,570
143 Cambodia 2,074
165 Myanmar 1,364
192 East Timor 400

หากนับเป็นรายได้ประชาชาติต่อหัว หรือ GDP Per Capita ชาวฟิลิปปินส์จะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ USD 4,561 จัดเป็นอันดับที่ 108 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทย คนไทยมีรายได้เฉลี่ยที่ USD 7,901 หรือเป็นอันดับที่ 72 ของโลก
ภาพ ร้านอาหารจานด่วน แบบ Chain ที่เป็น MacDonald ของอเมริกัน
ควบคู่กับของท้องถิ่น (jollibee)

ประเทศฟิลิปปินส์เคยจัดเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเซีย (New Tiger of Asia) แต่เศรษฐกิจได้ถดถอยในช่วงวิกฤติการเงินในเอเซียในช่วงปี ค.ศ. 1998 โดยมีปัญหาตามมาคือราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น มีเงินเฟ้อ และสภาพอากาศที่ไม่ดี ทำให้ในปี 1998 อันเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 0.6 ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้านี้ คือ ปี ค.ศ. 1997 มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 5 หลังจากนั้นได้มีการฟื้นตัวอีกครั้ง โดยในปี ค.ศ. 1999 เติบโตร้อยละ 3 และในปี ค.ศ. 2000 เติบโตร้อยละ 4 โดยเปรียบเทียบแล้วช่วงเศรษฐกิจได้รับผลกระทบนั้นนับว่ายังน้อยกว่าในประเทศไทย แต่ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศไทยโดยเฉลี่ยมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษหลังอันเหตุด้วยชะงักงันและความไม่แน่นอนทางการเมือง

ในปี ค.ศ. 2008
ประเทศฟิลิปปินส์มีรายมวลรวมประชาติ (GDP) ที่ $173.200 ล้าน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth) ที่ร้อยละ 4.5 มีรายได้ประชาชาติต่อหัว/ปี (GDP per capita) ที่ $3,400
โดยแบ่งรายได้เป็นแต่ละส่วน (GDP by sector) ทางการเกษตร (agriculture) ร้อยละ 13.8% อุตสาหกรรม (industry) ร้อยละ 31.9, ภาคบริการ (services) ร้อยละ 54.3
อัตราเงินเฟ้อ (Inflation - CPI) ที่ร้อยละ 9.6
โดยรวม ประชากร (Population) มีรายได้ที่ต่ำกว่าระดับยากจนร้อยละ 36.8-40.6% (2007 est.) แต่มีแรงงานอยู่ทั้งสิ้น (Labour force) จำนวน 36.82 ล้านคน

ปฏิรูปเศรษฐกิจ

ในยุครัฐบาลหลังประธานาธิบดี Ferdinand Marcos ที่ครองอำนาจอย่างยาวนานและติดยึดไปสู่ระบบเผด็จการ การฉ้อราษฎรบังหลวง ในยุคต่อมาเป็นยุคที่มีความพยายามฟื้นฟูประชาธิปไตย และปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ไปพร้อมก้น

ยุคประธานาธิบดี Corazon Aquino และ Fidel Ramos รัฐบาลได้พยายามใช้มาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตราการมีหนี้ภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ 77 ของรายได้ประชาชาตินับเป็นตัวปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะอัตราการต้องใช้หนี้ต่างชาติสูงกว่างบประมาณด้านการศึกษาและการป้องกันประเทศรวมกัน

ภาพ Corazon Aquino อยู่ในตำแหน่งครบวาระ

ภาพ Fidel Ramos อยู่ในตำแหน่งครบวาระ ภาพ

ภาพ Joseph Estrada อยู่ในตำแหน่งไม่ครบวาระ

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญคือการปรับปรุงระบบโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่นการพัฒนาถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ การสื่อสารอื่นๆ ปรับแก้ระบบภาษีใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ภาครัฐ และขณะเดียวกันคือลดกฎเกณฑ์และการเข้าไปดำเนินการในกิจการต่างๆเองโดยรัฐบาล และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามารับผิดชอบในงานสาธารณูปโภค การเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าและการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น นอกจากนี้คือปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการและความไม่แน่นอนในนโยบายภาครัฐ

การลงทุนเพิ่มขึ้น

ในช่วงหลายปีหลัง ได้มีกลุ่มธุรกิจได้เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างงานและทำให้เกิดการปรับปรุงกิจการด้านบริการ บริษัทที่มาใช้บริการด้านแรงงานในฟิลิปปินส์มีรวมถึงบริษัทระดับนำในรายชื่อ 500 จัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune ด้วยการที่มีประชากรจำนวนมาก ค่าแรงงานต่ำ จึงทำให้เป็นแหล่งดึงดูดบริษัทต่างๆ ให้เข้ามาใช้แรงงานเหล่านี้ มีการใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มภาคขยาย (Expanded Value Added Tax หรือเรียกว่า E-VAT) ซึ่งได้มีการออกเป็นกฎหมายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เป็นมาตรการลดการเป็นหนี้ต่างประเทศ และปรับปรุงระบบบริการภาครัฐ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และการสร้างถนนหนทาง

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกขององค์กรเศรษฐกิจสำคัญอันได้แก่ Asian Development Bank, World Bank, International Monetary Fund, และเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญเช่น theAsia Pacific Economic Cooperation (APEC), Colombo Plan, และกลุ่ม G-77.

การคมนาคม

สภาพการคมนาคมขนส่งของประเทศฟิลิปปินส์มีลักษณะดังต่อไปนี้

- การขนส่งทางบก Land Transportation
- รถไฟ Railways

ภาพ รถสองแถว Jeeney เป็นรถที่ดัดแปลงจากรถ Jeep หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ โดยใช้ตัวถึงที่พัฒนาเอง และเครื่องยนต์ดีเซลเก่าดัดแปลง

เนื่องด้วยสภาพความเป็นเกาะ การขนส่งและระบบคมนาคมโดยการรถไฟจึงอยู่ในเกณฑ์จำกัด ฟิลิปปินส์มีทางรถไฟยาวทั้งสิ้น 1400 กิโลเมตร เป็นของ Maniacutela Railway Company มีฐานอยู่ที่ Luzon) หรือบริษัทชื่อ he Philippine Railway Company แต่เป็นของบริษัทอเมริกัน ฐานที่ตั้งอยู่ที่ Panay และที่ Cebu ระบบทางรถไฟเกือบทั้งหมด ยกเว้นทางรถไฟฟ้ามวลชนลอยฟ้าในมะนิลาที่เป็นระบบมีคู่รางไปมาแยก นอกนั้นเป็นระบบสายเดี่ยวต้องรอสับราง

ทางรถไฟสายหลักจึงมีเพียงภายในเกาะหลัก คือ Luzon ดำเนินการบริหารโดยการรถไฟแห่งชาติฟิลลิปปินส์ (Philippine National Railways) ทางรถไฟสายหลักเป็นการเชื่อมระหว่างกรุงมะนิลากับเขต Bicol Region ระบบทางรถไฟเป็นแบบรางแคบ (Narrow Gauge) มีควากว้างเพียง 1067 มิลิเมตร ความยาว 492 กิโลเมตร การขยายออกไปอีก 405 กิโลเมตรยังไม่ได้ดำเนินการ

ระบบทางรถไฟฟ้ายกระดับ
Elevated Mass Railway Systems (Greater Manila Area)

ทางรถไฟฟ้ายกระดับเพื่อการขนส่งผู้คนในเมือง มี 2 สาย คือ

รถไฟฟ้า LRT มหานครมะนิลา การรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานี
ระบบรถ LRT ใช้ต่อเชื่อสายไฟฟ้าด้านบน

• Light Rail Transit (LRT-1/Metrorail/Yellow Line), จาก Monumento, Caloocan City ไปยัง Baclaran, ในเมือง Parañaque City.
• Light Rail Transit (LRT-2/Megatren/Purple Line), จาก Marikina City ไปยัง Avenida,ในกรุง Manila.
• Metro Rail Transit (MRT-3/Metrostar/Blue Line), จาก North Avenue, .ในเมือง Quezon City ไปยังTaft Avenue, ในเมือง Pasay City.

ทางรถไฟฟ้าคล้ายกับระบบ BTS ในประเทศไทย แต่เป็นระบบที่เรียกว่า Light Rail Transit – LRT สามารถรับผู้โดยสารได้จำกัดกว่าระบบ Heavy Rail ดังที่มีใช้ในกรุงเทพมหานคร อีกประการหนึ่งคือค่าโดยสารและต้นทุนดำเนินการทำให้ค่าบริการยังมีราคาสูงเกินไปสำหรับชาวเมืองในเขตมหานครมะนิลา ซึ่งยังมีผู้มีรายได้น้อยอยู่มาก แต่กระนั้นก็เป็นทางออกในการระบายคน แก้ปัญหาด้านการจราจร การเดินทางในเมืองใหญ่ ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบสังคม และการจัดระบบสนับสนุนค่าใช้จ่ายอย่างที่เรียกว่า Subsidy สำหรับกิจการที่เป็นความจำเป็นเช่นระบบ Mass Transit

ทางหลวง Highways

ประเทศฟิลิปปินส์มีทางหลวงความยาวทั้งสิ้น 199,950 กิโลเมตร ประกอบด้วย

1. ราดผิวจราจร 39,590 กิโลเมตร
2. ไม่ราดผิวจราจร 160,360 กิโลเมตร (1998 est.)

ทางหลวง (Highway ที่มีใช้ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นไปอย่างจำกัด และจำนวนครึ่งหนึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางและตอนใต้ของ Luzon โดยทั่วไป ระบบการขนส่งทางบกของฟิลิปปินส์ยังมีอย่างจำกัด เมื่อเทียบกับประเทศไทย หรือมาเลเซีย ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และมีโอกาศพัฒนาได้ลำบากกว่าในประเทศเวียดนาม ลาว หรือกัมพูชาที่เป็นแบบภาคพื้นทวีป เพราะมีสภาพความเป็นเกาะแก่ง และเป็ภูเขาที่มีความลาดชัน

ทางหลวงสายหลัก
Main Highways


ทางหลวงสายหลักของฟิลิปปินส์ ได้แก่

ทางหลวงที่สร้างขึ้นใหม่หลายๆ สายเป็นแบบต้องจ่ายค่าใช้ทาง อย่างที่เรียกว่า Toll Way

1. Pan Philippine Highway (Maharlika Highway)
2. North Luzon Expressway, ไปยัง Quezon City ในเขตมหานคร Metro Manila ไปยัง Santa Ines, Pampanga.
3. South Luzon Expressway, จาก Taguig ในเขตมหานคร Metro Manila ไปยัง Calamba City ใน Laguna.
4. ทางยกระดับ ต้องจ่ายเงิน Skyway, เชื่อมระหว่าง South Luzon Expressway และเป็นเส้นทางจาก Sen. Gil Puyat Ave ในเขต

เมือง Makati City ไปยัง Bicutan, Parañaque City ทางยกระดับดังกล่าวคล้ายกับการทางพิเศษ ที่มีให้บริการในกรุงเทพมหานคร แต่ก็มีปัญหามีทางรถวิ่งไม่เพียงพอกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเดินทางไปและกลับจากที่ทำงานเป็นเรื่องที่สร้างความยากลำบากให้กับชีวิตคนเมืองอย่างมากเช่นกัน คล้ายกับกรุงเทพมหานคร แต่มีความรุนแรงยิ่งกว่า

5. ทางด่วนสาย Manila-Cavite Expressway (Coastal Road), from Parañaque City in Metro Manila to Bacoor, Cavite
6. ทางสาย Manila North Road (MacArthur Highway)

ในช่วงรัฐบาลมาร์คอส มีความพยายามที่ดีที่จะสร้างระบบบริการสาธารณะ เช่นทางหลวงต่างๆ คล้ายกับในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ของประเทศไทย อันเป็นไปตามแนวทางการสนับสนุนของอเมริกันเพื่อการต่อต้านการคุกคามจากคอมมิวนิสต์ แต่จะเป็นด้วยการที่เผด็จการได้ครองอำนาจนานเกินไป และระบบการเมืองการปกครองพื้นฐานยังไม่เข้มแข็ง มีการฉ้อราษฏร์บังหลวงมาก จึงทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไม่ได้คืบหน้าไปเท่าที่ควร และยังเป็นข้อจำกัดสำหรับต่างประเทศที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศ แม้ค่าแรงงานจะยังถูกกว่าหลายประเทศในภูมิภาค

การขนส่งทางน้ำ
Water Transportation


ท่าเรือและอ่าว Ports and Harbors

การขนส่งสินค้าหลักไปยังประเทศเป็นการขนส่งทางเรือ

การเดินทางในแบบมีเรือขนาดใหญ่ ขนทั้งคน รถยนตร์ และรถโดยสาร เพราะเวลาขึ้นฝั่งก็ขับรถต่อไปได้เรียกว่า Republic Nautical Highway ที่ซึ่งผู้โดยสารใช้บริการไปตามเกาะแก่งต่างๆ ได้โดยทางรถยนตร์ ชาวบ้านเขาเรียกว่า RoRo มาจากคำว่า Roll-on & Roll-off ซึ่งระบบดังกล่าวจะต้องใช้เรือและท่าเรือที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และต้องมีความปลอดภัย

ท่าเรือในมะนิลา (Port in Manila)

ภาพ Port Authority of Manila ท่าเรือเมองมะนิลา

ท่าเรือสำคัญของฟิลิปปินส์ประกอบด้วย Port of Manila และ the Eva Macapagal Port Terminal, ซึ่งอยู่ในเขต Manila เช่นกัน ส่วนเมืองอื่นๆ ที่มีการขนส่งทางเรืออย่างมากได้แก่ Batangas City, Cagayan de Oro, Cebu City, Davao City, Guimaras Island, Iligan, Iloilo, Jolo, Legaspi, Lucena, Puerto Princesa, San Fernando, Subic Bay Freeport, Zamboanga, Matnog, Allen, Ormoc, and Dalahican. ท่าเรือเหล่านี้มีการขนส่งในแบบ RoRo ดังได้อธิบายมาแล้ว

เรือพานิชย์ Merchant marine

ฟิลิปปินส์มีเรือพาณิชย์จดทะเบียน: 480 ลำ (1,000 ตันหรือมากกว่า - GRT or over) มีน้ำหนักบรรทุกรวมได้ 5,973,024 ต้น GRT/ และเป็นน้ำหนักสูงสุดได้ไม่เกิน 9,025,087 ตัน (DWT)

- GRT มาจากคำว่า Gross Registered Tonnage แปลว่าน้ำหนักบันทุกตามที่จดทะเบียน
- DWT มาจากคำว่า Deadweight Tonnage หรือน้ำหนักบรรทุกสูงสุดได้อย่างปลอดภัย

การบรรทุกใดๆ ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบดูจากสิ่งที่เขาเขียนติดกับเรือนั้นๆ เพราะในบางช่วงเทศกาลที่มีคนและความต้องการบันทุกมาก แต่เรือมีอย่างจำกัด ทำให้มีผู้ให้บริการเสี่ยงบรรทุกสินค้าและคนเกินพิกัด และเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายในภูมิภาคแถบนี้อยู่เป็นระยะๆ ปัญหานี้พบในประเทศอินโดนีเซีย และทางใต้ของไทยที่มีการท่องเที่ยวไปตามเกาะแก่งอยู่บ้างเช่นกัน

ประเภทของเรือ Ships by type

หากประเทศไทยมีการเดินทางหลักๆ ด้วยระบบรถโดยสารสำหรับประชาชนระดับทั่วไปและระดับล่าง ในประเทศฟิลิปปินส์ จะมีการเดินทางระหว่างเกาะแก่งต่างๆ ที่ต้องใช้การเดินทางด้วยเรือโดยสารข้ามเกาะ หรือเรียกว่า Ferries

เนื่องจากความเป็นเกาะแก่ง ความจำเป็นในการใช้เรือเพื่อการคมนาคมและการขนส่งจึงเป็นความจำเป็นอย่างมาก และมีเรือหลากหลายประเภทที่เขาใช้เพื่อการคมนาคมและการขนส่ง ดังจะได้นำเสนอต่อไปนี้

ประเภท จำนวน หมายเหตุ

บันทุกของใหญ่ Bulk 159
บันทุกสินค้า cargo 122
บันทุกสารเคมี chemical tanker 5
บันทุกสินค้าแบบประสม combination bulk 9
บันทุกตู้สินค้า container 7
บันทุกแก็สและของเหลว liquified gas 13
บันทุกสัตว์ livestock carrier 9
บันทุกผู้โดยสาร passenger 4
บันทุกผู้โดยสารและสินค้า passenger/cargo 12
บันทุกปิโตรเลียม petroleum tanker 47
บันทุกสินค้าแบบมีตู้แช่เย็น refrigerated cargo 20
บันทุกระบบเคลื่อนขึ้นและลง roll-on/roll-off 19
โดยสารทางทะเลระยะสั้น short-sea passenger 32
บันทุกของเหลวพิเศษ specialized tanker 2
บันทุกยานพาหนะ vehicle carrier (1999 est.) 20

เรือที่ใช้มาจากหลายสัญชาติ เช่น Japan owns 19 ships, Hong Kong 5, Cyprus 1, Denmark 1, Greece 1, Netherlands 1, Singapore 1, และ UK 1 (1998 est.)

การขนส่งทางเรือ อย่างไรก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา การสร้างงานที่ต้องกระจายงานไปตามเกาะแก่งต่างๆ ก็จะมีปัญหาด้านค่าขนส่งที่ตามมาด้วย นอกจากนี้ความที่เป็นเกาะที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางของภูมิภาค ไม่เหมือนกับประเทศไทย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์จึงต้องมีรูปแบบการขนส่งและวิถีชีวิตที่เป็นเฉพาะของตน

ทางน้ำ Waterways

การขนส่งด้วยคลองและแม่น้ำเป็นไปอย่างจำกัด มีเส้นทางขนส่งทางน้ำในแผ่นดิน 3,219 กิโลเมตร มีความลึกจำกัดที่ 1.5 เมตร
การขนส่งทางอากาศ Air Transportation

ท่าอากาศยาน Airports

มีท่าอากาศยานทั้งสิ้น 266 แห่ง (1999 est.) สนามบินและการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นทางเลือกในการเดินทางระหว่างเกาะต่างๆ ประเทศฟิลิปปินส์มีสนามบินที่มีทางลาดผิวลานบิน 76 แห่ง

ภาพ สนามบินนานาชาติ Ninoy Aquino International Airport

• มีความยาวลานบินมาตรฐานคือ 3,047 เมตรขึ้นไป 4 แห่ง
• 2,438 to 3,047 เมตร 5 แห่ง
• 1,524 to 2,437 เมตร: 26 แห่ง
• 914 to 1,523 เมตร: 31 แห่ง
• ต่ำกว่า 914 เมตร: 10 แห่ง (1999 est.)

ยังไม่มีลาดผิวลานบิน: 190 แห่ง ซึ่งเป็นการรองรับการบินด้วยเครื่องบินขนาดเล็กต่างๆ
• 1,524 to 2,437 เมตร: 3 แห่ง
• 914 to 1,523 เมตร: 66 แห่ง
• ต่ำกว่า 914 เมตร: 121 แห่ง (1999 est.)

สนามบินนานาชาติ International Gateways
Ninoy Aquino International Airport (Manila)

1. Ninoy Aquino International Airport (Manila) นับเป็นสนามบินนานาชาติหลักของประเทศ
2. Mactan-Cebu International Airport (Cebu City)
3. Francisco Bangoy International Airport (Davao City)
4. Diosdado Macapagal International Airport (Clark Special Economic Zone, Pampanga)
5. Subic Bay International Airport (Subic Bay Freeport Zone, Zambales)
6. Laoag International Airport (Laoag, Ilocos Norte)
7. Zamboanga International Airport (Zamboanga City)

ลานเฮลิคอปเตอร์ Heliports

จำนวน 1 แห่ง (1999 est.)

สายการบิน Airlines

ภาพ สายการบิน Philippines Airlines

สายการบินแห่งชาติของฟิลิปปินส์ Philippines Airlines มีพื้นฐานด้านกำลังคนที่ดี สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีทัศนคติด้านบริการลูกค้าที่ดี แต่ประสบปัญหาด้านการบริหารและแรงงานสัมพันธ์ คล้ายๆ กับสายการบินรุ่นเก่าหลายๆแห่งในโลก

1. Philippine Airlines (national flag carrier)
2. Air Philippines
3. Cebu Pacific
4. Asian Spirit
5. South East Asian Airlines (Seair)
6. Laoag International Airlines

เพราะความเป็นประเทศนอกทวีป แม้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์จึงต่างจากประเทศไทย สิงคโปร์ หรือมาเลเซียที่ต่างมีสนามบินขนาดใหญ่ที่แข่งขันกันเป็นศูนย์กลางการสื่อสารทางอากาศ แต่ฟิลิปปินส์ไม่สามารถมีสนามบินที่จะเป็น Hub เพื่อการสื่อสารแข่งขันกันในระแวกนี้ได้

ประเทศฟิลิปปินส์มีการพัฒนาการเดินทางด้วยรถไฟได้น้อยมาก ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาทางรถไฟและการเดินทางด้วยรถไฟไปอย่างมากเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แต่ก็ไม่เติบโตได้มากนักในระยะหลัง เมื่อมีการพัฒนาถนนหนทางในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา แต่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงเวลาเดียวกันประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองที่ไม่พัฒนาจนทำให้ไม่มีโอกาสได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ทั้งนี้รวมไปถึงระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และอื่นๆ ด้วย

การสื่อสาร (Communication)

ประเทศฟิลิปปินส์มีสภาพเป็นเกาะ การวางระบบสื่อสารที่จะเป็นระบบสาย (Cabling) จึงเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากกว่าในประเทศไทย ดังจะสังเกตุได้ว่าในประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 6.797 ล้านคู่สาย แต่ในประเทศฟิลิปปินส์มี 3.4 ล้านคู่สาย

แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยในปี ค.ศ. 2005 มีโทรศัพท์มือถือ หรือโทรศัพท์ไร้สาย 27.38 ล้านเครื่อง แต่ในประเทศฟิลิปปินส์มี 32.9 ล้านเครื่อง ที่เป็นดังนี้เพราะในประเทศที่เป็นเกาะแก่งมากๆ อย่างในฟิลิปปินส์นั้นเมื่อโลกยุคใหม่เปิดทางให้มีการใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวก จึงหันไปใช้โทรศัพท์มือถือทดแทนการใช้โทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้สายสัญญาณ ซึ่งมีความยุ่งยากในการวางสายดังกล่าวมากกว่า

ประชากร

ประเทศฟิลิปปินส์จัดเป็นประเทศทีมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีประชากรสำรวจในปี ค.ศ. 2005 ที่ 86,241,697 คน ประมาณ 2 ใน 3 อาศัยอยู่ในเกาะลูซอน มีเมืองหลวงชื่อมะนิลา (Manila) ซึ่งจัดเป็นเขตประชากรเมือง (Metropolitan) เป็นอันดับที่ 12 ของโลก ระบบการศึกษาจัดว่ามีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรเดินตามแนวทางของสหรัฐอเมริกา อัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 95.9 โดยชายและหญิงได้รับการศึกษาในระดับเท่าเทียมกัน อัตราอายุเฉลี่ยที่ 69.29 ปี โดยหญิงมีอายุเฉลี่ยที่ 72.28 ปี และชายที่ 66.44 ปี อัตราการเติบโตของประชากรที่ค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 1.92 ต่อปี (เทียบกับประเทศไทยที่ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 มานานแล้ว) มีอัตราการเกิดที่ 26.3 คนต่อประชากร 1,000 คน

ประเทศกำลังประสบปัญหาสำคัญคือประชากรล้นประเทศ เพราะไม่สามารถควบคุมการเกิดเพิ่มของประชากรได้ ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาได้มีการวางแผนครอบครัวและการควบคุมจำนวนประชากรได้ดีกว่า ไม่มีการต่อต้านการคุมกำเนิดด้วยความเชื่อทางศาสนาเหมือนดังในประเทศฟิลิปปินส์

การใช้ภาษา

ในการสื่อสารด้วยภาษาราชการ ฟิลิปปินส์จะใช้ภาษาฟิลิปปิโน หรือ Tagalog และภาษาอังกฤษ เป็นหลัก ซึ่งเป็นลักษณะภาษาสไตล์อเมริกัน และความที่มีภาษาที่เขาใช้ทั้งสองภาษา คือภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษ จึงมีลักษณะปนกันทั้งคำศัพท์ และสำเนียง จนเขาเรียกกันว่า Tagalish หรือภาษาอังกฤษแบบ Tagalog

ในประเทศฟิลิปปินส์มีการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมากกว่าในประเทศไทย นักเรียนมัธยมศึกษาโดยทั่วไปในประเทศสามารถสื่อสารด้วยการพูดและเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างดี เมื่อเทียบกับนักเรียนในประเทศไทย และด้วยความที่มีภาษาอังกฤษในการสื่อสารที่ดี ชาวฟิลิปปินส์จึงสามารถออกไปทำงานในต่างประเทศค่อนข้างมาก ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และในเอเชียด้วยกัน
ชาวฟิลิปปินส์มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Filipinos แต่ในหมู่คนฟิลิปปินส์เองเขาเรียกตัวเองว่า “ปินอย” (Pinoy) แต่ถ้าเป็นหญิงจะเรียกว่า “ปินาย” (Pinay) ประชาชนฟิลิปปินส์สืบสายเลือดมาจากพวก Austronesian ทีอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงเป็นพันปี และมีการตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปตามเกาะแก่งต่างๆ

ชาวฟิลิปปินส์มีการใช้ภาษาถิ่น แบ่งออกได้เป็น 12 กลุ่มภาษา อันได้แก่ Tagalogs, Cebuanos, Ilocanos, Ilonggos, Bicolanos, Pampangos, Pangasinenses, Karay-as, Warays, Maranaos, Maguindanaos, and Tausugs, และตามด้วยกลุ่มภาษาย่อยๆ อื่นๆ อีกมาก หากเปรียบเทียบความหลากหลายด้านภาษาและวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์แล้วจะมีมากกว่าประเทศไทยมาก ด้วยเหตุประการหนึ่งเพราะความเป็นเกาะแก่งของเขา แต่ละชุมชนต้องดำรงอยู่กันเอง และมีการเติบโตทางวัฒนธรรมกันมาเองแต่เก่าก่อน การจะไปสร้างความเป็นชาติมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเหมือนในประเทศในแถบแผ่นดินเช่น จีน ไทย หรือพม่านั้นคงกระทำได้ยาก

No comments:

Post a Comment