ภาพ ชาว Amish เชื้อสายเยอรมันในประเทศสหรัฐอเมริกา
ใช้รถม้าในการเดินทาง และยังรักษาวิถีชีวิตเรียบง่ายของตนไว้
ใช้รถม้าในการเดินทาง และยังรักษาวิถีชีวิตเรียบง่ายของตนไว้
อย่ากินทิ้งกินขว้าง
ประกอบ คุปรัตน์
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5, โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org, E-mail: info@sb4af.org
Blog: http://pracob.blogspot.com
Updated:Saturday, April 11, 2009
Keywords: Cw022 สุภาษิตเยอรมัน, amish, menonite เศรษฐกิจพอเพียง
มีสุภาษิตของชาว Amish และ Mennonite ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงจากเยอรมัน ที่จะไม่ให้มีการบริโภคอาหารอย่างทิ้งๆขว้างๆ แม้จะมีอาหารอย่างเหลือเฟือ ดังที่ว่า
Nimm, was du magst, iss, was du nimmst. แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Take all you want, eat all you take.”
เมื่อปรับเป็นภาษาไทยได้ความว่า “เอาไปใช้เท่าที่ต้องการ นำไปกินได้เท่าที่ท่านจะกินหมด”
มีเพื่อนชาวต่างประเทศของผมคนหนึ่ง เขาชอบพูดติดตลกว่า “อาหารอร่อยที่สุด คืออาหารฟรี” ซึ่งความจริงก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบไทยๆ เพราะด้วยเหตุดังกล่าว ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง จึงมีข้อห้ามไม่ให้ผู้สมัครจัดงานเลี้ยงอาหารแก่ผู้คน เพราะคนไทยส่วนหนึ่งชอบอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเหล้าและเบียร์ฟรีแล้ว ยังมีจิตใจแบบรู้คุณคน เวลาเขาขอคะแนนเสียง ก็จะให้เขาไปด้วยเพราะไปกินของๆเขามาแล้ว
สังคมบางแห่งปรับนิสัยกินทิ้งกินขว้าง โดยตัวอย่างจาก “นิสัยชอบกินเอากำไร” ดังร้านอาหารประเภท Buffet ที่มีอาหารบริการไม่อั้น ที่ประเทศฟิลิปปินส์ มีร้านอาหารบางแห่งมีกฎว่า “ตักไปแล้วกินให้หมด” หากกินไม่หมดจะเสียค่าปรับตามส่วนอาหารที่เหลือ ในประเทศไทยมีร้านอาหารประเภทบริการไม่อั้น แต่ก็ไม่ได้มีเขียนหรือบังคับกฎต้อง “กินให้หมด” แต่ก็เป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับกันว่า ต้องตักแต่พอดี หมดแล้วไปเติมใหม่ได้
ชาว Amish ซึ่งมีที่อยู่แถวรัฐ Pennsylvania, Ohio, ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีเชื้อสายมาจากเยอรมัน เป็นพวกที่เคร่งครัดในวิถีชีวิตแบบพอเพียง เขามีกฏแม้แต่การทำไร่ทำนา ก็ให้ใช้แรงงานสัตว์ได้เท่านั้น เขาไม่ให้ใช้รถแทรกเตอร์ในชุมชนของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้รถไถผลิตพืชผลทางการเกษตรนั้น จะไปสร้างนิสัยผลิตอย่างฟุ่มเฟือย ใช้อย่างฟุ่มเฟือย และไปบุกรุกทำลายธรรมชาติเกินความจำเป็น
ภาพ อาหารจานหลักในแบบอเมริกัน จะมีเนื้อ (Meat)
ไ่ก่ หมู หรือเนื้อ ผัก และพวกพลังงาน ขนมปัง แป้งแบบต่างๆ หรือมันฝรั่ง และผักสลัด
ไ่ก่ หมู หรือเนื้อ ผัก และพวกพลังงาน ขนมปัง แป้งแบบต่างๆ หรือมันฝรั่ง และผักสลัด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นปกติที่เขาบริการอาหารแต่ละมื้อด้วยปริมาณที่มาก โดยเฉพาะสำหรับคนไทยที่ตัวไม่ใหญ่ กินไม่จุ ดังเช่นอาหารจานหลัก เป็นพวกเนื้อ เขาก็บริการกันอย่างเต็มที่ และมีพวกอาหารแป้ง เช่นมันฝรั่งทอด อบ หรือ มันบด เหล่านี้หากเป็นคนไทย สั่งมา 1 กินได้ 2 คนสบาย แต่เขาก็ไม่มีวัฒนธรรมอย่างนั้น คือมาสองคน ก็ต้องสั่งสองคน ส่วนที่กินแล้วเหลือ เขามีกล่องที่จะใส่อาหารที่เหลือนำกลับไปรับประทานต่อที่บ้านได้ เรียกว่า Take home ดังนั้นหากไปรับประทานอาหารตามภัตตาคารแล้วมีอาหารเหลือ ให้ขอเขาห่อให้เรากลับไปรับประทานต่อที่บ้านได้ ไม่ต้องเกรงใจ แต่ถ้าเราทิ้งอาหารไว้ กินแบบกินทิ้งกินขว้าง นอกจากจะไม่ดีแล้ว เหมือนลงความเห็นว่าอาหารไม่อร่อย
วัฒนธรรมเมื่อกินแล้วเหลือ ให้นำกลับไปบ้านนี้ ดูจะขัดกับวัฒนธรรมแบบไทยๆ คือ หากกินแล้ว มีการนำอาหารกลับไปบ้าน ดูเหมือนจะเป็นคนขี้ตืดขี้เหนียว บางที่จะห่ออาหารกลับบ้าน ก็อายเขา เลยบอกว่า จะเอาไปให้หมาที่บ้าน แต่ก็เอาน้ำจิ้มติดกล้บไปด้วย
ปรับวัฒนธรรมเสียใหม่ การสร้างวัฒนธรรม “ไม่กินทิ้งกินขว้าง” นี้เป็นสิ่งที่ดี เป็นการแสดงสำนึกอันดีในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การประหยัดได้ ก็แสดงว่าจะมีคนอื่นๆ เขาได้มีเหลือไว้ใช้ประโยชน์
สุภาษิตที่ผมนำมาขยายความและเผยแพร่ต่อ มาจากคณะผู้เขียนและผู้รวบรวมประกอบด้วย
See Wolfgang Mieder, Deutsche Sprichwoerter und Redensarten, Stuttgart, Reclam, 1979
Also John Crean et al. Deutsche Sprache und Landeskunde, 1981 for equivalents.
Also Wolfgang Mieder, "Deutsche Sprichwoerter im amerikanischen Sprachunterricht," UP, 26.1, Spring 1993, p. 16
Champion, Selwyn Gurney, Racial Proverbs: A Selection of the World's Proverbs, arranged Linguistically, New York: Barnes and
________________________________________
No comments:
Post a Comment