Monday, April 6, 2009

พลังงานจากสาหร่าย (Algae fuel)

พลังงานจากสาหร่าย (Algae fuel)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


แปลและเรียบเรียง จาก Wikipedia, the free encyclopedia


Keywords: สิ่งแวดล้อม, environment, ecology, พลังงาน, energy, เชื้อเพลิง, fuel, พลังงานทางเลือก, alternative energy, สาหร่าย, Algae fuel, biodiesel,

สาหร่าย (Algae) สามารถนำมาทำให้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยแปลงให้เป็นน้ำมันจากสาหร่ายที่อาจเรียกเป็นคำแผลงว่า Oilgae ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นพลังงานชีวภาพรุ่นที่สาม พลังงานจากสาหร่าย เมื่อเทียบกับพลังงานชีวภาพรุ่นที่สอง สาหร่ายจัดเป็นพลังงานที่ให้ผลสูง ใช้การลงทุน และให้ผลตอบแทนสูง (high-yield high-cost) เมื่อเทียบกับการปลูกพืชที่ใช้พื้นที่บนดิน (Terrestrial crops) เช่นพืชที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ (Feedstocks) เช่น หญ้า หรือข้าวโพด สาหร่ายสามารถให้ผลเป็นพลังงานที่มีค่ามากกว่าถึง 30 เท่า การใช้พื้นที่ในการผลิตสาหร่ายขนาดเท่ากับสองเท่าของโรงรถ สามารถผลิตพลังงานได้เท่ากับพลังงานที่ปลูกถั่วเหลืองที่ใช้พื้นที่ขนาดเท่าสนามฟุตบอล

ตาราง แสดงประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันดีเซลจากพืชชนิดต่างๆ

พืช (Crop)
การให้น้ำมัน
แกลลอน/เอเคอร์
Corn
18
CottoSoybeann
35
Soybean
48
Mustard seed
61
Sunflower
102
Rapeseed
127
Jatropha
202
Oil palm
635
Algae
10,000

ในปัจจุบันมูลค่าลงทุนในการผลิตสาหร่ายเท่ากับกิโลกรัมละ USD 5-10 หรือประมาณ 150-300 บาท ซึ่งยังสูงอยู่ แต่การวิจัยอย่างจริงจัง จะทำให้ได้ความรู้ในการลดต้นทุนการผลิต ที่ทำให้สามารถใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์ได้คุ้ม

พลังงานจากสาหร่ายไม่ได้ใช้พื้นที่น้ำที่เป็นน้ำจืด (fresh water resources) ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด แต่กระบวนการผลิตสาหร่ายสามารถใช้น้ำทะเลในมหาสมุทรในการเพาะปลูกได้ หรือเท่ากับเป็นการนำพลังงานที่ใช้กันอย่างสิ้นเปลือง ไม่หมดจด ให้สามารถนำกลับมาทำเป็นพลังงานใหมได้

ด้วยความที่ราคาของน้ำมันกำล้งสูงขึ้นทุกวัน และทำให้เกิดแรงผลักดันที่จะใช้พืชที่คนบริโภคอย่างน้ำมันจากถั่วเหลือง น้ำมันเบนซิน หรือ Gasohol จากอ้อย และข้าวโพดที่นำมาทำเป็น Gasohol ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อวงจรผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ที่เป็นวิกฤติของโลกได้ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์พลังงานที่หลากหลาย เช่น น้ำมันพืช น้ำมันทดแทนน้ำมันดีเซล (biodiesel) น้ำม้นเบนซินทดแทน (bioethanol, biogasoline, หรือ biomethanol, biobutanol)
อีกด้านหนึ่งคือความสามารถของการพัฒนาฟาร์ม หรือพื้นที่เพาะปลูกสาหร่ายนั้น คือการพัฒนาเป็นกระบวนการควบคู่การกำจัดขยะในเมืองไปพร้อมกันได้

การผลิตสาหร่ายนั้นสามารถใช้เป็นกระบวนการขจัดขยะในเมือง หน่วยงานด้านพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (The United States Department of Energy) ได้ประมาณว่า หากจะใช้สาหร่ายผลิตทดแทนพลังงานจากปิโตรเลียมในสหรัฐ จะใช้พื้นที่ประมาณ 15000 ตารางไมล์ (หรือ 40000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่ารัฐแมรีแลนด์หรือประมาณ 1.3 ของพื้นที่ประเทศเบลเยี่ยม หรือประมาณเท่ากับ 1 ส่วน 7 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวได้ของสหรัฐในปี ค.ศ. 2000 ด้วยศักยภาพดังกล่าว จึงทำให้รัฐสภาของสหรัฐได้ให้ความสนใจต่อแนวทางการพัฒนาการผลิตพลังงานจากสาหร่ายมากขึ้น

ประเทศที่มีพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเลดังเช่น ชายฝั่งทะเลตะวันออก อ่าวไทย ทะเลที่ติดกับชายฝั่งภาคใต้ รวมถึงด้านทะเลอันดามัน กับประเทศที่มีบริเวณชายฝั่งกว้างขวางอย่าง มาเลเซีย หรือประเทศที่เป็นเกาะ อย่างฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียนั้น น่าจะได้ลองศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาพลังงานทางเลือกดังกล่าวเพิ่มขึ้น

ภาพ แปลงเพาะสาหร่าย (Algae farm)

ภาพ สาหร่ายที่มีตามสภาพธรรมชาติ

ภาพ สาหร่ายในทะเลที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และสามารถทำการผลิตจากทะเล


No comments:

Post a Comment