Sunday, April 5, 2009

บทที่ 15 สหรัฐอเมริกา ช่วงรัฐบาลฟอร์ดและคาร์เตอร์

ประกอบ คุปรัตน์แปลและเรียบเรียง
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

ช่วงรัฐบาลฟอร์ดและคาร์เตอร์
(Ford and Carter)

ยุคสมัยของสงครามเย็นได้เปลี่ยนไปสู่อเมริกันพยายามหาทิศทางใหม่ด้านศีลธรรมของตนเอง

รองประธานาธิบดี Gerald R. Ford ได้สาบานเข้ารับตำแหน่างสืบต่อจากรองประธานาธิบดีคนแรกของนิกสันที่ชื่อ Spiro T Agnew ซึ่งต้องลาออกด้วยเรื่องการหลีกเลี่ยงภาษี Ford สัญญาว่าจะดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของนิกสันต่อไป โดยเฉพาะการปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศจีนและสหภาพโซเวียต และในระยะปลายสมัยของนิกสัน เขาได้เดินทางไปเยือนตะวันออกกลาง และสหภาพโซเวียต และเขาได้สัญญาว่าจะนำสันติภาพที่ถาวรกลับมา

ในกิจการภายในประเทศ สหรัฐได้รับผลกระทบจากค่าพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อกลุ่มประเทศอาหรับได้รวมตัวกันตอบโต้สหรัฐที่สนับสนุนอิสเรลในสงคราม Yom Kippur War หรือที่เรียกว่าสงครามอาหรับกับอิสเรล (Arab-Israeli Wars) ฟอร์ดได้พยายามควบคุมไม่ให้มีเงินเฟ้อมากนัก แต่ในปี ค.ศ. 1974 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจหลังสงครามก็ถึงจุดสูงสุดนับหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาต้องเผชิญกับปัญหาการว่างงาน ปัญหาโลกขาดอาหาร ความนิยมของฟอร์ดตกต่ำเมื่อเขาได้ประกาศนิรโทษกรรมให้นิกสันในความผิดเมื่อดำรงตำแหน่างประธานาธิบดี และด้วยเหตุดังกล่าว พรรค Republican จึงต้องเสียอำนาจให้กับพรรค Democrat ไปในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1974 Nelson A. Rockefeller อดีตผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง แต่ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีก็ไม่มีความนิยมเหลืออยู่แล้ว ช่วงดำรงตำแหน่ง เขาต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ การทำงานที่ไม่ราบรื่นกับรัฐสภาซึ่งมีเสียงข้างมากของพรรคตรงกันข้าม คือ Democrat ฟอร์ดต้องวีโต้กฏหมายหลายฉบับที่ต้องการผลักดันนโยบายด้านสังคม แต่การที่ไม่สามารถทำอะไรได้มากนั้น ทำให้คะแนนเสียงของเขาแม้ในพรรคของเขาเองก็ไม่เป็นหนึ่งเดียว มีผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย Ronald Reagan ท้าทายด้วยการเสนอตัวเป็นผู้แทนเข้าชิงตำแหน่งในนามพรรค แม้ฟอร์ดจะได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรค แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ในการแข่งขันเป็นประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีคาร์เตอร์

อเมริกาเข้าสู่ยุคของการแสวงหาค่านิยมใหม่

อดีตผู้ว่าการรัฐ Georgia จากภาคใต้ ชื่อ James E. “Jimmy” Carter ได้รับการสรรหาเป็นตัวแทนพรรค Democrat เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี สิ่งที่เขารณรงค์หาเสียงคือเรื่องของการนำความซื่อสัตย์และศีลธรรมกลับมาสู่การบริหารประเทศ การที่เขาเป็นผู้ว่าการรัฐที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการเมืองระดับประเทศในวอชิงตัน ดีซี เป็นคุณสมบัติสำคัญ เมื่อคนเบื่อการเมืองในแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกรณีอื้อฉาว Watergate แม้ว่าฟอร์ดจะสามารถหาเสียงตีตื้นมาได้ แต่ Carter ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ในทันที่ที่เขารับตำแหน่ง เขาได้ออกคำสั่งนิรโทษกรรมผู้หนีการเกณฑ์ทหารในช่วงสงครามเวียดนาม คาร์เตอร์ต้องให้ความสนใจกับปัญหาด้านพลังงาน และได้มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน (Department of Energy) ขึ้นในปี ค.ศ. 1977 และได้เน้นการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหินที่มีผลต่ออากาศและสิ่งแวดล้อมโดยรวม แต่พลังงานนิวเคลียร์ในสหรัฐก็ต้องประสบปัญหาความเชื่อถือเมื่อเกิดอุบัติเหตุกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลที่โรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ เกาะ เรียกว่า Three Mile Island power facility ใกล้เมือง Harrisburg ในรัฐ, Pennsylvania

รัฐหลายๆ รัฐได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันไม่เหมือนกัน รัฐที่มีอุตสาหกรรมด้านน้ำมันเช่น Texas, Louisiana, Wyoming, และ Colorado ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตลอดช่วงทศวรรษที่ 1970 รัฐ Alaska ได้เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากจากการมีท่อส่งน้ำมันในช่วงปี ค.ศ. 1977 แต่โดยรวมราคาน้ำมันได้ทำให้การแข่งขันในกิจการต่างๆ ของประเทศอื่นต่อสหรัฐแข็งยิ่งขึ้น อุตสาหกรรมหนัก รถยนตร์ของสหรัฐที่เป็นแบบใช้น้ำมันเปลืองได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเหล็กที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ค่าแรงงานและน้ำมันที่สูงขึ้น ได้รับผลกระทบ ย่านที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ เขาเรียกกันว่า “ย่านสนิมเกาะ” (Rust Belt) คือมีความถดถอยจากความเปลี่ยนแปลงนี้ เมืองในทางตอนกลางของประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 เมืองดังกล่าวมีอัตราอาชญากรรมที่สูงขึ้น การประทะด้านเชื้อชาติและสีผิว โดยเฉพาะจากคนดำมีมากขึ้น คนและธุรกิจไหลออกไปสู่ย่านชานเมืองที่ปลอดภัยกว่า ธุรกิจได้เริ่มเปลี่ยนไปหาสถานที่ใหม่ และลงมาทางใต้มากขึ้นเมืองขนาดใหญ่ที่เคยรุ่งเรืองก็ต้องประสบ
ความถดถอย ขาดงบประมาณในการดูแล

เงินเฟ้อยังเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาลภายใต้การนำของฟอร์ด และเป็นจุดเลวที่สุดในรอบ 30 ปีเมื่อค.ศ. 1979 ความพยายามที่จะควบคุมสภาพเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็ยิ่งทำให้ประเทศเข้าสู่สภาพเศรษฐกิจถดถอย คนไม่อยากลงทุน เพราะต้องมีต้นทุนดอกเบี้ยร่วมเข้าไปด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1977 ประธานาธิบดี Carter ได้ทำการลงนามในสัญญาคลองปานามาใหม่ (The Panama Canal Treaty) และในอีกหนึ่งปีต่อมารัฐสภาก็ได้ลงมติคืนคลองปานามาให้กับประเทศของเขามีผลในปี ค.ศ. 1999 ความสำเร็จที่สำคัญของ Carter ในด้านการต่างประเทศคือการประสานงานและเจรจาให้ Egypt และ Israel ได้มีการเจรจากันที่ Camp David, Md ซึ่งนำไปสู่การลงนามในสัญญาสันติภาพระหว่างสองประเทศ สัญญานี้มีขื่อว่า Camp David accords ลงนามโดยประธานาธิบดี Anwar al- Sadat แห่งอียิปต์ และนายกรัฐมนตรี Menachem Begin ในปี ค.ศ. 1979 สหรัฐในยุค Carter ได้ประสานความสัมพันธ์กับประเทศจีนเพื่อนำไปสู่ความสัมพันธ์ระดับปกติ และในด้านสงครามเย็นกับโซเวียต ได้มีการเจรจารองสอง เพื่อการจำกัดการมีอาวุธนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียต (SALT II)

คาร์เตอร์ประกาศที่จะต่อต้านประเทศที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน อันทำให้มีการห้ามค้ากับสหภาพโซเวียตในด้านการค้าธัญญพืชและและเทคโนโลยีระดับสูงต่อการที่โซเวียตได้บุกอัฟกานิสถาน และคาร์เตอร์ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกที่จัด ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow Olympics) ในปี ค.ศ. 1979 เขาได้อนุญาตให้อดีตกษัตริย์ Muhammad Reza Shah Pahlevi แห่งอิหร่านได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ก่อให้เกิดการอเมริกันในประเทศอิหร่านอย่างรุนแรง และในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มหัวรุนแรงในอิหร่านได้บุกเข้าสถานฑูตสหรัฐในอิหร่าน และจับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐเป็นตัวประกัน 66 คน
วิกฤติในอิหร่านได้ทำให้ความนิยมในตัวประธานาธิบดีคาร์เตอร์ในฐานะผู้นำลดลงอย่างมาก จากเหตุการจัดตัวประกันในอิหร่าน และความพยายามจะช่วยตัวประกันได้ทำให้มีคนอเมริกันเสียชีวิต 8 คน ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็เข้าสภาวะวิกฤติถดถอยยิ่งขึ้น คาร์เตอร์ไม่มีโอกาสในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 มากนักที่จะต่อสู้กับผู้รับสมัครจากพรรครีพับลิกันที่ชื่อโรแนล เรแกน (Ronald Reagan) ซึ่งสัญญาจะนำอเมริกาสู่ความยิ่งใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจอีกครั้ง

No comments:

Post a Comment