บริการสุขภาพดีถ้วนหน้า (Universal health care)
ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
Springboard For Asia Foundation (SB4AF)
E-mail: pracob@sb4af.org
Updated: Monday, June 09, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia
ความนำ
บริการสุขภาพดีถ้วนหน้า (Universal health care, หรือ universal healthcare) เป็นการดูแลสุขภาพ (health care)ที่ครอบคลุมถึงประชากร (citizens) ทุกคน และในบางแห่งครอบคลุมถึงทุกคนที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (permanent residents) ในสังคมนั้น โปรแกรมบริการสุขภาพดีถ้วนหน้ามีโครงสร้าง และวิธีการสนับสนุนทางการเงินที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะให้การเงินภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสุขภาพจะมาจากประชากรโดยทางการบังคับประกันสุขภาพ (health insurance) หรือการจ่ายภาษี (taxation) หรือเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน
บริการสุขภาพ หมายถึงการต้องมีบริการจะเป็นบริการภาครัฐบาลจัดให้ หรือเป็นเอกชนดำเนินการก็ตามที และบริการนั้นควรต้องดีและมีมาตรฐานระดับที่สูงพอ บางแห่งมีบริการให้ แต่เป็นบริการที่ไม่ดีพอ ไม่เป็นประโยชน์ และผิดหลักสุขภาพโดยรวม ก็ไมจัดเป็นบริการสุขภาพดีถ้วนหน้า
ระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้าต้องมีภาครัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทั่วไปคือการต้องมีกฏหมาย (legislation), การมอบหมายอำนาจให้ดำเนินการ (mandates) และกฎเกณฑ์ต่างๆ (regulation)
ในช่วงทศวรรษที่ 1880s ประชากรเกือบทั้งหมดของเยอรมันได้รับการดูแลสุขภาพแบบครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งเป็นการผลักดันโดย Otto von Bismarck ในประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติได้วางระบบบริการสุขภาพดีถ้วนหน้า และเป็นระบบบริการสุขภาพโดยรัฐบาลแห่งแรกของโลก และตามที่ศึกษาโดยสถาบันเพื่อสุขภาพ (Institute of Medicine) แห่งบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (the National Academy of Sciences) ประเทศสหรัฐอเมริกา (the United States) เป็นชาติที่ร่ำรวย และเป็นชาติอุตสาหกรรมเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
การดำเนินการ ( Implementation)
บริการสุขภาพดีถ้วนหน้า มีแนวคิดที่กว้างและสามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบ แต่โดยที่การดำเนินการกันนั้น มักจะต้องมีภาครัฐบาลเข้าไปดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้บริการสุขภาพนี้ได้ครอบคลุมกว้างขวางให้มากที่สุด ประเทศที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้อาศัยกระบวนการทางนิติบัญญัติ การวางกฎเกณฑ์ และการจัดเก็บภาษี กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆนั้น เพื่อให้ทิศทางว่าระบบบริการสุขภาพนั้นจะให้แก่ใคร และในขอบเขตกว้างขวางแค่ไหนเพียงใด จะมีการดูแลโรคบางประการที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างไร เช่น การทำฟัน การจัดฟัน การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ การผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การดูแลโรคไต ปอดพิการเรื้อรัง จะดูแลกันอย่างไร และในระดับไหน โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายบางส่วนจะจ่ายโดยผู้ป่วย แต่ได้รับการสนับสนุนโดยระบบภาษีและการชดเชยให้กับคนป่วยโดยรัฐบาล บางโปรแกรมจัดเป็นบริการประกันสุขภาพภาคบังคับ (compulsory insurance) บางแห่งเป็นโปรแกรมที่รัฐบาลจ่ายให้ทั้งหมด โดยอาศัยระบบภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บ และเป็นบริการให้ทั้งกับประชากรและผู้อยู่อาศัยในสังคมนั้นทุกคน
ในยุโรป ( Europe)
โดยทั่วไปในทวีปยุโรปมีระบบบริการสุขภาพที่รัฐให้การสนับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ประเทศเหล่านี้รวมถึง Austria, Belgium, Bosnia, Bulgaria, Croatia, Czech Republic, Denmark, Finland, Estonia, France, Georgia, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Malta, the Netherlands, Norway, Latvia, Liechtenstein, Luxembourg, Poland, Portugal,[4] Romania, Russia, Serbia, Slovakia, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland และ the United Kingdom.[5]
จะสังเกตุได้ว่าประเทศในกลุ่มยุโรปโดยรวมมีการจัดการด้านสุขภาพที่ครอบคลุม และมีค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบที่ดีกว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นประเด็นที่ในสหรัฐเอง ก็ต้องมีการนำไปสู่การต้องปฏิรูปการเมืองเพื่อการดูแลสุขภาพของประชากรของประเทศ ดังในการที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 นี้
ประเทศเยอรมัน (Germany)
ประเทศเยอรมันมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มตั้งแต่ยุคของ Otto von Bismarck ที่ได้ประกาศกฏหมายประกันสุขภาพในปี ค.ศ. 1883 (Health Insurance Act of 1883) ระบบจัดเป็นการบังคับประกันสุขภาพ ในยุคเริ่มต้น เป็นการบังคับใช้สำหรับกลุ่มคนงานผู้มีรายได้ต่ำ และคนงานในภาครัฐบางส่วน แต่ค่อยๆขยายวงกว้างจนครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ ในปัจจุบันร้อยละ 85 ของประชากรได้รับการครอบคลุมด้วยบริการสุขภาพที่เรียกว่า 'Statutory Health Insurance' ซึ่งเป็นการให้บริการขั้นมาตรฐานแก่ทุกคน
ส่วนกลุ่มคนที่เหลือจะได้อยู่ในกลุ่มครอบคลุมด้วยระบบประกันสุขภาพเอกชน ซึ่งให้บริการและสิทธิประโยชน์ที่เสริมเพิ่มขึ้น ตามการประมาณการโดยองค์การสุขภาพแห่งโลก (World Health Organization) ประเทศเยอรมันมีระบบดูแลสุขภาพที่รัฐสนับสนุนร้อยละ 77 และอีกร้อยละ 23 เป็นการให้บริการโดยภาคเอกชน
รัฐบาลมีหน้าที่หลักในการกำหนดกฎเกณฑ์ (Regulatory) ทำหน้าที่จัดประชุมเป็นทุกปี โดยมีตัวแทนของฝ่ายผู้บริโภค กลุ่มนายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่และนักวิชาชีพด้านสุขภาพ พนักงานในระบบสหภาพ และอุตสาหกรรมประกันสุขภาพ เข้าร่วม แม้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง แต่คนดำเนินการบริหารเป็นอ้นมากจากผู้ให้บริการประกันสุขภาพ และได้รับการสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายจากนายจ้างและลูกจ้าง รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่ไม่มีงานทำ คนทำงานมีรายได้น้อยสามารถเบิกค่าใช้จ่าย สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายมีการกำหนดล่วงหน้า คนที่มีรายได้สูง ก็จ่ายตามสภาพรายได้ของตนเอง และคนกลุ่มนี้อาจเลือกบริการสุขภาพที่เป็นประกันภาคเอกชน ซึ่งโดยทั่วไปจะเสียค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า แต่ทั้งหมดนี้จะมีความแตกต่างกันตามสภาพสุขภาพร่างกายของแต่ละคน
ในโรงพยาบาลของเยอรมัน แพทย์และพยาบาลจะเป็นแบบรับเงินเดือน โดยผ่านทางโรงพยาบาลที่เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรของภาครัฐ (public non-profit hospitals) แต่จะมีองค์การไม่แสวงกำไรภาคเอกชนที่มีอยู่ แต่เป็นจำนวนน้อย ระบบรถพยาบาล (Ambulatory care) เป็นบริการโดยระบบแพทย์และกลุ่มทำงานขนาดเล็ก ซึ่งอาจไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล การเบิกค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามอัตราค่าบริการ แต่จำนวนผู้ป่วยที่จะรับได้นั้น ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่รัฐบาลและสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องจะกำหนด บริการเล็กๆน้อยๆ (Capitated care) ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ถูกห้ามไปในราวทศวรรษ 1930s แต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณา เพื่อเป็นกลไกที่มีค่าใช่จ่ายไม่สูงที่ควบคุมได้ การจ่ายค่าใช้จ่ายร่วม (Copayments) ที่ได้นำเสนอในช่วงทศวรรษที่ 1980s เพื่อสกัดการใช้บริการเกินความจำเป็น ทำให้อัตราการพัก ณ โรงพยาบาลได้ลดลง จาก 14 วัน เป็น 9 วัน ซึ่งก็ยังสุงกว่าในประเทศสหรัฐ ซึ่งจะเฉลี่ยที่ 5-6 วัน ทั้งนี้โดยเปลี่ยนเงื่อนไขการเบิกเงินจากรัฐบาลที่อาศัยวันที่พักในโรงพยาบาล เป็นการเบิกตามสภาพอาการป่วย การรักษาพยาบาล และการตรวจวิเคราะห์โรคที่เกิดขึ้น
ค่าใช้จ่ายด้านยาได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก และช่วงค.ศ. 1991-2005 ค่ายาได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 หรือเกือบร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้เพราะความง่ายของกระบวนการเบิกจ่าย และกลไกการเบิกแบบครอบจักรวาล แต่โดยรวมค่าบริหารงานยังไม่สูงนัก คือประมาณ EU 160 ต่อคน/ปี แต่แม้ว่าจะมีความพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพก็ยังสูงขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 ของรายได้มวลรวมของประเทศ (GDP) ในปี ค.ศ. 2005
แต่โดยเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปตะวันตก ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็ยังต่ำกว่าของสหรัฐมาก คือประเทศสหรัฐต้องจ่ายค่าสุขภาพเกือบร้อยละ 16 ของ GDP
ประเทศไทย ( Thailand)
ประเทศไทยได้เริ่มนำระบบสุขภาพดีถ้วนหน้ามาใช้ โดยมีการปฏิรูปในปี ค.ศ. 2001 และจัดเป็นประเทศหนึ่งในส่วนน้อยของกลุ่มที่มีรายได้ระดับกลางค่อนข้างต่ำที่ได้จัดให้มีบริการนี้ ระบบที่พยายามจัดบริการแก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นลูกจ้างในระบบ ได้ถูกแทนที่ด้วยการให้บริการใหม่ครอบคลุมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงคนงาน คนทำงานอิสระ และเกษตรกร ซึ่งแต่เดิมจะไมได้ครอบคลุมในระบบ การประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้านี้ โดยทั่วไปเรียกว่า “30 บาท รักษาทุกโรค” ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายเพียงส่วนน้อย โดยเสียเงินค่ารักษาขั้นต้นที่ 30 บาท หรือประมาณ USD 1.00 ต่อครั้งที่มารักษาพยาบาล
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับบัตรทอง ที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพในท้องที่ของตน และถ้าจำเป็นสามารถโอนย้ายไปรับบริการในที่อื่นๆได้ ค่าใช้จ่ายในการนี้มาจากภาครัฐผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข และบางส่วนมาจากเงินประกันสังคม (Contracting Units for Primary Care) ตามข้อมูลขององค์การสุขภาพแห่งโลก (WHO) ร้อยละ 65 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประชาชนมาจากงบประมาณภาครัฐบาล และอีกร้อยละ 35 มาจากแหล่งเอกชน
โครงการปฏิรูปบริการสุขภาพนี้ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะกับคนยากจน และเจาะจงไปที่คนยากจนในชนบท และแม้เปลี่ยนรัฐบาลในช่วงการรัฐประหารในปี ค.ศ. 2006 แต่โครงการฯยังคงอยู่ แต่ได้มีการยกเลิกค่าใช้จ่ายร่วมที่ผู้ป่วยร่วมจ่ายครั้งละ 30 บาท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น คือ นพ. มงคล ณ สงขลา (Mongkol Na Songkhla) และถือว่าบริการสุขภาพนี้เป็นบริการให้ฟรีทั้งหมด สำหรับในระยะต่อไป ไม่แน่ใจว่าโครงการฯ จะมีการปรับปรุงต่อไปอย่างไรในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 ที่เป็นรัฐบาลประสม
Monday, April 6, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment