ภาพ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ (Computer Lab) เช่นนี้
มีในโรงเรียนมัธยมศึกษาเกือบทุกแข่งในประเทศไทย
หรือมีไม่น้อยกว่า 3000 แห่งทั่วประเทศ
มีในโรงเรียนมัธยมศึกษาเกือบทุกแข่งในประเทศไทย
หรือมีไม่น้อยกว่า 3000 แห่งทั่วประเทศ
Password ระบบทดสอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์
ประกอบ คุปรัตน์
เรียบเรียงจาก Password: Pathway to Success
Keywords: การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, โปรแกรมนานาชาติ, Internet-Based Testing, IBT
ความนำ
การศึกษาในระดับสูงต่อไปนี้จะต้องอาศัยเครื่องมือในการเรียนอย่างน้อย 2 ประการ คือ หนึ่ง ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และ สอง ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งที่สำคัญอย่างมากในขณะนี้คือภาษาอังกฤษ
เมื่อต้องใช้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเมื่อต้องเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ที่จะต้องมีโปรแกรมการเรียนนานาชาติ และการเรียนในแบบสองภาษามากขึ้น ตลอดจนกาต้องไปศึกษาต่อในต่างประเทศ สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนเข้าศึกษาต่อจำเป็นต้องได้บุคคลที่เข้าศึกษาต่อที่มีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษที่ดีเพียงพอ ก่อนที่จะเข้าเรียน หรือมิฉะนั้นระบบการเรียนก็จะไม่ได้ผล
การจะคัดเลือกคนที่มีความสามารถด้านภาษาได้เที่ยงธรรม มีความเที่ยง ความตรง และสามารถบริหารการคัดเลือกได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้น ระบบทดสอบนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังกล่าว
ระบบทดสอบที่ดี แต่มีราคาค่าใช้จ่ายสูง มีข้อจำกัดด้านศูนย์ทดสอบ ต้องเดินทางไปรับการทดสอบ และมีช่วงเวลาไม่กี่ครั้งต่อปี ดังนี้ก็ไม่มีความเหมาะสม
แต่ด้วยความก้าวหน้าด้านระบบทดสอบยุคใหม่ ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต การออกแบบโปรแกรม ตลอดจนการมีระบบบริหารการทดสอบที่สอดรับ สิ่งที่เคยเป็นปัญหาและข้อจำกัด ก็จะหมดไป หรือลดน้อยลง ทำให้สิ่งที่ไม่เคยทำได้ก็ทำได้
Password คือคำตอบ
Password คือเส้นทางสู่ความสำเร็จทางการศึกษา
Password: pathway to academic success
ในเอกสารที่นำเสนอนี้ มาจากการศึกษารายละเอียดและข้อแนะนำระบบทดสอบควาสามารถด้านภาษาอังกฤษ ที่มีชื่อว่า Password ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดังต่อไปนี้
- เกี่ยวกับ Password (about Password)
- ระบบความปลอดภัย (test security)
- คุณภาพและนวตกรรม (quality and innovation)
- วิธีการให้คะแนน (Password scoring)
- ความปลอดภัยในการทดสอบ (test security)
- การยอมรับ (recognition)
- หุ้นส่วน (Password partnership)
- ระบบศูนย์ทดสอบ (accredited test centres)
เกี่ยวกับ Password
(about Password)
ข้อมูลจาก English Language Testing Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาและบริหาระบบ Password ระบบทดสอบความสามารถด้านภาษาในแบบออนไลน์ ที่ให้ความสะดวกแก่สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย วิทยาลัยที่ต้องการใช้ระบบทดสอบใหม่ที่ใช้อินเตอร์เน็ตช่วย (Internet-Based Testing – IBT) ที่อำนวยความสะดวก มีค่าใช้จ่ายไม่แพง สามารถให้ผลที่เชื่อถือได้ทั้งกับผู้ใช้ สามารถเปรียบเทียบได้กับสากล ทั้งในประเทศอังกฤษ และประเทศอื่นๆที่มีข้อมูลทดสอบดังกล่าว
Password เทียบได้กับมาตรฐาน CEFR (Common European Framework) อันเป็นมาตรฐานที่ทางสหภาพยุโรปกำหนดให้เป็นมาตรฐานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ระบบสามารถเทียบได้กับระบบทดสอบภาษาอังกฤษ IELTS ซึ่งทำให้ผู้ใช้งาน (Users) อ้นได้แก่สถาบันการศึกษาในประเทศอังกฤษ และอื่นๆ สามารถใช้เทียบเพื่อรับเข้าศึกษาต่อได้ เมื่อผู้เรียนได้คะแนนที่ A2 ถึงระดับ B2 ซึ่งเทียบได้กับ IELTS ที่ 3.0-5.5 ซึ่งทำให้สามารถขอวีซ่าเข้าประเทศในฐานะนักศึกษา ที่เรียกว่า General Student Visa (GSV)
Password เหมาะสำหรับนักศึกษาที่จะเข้าสู่โปรแกรมดังต่อไปนี้
- ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการ (English for Academic Purposes (EAP)
- โปรแกรมพื้นฐานสำหรับหลักสูตรนานาชาติ (International Foundation Programmes)
- เตรียมตัวสู่หลักสูตรปริญญาโทในต่างประเทศ (Pre-Masters Programmes)
- การเตรียมตัวเพื่อพร้อมในการเรียนในหลักสูตรระยะกลาง ระดับ 12 สัปดาห์ขึ้นไปในต่างประเทศ (Long Pre-Sessional Courses (of 12 weeks or more)
- การเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษทั่วไป (General English Programmes) ในต่างประเทศ
- Password เหมาะสำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายทั่วโลก ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- เร่งและสนับสนุนการสรรหาและช่วยเหลือกระบวนการรับนักศึกษานานาชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน
- เป็นเครื่องมือวางแผนสำหรับนักศึกษาที่จะต้องศึกษาในหลักสูตรเตรียมตัวเพื่อการศึกษาในสายวิชาการ (Pathway Students)
- to placement test pathway students on arrival
- ให้บริการทดสอบนักศึกษา จัดกลุ่มชั้นเรียน เตรียมตัวศึกษาต่อได้ตั้งแต่เมื่อเขาเดินทางมาถึง
- เนื่องจากค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงสามาถใช้ได้บ่อย เพื่อตรวจสอบระดับความสามารถในระหว่างการเรียน
- ใช้เพื่อการคัดกรองนักศึกษานานาชาติที่เข้าใหม่ สำหรับการจัดชั้นเรียน
ระบบการทดสอบความสามารถด้านการเขียนนี้ จะทำให้สถาบันได้วัดความสามารถของผู้รับการทดสอบ ที่แต่เดิมมักจะมีข้อจำกัดที่จะวัดผลการเขียนความเรียงจริงๆ แต่ Password สามารถทำให้ระบบทดสอบความสามารถด้านการเขียนความเรียง (Essay Writing) เป็นไปได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ
Password ทำให้การรับการทดสอบกระทำได้ที่ศูนย์ทดสอบ ที่สามารถเปิดให้บริการได้ทั่วโลก สามารถให้บริการได้ถึงสถานศึกษาต่างๆ โดยช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของสถานศึกษา และประหยัดค่าเสียเวลาในการทดสอบและการเดินทางไปที่ทดสอบที่อาจอยู่ห่างไกล
Password ในระบบทดสอบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ศูนย์ทดสอบไปดำเนินการทดสอบได้ ณ ที่ต่างๆ โดยไม่จำกัดด้านเวลา และสถานที่
ภาพ ระบบทดสอบ Password ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
ผู้คุมสอบตามมาตรฐานกำหนดโดย Password
ระบบเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
ผู้คุมสอบตามมาตรฐานกำหนดโดย Password
Password ทำงานอย่างไร
How Password works
Password ได้รับการออกแบบมาอย่างสมดุลย์ระหว่างความจำเป็นของผู้รับการทดสอบ และความสะดวกของสถาบันการศึกษาที่ต้องการระบบวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่แม่นยำ เชื่อถือได้ และผลของการทดสอบมีระบบความปลอดภัยรองรับ
คุณสมบัติของ Password คือ
- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
- แต่ละการทดสอบจะมีลักษณะที่แตกต่างกันและมีลักษณะเฉพาะ
- มีทั้งหมด 72 คำถาม
- ใช้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที
- มีตัวอย่างคำถามที่ชัดเจน
- มีเมนูที่ช่วยนำทาง (Visual navigation menu)
- มีนาฬิกาบอกเวลาที่เหลืออยู่
- เมื่อทดสอบเสร็จมีผลการสอบแสดงทันที
- มี Login Screen สำหรับทั้งศูนย์ทดสอบ (Test Centres) และผู้ใช้งาน (Users) ซึ่งหมายถึงสถานศึกษาที่ต้องการใช้ผลจากระบบทดสอบนี้
- ระบบ Browser ที่ปลอดภัย ไม่สามารถออกจากระบบทดสอบไปหาข้อมูลที่อื่นๆได้
- สามารถแสดงผลการทดสอบ และให้ข้อวิเคราะห์คะแนนได้ทันที
Click here to download the Password brochure
ระบบความปลอดภัย
(test security)
Password มีวิธีการที่เน้นไปที่คุณภาพและนวตกรรมในการออกแบบระบบทดสอบ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาระบบที่สร้างความเชื่อมั่น (Validation)
ระบบทดสอบตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจในภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษาวิชาการ
การพัฒนาโปรแกรมที่ทำให้มีการศึกษาและพัฒนาระบบให้มีความเชื่อถือและเชื่อมั่นได้อย่างต่อเนื่อง
เน้นความปลอดภัยของระบบทดสอบเป็นที่ตั้ง
คุณภาพและนวตกรรม
(quality and innovation)
การใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ
Academic language use
Password เริ่มจากการกำหนดคุณสมบัติของระบบทดสอบ เพื่อสะท้อนหลักสำคัญของความรู้ด้านภาษาที่นักศึกษาต้องใช้เมื่อต้องเรียนต่อในสายวิชาการของตน ที่จะต้องมีความเข้าใจในตำหรับตำราต่างๆ ทั้งนี้รวมถึงความรู้ด้านไวยกรณ์และศัพท์ที่จำเป็นต้องใช้ในแวดวงวิชาการ
- ด้วยการวิจัยในธรรมชาติของใช้ภาษาทางวิชาการ
- การใช้เพื่อการสื่อสาร และส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผ่านกำหนดที่สำคัญ ทำให้มีคุณสมบัติตรงตามความสามารถด้านภาษาอังกฤษระดับ A2, B1 และ B2 ตามกรอบกำหนดของสหภาพยุโรป (Common European Framework of Reference for languages)
การศึกษารูปแบบข้อผิดพลาดด้านโครงสร้างไวยกรณ์และทางเลือกศัพท์ที่ผู้เรียนเลือกใช้ในการเขียนงาน
การศึกษาความจำเป็นด้านศัพท์ที่ใช้ในการเรียนในสายวิชาการ โดยอาศัยผลจากการวิจัย ทั้งนี้โดยศึกษาถึงโอกาสและความถี่ในการใช้ ความแตกต่างด้านระดับความสามารถ ความรู้ด้านคำเหมือน (synonym) รวมถึง collocation และ colligation ที่จะใช้ในการทดสอบ
การวัดความตรง
(Empirical validation)
Password จริงจังกับการมีบรรทัดฐานกับเกณฑ์ภายนอก ที่รวมถึง เกณฑ์ของสหภาพยุโรป ทั้งในด้านการออกแบบวิธีการทดสอบ การกำหนดมาตรฐาน การทดสอบและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ Password มีการจัดทำรายงานผลการพัฒนาอย่างเป็นระบบเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ระบบทดสอบจะทำหน้าที่ได้อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่มีความโน้มเอียง
กระบวนการพัฒนาระบบทดสอบ
The test development process
ผู้พัฒนาระบบทดสอบมีประสบการณ์ในโปรแกรมด้านภาษา การวัดความสามารถเพื่อการรับคนเข้าทำงาน และการวัดผลเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ ข้อทดสอบแต่ละข้อ ได้ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เขียนที่มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการในระดับก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
ข้อสอบทั้งหมดจะมีการตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขโดยคณะกรรมการพัฒนา ซึ่งเป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งอันได้แก่ the University of the Arts, the University of Reading และ the University of Southampton ข้อสอบทุกรายการจะมีการทดสอบความเป็นต้นแบบ โดยมุ่งเป้าหมายทดสอบที่กลุ่มประชากรที่จะเข้ารับการทดสอบ เมื่อข้อสอบได้ผ่านมาตรฐานแล้ว จะมีการจัดเก็บและใช้งาน พร้อมกับมีการตรวจสอบเป็นระยะ มีการพัฒนาเพิ่มเติม และบางส่วนที่ไม่เหมาะสมตามมาตรฐานก็จะถูกยกเลิกไป
วิธีการให้คะแนน
(Password scoring)
การให้คะแนนของ Password เป็นระบบที่เกิดจากการได้ทำงานกับผู้ใช้งาน อันประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ และใช้ในแนวทางของ CEFR ซึ่งเป็นกรอบอขงกลุ่มสหภาพยุโรป หรือที่เรียกว่า Common European Framework – CEFR และเป็นระบบเปรียบเทียบได้กับ IELTS Scale
A2 ถึง B2 โดยกว้างๆเทียบได้กับ IELTS Scale ที่ระดับ 3.0 ถึงระดับ 5.5 หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.ielts.org
ระบบทดสอบ PASSWORD เป็นการใช้เปรียบเทียบกับ IELTS
Password Plus
Password 5.5
Password 5.0
Password 4.5
Password 4.0
Password 3.5
Password 3.0
Pre-Password
ต่อไปนี้เป็นแนวเสนอแนะโดย English Language Testing Ltd สำหรับระดับที่เหมาะแก่ผู้รับการทดสอบ
ความปลอดภัยในการทดสอบ
(test security)
ระบบทดสอบของ Password ที่มีการบริหาร Server ที่รวมศูนย์ เป็นระบบใช้การทดสอบโดยระบบอินเตอร์เน็ตช่วย (Internet-Based Test – IBT) ซึ่งทำให้ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนได้ข้อสอบไม่เหมือนกัน ไม่สามารถใช้วิธีการทุจริตในการทดสอบได้ง่ายในแบบที่ใช้กระดาษ และการทดสอบในหลายๆที่พร้อมๆกัน แต่ด้วยข้อสอบเดียวกัน ซึ่งทำให้มีช่องว่างที่จะทุจริตได้
ภาพ ระบบทดสอบที่อาศัยคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตช่วย
(Internet-Based Testing - IBT) ผู้สอบแต่ละคนจะได้รับ
ชุดข้อทดสอบที่มาจากระบบสุ่ม (Random Sampling)
คนนั่งสอบใกล้กัน ก็ไม่สามารถดูข้อสอบหรือคำตอบกันได้
(Internet-Based Testing - IBT) ผู้สอบแต่ละคนจะได้รับ
ชุดข้อทดสอบที่มาจากระบบสุ่ม (Random Sampling)
คนนั่งสอบใกล้กัน ก็ไม่สามารถดูข้อสอบหรือคำตอบกันได้
Password เป็นระบบที่ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจัดการ และมีศูนย์ทดสอบที่เชื่อถือได้รองรับการจัดการทดสอบในแต่ละสถานที่ สะดวกสำหรับการทดสอบ
การออกแบบทดสอบ
(Test design)
การทดสอบด้วย Password ในแต่ละครั้งแต่ละคนมีลักษณะที่เป็นเฉพาะ (Unique) เพราะต้องเรียกใช้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กลุ่มคำถามจะถูกสุ่มเลือกจากแหล่งฐานข้อมูลคำถาม หรือข้อสอบขนาดใหญ่ (Vast Data Bank)
ในทุกขณะ จะมีข้อคำถามใหม่ป้อนสู่ระบบ คำถามเก่าจะถูกทยอยปลดออกไป และขณะเดียวกันจะมีข้อมูลที่ได้รับที่จะตรวจสอบว่ายังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ หากข้อสอบได้มีข้อมูลไม่น่าเชื่อถือจะถูกลบออกจากฐานข้อสอบทันที
การป้องกันทางเทคนิค
(Technical safeguards)
ระบบทดสอบ Password จะจัดการโดยมี Software ที่ให้เสถียรภาพสูง ข้อมูลทั้งหมดจะผ่านชั้นความปลอดภัย (Secure Sockets Layer) เช่นเดียวกับที่ใช้ในระบบการบริหารการเงินและการธนาคารออนไลน์ที่มีใช้ทั่วโลก
ในชณะที่เริ่มทดสอบ Browsers จะถูกปิด หมายความว่าผู้รับการทดสอบไม่สามารถไปเข้าหาข้อมูลในที่ใดๆได้อีก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดการทดสอบ ไม่สามารถสั่งงานพิมพ์ เก็บภาพหน้าจอ (Screen Capture) หรือเข้าไปศึกษา Source Code ใดๆได้
ความปลอดภัย ณ ศูนย์ทดสอบ
(Password Test Centre security)
ในขั้นตอนการให้ใบรับรอง (Accreditation Process) ของศูนย์ทดสอบ Password หรือที่เรียกว่า Password Test Centres ศูนย์เหล่านี้จะต้องให้คำรับรองตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างเคร่งครัด และ Password เองก็เคร่งครัดต่อกระบวนการนี้
ข้อตกลงในการวัดและประเมินสภาพศูนย์จะรวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) กระบวนการคุมสอบ (Invigilation) ใบรับรอง Password จะได้รับการพิมพ์ในกระดาษที่มีลักษณะลายเฉพาะ และสามารถตรวจสอบผู้เข้ารับการทดสอบได้โดยผ่านทาง Website ทาง Password จะเยี่ยมศูนย์ฯ อย่างสม่ำเสมอ
ผู้ใช้ (Users)
มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่ใช้งาน Password ในการทดสอบ จะต้องผ่านขั้นตอนการประเมิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบทดสอบมีการรักษาความปลอดภัยและให้บริการที่ดี ทั้งนี้รวมถึงการ Download ระบบป้องกันความปลอดภัยสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะ และแบบกระเป๋าหิ้ว (PCs and Latops) แต่ละเครื่องที่จะใช้ในการทดสอบ
การยอมรับ
(recognition)
Password ได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์จากสมาคมผู้บรรยายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาการแห่งสหาราชอาณาจักร ที่เรียกว่า The British Association of Lecturers in English for Academic Purposes หรือเรียกย่อๆว่า BALEAP ซึ่งเป็นองค์การที่มีสมาชิกอันประกอบด้วยมหาวิทยาลัย 75 แห่ง
มหาวิทยาลัยต่อไปนี้ ให้การรับรอง Password เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Pathway Programmes ดังเช่น วิชา English for Academic Purposes, International Foundation, and/or a Pre-Sessional Programme ซึ่งเป็นหลักสูตร 12 สัปดาห์หรือมากกว่า
- Bournemouth University
- Cardiff University
- Goldsmiths, University of London
- Liverpool John Moores University
- Middlesex University
- Queen Mary, University of London
- Roehampton University
- Saint Michael's College
- Sheffield Hallam University
- Telford College of Arts & Technology
- University of Bangor
- University of Bolton
- University of Bedfordshire
- University of Chester
- University of Cumbria
- University of Essex
- University of Greenwich
- University of Hull
- University of Leeds
- University of Nottingham
- University of Reading
- University of Southampton
- University of Stirling
- University of Sunderland
- University of Teesside
- University of the Arts, London
- University of Wales Institute, Cardiff
- University of the West of Scotland
- University of Worcester
- York College
(Password partnership)
Password พัฒนาโดย English Language Testing Ltd ที่เป็นบริษัทร่วมทุน โดยมีความเป็นเจ้าของโดย the University of the Arts London และ Caroline Browne ผู้เป็นผู้บริหารของบริษัท
มหาวิทยาลัยศิลปะลอนดอน
(University of the Arts London)
มหาวิทยาลัยศิลปะลอนดอน ซึ่งมีชื่อเสียงในระดับโลก มีวิทยาลัย 6 แห่งทางด้านศิลปะที่มีชื่อเสียในด้านศิลปะ การออกแบบ แฟชั่น ศิลปะการสื่อสารและการแสดง มหาวิทยาลัยมีศูนย์การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวรองรับการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
The University of the Arts London is a vibrant world centre for innovation, drawing together six Colleges with international reputations in art, design, fashion, communication and performing arts. The University has a dedicated language centre, which provides pre-sessional and in-sessional language support to large numbers of international students on foundation, undergraduate and postgraduate programmes. The Language Centre also operates a range of additional programmes for English language students from all over the world, and its teaching staff represent a wealth of experience and expertise in English language teaching and assessment, particularly in the area of English for Academic Purposes (EAP).
มหาวิทยาลัยรีดดิง
(University of Reading)
มหาวิทยาลัยพีดดิง ที่มีส่วนในการพัฒนาระบบทดสอบ Password (Development Partner) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในระดับแนวหน้าแห่งหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร
The University of Reading has an excellent reputation for teaching and learning, and is one of the foremost research-led universities in the UK. The University has a long history of English language test development going back to the 1980s. The University of Reading is a member of the Password Academic Development Group.
มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมตัน
(University of Southampton)
มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมตัน ที่มีส่วนในการพัฒนาระบบทดสอบ Password (Development Partner) เป็นมหวิทยาลัยวิจัยหลัก 1 ใน 10 ของประเทศสหราชอาณาจักร มีศูนญ์การเรียนภาษาอังกฤษระดับนำของประเทศที่ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ
The University of Southampton is one of the top 10 research universities in the UK and a member of the Russell group. Modern languages at Southampton is one of the leading centres in the country for the study of foreign languages and cultures, was awarded the highest grade (5*) in the 2001 Research Assessment Exercise and is in the top three of the Guardian’s University Guide 2009. The University of Southampton is a member of the Password Academic Development Group.
CRELLA (Password Designers)
Password ออกแบบโดย ศูนย์วิจัยการเรียนและการทอสอบภาษาอังกฤษทีมีชื่อว่า the Centre for Research in English Language Learning and Assessment (CRELLA) ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเบดฟอร์ดไชร์ ศูนย์ฯภายใต้การนำของศาสตราจารย์ Cyril Weir ซึ่งได้บุกเบิกระบบทดสอบที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเฉพาะ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เพื่อพัฒนาระบบทดสอบดังกล่าว
Password has been designed by the Centre for Research in English Language Learning and Assessment (CRELLA) at the University of Bedfordshire. Since its inception, CRELLA, directed by Professor Cyril Weir, has established a national and international reputation as a centre for research into and development of English language tests. Members of the centre have published widely on language testing and assessment issues and carry out pioneering research into the nature of English language proficiency and its measurement. Research consultancies provided by the centre in the fields of English language testing and evaluation for examination authorities worldwide are currently helping with the development of foreign language testing in a number of countries. Details of the work of the centre can be found on their website (www.beds.ac.uk/crella).
ระบบศูนย์ทดสอบ
(accredited test centres)
ระบบทดสอบ Password ได้มีศูนย์ทดสอบในที่ต่างๆของโลกในประเทศดังต่อไปนี้
- Brazil
- China
- Cyprus
- Japan
- Malaysia
- Myanmar
- Nigeria
- Russia
- Saudi Arabia
- Singapore
- South Korea
- Taiwan
- Thailand
- Turkey
- United Arab Emirates
- United Kingdom
- Vietnam
ในประเทศไทย
หากท่านสนใจที่จะรับการทดสอบ หรือร่วมงานกับ PASSWORD ในประเทศไทย ติดต่อได้ที่
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย (SB4AF)
อาคาร 2, ห้อง 2-106, เลขที่ 2/1 ถ.พญาไท
ทุ่งพญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ
10400 ประเทศไทย
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255
Fax: +66 2 3548255
Email: info@sb4af.org Website: www.sb4af.org
No comments:
Post a Comment