Thursday, April 30, 2009

สังคมและวัฒนธรรมของประเทศฟิลิปปินส์

สังคมและวัฒนธรรมของประเทศฟิลิปปินส์
Philippines: Society and Culture

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
Email: pracob@sb4af.org
Blogger: http://pracob.blogspot.com

Keywords: ประเทศฟิลิปปินส์, Philippines,

ชนเผ่า


เด็กๆ ในชนเผ่า Negritos มีลักษณะคล้ายพวกเงาะป่าในประเทศไทยตอนใต้ ปัจจุบันได้มีการผสมเผ่าพันธุ์กับชนเผ่าอื่นๆ จนมีเหลือที่เป็น Negritos แท้ๆ ไม่มากนัก


นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าดั่งเดิม Negritos หรือ Aetas มีลักษณะคล้ายเงาะป่าในประเทศไทย แต่คนกลุ่มนี้มีเหลือไม่มากด้วยการมีผสมเผ่าพันธุ์ไปกับชนกลุ่มอื่นๆ ปัจจุบันมีเหลือไม่เกิน 30,000 คน ส่วนพวกประชากรลูกประสมที่เรียกว่า Mestizo มีอยู่ร้อยละ 2 แต่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก จากการศึกษาเผ่าพันธุ์ Stanford genetic study ชาวฟิลิปปินส์มีเลือดผสมที่มาจากยุโรปประมาณร้อยละ 3.6

สำหรับชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์และกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือชาวจีน มีเป็นร้อยละ 3 ของประชากร ที่เหลือนอกนั้นมีกระจัดกระจาย เช่น อเมริกาเหนือ (North Americans) สเปน (Spaniards) และพวกชาวยุโรป (Europeans) เมกซิกันจากทวีปอเมริกาตอนกลาง (Mexicans) และจากประเทศทางอเมริกาใต้ (Latin Americans) มีบางส่วนจากอาหรับ (Arabs) จากเอเซียใต้ (South Asians) ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesians) จากเอเซียตะวันออกอย่างเกาหลี (Koreans) ญี่ปุ่น (Japanese) เวียดนาม (Vietnamese) และผู้อพยพจากเอเซียอื่นๆ ,


ในลักษณะดังกล่าวจึงจัดได้ว่าประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีชนกลุ่มต่างๆ หลากหลายมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเซีย ในช่วงหลายทศวรรษหลัง รัฐบาลพยายามทำให้ประเทศมีความเป็นหนึ่งเดียวทางวัฒนธรรมมากขึ้น แต่ก็ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชนต่างๆ ในประเทศที่ต้องการสงวนวัฒนธรรมและฐานรากทางภาษาของตนไว้ โดยมองว่ารัฐบาลพยายามทำให้ความหลากหลายนั้นถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมกระแสหลักของชาติที่เป็นพวกพูดภาษาตากาลอก (Tagalog)


ภาษา Languages


ดังได้กล่าวแล้วประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้ภาษาพูดมากกว่า 170 ภาษา เกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มภาษาที่เรียกว่า Western Malayo-Polynesian language อ้นมีพื้นฐานภาษามาจากภาษาในตระกูล Austronesian แต่ตามรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1987 ภาษาตากาลอก และภาษาอังกฤษ คือภาษาของทางราชการ


ภาษาถิ่นอีก 12 ภาษา อ้นมีการพูดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ภาษาเหล่านี้ได้แก่ Tagalog, Cebuano, Ilokano, Hiligaynon, Waray-Waray, Bikol, Kapampangan, Pangasinan, Kinaray-a, Maranao, Maguindanao, และ Tausug. อันภาษาตากาลอค (Tagalog) จัดเป็นภาษาถิ่นที่มีการใช้มากที่สุด เป็นภาษาที่เป็นภาษาพูดเป็นฐาน แต่มีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นการออกเสียง ซึ่งคล้ายกับภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียตนามที่ใช้ฐานภาษาพูดของตน แต่ใช้ตัวอักษรเป็นภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรแบบโรมันเป็นฐานในการออกเสียง


ภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ Spanish, จีน Hokkien, จีน Cantonese, Indonesian, Sindhi, Punjabi, Korean, และ Arabic.


ศาสนา Religion


ประเทศฟิลิปปินส์จัดเป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีคนนับถือนิกายโปรเตสแตนท์มากเป็นอันดับ 13 ของโลก มีนับถืออิสลามมากเป็นอันดับที่ 40 เป็นพวกนับถือฮินดูมากเป็นอันดับที่ 7 และนับถือพุทธศาสนามากเป็นอันดับที่ 17 ของโลก


แต่โดยส่วนใหญ่จัดว่าเป็นพวกนับถือคริสตศาสนา ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์เป็นชาวคริสเตียน และร้อยละ 83 เป้นโรมันแคธอลิก และร้อยละ 9 เป็นชาวโปรเตสแตนท์ แม้ชาวฟิลิปปินส์จะได้รับอิทธิพลด้านศาสนาจากตะวันตกมาก แต่ก็ยังมีพวกนับถือประเพณีท้องถิ่นเดิม


ภาพ Jaime Cardinal Sin ผู้มีบทบาทอย่างมากใน
ช่วงการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตย

โรมันคาธอลิกมีอิทธิพลต่อทั้งรัฐบาลและกิจกรรมของเอกชนทั่วไป แม้ในรัฐธรรมนูญจะได้มีการแยกศาสนาออกจากรัฐ ในปัจจุบันประเทศมีพระระดับ Cardinals 2 รูป คือ Ricardo Cardinal Vidal และ Jose Cardinal Sanchez ศาสนามีอิทธิพลทางการเมืองสูง ดังเช่น พระ Jaime Cardinal Sin ผู้ได้เสียชีวิตไปแล้ว ได้เป็นผู้นำทางวิญญาณและมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างรัฐบาลสมัยประธานาธิบดีมาร์คอส (People Power I) และรวมถึงการขับไล่ประธานาธิบดีเอสตราดา (People Power II) ในกรุงมะนิลามีโบสถ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงชือ Manila Cathedral

พวกนิกายโปรเตสแตนท์เป็นอิทธิพลมาจากอเมริกาเหนือ โดยมีพวกนักบวชเผยแพร่ศาสนามาประจำอยู่ โดยมีคริสเตียนในสายท้องถิ่นอิสระอยู่ 2 กลุ่ม อันได้แก่ Aglipay (Philippine Independent Church) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1902 และ กลุ่ม Iglesia Ni Cristo (Church of Christ) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1914 นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Eliseo Soriano-นำโดยพวก Members Church of God International, ซึ่งเรียกโดยชาวท้องถิ่นว่า กลุ่ม Ang Dating Daan ซึ่งเป็นกลุ่มคริสเตียนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสมาชิกกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

ร้อยละ 5 ของชาวฟิลิปปินส์เป็นมุสลิม พวกที่อยู่ในเขตที่ราบจะเป็นพวกอิสลามทั่วไป แต่ในพวกที่เป็นชาวเขาอาศัยในแถบมินดาเนา ห่างไกลความเจริญ จะเป็นพวกประสมความเชื่อกับไสยศาสตร์ (Animism)

วัฒนธรรม Culture


วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นลักษณะวัฒนธรรมลูกประสมที่ได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน เมกซิกัน อเมริกา อาหรับ และมาเลเซีย ในปัจจุบัน อิทธิพลหลักๆ ของฟิลิปปินส์น่าจะมีด้วยกันอย่างน้อย 3 สาย คือพวกสเปน จีน และอเมริกัน


อิทธิพลจากสเปน


อิทธิพลวัฒนธรรมจากสเปนและเมกซิโก เรียกว่า Hispanic Influences ที่มีมากว่า 300 ปีในช่วงการปกครองแบบอาณานิคม จะเห็นได้จากความเชื่อในศาสนาคาธอลิก งานประเพณีทางศาสนา ในทุกปี ฟิลิปปินส์จะมานรื่นเริง อันเรียกว่า Barrio Fiesta เป็นการฉลองนักบุญของเมือง หมู่บ้านและเขตการปกครองต่างๆ มีการประกอบพิธีทางศาสนา การเดินขบวนในเมืองฉลองนักบุญ การจุดพลุไฟ การประกวดความงามและการเต้นรำ รวมทั้งมีการตีไก่


ภาพ มหาวิทยาลัยซานโต โธมัส
ในมหานครมะนิลา (Manila)

มหาวิทยาลัยซานโต โธมัส (The Pontifical and Royal University of Santo Tomas) เป็นมหาวิทยาลัยในศาสนาแคธอลิกของฟิลิปปินส์ มีชื่อเรียกย่อๆว่า UST มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกขนในศาสนาแคธอลิก ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1611 โดย archbishop Miguel de Benavides นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในฟิลิปปินส์ และในเอเซีย และจัดเป็นมหาวิทยาลัยแคธอลิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีนักศึกษา ประมาณ 37000 คน

อิทธิพลจากจีน

ภาพ หากดูในแผนที่ ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ไม่ห่างจากฝั่งของประเทศจีนนัก

อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีน จะพบได้จากอาหาร ซึ่งอาหารของฟิลิปปินส์นั้นจัดได้ว่าเป็นเหมือนอาหารจีน มีรสชาติค่อนข้างไม่เผ็ดร้อนนัก ไม่เหมือนอาหารพื้นบ้านของไทย ฟิลิปปินส์นิยมกินก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเส้น เรียกว่า Mami เช่นเดียวกับอาหารจานเนื้ออื่นๆ นอกจากนี้คือภาษาจีนที่ชาวจีนในฟิลิปปินส์นิยมพูดกันในหมู่ชุมชนของตน


อิทธิพลจากอเมริกัน


ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐ 14 ปี แต่ได้รับอิทธิพลจากอเมริกันอย่างมาก

สหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งที่คนมีการศึกษาในฟิลิปปินส์นิยมไปแสวงหาโชค การหางานทำมากที่สุด
อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอเมริกัน นับว่ามีการแพร่หลาย ดังเช่น การพูดและใช้ภาษาอังกฤษ

ในด้านกีฬาจะเห็นได้จากกีฬาบาสเก็ตบอล (basketball) ซึ่งจัดเป็นกีฬายอดนิยมของชาติ กีฬาทำชื่อเสียงให้กับฟิลิปปินส์อื่นๆ ได้แก่ ชกมวย ว่ายน้ำ ศิลปะการต่อสู้ นักมวยของฟิลิปปินส์ที่ทำชื่อเสียงในระดับนานาชาติมีเช่น Manny Pacquiao., แชมเปี้ยนบิลเลียด ได้แก่ Efren Reyes, แชมเปี้ยนหมากรุกได้แก่ Eugene Torre.สำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลฟิลิปปินส์มีทีมอาชีพและมีการจัดการแข่งขันที่มีบริษัทและองค์กรสนับสนุนอย่างดีและมีผู้ชมหนาตา

ภาพ นักมวยชาวฟิลิปปินส์ Manny Pacquiao ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

อาหารการกิน


อาหารจานด่วน (Fastfood) อันเป็นวัฒนธรรมแบบตะวันตก สามารถเติบโตได้อย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ ดังเช่น McDonald จากสหรัฐอเมริกา หรือเป็น Jollibee อันเป็นร้านอาหารแบบ Franchise ที่ดำเนินการโดยชาวฟิลิปปินส์เอง
ภาพ MacDonald's ในฟิลิปปินส์

ภาพ ร้านอาหารจานด่วน MacDonald ของสหรัฐ
กับร้าน Jolibee ที่เป็นของท้องถิ่น

ร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) เป็นอิทธิพลมาจากอเมริกัน ซึ่งโดยเปรียบเทียบชาวฟิลิปปินส์จะชื่นชมอาหารจานด่วนมากว่าชาวไทย เครือร้านอาหารเหล่านี้ได้แก่ McDonald's, Pizza Hut, Burger King, KFC, Kenny Rogers Roasters, Wendy's, Shakey's, Carl's Jr. นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารจานด่วนของท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน ได้แก่ Jollibee, Greenwich Pizza, Chowking, และ Max's Fried Chicken และยังมีอื่นๆ อีกมาก
ภาพ สัญญลักษณ์ Jollibee ร้านอาหารจานด่วนประเภท Hamburger ในประเทศฟิลิปปินส์

อาหารตะวันตกแบบทำง่ายกินง่ายมีขายตามร้านอาหารหรือรถเข็นริมทางทั่วไป ได้แก่ Hamburgers, hotdogs, และ ice cream ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอเมริกันอย่างเห็นได้ชัด

วัฒนธรรมดนตรี

หากท่องเที่ยวไปในประเทศภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วได้ยินเสียงร้องเพลงตามสถานเริงรมย์ของประเทศต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นเพลงสากล เขาว่าให้เข้าใจเสียว่า นักร้องนักดนตรีเหล่านั้นอาจมาจากฟิลิปปินส์

วัฒนธรรมดนตรีเป็นลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งที่ได้รับมาจากตะวันตก คนฟิลิปปินส์จะชอบร้องรำทำเพลง และสามารถเล่นดนตรีตะวันตก ตลอดจนการร้องที่ต้องฝึกเสียงอย่างดีเป็นมาตรฐาน มาจากการสวดและร้องเพลงในโบสถ์ และร้องเพลงเป็นกันแทบทุกคน จึงไม่แปลกใจว่าในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะมีศิลปิน นักแสดงของฟิลิปปินส์มาประกอบอาชีพและหารายได้อยู่มากมายทั่วไป รวมทั้งในประเทศไทย

รถโดยสาร Jeepney

ภาพ Jeepney รถสองแถวของฟิลิปปินส์

Jeepney รถสองแถว จุผู้โดยสารได้ประมาณ 12-16 คน ใช้ตัวถังเดิมจากรถ Jeep ที่หลงเหลือจากสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมาได้มีการพัฒนาไปใช้เครื่องยนต์ยน Diesel เก่าจากญี่ปุ่น ต่อตัวถึงให้ยาวขึ้น รับผู้โดยสารนั่งแบบสองแถว เป็นการดำเนินธุรกิจที่ทางรัฐบาลและเมืองอยากปรับเปลี่ยนไปสู่รถโดยสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานดีกว่า แต่ก็ยังต้องดูแลผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ


ชาวต่างชาติรู้จักรถประจำชาติของไทย คือ “ตุ๊กตุ๊ก” (Tuk Tuk) ประเทศฟิลิปปินส์จะมีรถโดยสารที่คนทั่วไปรู้จักกันดี คือ Jeepney


ในบรรดาวัฒนธรรมที่ชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวจะสังเกตุได้โดยง่าย คือการใช้รถโดยสารสองแถวที่เรียกว่า “จีปนี่” (Jeepney) ซึ่งเป็นการนำรถจีปของทหารสหรัฐที่เหลือใช้จากสงครามโลกครั้งที่สองมาต่อเติมใหม่ ขยายให้ยาวขึ้น และใช้บันทุกผู้โดยสารในแบบระยะสั้นในเมืองและชนบทเป็นแบบสองแถว ในระยะหลังมีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนตร์เก่าดัดแปลงจากญี่ปุ่น และใช้เป็นน้ำมันดีเซล ประหยัดขึ้น ทำให้มีควันดำออกมามาก สร้างมลพิษในเมืองใหญ่ รัฐบาลหาทางจะปรับเปลี่ยนวิถีการขนส่งนี้ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการแทนที่ด้วยระบบขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเฉพาะ แต่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มเจ้าของรถและคนขับรถจีปนี่นี้


การเมือง


หลังจากการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองประเทศมาได้สักระยะหนึ่ง เริ่มมีคนถามว่าระบบการปกครองประเทศอย่างฟิลิปปินส์นี้มีอะไรบกพร่องหรือผิดพลาดหรือ เมื่อไม่มีเผด็จการอย่าง Marcos แล้วทำไมการปกครองประเทศจึงยังประสบปัญหา นำความไม่ราบรื่นและไม่แน่นอนกลับมาอีก อันเป็นผลให้ความเชื่อมั่นในการพัฒนาประเทศต้องหยุดชะงักลงไป


ทางออกของการเมืองการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์ คล้ายกับประเทศไทย คงต้องมีการพัฒนา และหาทางออกทางเลือกใหม่อยู่เป็นระยะ และก็ยังจัดเป็นการเมืองของประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังไม่พัฒนา

วีรบุรุษแห่งชาติ

วีรบุรุษของชาติของฟิลิปปินส์มักจะเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตย มีที่มีชื่อเสียงในบรรดาคนอื่นๆ ได้แก่

ภาพ โฮเซ ริซาล (JOSE RIZAL) เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของฟิลิปปินส์

โฮเซ ริซาล (JOSE RIZAL) เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของฟิลิปปินส์ เป็นความภูมิใจของชนเผ่ามาเลย์ เกิดในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1861 ในเมืองชื่อ Calamba ในจังหวัด Laguna เขาเป็นบุตรคนที่ 7 ของครอบครัวที่มีลูกทั้งสิ้น 11 คน เป็นชาย 2 และหญิง 9 คน พ่อแม่ของเขาเป็นคนมีฐานะและมาจากตระกูลที่มีคนนับหน้าถือตา


Jose Rizal นวนิยายของวีรบุรุษ Jose Rizal ชื่อ Noli me Tangere และ El Filibusterismo เป็นหนังสือให้อ่านและเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เพื่อให้เข้าใจชีวิตในสมัยเป็นอาณานิคมภายใต้การปกครองของสเปน และเป็นการสร้างจิตสำนึกความเป็นชาติ

Andrés Bonifacio เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวชื่อ Katipunan อันเป็นกำลังสำคัญ ที่ได้ช่วยให้ฟิลิปปินส์หลุดพ้นการปกครองของสเปน และ


Ninoy Aquino เป็นบุคคลล่าสุดที่ได้เสียชีวิตไปกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย (People Power revolution) เป็นการจุดประกายต่อสู้เผด็จการภายใต้การนำของมาร์คอส


วีรบุรุษของชาติ จำนวนมากคือคนที่ต้องต่อสู้ และอาจไม่ประสบความสำเร็จในยุคนั้นๆ หลายคนต้องเสียชีวิต ถูกประหาร จับกุมคุมขัง ลอบสังหาร ประสบอุบัติเหตุ และมักไม่ได้อยู่ในอำนาจได้นาน


ผู้นำประเทศหลายแบบ


ประเทศฟิลิปปินส์มักจะมีวีรบุรุษแห่งชาติ ซึ่งเป็นอันมากเสียชีวิตไปในการต่อสู้ ไม่ได้มีชีวิตอยู่เป็นผู้นำและเสวยสุขได้นานนัก


ผู้นำอยู่ได้นาน
ภาพ ประธานาธิบดี Ferdinand Marcos

อีกประเภทหนึ่งคือผู้นำ นักการเมืองที่อยู่ได้นาน และก็มีปัญหาด้านเผด็จการ ก่อปัญหาทำให้ระบบการปกครองของประเทศกลายเป็นเล่นพรรคเล่นพวก ดังเช่นประธานาธิบดีอย่าง Ferdinand Marcos ซึ่งช่วงที่ได้ปกครองประเทศกว่า 30 ปี เป็นยุคความเสื่อมโทรมในทุกด้านของประเทศ


ผู้นำนักปฏิรูป
ภาพ นางคอราซอน อากีโน (Corazon Aquino)

ในอีกด้านหนึ่งคือเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแล้ว สังคมได้เลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี อย่างนาง Corazon Aquino ซึ่งมีความตั้งใจดี มีความพยายามที่จะนำประเทศสู่ประชาธิปไตย แต่ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้าน การมีความพยายามรัฐประหารเกือบตลอดเวลาโดยกลุ่มคนที่เสียอำนาจ และอีกประการหนึ่งคือความไม่มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์กรและประเทศขนาดใหญ่

ผู้นำประชานิยม

ภาพ ประธานาธิบดี Joseph Estrada

ในระยะหลังมีประธานาธิบดีที่มีฐานมวลชนให้การสนับสนุนอย่างหนาแน่น ดังประธานาธิบดี Estrada พระเอกภาพยนตร์ที่คนรู้จักก้นทั่วประเทศ เป็นประธานาธิบดีแบบประชานิยม (Populists) ไม่ต่างอะไรกับมิตร ชัญบัญชา พระเอกจอเงินตลอดกาลของไทย แต่ก็ต้องประสบกับความไม่มีความสามารถทางการบริหาร และประกอบกับการมีปัญหาด้านความไม่โปร่งใสทางการเมือง การมีกลุ่มผลประโยชน์เข้าไปแอบแผง แสวงหาโอกาสทางธุรกิจต่างๆ


ผู้นำนักปฏิบัติ


มีผู้นำอีกลักษณะหนึ่งที่เข้าสู่ตำแหน่งชนะการเลือกตั้งได้อย่างเฉียดฉิว มีคนหวาดระแวงเพราะเป็นญาติกับเผด็จการเดิม อย่าง Marcos และยังมีพื้นฐานมาจากทหาร เขาคือฟิเดล รามอส



ภาพ ฟิเดล วาลเดซ รามอส (Fidel Valdez Ramos)
ประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์คนที่ 12 ต่อจากสมัย

นางคอราซอน อากีโน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1928 จัดได้ว่าเป็นประธานาธิบดีที่หลายคนบอกว่าไม่มีสีสัน ต่างจากคนมีตำแหน่งการเมืองระดับสูงดังกล่าวของประเทศคนอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันในบรรดาข้าราชการ นักบริหารที่ต้องทำงานร่วมกับภาครัฐของประเทศ และรวมถึงผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องใกล้ชิดกับคณะรัฐบาลภายใต้ผู้บริหารระดับสูง ต่างให้ความเห็นคล้ายกันว่า รามอสเป็นประธานาธิบดีที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการประนีประนอมกับฝ่ายต่างๆ และทำให้ประเทศที่มีปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจได้กลับคืนสู่เสถียรภาพและเติบโตได้อีกครั้ง


การศึกษา Education :


ฟิเดล รามอส Fidel Ramos จัดเป็นคนมีการศึกษา ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ดังมีประวัติการศึกษาดังนี้


- College, Bachelor of Science, US Military Academy, West Point, New York, 1950
- Post Graduate, Master of Science in Civil Engineering, University of Illinois, 1951
- Associate Infantry Company Officers Course, Fort Benning Georgia, 1955
Special Forces/Psychological Operations/Airborne Course, Fort Bragg, North Carolina,


- ปี่ ค.ศ. 1950 รามอสได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการทหาร US Military Academy ที่ West Point รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ปี ค.ศ. 1951 ได้รับปริญญามหาบัณฑิตด้านวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
- ปี ค.ศ. 1955 ได้รับการฝึกนายทหารขั้นสูงที่ Fort Benning รัฐจอร์เจีย เป็นปฏิบัติการรบด้านสงครามจิตวิทยา กำลังรบพิเศษ และการโจมตีทางอากาศ ณ Fort Bragg รัฐแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี ค.ศ. 1960 ได้ดำรงเข้ารับการฝึกและเป็นนายทหารบกประจำกองทัพฟิลิปปินส์
- ปี ค.ศ. 1985 ได้รับปริญญามหาบัณฑิตด้านการบริหารความมั่นคงแห่งชาติ วิทยาลัยป้องกันประเทศ
- Command and General Staff Course, Phil. Army CGSC,
1985 Master of National Security Administration, National Defense College of the Phil.
1969 Master of Development Administration, Ateneo de Manila University,
1980


ฟิเดล รามอสเกือบจะเป็นคนเดียวที่สามารถดำเนินการปกครองประเทศได้อย่างราบรื่น สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และเมื่อจะพ้นวาระที่กำหนดไว้ 6 ปี นับเป็นคนเดียวที่อยู่จนครบวาระ และส่งมอบงานให้กับประธานาธิบดีคนต่อมาได้อย่างภูมิใจได้


ฟิลิปปินส์กำลังต้องการผู้นำในลักษณะนี้ คือไม่มีสีสันมากนัก พูดไม่เก่งแต่สื่อสารได้ บริหารงานเป็น ประนีประนอมได้ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนมากนัก ตามงานไล่งานกับข้าราชการได้อย่างทันเกมส์ เพราะเคยเป็นข้าราชการมาก่อน และขณะเดียวกันสามารถนำพลังจากภาคเอกชน นักลงทุนเข้ามารับงาน โดยไม่ได้รับการต่อต้านมากจนในระดับเดินหน้าไม่ได้


ประเทศฟิลลิปปินส์กำลังเผชิญกับปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมืองเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่มีการเมืองประชาธิปไตยในระบบตัวแทน (Representative Democracy) ที่เมื่อฝ่ายได้รับการเลือกตั้งแล้ว ไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ ไม่สามารถประนีประนอม แต่มีปัญหาด้านการสร้างและแสวงโอกาสทางธุรกิจให้กับพวกพ้อง


ท้ายสุด หลายคนกำลังมองหาผู้นำที่พูดไม่เก่ง แต่บริหารงานเป็นอย่าง Ramos


ค้นคว้าเพิ่มเติม See also


ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากการศึกษาข้อมูลได้จาก Wikipedia.ในเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้:


• ศิลปะการต่อสู่ป้องกันตัว Filipino Martial Arts

• การสื่อสารในประเทศฟิลิปปินส์ Communications in the Philippines
• อาหารแบบฟิลิปปินส์ Filipino Cuisine
• วันหยุดในประเทศฟิลิปปินส์ Holidays in the Philippines
• บริษัทขนาดใหญ่ในฟิลิปปินส์ List of Philippine companies
• กองทัพและกำลังรบในฟิลิปปินส์ Military of the Philippines
• ประวัติศาสตร์การทหารของฟิลิปปินส์ Military history of the Philippines
• สถานที่สำคัญในฟิลิปปินส์ Philippine landmarks
• การขนส่งในฟิลิปปินส์

1 comment:

  1. เมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีเจอคนแบบ Ramos สักทีล่ะคะ

    ReplyDelete