ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
แนวคิดขยายอาณาเขตและความคิดก้าวหน้า
(Expansionists and Progressives)
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้เกิดคลื่นแห่งการขยายดินแดนในนโยบายการต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1867 สหรัฐได้ซื้อรัฐอลาสก้า (Alaska) มีการเข้าไปจับจองที่ดินในดินแดนโอกลาโฮม่า (Oklahoma) มีการมุ่งไปลงทุนในดินแดนด้านแปซิฟิก และทะเลแคริเบียน ได้เข้าไปยึดครองในหมู่เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1898 ทำให้สหรัฐต้องเข้าสู่สงครามกับสเปน ที่เรียกว่า Spanish-American War ทำให้สหรัฐได้ดินแดน Puerto Rico, หมู่เกาะ the Philippine Islands, และ หมู่เกาะกวม (Guam), และได้มีอิทธพลกึ่งคุ้มครองเหนือดินแดนเกาะคิวบา (Cuba) ทางตอนใต้
ลัทธิขยายดินแดนได้ทำให้อเมริกาได้เขาไปยึดครองฟิลิปปินส์ มีการใช้กำลังทหารเข้าปราบชนพื้นเมือง เมื่อชาวพื้นเมืองตระหนักว่าสหรัฐจะไม่ยอมรับในอิสรภาพของประเทศใหม่นี้ จึงเกิดการลุกฮือขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1899-1901 ซึ่งในช่วงดังกล่าว สหรัฐสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าในสงครามกับสเปน ในการแสวงหาประโยชน์ระหว่างประเทศ สหรัฐได้พัฒนานโยบาย “เปิดประตู” ในราวปี ค.ศ. 1900 ซึ่งมีการแสดงความสนใจในการติดต่อค้าขายกับจีน เป็นการเชื่อมโยงสองมหาสมุทรเข้าด้วยกัน ในทวีปอเมริกาเอง ได้มีการเข้าแทรกแซงปานามาแล้วผลักดันให้ก่อสร้างคลองเชื่อมมหาสมุทรที่เรียกว่า Panama Canal ซึ่งเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่างประเทศในลาตินอเมริกาในช่วงของ Theodore Roosevelt และประธานาธิบดีคนต่อๆ มา
ในช่วงของการแผ่ขยายในสมัยของ Roosevelt ในปี ค.ศ. 1901-9 ขณะนั้นเองในสหรัฐก็ได้มีการเคลื่อนไหวด้านความคิดก้าวหน้า (Progressivism) อันเป็นความคิดทางการศึกษาที่มีอิทธิพลจากจอนห์ ดิวอี้ (John Dewey) ดังเช่นคำขวัญที่ว่า Learning by Doing หรือการเรียนรู้คู่การปฏิบัติ แทนที่การเรียนในสมัยก่อนหน้านี้ที่เน้นการท่องจำ การเน้นวินัยและการสร้างกฎเกณฑ์ ในทางสังคม ได้มีกลุ่มที่รณรงค์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม การขุดคุ้ยตีแผ่การทำไม่ดีที่มีอยู่ในระบบราชการและสังคม การเมืองในยุคนี้ได้เป็นรูปเป็นร่างด้วยคนอย่างราฟาเอล ลาฟาแยต R. M. La Follette และคนอื่นๆ ที่มีการนำแนวคิดแบบประชานิยมประสมประสานกับสังคมเมืองยุคใหม่ มีการมองสังคมแบบมุ่งไปข้างหน้า ในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีความพยายามเรื่องการต่อต้านเรื่องฉ้อราษฎร์บังหลวง และการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม มีการจัดการให้มีระบบแรงงานและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม แต่ในอีกทางหนึ่ง Roosevelt เองก็มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างระมัดระวัง เขาทำลายระบบผูกขาดบางส่วน มีการส่งเสริมการค้าข้ามรัฐ และการเปิดให้มีบัญญัติควบคุมอาหารและยา (the Pure Food and Drug Act) ขึ้นในปี ค.ศ. 1906 และในเริ่มมีนิติบัญญัติด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น
ในช่วงหลัง Roosevelt ได้เลือกเสนอผู้รับตำแหน่งต่อ คือ William H. Taft ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป เพื่อสืบเนื่องการปฏิรูป แต่นโยบายด้านการต่างประเทศและทิศทางการเมืองก็ยังเป็นแบบเอื้อต่อธุรกิจขนาดใหญ่ ดังกรณี Payne-Aldrich Tariff Act นโยบายอนุรักษ์ของ Taft สร้างความขุ่นเคืองให้กับ Roosevelt ซึ่งได้เลือกที่จะแยกออกจากพรรค Republican แล้วในปี ค.ศ. 1912 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งในนาม Progressive Party แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตำแหน่งประธานาธิบดีตกเป็นของฝ่าย Democrat ที่ได้มี Woodrow Wilson ที่ประกาศนโยบาย “เสรีภาพใหม่” (New Freedom) ที่ได้มีการนำแนวคิดพวก Progressivism เข้าสู่การเป็นร่างกฏหมาย ในยุคนี้มีการจัดตั้งกองทุนการเงินสำรอง (Federal Reserve System) คณะกรรมการการค้า (Federal Trade Commission) แม้พวก Progressive จะไม่ได้เป็นประธานาธิบดี แต่แนวทางของกลุ่มนี้ได้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมอเมริกันไปมาก ในทางการศึกษาได้มีการขยายโอกาสการศึกษา การทำให้ระบบการเลือกตั้งเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น ในทางการต่างประเทศ Wilson ไม่ได้หยุดยั้งแนวทางของฝ่ายต้องการขยายดินแดนมากนัก กองทัพของสหรัฐยังคงมีการส่งไปในสงคราม เช่นที่นิการากัว Nicaragua และการจัดการกับปัญหาขบถที่นำโดยฟรานซิสโก วีลา (Francisco Villa หรือ Pancho Vila)
Sunday, April 5, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment