Sunday, April 5, 2009

จะทราบเวลาในโลกได้อย่างไร

จะทราบเวลาในโลกได้อย่างไร
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย

เมื่อคนจะต้องทำงานในแบบข้ามชาติกัน ต้องทำความเข้าใจเรื่องเวลาของแต่ละท้องถิ่นในโลก และเวลานัดหมายกัน จะต้องยึดเวลาในท้องถิ่นนั้นๆเป็นหลัก เช่น จะเดินทางโดยเครื่องบินไปถึงในสนามบินของเมืองหนึ่งนั้น จะให้คนเขามารับที่สนามบิน ก็ต้องยึดเอาเวลาของเมืองนั้นเป็นหลัก ต้องบอกวันและเวลาขึ้นเครื่องของเที่ยวบินใด ของสายการบินอะไร ออกจากสนามบินใด (Airport) และในกำหนดการ จะเดินทางมาถึง (Arrival Time) ที่สนามบินอะไรในเมืองใด ของประเทศใด

หากจะต้องนัดหมายคุยกันทางโทรศัพท์ระหว่างบุคคล 2 ประเทศหรือมากกว่า ก็ต้องยึดเวลาในท้องถิ่นของแต่ละประเทศเป็นหลัก เพื่อจะให้ได้พูดคุยกันในเวลาเดียวกัน

สมมุติจะเปรียบหรือศึกษาเรื่องเวลาระหว่าง 2 เมืองที่อยู่ห่างกันคนละซีกโลก คือนิวยอร์ค, ประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกด้านหนึ่งคือกรุงเทพฯมหานคร ในประเทศไทย

ในขณะที่ผมเขียนบทความสั้นๆนี้เกี่ยวกับเวลาในโลก ผมอยู่ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา (New
York, New York, United States) ในขณะนี้เป็นวันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 เวลา 20:40 น. (Friday, May 2, 2008 at 10:20:40 PM EDT)

คำว่า EDT มาจากคำว่า Eastern Daylight Time คือมีการนับเวลาในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเพิ่มอีก 1 ชั่วโมง โดยนิวยอร์คอยู่ในเขตเวลาเทียบ UTC/GMT -5 hours และเนื่องจากเขาช่วงปรับเวลาช่วงฤดูร้อน เพิ่มให้กับกลางวันอีก 1 ชั่วโมง (Daylight saving time: +1 hour)

เวลาในเมืองนิวยอร์ค คือ UTC/GMT -4 ชั่วโมงTime zone abbreviation: EDT - Eastern Daylight Time
สำหรับกรุงเทพฯ (Bangkok, Thailand) อันเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ในเวลาเดียวกัน เป็นวันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 เวลา 9:30 น. (Saturday, May 3, 2008 at 9:21:40 AM) ซึ่งเป็นเขตที่มีเวลาท้องถิ่นที่เทียบกับสากลอยู่ในเขต UTC/GMT บวก 7 ชั่วโมง (UTC/GMT Offset Standard time zone: UTC/GMT +7 hours) แต่ไม่มีการบวกเวลากลางวันเพิ่ม คือทุกฤดูกาลมีเวลากลางเป็นเวลาเดียว ต่างจากประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่นหรือทางเหนือที่มีการปรับเวลาต่างกันระหว่างช่วงฤดใบไม้ผลิและฤดูร้อน

จะเห็นได้ว่าเวลาของสองเมืองที่กล่าวแม้เป็นเวลาจริงเดียวกัน แต่มีความต่างกัน 11 ชั่วโมง
การคิดเวลาจึงคิดได้ดังนี้ คือเท่ากับ เวลาในกรุงเทพฯ เร็วกว่าในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา 5 +7 = 12 ชั่วโมงในฤดูหนาว แต่เมื่อเป็นช่วงมี Daylight Saving Time ที่เวลาจะเร็วขึ้นอีก 1 ชั่วโมง เวลาจึงต่างกันที่ 11 ชั่วโมง

ด้วยความที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันด้านเวลา เมื่อเทียบเอากับเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก แต่บางประเทศมีความกว้างขวาง ดังในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความแตกต่างกันด้านเวลาระหว่างตะวันตกสุด กับตะวันออกสุดถึง 5-6 ชั่วโมง การถามเรื่องเวลา จึงต้องเทียบเอากับเมืองหลักในประเทศนั้นๆว่าอยู่ในเขตเวลาอย่างไร (Time zone - UTC-5 to -10) สนช่วงฤดูร้อนจะเป็น ( Summer DST, UTC เวลาจะเท่ากับ -4 to -10)

สำหรับประเทศไทยนั้นทั้งประเทศไม่ใหญ่โตมากนัก จึงกำหนดให้ทั้งประเทศมีเวลากลางเดียวกัน

No comments:

Post a Comment