Thursday, April 30, 2009

การเมืองและรัฐบาล ของประเทศฟิลิปปินส์

การเมืองและรัฐบาล ของประเทศฟิลิปปินส์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: cw114 ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

ในการปกครองประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการจำลองรูปแบบอย่างหลวมๆ มาจากสหรัฐอเมริกา และเป็นการปกครองในระบบสาธารณรัฐในแบบมีตัวแทน (Representative Republic) ที่ซึ่งประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล เป็นผู้นำเหล่าทัพทั้งมวล ในการบริหารประเทศประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (Cabinet) เพื่อทำหน้าที่ช่วยบริหารประเทศ

อำนาจในการบริหารประเทศมีการแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ที่เป็นอิสระต่อกัน อันประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ผ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

ฝ่ายบริหาร


ฝ่ายแรก คือฝ่ายบริหาร (Executive Branch) อันได้แก่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรีที่ได้แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี (President of the Philippines)

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1987 ตอนที่ 4.ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้มาด้วยการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และวาระของประธานาธิบดีระบุชัดว่าเริ่มที่เวลาเที่ยงของวันที่ 30 เดือนมิถุนายน และจะดำรงตำแหน่งจนถึงเวลาเที่ยงของอีก 6 ปี หลังจากนั้น ประธานาธิบดีจะไม่มีสิทธิลงรับเลือกตั้งได้อีก และใครด้วยเหตุผลใดหากได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมากว่า 4 ปีแล้ว จะไม่มีสิทธิรับการเลือกตั้งให้เข้ามาในตำแหน่งได้อีก

ในกรณีประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งด้วยเหตุเสียชีวิต หรืออื่นใด รองประธานาธิบดีจะทำหน้าที่ต่อไป ไม่มีรองประธานาธิบดี (Vice President) จะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีโดยกฎหมายจะเริ่มต้นในวันจันทร์สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม

หลักของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1987 นี้ เพื่อเป็นการคงอำนาจของประธานาธิบดีให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กำกับด้วยวาระการดำรงตำแหน่ง เพื่อป้องกันการเข้ามาดำรงตำแหน่งแบบครอบงำแล้วสร้างฐานอำนาจ เล่นพรรคเล่นพวก เพื่อการคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป ดังที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์คอส

ฝ่ายนิติบัญญัติ


ฝ่ายที่สอง คือฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative Branch) มีรัฐสภาเป็นสภาแห่งชาติเรียกว่า Congress ประกอบด้วยสภาสูง หรือวุฒิสภา (Senate) และสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) โดยวุฒิสภามีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในระดับชาติจำนวน 24 คน ทำหน้าที่วาระละ 6 ปี และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เขาเรียกว่า Congressmen ที่ได้รับเลือกจากแต่ละเขต (District) มีการดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี ในแบบของฟิลิปปินส์นั้น วุฒิสมาชิกจะมีอำนาจสูงมาก สูงกว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลของประธานาธิบดีเสียอีก เพราะโดยธรรมเนียมปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีของฟิลิปปินส์เป็นอันมาก มาจากนักวิชาการ นักเทคนิควิทยา อาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการที่ประธานาธิบดีเชิญไปร่วมงาน ซึ่งทำงานและอยู่ในตำแหน่งภายใต้การนำของประธานาธิบดี แต่วุฒิสมาชิกเป็นอิสระ ไม่ถือว่ามีสังกัด

ฝ่ายตุลาการ


ฝ่ายที่สาม คือฝ่ายตุลาการ (Judiciary Branch) ของรัฐบาลมีประธานศาลสูง (Chief Justice) เป็นหัวหน้า
ฝ่ายบริหารการตุลาการ โดยมีคณะผู้ช่วยจำนวน 24 คน ทั้งหมดนี้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อการแต่งตั้งโดย
ประธานาธิบดี โดยการเสนอชื่อผ่านทางฝ่ายสภาฝ่ายตุลาการ

การต่างประเทศ
ภาพ สัญญลักษณ์ของ ASEAN

ภาพ ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) เป็นสมาชิกของเครือข่าย 10 ประเทศ
และกำลังจะมีอีก 1 ประเทศคือ East Timore

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเริ่มแรกของอาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) เป็นสมาชิกระดับนำของ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน หรือปกครองโดยสเปนเดิม เรียกว่า Latin Union ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม 24 ชาติ

ในปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ยังมีปัญหาความขัดแย้งกับไต้หวัน (Republic of China – Taiwan) ประเทศจีน เวียดนาม และมาเลเซียเกี่ยวกับแหล่งที่มีน้ำมันและก๊าสธรรมชาติบริเวณหมู่เกาะสแปรตลี่ (Spratly Islands) และ Scarborough Shoal, และขัดแย้งกับมาเลเซีย (Malaysia) ในการถือสิทธิในเหนือซาบา (Sabah)
ซุลต่านแห่งซูลู (Sultan of Sulu) ผู้ได้รับซาบาเป็นของขวัญในปี ค.ศ. 1703 ในการช่วยซุลต่านแห่งบรูไนต่อสู้กับกบฎ ซึ่งทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์เรียกถือสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าว ในปัจจุบันครอบครัวของซุลต่านแห่งซูลู ก็ยังได้รับค่าเช่าแผ่นดินจากรัฐบาลมาเลเซีย

No comments:

Post a Comment