Sunday, April 5, 2009

ประวัติของ Alexander Hamilton

ภาพ Alexander Hamilton
ประวัติของ Alexander Hamilton
Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
ประกอบ คุปรัตน์แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซียS
pringboard For Asia Foundation (SB4AF)
E-mail:
pracob@sb4af.org

Updated: Sunday, May 11, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia

อเลกซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) เกิดในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1755 หรือ 1757 และเสียชีวิตในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1804 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (United States Secretary of the Treasury) คนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลหนึ่งในคณะผู้ก่อการของประเทศสหรัฐ (a Founding Father) นักเศรษฐศาสตร์ (economist) นักปรัชญาการเมือง (political philosopher) เขาเป็นคนเรียกให้มีการประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (the Philadelphia Convention) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งประเทศใหม่ เป็นนักกฎหมายรัฐธรรมนูญคนแรก เป็นคนเขียนแนวคิดเกี่ยวกับระบบมีรัฐบาลกลาง (Federalist Papers) และเป็นผู้ตีความเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่สำคัญ (Constitutional interpretation)
อเลกซานเดอร์ แฮมิลตัน เกิดที่เมือง
Nevis และได้รับการศึกษาในเขตที่เรียกว่า “อังกฤษใหม่” ( New England) ซึ่งเป็นเขตตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐในปัจจุบัน เป็นเขตที่ชาวอังกฤษมาก่อตั้งชุมชนอาณานิคมใหม่ขึ้นในทวีปอเมริกา

เขาเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครร่วมรบในสงครามปฏิวัติสหรัฐ (American Revolution War) ที่ชาวอาณานิคมได้ยืนหยัดขบถไม่ยอมอยู่ในอำนาจการปกครองของอังกฤษอีกต่อไป โดยแฮมิลตันสมัครเป็นทหารพราน (Militia) และได้เติบโตในวงการทหาร ได้รับเลือกให้เป็นนายพันกองทหารปืนใหญ่ และได้เป็นนายทหารอาวุโสช่วยงาน (aide-de-camp) ของนายพล George Washington ผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ในการสู้รบในสงครามปฏิวัติ เป็นผู้นำกองทหารในการสู้รบใหญ่ 3 ครั้ง ในการเข้ายึดเมือง Yorktown (the Siege of Yorktown) และเมื่อสงครามได้ยุติลง เขาได้กลับเข้ามาทำงานด้านนิติบัญญัติให้กับรัฐนิวยอร์ค และเป็นชาวนิวยอร์คคนเดียวที่ลงนามในการประชุมใหญ่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย

เมื่อนายพลจอร์จ วอชิงตันได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ เขาได้รับบทบาทเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีบทบาทอย่างสูงในคณะรัฐมนตรีของวอชิงตัน

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของวอชิงตัน เขาได้ผลักดันให้เกิดนโยบายภาครัฐของรัฐบาลกลางใหม่ๆ โดยเขายกย่องระบบการเมืองของประเทศอังกฤษ แฮมิลตันเน้นการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง และนั่นหมายถึงต้องมีอำนาจทางการทหาร แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐสภา (U.S. Congress) เขาต้องการให้มีระบบดูแลหนี้ของรัฐบาลกลาง โดยให้รัฐแต่ละรัฐต้องมีบทบาทหน้าที่และรับผิดชอบด้านการจัดเก็บภาษีและจัดส่งสู่ส่วนกลางจำนวนหนึ่ง เขาสร้างระบบธนาคารกลาง และการกำหนดภาษีขาเข้าและภาษีเหล้า (whiskey tax)

ในราวปี ค.ศ.1792 แนวร่วมของ Hamilton และกลุ่มของ Jefferson-Madison ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแนวนโยบาย แฮมิลตันเน้นความเข้มแข็งของรัฐบาลกลาง (Federalist Party) และฝ่าย Jefferson-Madison เป็นพรรคเน้นสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic-Republican Party) ที่ไม่ต้องการขยายบทบาทของรัฐบาลกลาง

ในช่วงการเลือกประธานาธิบดีคนที่สอง หลังจากยุควอชิงตัน เขาเลือกบุคคลที่เป็นคู่แข่งในพรรค Federalist คือ John Adams ทำให้กลุ่ม Federalist มีฐานสนับสนุนเหนือกลุ่มของ Thomas Jefferson ซึ่งทำให้ฝ่ายเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลางได้มีอำนาจในการบริหารประเทศต่อมา และเมื่อต้องมีการเลือกประธานาธิบดีสมัยต่อมาในปี ค.ศ. 1800 ผู้รับการเสนอชื่อสำคัญ 2 คนมีคะแนนเท่ากัน คือ Thomas Jefferson และ Aaron Burr แม้ฝ่าย Federalist ของเขาได้พ่ายแพ้ไปแล้ว แต่เขาก็ใช้อิทธพลหันมาหนุนให้กับ Jefferson จึงทำให้ Jefferson ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และ Aaron Burr ทีมีคะแนนรองลงมาได้เป็นรองประธานาธิบดี โดยเห็นว่าระหว่างผู้รับการเลือกตั้งสองคนนี้ Thomas Jefferson เป็นคนที่ดีกว่า หรือจะว่าเลวหรือเป็นอันตรายต่อกลุ่มของเขาน้อยกว่า

ในช่วงปี ค.ศ. 1801 เมื่อเขาหมดบทบาทในรัฐบาลกลาง แฮมิลตันได้หันมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์เป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่ม Federalist ที่มีชื่อว่า New-York Evening Post. ในช่วงดังกล่าว ได้มีการกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งระหว่างเขาและรองประธานาธิบดี Aaron Burr จนในที่สุดมีการท้าดวลปืนกัน ซึ่งเป็นผลให้เขาได้รับบาดเจ็บหนักและเสียชีวิตในวันต่อมา หลังจากสงครามในปี ค.ศ. 1812 กับประเทศอังกฤษ ฝ่ายที่เป็นปฏิบักษ์ของเขาในยุคต่อมา ก็หันมาใช้นโยบายของเขา คือสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบรัฐบาลกลาง คนเหล่านี้ได้แก่ Madison และ Albert Gallatin มีการจัดทำโปรแกรมของรัฐบาลกลางขึ้น อันได้แก่ การให้มีธนาคารแห่งชาติ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง การมีระบบภาษี การมีกองทัพบก กองทัพเรือที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง และแนวนโยบายที่เขาเสนอก็ยังมีบทบาทต่อมาจนถึงรัฐบาลสหรัฐในยุคปัจจุบัน

No comments:

Post a Comment