James Madison, Jr ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของสหรัฐอมริกา
ประกอบ คุปรัตน์แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
Springboard For Asia Foundation (SB4AF)
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: cw105 ประวัติศาสตร์ สหรัฐอเมริกา อัตตชีวประวัติ
Updated: Sunday, July 13, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia
ความนำ
หาก Thomas Jefferson ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของระบอบประชาธิปไตยในแบบฉบับของอเมริกัน (American Democracy) และมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพของอเมริกันต่อประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 James Madison คือบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดา หรือผู้สร้างสรรค์รัฐธรรมนูญ ต้นฉบับประชาธิไตยของสหรัฐ ที่อยู่ยั้งยืนยง ไม่เคยได้ถูกฉีกทิ้งเหมือนกับที่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย มีเพียงการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์สอดคล้องกับการเวลา แม้คนให้ความยกย่องเขาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ทำงานใกล้ชิดกับ Thomas Jefferson แต่เขามักจะกล่าวถ่อมตัวเสมอว่าเขาเป็นเพียงคนหนึ่งในหลายๆคนที่มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยของสหรัฐนั้น แท้จริงเป็นสปิริตของคนหลายกลุ่มเหล่า และที่สำคัญคือเป็นความต้องการของประชาชนอเมริกันที่ต้องการให้มันเป็นไปเช่นนั้น
James Madison, Jr. เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1751 และเสียชีวิตวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1836 เป็นนักการเมืองอเมริกัน เป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1809-1817) และเป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ (Founding Fathers) ของสหรัฐอเมริกา Madison เป็นกลุ่มบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนที่เสียชีวิตล่าสุด เมื่อมีการร่างและประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 เขามีอายุได้เพียง 25 ปี
ได้รับการนับถือเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญ (Father of the Constitution) เขาเป็นผู้เขียนหลักของเอกสาร ในปี ค.ศ. 1788 เขาเขียนเอกสารที่เป็นงานพื้นฐานของการมีระบบรัฐบาลกลาง ที่เรียกว่า the Federalist Papers ซึ่งเป็นเอกสารอ้างอิงที่สำคัญของรัฐธรรมนูญ และในฐานะเป็นผู้หนึ่งในการประชุมสภาครั้งแรก (first Congress) เขาได้เขียนกฎหมายหลักที่กล่าวกันว่าการแก้ไขที่สำคัญ 10 ครั้ง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานการประกาศสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งรัฐเวอร์จิเนีย และจึงได้รับการขนานนามให้เป็น “บิดาแห่งนิติบัญญัติสิทธิประชาชน” (Bill of Rights) ในฐานะเป็นนักทฤษฎีการเมือง เขามีความเชื่อที่โดดเด่นเกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐใหม่ที่ต้องมีระบบตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and balance) จำกัดอำนาจของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ซึ่ง Madison เรียกว่า Factions เขาเชื่อว่าชาติที่เกิดใหม่นี้จะต้องต่อสู้กับระบบขุนนางและการคอรัปชั่น และมุ่งมั่นที่จะสร้างกลไกที่จะให้มั่นใจได้ว่า “ระบบสาธารณรัฐใหม่แห่งสหรัฐอเมริกา” (republicanism in the United State)
ชีวิตส่วนตัว
Madison เกิดที่ Port Conway, ในรัฐ Virginia เขาเป็นบุตรคนโตของครอบครัวที่มีบุตร 12 คน มี 7 คนที่ได้เป็นผู้ใหญ่แล้ว พ่อแม่ของเขา คือ นายพันเอก James Madison, Sr. (เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1723 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801) และแม่คือ นาง Eleanor Rose "Nellie" Conway (เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1731 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คศ. 1829) เป็นครอบครัวที่เป็นเจ้าของไร่ยาสูบที่ร่ำรวยในเขต Orange County ในรัฐ Virginia ซึ่งเป็นที่ซึ่ง Madison ได้ใช้ชีวิตในเยาว์วัยของเขา Madison ได้รับการเลี้ยงดูในศาสนานิกาย Church of England ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐ ( state religion) ในช่วงเวลานั้น
ไร่ของเขาได้อาศัยการดูแลของปู่ คือ Ambrose Madison ที่ใช้ระบบสิทธิในการมีทาส (headright system) ที่สามารถนำเข้าทาสเข้ามาใช้งานได้ตามสัญญา ซึ่งทำให้เขาสามารถมีแผ่นดินเพื่อการเพาะปลูกขนาดใหญ่ได้ Madison เองก็เช่นเดียวกับบรรพบุรุษของเขา คือเป็นเจ้าของทาส
Madison ตามประวัติ เป็นคนมีรูปร่างเล็ก จัดเป็นประธานาธิบดีที่มีรูปร่างเล็กที่สุด คือสูงเพียง 5 ฟุต 4 นิ้ว และมีน้ำหนักน้อยที่สุดในคนที่เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ คือหนักเพียง 100 ปอนด์ แต่เพื่อให้เข้าใจ คนอเมริกันในขณะนั้นมีขนาดเล็กกว่าที่เห็นในปัจจุบันมากนัก ความสูงของเขา จึงเป็นประมาณรายเฉลี่ยของคนในสมัยนั้น
Madison ได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยแห่งนิวเจอร์ซี (The College of New Jersey) ซึ่งในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยที่ชื่อ Princeton University เขามีเพื่อนร่วมห้องพัก เป็นนักประพันธ์กลอนและนักถากถางสังคมที่ชื่อ Phillip Freneau เขาเรียนจบหลักสูตร 4 ปีในเวลาเพียง 2 ปี คือในช่วงปี ค.ศ. 1769-1771 และยังคงศึกษาต่อกับอาจารย์ชื่อ John Witherspoon ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น เขาจึงจัดเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคนแรกของอเมริกา หรืออาจจะเรียกให้ถูก คือเป็น “นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคนแรกของมหาวิทยาลัย Princeton”
การทำงานในรัฐสภา
ในฐานะผู้นำของสภาล่าง (House of Representatives) เขาทำงานใกล้ชิดกับประธานาธิบดี George Washington เพื่อให้เกิดรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง แต่เขาแตกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Alexander Hamilton ในปี ค.ศ. 1791 โดยเขาได้ร่วมกับ Jefferson เพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ Republican Party (ซึ่งต่อมาเรียกว่า “พรรคเพื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republican Party) ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจาก “พรรคเพื่อรัฐบาลกลาง” (Federalists) ในประเด็นการก่อตั้งธนาคารแห่งชาติ และสนธิสัญญากับอังกฤษที่ชื่อ Jay Treaty เขาได้ร่วมเขียนอย่างลับๆกับ Thomas Jefferson ในข้อตกลงแห่งแห่งรัฐเคนตักกี้และเวอร์จิเนีย (Kentucky and Virginia Resolutions) ในปี ค.ศ. 1798 เพื่อต่อต้านนิติบัญญัติ เพื่อควบคุมคนต่างด้าว ชื่อ Alien and Sedition Acts อ้นเป็นการจำกัดสิทธิคนที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาใหม่ อันเป็นการผลักดันจากกลุ่ม Federalists ที่มีอำนาจ
เมื่อมีส่วนบริหารประเทศ
ในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี ค.ศ. 1801-1809) เขาได้ให้คำปรึกษาในการซื้อรัฐลุยเซียน่า (Alien and Sedition Acts) จากฝรั่งเศส ซึ่งทำให้พื้นที่ของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เขาสนับสนุนกฏหมายห้ามเรือสินค้าจากอังกฤษเข้าท่าที่อเมริกา (Embargo Act of 1807) ซึ่งไม่เป็นผล เพราะทำให้ผู้ค้าขายชาวสหรัฐเองได้รับผลกระทบ เขาได้นำประเทศเข้าสู่สงครามกับอังกฤษ ที่เรียกว่าสงครามปี ค.ศ. 1812 เพื่อปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งจบลงในปี ค.ศ. 1805 ด้วยสนธิสัญญาใหม่ ชื่อ Treaty of Ghent ซึ่งในขณะนั้นความรู้สึกรักชาติกำลังพุ่งแรง ในระหว่างสงคราม Madison ได้เปลี่ยนจุดยืนของเขาหลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1815 เขาได้สนับสนุนการก่อตั้งธนาคารแห่งชาติแห่งที่สอง (second National Bank) การมีกำลังทัพที่เข้มแข็ง และการจัดเก็บภาษีที่สูง เพื่อปกป้องโรงงานใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงสงคราม ซึ่งนโยบายเหล่านั้นความจริงคือจุดยืนของฝ่าย Federalists ซึ่งได้หมดอำนาจไปแล้ว
บิดาแห่งรัฐธรรมนูญ
Father of the Constitution
เมื่อเขากลับสู่ระบบนิติบัญญัติของรัฐเวอร์จิเนีย Madison ดีใจที่ได้มีสันติภาพอีกครั้ง แต่เขาก็พบว่าสภาพของความเป็นรัฐบาลกลางยังอ่อนไหวอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันทำให้รัฐบาลของแต่ละรัฐมีความแตกแยก เขาเห็นด้วยที่จะให้มีรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อลดความแบ่งแยกนี้ ในการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ (Constitutional Convention) ของสหรัฐอเมริกาที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ในปี ค.ศ. 1787 Madison ดิ้เขียนแผนเวอร์จิเนีย (Virginia Plan) และแนวคิดระบบรัฐบาลกลางที่มีอำนาจสามฝ่ายอันเป็นฐานของรัฐธรรมนูญสหรัฐจนในปัจจุบัน แม้ Madison จะเป็นคนขี้อาย แต่เขาจะเป็นคนที่พูดอย่างเปิดเผยมีน้ำหนักในที่ประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) ณ ที่นั้น เขาเห็นบทบาทของรัฐบาลกลางที่ต้องเข้มแข็ง สามารถอยู่เหนือรัฐแต่ละรัฐ เมื่อรัฐแต่ละรัฐนั้นกระทำผิดพลาด เขาเป็นคนให้ความยกย่องต่อศาลสูง (Supreme Court) เมื่อฝ่ายศาลนั้นได้เริ่มทำหน้าที่
ฐานคิดเกี่ยวกับรัฐบาลกลาง
The Federalist Papers
เพื่อช่วยให้มีการปรับปรุงระบบบริหารรัฐบาลกลางในปี ค.ศ. 1787 และ 1788 Madison ได้ร่วมกับ
Alexander Hamilton และ John Jay เพื่อเขียนบทบัญญัติในการบริหารรัฐบาลกลางที่เรียกว่า The Federalist Papers ในงานเขียนของเขาในบทที่ 10 ที่ได้เขียนเกี่ยวกับประเทศที่มีขนาดใหญ่ และมีกลุ่มผลประโยชน์มากมายและมีความขัดแย้งนั้น จะสามารถสนับสนุนความเป็นระบบสาธารณรัฐได้ดีกว่าประเทศขนาดเล็กที่มีกลุ่มผลประโยชน์น้อยกว่า การตีความของเขาในขณะนั้นไม่ได้รับการใส่ใจมากนัก แต่ในศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น แนวคิดของเขาจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของฝ่ายยอมรับในความแตกต่างและหลากหลายของการเมืองอเมริกัน (pluralist)
ในรัฐเวอร์จิเนียในปี ค.ศ. 1788 หลังสงครามประกาศอิสรภาพ (Revolutionary War) Madison ได้ต่อสู้เพื่อการปรับปรุงรัฐธรรมนูญในการประชุมของรัฐ (State’s Convention) การปะทะคารมกับ Patrick Henry และกับคนอื่นๆ จึงทำให้เกิดการปรับปรุงส่วน United States Bill of Rights ก่อนที่จะมีการนำไปสู่การลงมติ ด้วยเหตุดังกล่าว Madison จึงได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐ ด้วยบทบาทของเขาในการร่างและการผลักดันให้ได้รับการยอมรับ แต่เขาเองมักจะกล่าวอย่างถ่อมตัวว่า “มันเป็นเครดิตที่ผมไม่สามารถอ้างได้ …. เพราะรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เหมือนเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาด หรือเป็นลูกหลานอันมาจากสมองเดียว มันควรจะถือว่าเป็นงานของหลายๆหัว และหลายๆมือ”
ผู้เขียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
Author of Bill of Rights
Patrick Henry ได้ชักจูงให้สภาแห่งรัฐเวอร์จิเนียไม่เลือก Madison เขาไปเป็นหนึ่งในสมาชิกวุฒิสภา (Senators) แต่ให้ Madison ได้รับเลือกให้เข้าไปในสภาผู้แทนราษฏร (United States House of Representatives) และมันกลับทำให้เขาได้กลายเป็นหัวหน้าคนสำคัญในการประชุมสภาครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1789 ตรายจนกระทั่งครั้งที่สี ในปี ค.ศ. 1797
ในระยะเริ่มแรก Madison ได้ให้ความเห็นว่า Bill of Rights เป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะรัฐธรรมนูญด้วยตัวของมันเองนั้นเป็น Bill of Rights ไปแล้วในตัว เขาปฏิเสธที่จะให้มีบทว่าด้วยสิทธิ เพราะว่า (1) มันไม่จำเป็น เพราะมันมีความหมายที่จะปกป้องต่ออำนาจของรัฐบาลกลาง ซึ่งจริงๆ ก็ยังไม่ได้มีการให้เอาไว้ (2) มันเป็นอันตราย เพราะการให้มีสิทธิของส่วนหนึ่งนั้น ไปบดบังสิทธิของส่วนอื่นๆ และ (3) ในระดับรัฐ หรือ State นั้น เรื่องที่ว่าด้วยสิทธินั้นไม่มีประโยชน์เพราะไปเป็นอุปสรรคต่ออำนาจของรัฐบาล
แต่กลุ่มต่อต้านการให้อำนาจแก่รัฐบาลกลางต้องการให้แลกเปลี่ยน Bill of Rights กับการที่จะได้รับการสนับสนุน ในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีข้อเสนอมาจากทั่วประเทศกว่า 200 เรื่อง Madison ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อข้อเสนอเหล่านี้ ด้วยเกรงจะไปกระทบต่อโครงสร้างของรัฐบาล และขาได้รวบรวมและสังเคราะห์ข้อเสนอเหล่านี้เป็นรายชื่อของเสนอ เพื่อเป็นเรื่องการปกป้องสิทธิประชาชน (Civil Rights) เช่น เรื่องการมีสิทธิในการพูด การแสดงออก สิทธิของคนที่จะมีและพกพาอาวุธปืน สิทธิที่ประชาชนจะไม่ถูกจับกุมคุมขังโดยรัฐ และสูญเสียอิสรภาพโดยปราศจากเหตุผล
Habeas corpus (IPA: /ˈheɪbiəs ˈkɔɹpəs/) (Latin: [We command] that you have the body)[1] is the name of a legal action, or writ, through which a person can seek relief from unlawful detention of himself or another person. The writ of habeas corpus has historically been an important instrument for the safeguarding of individual freedom against arbitrary state action.
ในปี ค.ศ. 1791 ข้อเสนอปรับปรุงรัฐธรรมนูญ 1 ใน 10 ที่ Madison ได้นำเสนอและปรับปรุงแก้ไข คือ Bill of Rights ซึ่งเป็นความแตกต่างจากความประสงค์ของเขา และ Bill of Rights จะยังไม่ได้จัดเป็นส่วนสำคัญในรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งในการปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 14 และ 15 และในการปรับปรุงระยะหลังดังในปี ค.ศ. 1992 อ้นเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ครั้งที่ 27 เป็นการแก้ไขในส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายตรงกันข้ามกับ Hamilton Opposition to Hamilton
แนวทางของ Madison ในช่วงของการมีบทบาทในสภา งานของเขาคือการจำกัดอำนาจของรัฐบาลกลาง (Federal Government) Wood (2006a) โต้แย้งว่า Madison ไม่เคยต้องการให้รัฐบาลแห่งชาติมีบทบาทที่มากเกินไป เขาตกใจมากเมื่อพบว่า Hamilton และ Washington กำลังจะสร้างรัฐบาลในแบบยุโรปที่มีระบบราชการที่ใหญ่โต มีกองทัพ และฝ่ายบริหารมีอำนาจอิสระอย่างสูง
เมื่อประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าสู้รบกันในสงครามปี ค.ศ. 1793 สหรัฐตกอยู่ในฐานะลำบาก ด้วยสนธิสัญญากับฝรั่งเศสที่จะเป็นพันธมิตรต่อกันยังมีผลอยู่ แต่ขณะเดียวกัน การค้าขายของประเทศใหม่อย่างสหรัฐอเมริกานั้นผูกพันอยู่กับอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1794 การต้องรบกับประเทศอังกฤษจึงแทบหลีกเลี่ยงไม่ได้ อังกฤษได้เข้ายึดเรือนับเป็นร้อยๆล่ำที่ค้าขายกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในทางตอนใต้ Jefferson และ Madison ซึ่งเป็นพันธมิตรกัน เห็นว่าอังกฤษกำลังอ่อนแอ แม้จะมีการคุกคามจากอังกฤษ แต่การสู้กับอังกฤษ จะทำให้สหรัฐได้ผลักดันความเป็นอิสระของประเทศใหม่ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะทั้งสองเห็นว่า อังกฤษได้ผูกมัดการค้าขายของอเมริกา และทำให้การต่อสู้เพื่ออิสรภาพเกือบไร้ผล Jefferson มีความเชื่อว่า หากต้องรบกับอังกฤษ ผลประโยชน์ของอังกฤษก็จะต้องถูกตัดขาด ชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในแถบ West Indies ไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากขาดอาหารจากทางสหรัฐอเมริกา แต่ชาวอเมริกันในสหรัฐสามารถดำรงอยู่ได้ โดยไม่ต้องอาศัยระบบอุตสาหกรรมของอังกฤษ ฝ่าย Jefferson จึงเห็นที่จะให้ทำสงครามและการขีดขวางการค้ากับอังกฤษ แต่ฝ่าย George Washington ต้องการหลีกเลี่ยงสงครามการค้ากับอังกฤษ และตรงกันข้าม ได้ส่ง John Jay ไปทำสัมพันธไมตรีกับอังกฤษจนเป็นผลให้มีสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1794 (the Jay Treaty of 1794) และในการนี้ ทั้งประเทศสหรัฐมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับการคงสัมพันธ์กับอังกฤษ อ้นเป็นฝ่ายที่เรียกว่า Federalists และอีกส่วนที่ไม่เห็นด้วย คือฝ่าย Democratic-Republicans.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (Treasury Secretary) คือ Alexander Hamilton ได้สร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนทั่วประเทศ และได้กลายเป็นพรรค Federalist Party ที่ต้องการส่งเสริมให้รัฐบาลกลางมีความเข้มแข็ง และต้องการให้มีธนาคารกลางของชาติ (National Bank) และเพื่อเป็นการต่อต้านกลุ่ม Federalists Madison และ Jefferson ได้ก่อตั้งพรรค “สาธารณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republican Party) Madison ได้นำกลุ่มที่จะต่อต้านการจัดตั้งธนาคากลาง โดยให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญไมได้ให้สิทธินี้เอาไว้ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่า Madison ได้เปลี่ยนทัศนะทางการเมืองไปอย่างมาก จากที่เมื่อก่อนเห็นด้วยกับ Hamilton และต่อต้านเรื่องสิทธิของรัฐ และส่งเสริมบทบาทที่เข้มแข็งของรัฐบาลกลาง ไปสู่การเป็นฝ่ายตรงข้ามกับ Hamilton และในปี ค.ศ. 1793 ก็รวมไปถึงการไม่เห็นด้วยกับ Washington ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว Madison มักจะเป็นฝ่ายแพ้ และ Hamilton เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งทำให้เกิดธนาคารกลาง การทำให้รัฐสามารถสร้างหนี้และผูกพันการใช้หนี้ได้ รวมไปถึงการสนับสนุนสนธิสัญญาของ John Jay (Jay Treaty) แต่ Madison สามารถสกัดการจัดเก็บภาษีในอ้ตราสูง โดยรวมทางการเมือง Madison เป็นฝ่ายของ Jefferson จนกระทั่งเมื่อเขาเข้าเป็นส่วนของรัฐบาลกลาง และได้ประสบกับปัญหาการมีรัฐบาลกลางที่อ่อนแอ และต้องทำสงครามในปี ค.ศ. 1812 ทำให้เขาตระหนักและยอมรับในความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง และนั่นก็คือต้องมีระบบธนาคาร การจัดเก็บภาษีเพื่อใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาลกลาง การมีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง กองทัพบกที่ทำหน้าที่ได้ตลอดเวลา ไม่ใช่ไปพึ่งทหารเกณฑ์ หรือทหารอาสาตามความจำเป็นอย่างที่เคยกระทำในสงครามประกาศอิสรภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
United States Secretary of State
ในประเทศสหรัฐ คำว่า Department หมายถึง “กระทรวง” ไม่ใช่ “กรม” อย่างที่เราใช้ในระบบราการไทย คำว่า Secretary หมายถึงเลขาธิการผู้ดูแลกระทรวง หรือ Department Secretary of State มีความหมายว่า เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยเริ่มมีประเทศใหม่ๆ ผู้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้นับว่าต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีวิสัยทัศน์พร้อมสรรพที่จะทำงานเป็นตัวแทนของประเทศในการไปเจรจาความ ซึ่งต้องสามารถไปตัดสินใจแทนประเทศได้ ตามกรอบที่ได้รับคำสั่งมา
ในสมัยที่ Thomas Jefferson เป็นประธานาธิบดี ความท้าทายคือการต้องเฝ้าดูสถานะของสองจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป คือ อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งทำสงครามต่อกันเกือบจะตลอดเวลา งานของ Madison คือการเจรจาซื้อรัฐลุยเซียน่า (Louisiana Purchase) ในปี ค.ศ. 1803) ซึ่งเป็นไปได้ เพราะนโปเลียนเห็นว่าทวีปอเมริกาอยู่ไกลเกินกว่าจะเข้าไปดูแลรักษาอาณานิคม และอีกด้านหนึ่ง การขายพื้นที่ในรัฐนี้ คือการทำให้ไม่ตกไปอยู่ในมือของประเทศอังกฤษ ในกรณีนี้ทั้ง Jefferson และ Madison ได้แตกออกจากความคิดเห็นและแนวทางของพรรค Democratic Republicans ที่จำกัดบทบาทของรัฐบาลกลาง ซึ่งต้องเจรจาต่อรองกับฝรั่งเศส และขณะเดียวกันก็ต้องเจรจากับรัฐสภา เพื่ออนุมัติการจัดซื้อ ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาความเป็นกลางของสหรัฐดังที่ได้เคยกระทำมา แม้โดยมหาอำนาจทั้งสองนั้นต่างไม่ค่อยให้ความเคารพต่อสัญญาที่มีมานี้ ด้วยเหตุดังกล่าว Madison และ Jefferson จึงใช้การห้ามเรือเข้าและออกจากท่า (Embargo) หรือการปิดกั้นการค้ากับทั้งทางอังกฤษและฝรั่งเศส และห้ามอเมริกันทำการค้ากับต่างชาติ การปิดกั้นทางการค้านับเป็นนโยบายที่ล้มเหลว และกลับสร้างความยากลำบากแก่เมืองท่าทางตอนใต้ที่ยังต้องค้าขายกับเมืองอื่นๆในทางตอนใต้อยู่
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เขาเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่เข้าไปต่อสู้ในศาลสูงของสหรัฐในเรื่องการที่ Jefferson ไม่รับรองการแต่งตั้งผู้เข้าดำรงตำแหน่งจำนวนหนึ่งที่แต่งตั้งโดย John Adams อันเป็นกรณีที่เรียกว่า Marbury v. Madison ซึ่งทำให้เกิดการตัดสินคดีและเป็นบรรทัดฐานสำหรับการแต่งตั้งบุคคลของฝ่ายบริหารในระยะต่อมา
ในการเลือกตัวแทนของพรรค Democratic-Republicans ในการประชุมเพื่อสรรหาตัวแทนของพรรคเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี Madison ได้รับการคัดเลือกจากพรรค และนำไปสู่การได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ. 1808 อย่างง่ายดาย โดยการสนับสนุนจากความนิยมในตัว Jefferson ทำให้ชนะ Charles Cotesworth Pinckney แต่รัฐสภาก็ยังคงการปิดกั้นการค้ากับต่างประเทศต่อไป แม้จะเป็น
นโยบายที่ไม่ได้รับความนิยม
ประธานาธิบดีสหรัฐ ปี ค.ศ. 1809-1817
Presidency 1809–1817
James Madison
เกี่ยวกับธนาคารแห่งชาติ The Bank of the United States
ในช่วงการดำรงตำแหน่ง กฏบัตรอนุญาตการจัดตั้งธนาคาร first Bank of the United States อายุ 20 ปีกำลังจะหมดลงในปี ค.ศ. 1811 อันเป็นปีที่สองของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีของ Madison เขาได้พยายามที่จะหยุดยั้ง แต่ไม่สำเร็จที่จะหยุดกฎบัตรนี้ และปล่อยให้หมดอายุไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของเขา Gallatin ต้องการให้ต่ออายุกฎบ้ติรของธนาคาร และเมื่อเกิดสงครามในปี ค.ศ. 1812 จึงได้พบว่า การไม่มีธนาคารที่จะให้การสนับสนุนการเงินในการทำสงครามนั้นได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารประเทศมากเพียงใด
ผู้ดำรงต่ำแหน่งต่อจาก Gallatin คือ Alexander J. Dallas ได้เสนอให้มีธนาคารใหม่ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1814 แต่ Madison ได้ใช้สิทธิฝ่ายบริหารวีโต้กฎหมายนั้นในปี ค.ศ. 1815 อย่างไรก็ตามในปลายปี ค.ศ. 1815 Madison ได้เป็นฝ่ายขอรัฐสภา เพื่อให้จัดตั้งธนาคารแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งในครั้งนี้มีเสียงสนับสนุนจากคนในพรรค Democratic-Republicans ในส่วนของกลุ่มคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีความรักชาติอ้นได้แก่ John C. Calhoun และ Henry Clay, และรวมไปถึงการสนับสนุนจากคนฝ่ายตรงข้าม (Federalist) อย่าง Daniel Webster จึงทำให้เกิดธนาคารกลางแห่งใหม่ขึ้น และเป็นกฎหมายในปี ค.ศ. 1816 และเขาได้แต่งตั้ง William Jones ให้เป็นผู้บริหารธนาคาร
สงครามปี ค.ศ. 1812
War of 1812
ฝ่ายอังกฤษยังคงคุกคามสหรัฐอยู่ ดังกรณีกองเรือแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ได้เข้ายึดเรือสินค้าสัญชาติอเมริกันชื่อ impress และมีการจับเกณฑ์ชาวอังกฤษที่อยู่ในเรือเพื่อไปช่วยทำการรบให้กับราชนาวีอังกฤษ Madison ได้ทำการประท้วง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ โดยการปลุกระดมความคิดเห็นของคนทางตะวันตกและทางตอนใต้ให้ทำสงคราม สิ่งหนึ่งที่ทำคือการบุกเข้าไปในแคนาดา เพื่อเป็นแต้มต่อในการเจรจา
Madison ได้เตรียมการสร้างกระแสสังคมอย่างระมัดระวัง เพราะในขณะนั้นมีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนมีการเรียกสงครามนี้ว่า Mr. Madison’s War หรือสงครามของ Madison แต่กระนั้น การทำสงครามก็มีเวลาเตรียมทัพ และการสร้างกองทัพ สร้างป้อมค่าย และการฝึกทหารพรานที่จะใช้รบได้น้อยมาก และในขณะที่หว่านล้อมรัฐสภาเพื่อประกาศการทำสงคราม Madison ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย โดยชนะ DeWitt Clinton ด้วยคะแนนไม่มากนัก โดยได้คะแนนต่ำกว่าเมื่อการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1808 และด้วยความที่เขาล้มเหลวที่จะหยุดยั้งสงคราม เขาจึงได้รับการออกเสียงให้เป็นประธานาธิบดีที่แย่ที่สุดอันดับที่ 6
ในการทำสงครามกับอังกฤษอย่างที่ไม่มีความพร้อมในปี ค.ศ. 1812 กำลังฝ่ายอังกฤษและแคนาดาและกลุมพันธมิตรได้ชนะการรบในหลายๆครั้ง รวมถึงการยึดเมือง Detroit หลังจากที่นายพลอเมริกันยอมจำนนแก่ฝ่ายศัตรูที่มีจำนวนน้อยนิดโดยไม่มีการสู้รบ และการที่ฝ่ายศัตรูได้เข้ายึดครองกรุงวอร์ชิงตัน ทำให้ Madison ต้องอพยพหนีออกจากเมือง และเฝ้าดูข้าศึกเผาทำเนียบประธานาธิบดี (White House) จนไม่เหลือซาก การเข้ารบของฝ่ายอังกฤษนั้นเพื่อเป็นการตอบโต้ที่อเมริกันได้บุกเมือง York ของแคนาดาตอนเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือเมือง Toronto, ในรัฐ Ontario ซึ่งฝ่ายสหรัฐได้เข้ายึดเมองได้สองครั้ง และเผารัฐสภาของแคนาดาตอนบน อังกฤษได้ติดอาวุธให้กับอินเดียนแดงพื้นเมือง (American Indians) ในทางตะวันตก โดยเป็นพวกภายใต้การนำของ Tecumseh แต่ในที่สุดฝ่ายพวกอินเดียนพื้นเมืองพ่ายแพ้ และฝ่ายอเมริกันรุกไปจนถึงชายแดนแคนาดา ฝ่ายอเมริกันได้ระดมสร้างเรือรบที่ทะเลสาป Great Lakes และทำได้เร็วกว่าฝ่ายอังกษ จึงสามารถรบชนะและป้องกันการเข้ายึดเมืองนิวยอร์คในปี ค.ศ. 1814 ได้ ในทางทะเล ฝ่ายอังกฤษได้ปิดกั้นตลอดแนวฝั่งทั้งหมด ตัดการค้าทั้งกับต่างประเทศ และการค้าภายในประเทศที่ต้องอาศัยการขนส่งทางเรือ ในช่วงนั้นได้สร้างความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจในบริเวณเขตอังกฤษใหม่ (New England) หรือทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เพราะสงคราม จึงทำให้เกิดผู้ประกอบการที่สามารถสร้างโรงงาน และในระยะต่อไปได้กลายเป็นฐานในการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา
ในการรบนี้ Madison ได้ประสบปัญหามากมาย มีทั้งที่การแตกแยกในคณะรัฐมนตรี พรรคที่ไม่มีเอกภาพ รัฐสภาพที่เรรวน ฝ่ายผู้ว่าการรัฐที่คอยขัดขวาง และบรรดานายพลที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบรรดาทหารพรานอาสาสมัคร ที่ปฏิเสธที่จะรบนอกบริเวณของรัฐตน ที่แย่ที่สุดคือการขาดเสียงสนับสนุนจากมหาชน มีการขู่ที่จะถอนตัวออกจากการร่วมเป็นสหรัฐจากรัฐในเขต New England ซึ่งฝืนกฎหมาย โดยการลักลอบค้าขายกับแคนาดาอย่างเป็นการใหญ่ และยังปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ทหาร แต่อย่างไรก็ตาม Andrew Jackson ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ และ William Henry Harrison ในทางตะวันตก ได้นำทัพประสบความสำเร็จในการปราบปรามอินเดียนแดงได้ในปี ค.ศ. 1813
หลังจากที่นโปเลียนต้องพ่ายแพ้ต่อสงครามกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1814 ทั้งอังกฤษและอเมริกันก็ล้วนเหนื่อยยาก จึงทำให้ลืมเรื่องบาดหมางในสงคราม ประเด็นการคุกคามโดยอินเดียนพื้นเมืองก็หมดไป และกลายเป็นเวลาแห่งสันติภาพ ได้มีสัญญาสันติภาพ Treaty of Ghent ในปี ค.ศ. 1815 ทำให้ไม่มีการรุกล้ำข้ามแดนกัน และทำให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาพต้องนิ่งเฉย (status quo ante bellum) กลับไปสู่ที่ตั้งเดิมการรบ ในสงคราม Battle of New Orleans ซึ่งทัพนำโดย Andrew Jackson ได้รบชนะอังกฤษ ได้มีการรบกันในระยะที่ได้มีการลงนามสัญญาสันติภาพไปแล้ว 15 วัน เพราะไม่สามารถรับรู้ข่าวสารได้
เมื่อเกิดสันติภาพ ได้เกิดความรู้สึกใหม่ในอเมริกา มีความรู้สึกประสบความสำเร็จ มีความเป็นอิสระอย่างเต็มตัวจากอังกฤษ ในแคนาดา สงครามได้ทำให้สรุปให้เห็นความสามารถในการปกป้องตนเอง และได้ทำให้กลายเป็นชาติใหม่ขึ้นมาในระยะต่อมา ในระยะเวลาดังกล่าว ฝ่าย Federalist Party ได้ล่มสลายลงจากวงการเมือง เกิดเป็นยุคใหม่ที่มีความรู้สึกที่ดี (Era of Good Feeling) ความหวาดระแวงทางการเมืองลดลง การด่าทอทางการเมืองค่อยๆหายไป
เมื่อสงครามสงบ
Postwar
เมื่อสงครามสงบลง แนวทางของ Madison คือการเห็นความจำเป็นของการธนาคารกลางตามความคิดของ Hamilton คู่ปรับทางการเมืองของเขา เขาเห็นด้วยในเรื่องของการมีระบบภาษี การมีกองทัพบกแบบวิชาชีพ มีกองทัพเรือที่แข็งแรง เขาวางแนวการพัฒนาในการปรับปรุงตามที่ได้เสนอโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Albert Gallatin และเมื่อมีการเสนอจากทางฝ่ายแต่ละรัฐที่จะจัดทำระบบถนน สะพาน และคลอง ที่อาจมีผล และใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐ เขาจะเห็นความสำคัญของรัฐบาลกลางที่จะเป็นฝ่ายเข้าไปจัดทำ
Madison ได้โต้เถียงในหลายประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของรัฐ และรัฐบาลกลาง โดยเขาเห็นว่าในหลายๆเรื่อง ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง (Federal Support) ที่จะทำถนน ขุดคลอง ที่จะเชื่อมหลายๆส่วนเข้าด้วยกัน และทำให้ความเป็นสหพันธ์ (Confederacy) ได้แผ่ขยายขึ้น
คณะรัฐมนตรีของเขา
Administration and Cabinet
คณะรัฐมนตรีในยุคของ Madison หรือที่เรียกว่า Cabinet มีรายชื่อ และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
The Madison Cabinet
Office
Name
Term
ประธานาธิบดีPresident
James Madison
1809 – 1817
รองประธานาธิบดีVice President
George Clinton
1809 – 1812
Elbridge Gerry
1813 – 1814
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศSecretary of State
Robert Smith
1809 – 1811
James Monroe
1811 – 1814
1815 – 1817
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังSecretary of Treasury
Albert Gallatin
1809 – 1814
George W. Campbell
1814
Alexander J. Dallas
1814 – 1816
William H. Crawford
1816 – 1817
รัฐมนตรีว่การกระทรวงสงครามSecretary of War
William Eustis
1809 – 1813
John Armstrong, Jr.
1813 – 1814
James Monroe
1814 – 1815
William H. Crawford
1815 – 1816
รัฐมนตรีว่การกระทรวงยุติธรรมAttorney General
Caesar A. Rodney
1809 – 1811
William Pinkney
1811 – 1814
Richard Rush
1814 – 1817
รัฐมนตรีว่าการกะรทวงทหารเรือSecretary of the Navy
Paul Hamilton
1809 – 1813
William Jones
1813 – 1814
Benjamin W. Crowninshield
1814 – 1817
ในคณะบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลของ Madison นั้น มีหลายคนที่มีบทบาทและมีความน่าสนใจศึกษา
James Monroe เกิดในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1758 และถึงแก่กรรมในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 นับอายุรวมได้ 73 ปี ในรัฐบาลของ Madison เขาได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีใน 2 กระทรวง คือ กระทรวงการต่างประเทศ 2 สมัย และในช่วงสั้นๆ คือปี ค.ศ. 1814-1815 ได้ว่าการกระทรวงสงคราม ในยุคต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นคนที่ 5 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ในช่วงปี ค.ศ. 1817-1825
ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี เขาได้ประกาศในปี ค.ศ. 1823 ว่าสหรัฐปฏิเสธการเข้ายุ่งเกี่ยวของยุโรป อันหมายรวมถึงทั้งฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส และขณะเดียวกันก็ยกเลิกสัญญาพันธมิตรกับฝรั่งเศสอันเป็นผลมาจากสงครามกับอังกฤษในช่วงปี ค.ศ. 1812 ช่วงการบริหารของ Monroe นับเป็นช่วงที่มีสันติภาพ ไม่มีการรบและความขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ มีการขยายดินแดน โดยมีการผนวกรัฐ Florida ในปี ค.ศ. 1819, รัฐ Missouri ในปี ค.ศ. 1820
Abraham Alfonse Albert Gallatin เกิดเมื่อวันท่ 29 มกราคม ค.ศ. 1761 และมีชีวิตจนกระทั่ง 12 สิงหาคม ค.ศ. 1849 เขาเป็นชาวอเมริกนเชื้อสายสวิส เกิดในสวิสเซอร์แลนด์ในครอบครัวผู้มีฐานะ และมีอิทธิพลทางการเมือง เขาเป็นปัญญาชนที่สนใจกว้างขวาง เป็นนักมานุษยวิทยา นักภาษาศาสตร์ สนใจในภาษาและวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง เป็นนักการเมือง นักการฑูต วุฒิสมาชิก และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ตั้งแต่สมัยของ Jefferson ต่อจนสมัยของ Madison และในระยะต่อมาเป็นผู่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอกชน คือ New York University.
ในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยุคของ Thomas Jefferson เมื่อมีการเจรจาจัดซื้อรัฐลุยเซียน่าจากฝรั่งเศส (Louisiana Purchase) เขาวางแผนการเงินที่จะจ่ายให้กับฝรั่งเศส โดยไม่ต้องเพิ่มภาษี
ในสมัยของ Madison เมื่อต้องทำสงครามในปี ค.ศ. 1812 รัฐบาลไม่ได้มีแผนในการเตรียมตัวเข้าสู่สงคราม และประเทศก็ต้องเตรียมตัวใช้หนี้ให้กับชาติในยุโรป 7 ล้านเหรียญ และเมื่อทำสงคราม สหรัฐต้องถูกห้ามการค้านอกประเทศ และเมื่อต้องทำสงครามจึงมีค่าใช้จ่ายในปี ค.ศ. 1813 อีก 39 ล้านเหรียญ แต่มีเงินที่จัดเก็บได้เพียง 15 ล้านเหรียญ ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่รัฐสภา และทำให้เขาที่ต่อต้านแนวคิดแบบ Federalists ที่จะจัดเก็บภาษีสร้างความแข็งแกร่งให้รัฐบาลกลาง ก็ต้องเปลี่ยนไป ต้องไปออกกฏหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มจากเหล่าและเกลือ การเก็บภาษีที่ดิน และภาษีจากการซื้อขายทาส ซึ่งทำให้สามารถได้เงินมา 69 ล้านเหรียญ เพื่อจ่ายเงินค่าทำสงครามที่ทำให้มีภาระรวม 87 ล้านเหรียญ
การแต่งตั้งประธานศาลสูง
Supreme Court appointments
Madison appointed the following Justices to the Supreme Court of the United States:
Gabriel Duvall – 1811
Joseph Story – 1812
การรับเข้าเป็นรัฐใหม่ States admitted to the Union
Louisiana – April 30, 1812
Indiana – December 11, 1816
สิ่งที่ฝากเอาไว้
Legacy
Madison มีทั้งส่วนที่ดี เป็นที่ชื่นชอบ ดังเช่นความสามารถทางกฏหมาย และกฎหมายรัฐธรรมนูญของเขา
จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐ” ความเป็นคนฉลาด มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ในต่างประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งของเขา คือการที่เขาเป็นคนที่นำประเทศเข้าสู่สงคราม ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อม ในขณะที่ประธานาธิบดีคนแรก อย่าง George Washington เมื่อได้รับกับอังกฤษ จนสงครามสงบ ก็ได้หลีกเลี่ยงที่จะต้องนำประเทศเข้าสู่สภาวะสงครามอีก ประธานาธิบดีคนที่สอง คือ John Adams แม้จะไม่เป็นที่ชื่นชอบของสภา และบุคคลรอบข้าง ด้วยความที่เป็นคนโผงผาง เจ้าอารมณ์ แต่ในด้านสงครามแล้ว เขาได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่นำประเทศเข้าสู่สงครามอีก ประธานาธิบดีคนที่สาม คือ Thomas Jefferson แม้จะมีความเอนเอียงไปทางฝรั่งเศส แต่ในช่วงตลอดมา เขาก็ยังไม่ได้เข้าไปใกล้จุดที่จะประกาศสงครามกับอังกฤษ
แต่ Madison ได้ตัดสินใจเข้าสู่สงครามกับอังกฤษ โดยทีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย และทำให้เขาไม่เป็นที่ชื่นชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามสงบลง ประเทศก็ได้กลับสู่ยุค “ความรู้สึกทีดีอีกครั้ง” เป็นความรู้สึกปลอดโปร่งจากสงครามและความขัดแย้ง
สิ่งที่มีการฝากชื่อของเขาไว้ด้วยความระลึกถึง (Legacy) ก็มีมาก เช่น เมืองหลายๆเมือง สถานศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ตั้งชื่อให้เกียรติแก่เขา รวมถึงชื่อแม่น้ำ ทีในยุคเขาได้ส่งเสริมให้มีการสำรวจไปทางตะวันตก
Madison County, ในรัฐ Ohio;[34] Madison Countyในรัฐ Iowa; Madison, ในรัฐ Indiana; Madison, ในรัฐ Wisconsin; Madison, ในรัฐ Georgia;
คณะวิชา James Madison College เพื่อการศึกษานโยบายภาครัฐ ที่ Michigan State University; James Madison University ในเมือง Harrisonburg,รัฐ Virginia;
แม่น้ำชื่อ Madison River ความยาว 183 ไมล้ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐ Montana (ตั้งชื่อเมื่อปี ค.ศ. 1805 โดยนักสำรวจ Lewis & Clark),
มีเขตการปกครองที่นำชื่อของเขาไปตั้งไว้เป็นเกียรติ ได้แก่ Madison County ในรัฐ Illinois.[35]
เรือรบหลายลำในกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Navy ships) ได้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ James Madison.
ภาพของ Madison ปรากฎอยู่ใธนบัตรใบละ. $5000 bill.[36]
The James Madison Institute ได้รับชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในฐานะผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์ในการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศ
ศึกษาเพิ่มเติม ( See also)
List of U.S. Presidential religious affiliations
James Madison University, named Madison College after him in 1936
James Madison Dukes, the athletic teams representing the above school
James Madison College, a residential honors college of Michigan State University
Notes of Debates in the Federal Convention of 1787
Report of 1800, produced by Madison to support the Virginia Resolutions
[edit] Notes
- ^ http://bioguide.congress.gov/scripts/biodisplay.pl?index=M000043 http://teachingamericanhistory.org/convention/delegates/madison.html http://etcweb.princeton.edu/CampusWWW/Companion/madison_james.html http://www.adherents.com/people/pm/James_Madison.html http://www.dkrause.com/americana/presidents/madison-james/
- ^ "The Founding Fathers: A Brief Overview". The U.S. National Archives and Records Administration. Retrieved on 2008-02-12.
- ^ Wood, 2006b.
- ^ Robert Alan Dahl, "Madisonian Democracy," in Dahl, et al., eds. The Democracy Sourcebook (MIT Press, 2003), pp. 207–216.
- ^ Banning, 1995; Kernell, 2003; Riemer, 1954.
- ^ James Madison to Thomas Jefferson, March 2, 1794.) "I see by a paper of last evening that even in New York a meeting of the people has taken place, at the instance of the Republican Party, and that a committee is appointed for the like purpose."*Thomas Jefferson to President Washington, May 23, 1792 "The republican party, who wish to preserve the government in its present form, are fewer in number. They are fewer even when joined by the two, three, or half dozen anti-federalists,..."*Thomas Jefferson to John Melish, January 13, 1813. "The party called republican is steadily for the support of the present constitution"
- ^ . According to the Library of Congress, [1]
- ^ Shepard, Timothy (2007). "PresidentialHeights - Every US president by height".
- ^ Adair, Douglass G. (2000), The Intellectual Origins of Jeffersonian Democracy, Lexington Books, pp. 25, ISBN 0739101250, <http://books.google.com/books?id=XYCQ7NrjK1kC&pg=PA25&lpg=PA25&dq=%22america's+first+graduate+student%22&source=web&ots=5U4wbI27rU&sig=S9ZrJFV01xNfnIXrQSFAbz5BVII>. Retrieved on 21 December 2007
- ^ Dennis F. Thompson, "The Education of a Founding Father: The Reading List for John Witherspoon's Course in Political Theory, as Taken by James Madison," Political Theory 4(1976), 523–29; Alexander Leitch: Princeton Companion, "Graduate School". Even Leitch distinguishes that Madison was doing the first non-theological post-graduate work.
- ^ Wood, 2006, pp. 163–64.
- ^ Selected summaries of The Federalist Papers
- ^ Larry D. Kramer, "Madison's Audience," Harvard Law Review 112,3 (1999), pp. 611+ online version.
- ^ Lance Banning, "James Madison: Federalist," note 1, [2].
- ^ Letter of July 20, 1788.
- ^ Matthews, 1995, p. 130.
- ^ Wood, 2006b.
- ^ Matthews, 1995, p. 142.
- ^ http://frwebgate.access.gpo.gov/cgi-bin/getdoc.cgi?dbname=105_cong_documents&docid=f:sd011.105
- ^ Wood, 2006b.
- ^ Wood, 2006a, p. 165.
- ^ Paul A. Varg, Foreign Policies of the Founding Fathers (Michigan State Univ. Press, 1963), p. 74.
- ^ As early as May 26, 1792, Hamilton complained, "Mr. Madison cooperating with Mr. Jefferson is at the head of a faction decidedly hostile to me and my administration." Hamilton, Writings (Library of America, 2001), p. 738. On May 5, 1792, Madison told Washington, "with respect to the spirit of party that was taking place ...I was sensible of its existence". Madison Letters 1 (1865), p. 554.
- ^ "definition of Madison, James". Free Online Encyclopedia. Retrieved on 2008-02-03.
- ^ "U.S. historians pick top 10 presidential errors". Associated Press article in CTV (February 18, 2006). Retrieved on 2008-02-03.
- ^ Stagg, 1983.
- ^ Tax Foundation
- ^ Garry Wills, James Madison (Times Books, 2002), p. 163.
- ^ Ibid., p. 162.
- ^ Drew R. McCoy, The Last of the Fathers: James Madison and the Republican Legacy (Cambridge Univ. Press, 1989), p.151.
- ^ Ibid., p. 252.
- ^ He was tempted to admit chaplains for the navy, which might well have no other opportunity for worship.The text of the memoranda
- ^ Wills, James Madison (Times Books, 2002), p. 164.
- ^ "Madison County of Ohio – Community Information". Madison County Chamber of Commerce. Retrieved on 2008-02-03.
- ^ Allan H. Keith, Historical Stories: About Greenville and Bond County, IL. Consulted on August 15, 2007.
- ^ "Five Thousand Green Seal". The United States Treasury Bureau of Engraving and Printing. Retrieved on 2007-06-26.
[edit] Secondary sources
[edit] Biographies
Brant, Irving. "James Madison and His Times," American Historical Review. 57,4(July, 1952), 853–870.
Brant, Irving. James Madison, 6 vols., (Bobbs-Merrill, 1941–1961). most detailed scholarly biography.
Brant, Irving. The Fourth President; a Life of James Madison (Bobbs-Merrill, 1970). one-volume condensation of his series.
Ketcham, Ralph. James Madison: A Biography (Macmillan, 1971). standard scholarly biography.
Rakove, Jack. James Madison and the Creation of the American Republic, 2nd ed., (Longman, 2002).
Riemer, Neal. James Madison (Washington Square Press, 1968).
Wills, Garry. James Madison (Times Books, 2002). short bio.
[edit] Analytic studies
Adams, Henry. History of the United States during the [First and Second] Administrations of James Madison (C. Scribners's Sons, 1890–91; Library of America, 1986).
Wills, Garry. Henry Adams and the Making of America (Houghton Mifflin, 2005). a close reading.
Banning, Lance. The Sacred Fire of Liberty: James Madison and the Founding of the Federal Republic (Cornell Univ. Press, 1995). online ACLS History e-Book. Available only to subscribing institutions.
Brant, Irving. James Madison and American Nationalism. (Van Nostrand Co., 1968).
Elkins, Stanley M.; McKitrick, Eric. The Age of Federalism (Oxford Univ. Press, 1995). most detailed analysis of the politics of the 1790s.
Kernell, Samuel, ed. James Madison: the Theory and Practice of Republican Government (Stanford Univ. Press, 2003).
Matthews, Richard K., If Men Were Angels : James Madison and the Heartless Empire of Reason (Univ. Press of Kansas, 1995).
McCoy, Drew R. The Elusive Republic: Political Economy in Jeffersonian America (W.W. Norton, 1980). mostly economic issues.
McCoy, The Last of the Fathers: James Madison and the Republican Legacy (Cambridge Univ. Press, 1989). JM after 1816.
Muñoz, Vincent Phillip. "James Madison's Principle of Religious Liberty," American Political Science Review 97,1(2003), 17–32. SSRN 512922 in JSTOR.
Riemer, Neal. "The Republicanism of James Madison," Political Science Quarterly, 69,1(1954), 45–64 in JSTOR.
Riemer, James Madison : Creating the American Constitution (Congressional Quarterly, 1986).
Rutland, Robert A. The Presidency of James Madison (Univ. Press of Kansas, 1990). scholarly overview of his two terms.
Rutland, ed. James Madison and the American Nation, 1751–1836: An Encyclopedia (Simon & Schuster, 1994).
Sheehan, Colleen A. "The Politics of Public Opinion: James Madison's 'Notes on Government'," William and Mary Quarterly 3rd ser. 49,3(1992), 609–627. in JSTOR.
Sheehan, "Madison and the French Enlightenment," William and Mary Quarterly 3rd ser. 59,4(Oct. 2002), 925–956. in JSTOR.
Sheehan, "Madison v. Hamilton: The Battle Over Republicanism and the Role of Public Opinion," American Political Science Review 98,3(2004), 405–424. in JSTOR.
Sheehan, "Madison Avenues," Claremont Review of Books (Spring 2004), online.
Sheehan, "Public Opinion and the Formation of Civic Character in Madison's Republican Theory," Review of Politics 67,1(Winter 2005), 37–48.
Stagg, John C.A., "James Madison and the 'Malcontents': The Political Origins of the War of 1812," William and Mary Quarterly 3rd ser. 33,4(Oct. 1976), 557–585.
Stagg, "James Madison and the Coercion of Great Britain: Canada, the West Indies, and the War of 1812," in William and Mary Quarterly 3rd ser. 38,1(Jan., 1981), 3–34.
Stagg, Mr. Madison's War: Politics, Diplomacy, and Warfare in the Early American republic, 1783–1830 (Princeton, 1983).
Wood, Gordon S., "Is There a 'James Madison Problem'?" in Wood, Revolutionary Characters: What Made the Founders Different (Penguin Press, 2006a), 141–72.
Wood, "Without Him, No Bill of Rights : James Madison and the Struggle for the Bill of Rights by Richard Labunski", The New York Review of Books (November 30 2006b).
[edit] Primary sources
Rakove, Jack N., ed. James Madison, Writings (Library of America, 1999) ISBN 978-1-88301166-6. Over 900 pages of letters, speeches and reports.
James Madison, Notes of Debates in the Federal Convention of 1787 Reported by James Madison (W.W. Norton, 1987); [pb: ISBN 0393304051] ([3]
James Madison, Letters & Other Writings Of James Madison Fourth President Of The United States, 4 vols., (J.B. Lippincott & Co., 1865); called the Congress edition. online edition
William T. Hutchinson et al., eds., The Papers of James Madison (Univ. of Chicago Press, 1962–). the definitive multivolume edition. 29 volumes have been published, with 16+ more volumes planned.
Gaillard Hunt, ed. The Writings of James Madison, 9 vols., (G. P. Putnam’s Sons, 1900–1910). online edition
Marvin Myers, ed. Mind of the Founder: Sources of the Political Thought of James Madison (Univ. Press of New England, 1981;1973) [ISBN 0-87451-201-8].
James M. Smith, ed. The Republic of Letters: The Correspondence Between Thomas Jefferson and James Madison, 1776–1826. 3 vols., (W.W. Norton, 1995).
Jacob E. Cooke, ed. The Federalist (Wesleyan Univ. Press, 1961).
ประกอบ คุปรัตน์แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
Springboard For Asia Foundation (SB4AF)
E-mail: pracob@sb4af.org
Keywords: cw105 ประวัติศาสตร์ สหรัฐอเมริกา อัตตชีวประวัติ
Updated: Sunday, July 13, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia
ความนำ
หาก Thomas Jefferson ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของระบอบประชาธิปไตยในแบบฉบับของอเมริกัน (American Democracy) และมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพของอเมริกันต่อประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 James Madison คือบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดา หรือผู้สร้างสรรค์รัฐธรรมนูญ ต้นฉบับประชาธิไตยของสหรัฐ ที่อยู่ยั้งยืนยง ไม่เคยได้ถูกฉีกทิ้งเหมือนกับที่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย มีเพียงการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์สอดคล้องกับการเวลา แม้คนให้ความยกย่องเขาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ทำงานใกล้ชิดกับ Thomas Jefferson แต่เขามักจะกล่าวถ่อมตัวเสมอว่าเขาเป็นเพียงคนหนึ่งในหลายๆคนที่มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยของสหรัฐนั้น แท้จริงเป็นสปิริตของคนหลายกลุ่มเหล่า และที่สำคัญคือเป็นความต้องการของประชาชนอเมริกันที่ต้องการให้มันเป็นไปเช่นนั้น
James Madison, Jr. เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1751 และเสียชีวิตวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1836 เป็นนักการเมืองอเมริกัน เป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1809-1817) และเป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ (Founding Fathers) ของสหรัฐอเมริกา Madison เป็นกลุ่มบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนที่เสียชีวิตล่าสุด เมื่อมีการร่างและประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 เขามีอายุได้เพียง 25 ปี
ได้รับการนับถือเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญ (Father of the Constitution) เขาเป็นผู้เขียนหลักของเอกสาร ในปี ค.ศ. 1788 เขาเขียนเอกสารที่เป็นงานพื้นฐานของการมีระบบรัฐบาลกลาง ที่เรียกว่า the Federalist Papers ซึ่งเป็นเอกสารอ้างอิงที่สำคัญของรัฐธรรมนูญ และในฐานะเป็นผู้หนึ่งในการประชุมสภาครั้งแรก (first Congress) เขาได้เขียนกฎหมายหลักที่กล่าวกันว่าการแก้ไขที่สำคัญ 10 ครั้ง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานการประกาศสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งรัฐเวอร์จิเนีย และจึงได้รับการขนานนามให้เป็น “บิดาแห่งนิติบัญญัติสิทธิประชาชน” (Bill of Rights) ในฐานะเป็นนักทฤษฎีการเมือง เขามีความเชื่อที่โดดเด่นเกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐใหม่ที่ต้องมีระบบตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and balance) จำกัดอำนาจของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ซึ่ง Madison เรียกว่า Factions เขาเชื่อว่าชาติที่เกิดใหม่นี้จะต้องต่อสู้กับระบบขุนนางและการคอรัปชั่น และมุ่งมั่นที่จะสร้างกลไกที่จะให้มั่นใจได้ว่า “ระบบสาธารณรัฐใหม่แห่งสหรัฐอเมริกา” (republicanism in the United State)
ชีวิตส่วนตัว
Madison เกิดที่ Port Conway, ในรัฐ Virginia เขาเป็นบุตรคนโตของครอบครัวที่มีบุตร 12 คน มี 7 คนที่ได้เป็นผู้ใหญ่แล้ว พ่อแม่ของเขา คือ นายพันเอก James Madison, Sr. (เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1723 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801) และแม่คือ นาง Eleanor Rose "Nellie" Conway (เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1731 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คศ. 1829) เป็นครอบครัวที่เป็นเจ้าของไร่ยาสูบที่ร่ำรวยในเขต Orange County ในรัฐ Virginia ซึ่งเป็นที่ซึ่ง Madison ได้ใช้ชีวิตในเยาว์วัยของเขา Madison ได้รับการเลี้ยงดูในศาสนานิกาย Church of England ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐ ( state religion) ในช่วงเวลานั้น
ไร่ของเขาได้อาศัยการดูแลของปู่ คือ Ambrose Madison ที่ใช้ระบบสิทธิในการมีทาส (headright system) ที่สามารถนำเข้าทาสเข้ามาใช้งานได้ตามสัญญา ซึ่งทำให้เขาสามารถมีแผ่นดินเพื่อการเพาะปลูกขนาดใหญ่ได้ Madison เองก็เช่นเดียวกับบรรพบุรุษของเขา คือเป็นเจ้าของทาส
Madison ตามประวัติ เป็นคนมีรูปร่างเล็ก จัดเป็นประธานาธิบดีที่มีรูปร่างเล็กที่สุด คือสูงเพียง 5 ฟุต 4 นิ้ว และมีน้ำหนักน้อยที่สุดในคนที่เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ คือหนักเพียง 100 ปอนด์ แต่เพื่อให้เข้าใจ คนอเมริกันในขณะนั้นมีขนาดเล็กกว่าที่เห็นในปัจจุบันมากนัก ความสูงของเขา จึงเป็นประมาณรายเฉลี่ยของคนในสมัยนั้น
Madison ได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยแห่งนิวเจอร์ซี (The College of New Jersey) ซึ่งในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยที่ชื่อ Princeton University เขามีเพื่อนร่วมห้องพัก เป็นนักประพันธ์กลอนและนักถากถางสังคมที่ชื่อ Phillip Freneau เขาเรียนจบหลักสูตร 4 ปีในเวลาเพียง 2 ปี คือในช่วงปี ค.ศ. 1769-1771 และยังคงศึกษาต่อกับอาจารย์ชื่อ John Witherspoon ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น เขาจึงจัดเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคนแรกของอเมริกา หรืออาจจะเรียกให้ถูก คือเป็น “นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคนแรกของมหาวิทยาลัย Princeton”
การทำงานในรัฐสภา
ในฐานะผู้นำของสภาล่าง (House of Representatives) เขาทำงานใกล้ชิดกับประธานาธิบดี George Washington เพื่อให้เกิดรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง แต่เขาแตกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Alexander Hamilton ในปี ค.ศ. 1791 โดยเขาได้ร่วมกับ Jefferson เพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ Republican Party (ซึ่งต่อมาเรียกว่า “พรรคเพื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republican Party) ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจาก “พรรคเพื่อรัฐบาลกลาง” (Federalists) ในประเด็นการก่อตั้งธนาคารแห่งชาติ และสนธิสัญญากับอังกฤษที่ชื่อ Jay Treaty เขาได้ร่วมเขียนอย่างลับๆกับ Thomas Jefferson ในข้อตกลงแห่งแห่งรัฐเคนตักกี้และเวอร์จิเนีย (Kentucky and Virginia Resolutions) ในปี ค.ศ. 1798 เพื่อต่อต้านนิติบัญญัติ เพื่อควบคุมคนต่างด้าว ชื่อ Alien and Sedition Acts อ้นเป็นการจำกัดสิทธิคนที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาใหม่ อันเป็นการผลักดันจากกลุ่ม Federalists ที่มีอำนาจ
เมื่อมีส่วนบริหารประเทศ
ในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี ค.ศ. 1801-1809) เขาได้ให้คำปรึกษาในการซื้อรัฐลุยเซียน่า (Alien and Sedition Acts) จากฝรั่งเศส ซึ่งทำให้พื้นที่ของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เขาสนับสนุนกฏหมายห้ามเรือสินค้าจากอังกฤษเข้าท่าที่อเมริกา (Embargo Act of 1807) ซึ่งไม่เป็นผล เพราะทำให้ผู้ค้าขายชาวสหรัฐเองได้รับผลกระทบ เขาได้นำประเทศเข้าสู่สงครามกับอังกฤษ ที่เรียกว่าสงครามปี ค.ศ. 1812 เพื่อปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งจบลงในปี ค.ศ. 1805 ด้วยสนธิสัญญาใหม่ ชื่อ Treaty of Ghent ซึ่งในขณะนั้นความรู้สึกรักชาติกำลังพุ่งแรง ในระหว่างสงคราม Madison ได้เปลี่ยนจุดยืนของเขาหลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1815 เขาได้สนับสนุนการก่อตั้งธนาคารแห่งชาติแห่งที่สอง (second National Bank) การมีกำลังทัพที่เข้มแข็ง และการจัดเก็บภาษีที่สูง เพื่อปกป้องโรงงานใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงสงคราม ซึ่งนโยบายเหล่านั้นความจริงคือจุดยืนของฝ่าย Federalists ซึ่งได้หมดอำนาจไปแล้ว
บิดาแห่งรัฐธรรมนูญ
Father of the Constitution
เมื่อเขากลับสู่ระบบนิติบัญญัติของรัฐเวอร์จิเนีย Madison ดีใจที่ได้มีสันติภาพอีกครั้ง แต่เขาก็พบว่าสภาพของความเป็นรัฐบาลกลางยังอ่อนไหวอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันทำให้รัฐบาลของแต่ละรัฐมีความแตกแยก เขาเห็นด้วยที่จะให้มีรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อลดความแบ่งแยกนี้ ในการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ (Constitutional Convention) ของสหรัฐอเมริกาที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ในปี ค.ศ. 1787 Madison ดิ้เขียนแผนเวอร์จิเนีย (Virginia Plan) และแนวคิดระบบรัฐบาลกลางที่มีอำนาจสามฝ่ายอันเป็นฐานของรัฐธรรมนูญสหรัฐจนในปัจจุบัน แม้ Madison จะเป็นคนขี้อาย แต่เขาจะเป็นคนที่พูดอย่างเปิดเผยมีน้ำหนักในที่ประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) ณ ที่นั้น เขาเห็นบทบาทของรัฐบาลกลางที่ต้องเข้มแข็ง สามารถอยู่เหนือรัฐแต่ละรัฐ เมื่อรัฐแต่ละรัฐนั้นกระทำผิดพลาด เขาเป็นคนให้ความยกย่องต่อศาลสูง (Supreme Court) เมื่อฝ่ายศาลนั้นได้เริ่มทำหน้าที่
ฐานคิดเกี่ยวกับรัฐบาลกลาง
The Federalist Papers
เพื่อช่วยให้มีการปรับปรุงระบบบริหารรัฐบาลกลางในปี ค.ศ. 1787 และ 1788 Madison ได้ร่วมกับ
Alexander Hamilton และ John Jay เพื่อเขียนบทบัญญัติในการบริหารรัฐบาลกลางที่เรียกว่า The Federalist Papers ในงานเขียนของเขาในบทที่ 10 ที่ได้เขียนเกี่ยวกับประเทศที่มีขนาดใหญ่ และมีกลุ่มผลประโยชน์มากมายและมีความขัดแย้งนั้น จะสามารถสนับสนุนความเป็นระบบสาธารณรัฐได้ดีกว่าประเทศขนาดเล็กที่มีกลุ่มผลประโยชน์น้อยกว่า การตีความของเขาในขณะนั้นไม่ได้รับการใส่ใจมากนัก แต่ในศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น แนวคิดของเขาจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของฝ่ายยอมรับในความแตกต่างและหลากหลายของการเมืองอเมริกัน (pluralist)
ในรัฐเวอร์จิเนียในปี ค.ศ. 1788 หลังสงครามประกาศอิสรภาพ (Revolutionary War) Madison ได้ต่อสู้เพื่อการปรับปรุงรัฐธรรมนูญในการประชุมของรัฐ (State’s Convention) การปะทะคารมกับ Patrick Henry และกับคนอื่นๆ จึงทำให้เกิดการปรับปรุงส่วน United States Bill of Rights ก่อนที่จะมีการนำไปสู่การลงมติ ด้วยเหตุดังกล่าว Madison จึงได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐ ด้วยบทบาทของเขาในการร่างและการผลักดันให้ได้รับการยอมรับ แต่เขาเองมักจะกล่าวอย่างถ่อมตัวว่า “มันเป็นเครดิตที่ผมไม่สามารถอ้างได้ …. เพราะรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เหมือนเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาด หรือเป็นลูกหลานอันมาจากสมองเดียว มันควรจะถือว่าเป็นงานของหลายๆหัว และหลายๆมือ”
ผู้เขียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
Author of Bill of Rights
Patrick Henry ได้ชักจูงให้สภาแห่งรัฐเวอร์จิเนียไม่เลือก Madison เขาไปเป็นหนึ่งในสมาชิกวุฒิสภา (Senators) แต่ให้ Madison ได้รับเลือกให้เข้าไปในสภาผู้แทนราษฏร (United States House of Representatives) และมันกลับทำให้เขาได้กลายเป็นหัวหน้าคนสำคัญในการประชุมสภาครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1789 ตรายจนกระทั่งครั้งที่สี ในปี ค.ศ. 1797
ในระยะเริ่มแรก Madison ได้ให้ความเห็นว่า Bill of Rights เป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะรัฐธรรมนูญด้วยตัวของมันเองนั้นเป็น Bill of Rights ไปแล้วในตัว เขาปฏิเสธที่จะให้มีบทว่าด้วยสิทธิ เพราะว่า (1) มันไม่จำเป็น เพราะมันมีความหมายที่จะปกป้องต่ออำนาจของรัฐบาลกลาง ซึ่งจริงๆ ก็ยังไม่ได้มีการให้เอาไว้ (2) มันเป็นอันตราย เพราะการให้มีสิทธิของส่วนหนึ่งนั้น ไปบดบังสิทธิของส่วนอื่นๆ และ (3) ในระดับรัฐ หรือ State นั้น เรื่องที่ว่าด้วยสิทธินั้นไม่มีประโยชน์เพราะไปเป็นอุปสรรคต่ออำนาจของรัฐบาล
แต่กลุ่มต่อต้านการให้อำนาจแก่รัฐบาลกลางต้องการให้แลกเปลี่ยน Bill of Rights กับการที่จะได้รับการสนับสนุน ในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีข้อเสนอมาจากทั่วประเทศกว่า 200 เรื่อง Madison ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อข้อเสนอเหล่านี้ ด้วยเกรงจะไปกระทบต่อโครงสร้างของรัฐบาล และขาได้รวบรวมและสังเคราะห์ข้อเสนอเหล่านี้เป็นรายชื่อของเสนอ เพื่อเป็นเรื่องการปกป้องสิทธิประชาชน (Civil Rights) เช่น เรื่องการมีสิทธิในการพูด การแสดงออก สิทธิของคนที่จะมีและพกพาอาวุธปืน สิทธิที่ประชาชนจะไม่ถูกจับกุมคุมขังโดยรัฐ และสูญเสียอิสรภาพโดยปราศจากเหตุผล
Habeas corpus (IPA: /ˈheɪbiəs ˈkɔɹpəs/) (Latin: [We command] that you have the body)[1] is the name of a legal action, or writ, through which a person can seek relief from unlawful detention of himself or another person. The writ of habeas corpus has historically been an important instrument for the safeguarding of individual freedom against arbitrary state action.
ในปี ค.ศ. 1791 ข้อเสนอปรับปรุงรัฐธรรมนูญ 1 ใน 10 ที่ Madison ได้นำเสนอและปรับปรุงแก้ไข คือ Bill of Rights ซึ่งเป็นความแตกต่างจากความประสงค์ของเขา และ Bill of Rights จะยังไม่ได้จัดเป็นส่วนสำคัญในรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งในการปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 14 และ 15 และในการปรับปรุงระยะหลังดังในปี ค.ศ. 1992 อ้นเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ครั้งที่ 27 เป็นการแก้ไขในส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายตรงกันข้ามกับ Hamilton Opposition to Hamilton
แนวทางของ Madison ในช่วงของการมีบทบาทในสภา งานของเขาคือการจำกัดอำนาจของรัฐบาลกลาง (Federal Government) Wood (2006a) โต้แย้งว่า Madison ไม่เคยต้องการให้รัฐบาลแห่งชาติมีบทบาทที่มากเกินไป เขาตกใจมากเมื่อพบว่า Hamilton และ Washington กำลังจะสร้างรัฐบาลในแบบยุโรปที่มีระบบราชการที่ใหญ่โต มีกองทัพ และฝ่ายบริหารมีอำนาจอิสระอย่างสูง
เมื่อประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าสู้รบกันในสงครามปี ค.ศ. 1793 สหรัฐตกอยู่ในฐานะลำบาก ด้วยสนธิสัญญากับฝรั่งเศสที่จะเป็นพันธมิตรต่อกันยังมีผลอยู่ แต่ขณะเดียวกัน การค้าขายของประเทศใหม่อย่างสหรัฐอเมริกานั้นผูกพันอยู่กับอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1794 การต้องรบกับประเทศอังกฤษจึงแทบหลีกเลี่ยงไม่ได้ อังกฤษได้เข้ายึดเรือนับเป็นร้อยๆล่ำที่ค้าขายกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในทางตอนใต้ Jefferson และ Madison ซึ่งเป็นพันธมิตรกัน เห็นว่าอังกฤษกำลังอ่อนแอ แม้จะมีการคุกคามจากอังกฤษ แต่การสู้กับอังกฤษ จะทำให้สหรัฐได้ผลักดันความเป็นอิสระของประเทศใหม่ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะทั้งสองเห็นว่า อังกฤษได้ผูกมัดการค้าขายของอเมริกา และทำให้การต่อสู้เพื่ออิสรภาพเกือบไร้ผล Jefferson มีความเชื่อว่า หากต้องรบกับอังกฤษ ผลประโยชน์ของอังกฤษก็จะต้องถูกตัดขาด ชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในแถบ West Indies ไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากขาดอาหารจากทางสหรัฐอเมริกา แต่ชาวอเมริกันในสหรัฐสามารถดำรงอยู่ได้ โดยไม่ต้องอาศัยระบบอุตสาหกรรมของอังกฤษ ฝ่าย Jefferson จึงเห็นที่จะให้ทำสงครามและการขีดขวางการค้ากับอังกฤษ แต่ฝ่าย George Washington ต้องการหลีกเลี่ยงสงครามการค้ากับอังกฤษ และตรงกันข้าม ได้ส่ง John Jay ไปทำสัมพันธไมตรีกับอังกฤษจนเป็นผลให้มีสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1794 (the Jay Treaty of 1794) และในการนี้ ทั้งประเทศสหรัฐมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับการคงสัมพันธ์กับอังกฤษ อ้นเป็นฝ่ายที่เรียกว่า Federalists และอีกส่วนที่ไม่เห็นด้วย คือฝ่าย Democratic-Republicans.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (Treasury Secretary) คือ Alexander Hamilton ได้สร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนทั่วประเทศ และได้กลายเป็นพรรค Federalist Party ที่ต้องการส่งเสริมให้รัฐบาลกลางมีความเข้มแข็ง และต้องการให้มีธนาคารกลางของชาติ (National Bank) และเพื่อเป็นการต่อต้านกลุ่ม Federalists Madison และ Jefferson ได้ก่อตั้งพรรค “สาธารณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republican Party) Madison ได้นำกลุ่มที่จะต่อต้านการจัดตั้งธนาคากลาง โดยให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญไมได้ให้สิทธินี้เอาไว้ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่า Madison ได้เปลี่ยนทัศนะทางการเมืองไปอย่างมาก จากที่เมื่อก่อนเห็นด้วยกับ Hamilton และต่อต้านเรื่องสิทธิของรัฐ และส่งเสริมบทบาทที่เข้มแข็งของรัฐบาลกลาง ไปสู่การเป็นฝ่ายตรงข้ามกับ Hamilton และในปี ค.ศ. 1793 ก็รวมไปถึงการไม่เห็นด้วยกับ Washington ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว Madison มักจะเป็นฝ่ายแพ้ และ Hamilton เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งทำให้เกิดธนาคารกลาง การทำให้รัฐสามารถสร้างหนี้และผูกพันการใช้หนี้ได้ รวมไปถึงการสนับสนุนสนธิสัญญาของ John Jay (Jay Treaty) แต่ Madison สามารถสกัดการจัดเก็บภาษีในอ้ตราสูง โดยรวมทางการเมือง Madison เป็นฝ่ายของ Jefferson จนกระทั่งเมื่อเขาเข้าเป็นส่วนของรัฐบาลกลาง และได้ประสบกับปัญหาการมีรัฐบาลกลางที่อ่อนแอ และต้องทำสงครามในปี ค.ศ. 1812 ทำให้เขาตระหนักและยอมรับในความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง และนั่นก็คือต้องมีระบบธนาคาร การจัดเก็บภาษีเพื่อใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาลกลาง การมีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง กองทัพบกที่ทำหน้าที่ได้ตลอดเวลา ไม่ใช่ไปพึ่งทหารเกณฑ์ หรือทหารอาสาตามความจำเป็นอย่างที่เคยกระทำในสงครามประกาศอิสรภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
United States Secretary of State
ในประเทศสหรัฐ คำว่า Department หมายถึง “กระทรวง” ไม่ใช่ “กรม” อย่างที่เราใช้ในระบบราการไทย คำว่า Secretary หมายถึงเลขาธิการผู้ดูแลกระทรวง หรือ Department Secretary of State มีความหมายว่า เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยเริ่มมีประเทศใหม่ๆ ผู้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้นับว่าต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีวิสัยทัศน์พร้อมสรรพที่จะทำงานเป็นตัวแทนของประเทศในการไปเจรจาความ ซึ่งต้องสามารถไปตัดสินใจแทนประเทศได้ ตามกรอบที่ได้รับคำสั่งมา
ในสมัยที่ Thomas Jefferson เป็นประธานาธิบดี ความท้าทายคือการต้องเฝ้าดูสถานะของสองจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป คือ อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งทำสงครามต่อกันเกือบจะตลอดเวลา งานของ Madison คือการเจรจาซื้อรัฐลุยเซียน่า (Louisiana Purchase) ในปี ค.ศ. 1803) ซึ่งเป็นไปได้ เพราะนโปเลียนเห็นว่าทวีปอเมริกาอยู่ไกลเกินกว่าจะเข้าไปดูแลรักษาอาณานิคม และอีกด้านหนึ่ง การขายพื้นที่ในรัฐนี้ คือการทำให้ไม่ตกไปอยู่ในมือของประเทศอังกฤษ ในกรณีนี้ทั้ง Jefferson และ Madison ได้แตกออกจากความคิดเห็นและแนวทางของพรรค Democratic Republicans ที่จำกัดบทบาทของรัฐบาลกลาง ซึ่งต้องเจรจาต่อรองกับฝรั่งเศส และขณะเดียวกันก็ต้องเจรจากับรัฐสภา เพื่ออนุมัติการจัดซื้อ ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาความเป็นกลางของสหรัฐดังที่ได้เคยกระทำมา แม้โดยมหาอำนาจทั้งสองนั้นต่างไม่ค่อยให้ความเคารพต่อสัญญาที่มีมานี้ ด้วยเหตุดังกล่าว Madison และ Jefferson จึงใช้การห้ามเรือเข้าและออกจากท่า (Embargo) หรือการปิดกั้นการค้ากับทั้งทางอังกฤษและฝรั่งเศส และห้ามอเมริกันทำการค้ากับต่างชาติ การปิดกั้นทางการค้านับเป็นนโยบายที่ล้มเหลว และกลับสร้างความยากลำบากแก่เมืองท่าทางตอนใต้ที่ยังต้องค้าขายกับเมืองอื่นๆในทางตอนใต้อยู่
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เขาเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่เข้าไปต่อสู้ในศาลสูงของสหรัฐในเรื่องการที่ Jefferson ไม่รับรองการแต่งตั้งผู้เข้าดำรงตำแหน่งจำนวนหนึ่งที่แต่งตั้งโดย John Adams อันเป็นกรณีที่เรียกว่า Marbury v. Madison ซึ่งทำให้เกิดการตัดสินคดีและเป็นบรรทัดฐานสำหรับการแต่งตั้งบุคคลของฝ่ายบริหารในระยะต่อมา
ในการเลือกตัวแทนของพรรค Democratic-Republicans ในการประชุมเพื่อสรรหาตัวแทนของพรรคเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี Madison ได้รับการคัดเลือกจากพรรค และนำไปสู่การได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ. 1808 อย่างง่ายดาย โดยการสนับสนุนจากความนิยมในตัว Jefferson ทำให้ชนะ Charles Cotesworth Pinckney แต่รัฐสภาก็ยังคงการปิดกั้นการค้ากับต่างประเทศต่อไป แม้จะเป็น
นโยบายที่ไม่ได้รับความนิยม
ประธานาธิบดีสหรัฐ ปี ค.ศ. 1809-1817
Presidency 1809–1817
James Madison
เกี่ยวกับธนาคารแห่งชาติ The Bank of the United States
ในช่วงการดำรงตำแหน่ง กฏบัตรอนุญาตการจัดตั้งธนาคาร first Bank of the United States อายุ 20 ปีกำลังจะหมดลงในปี ค.ศ. 1811 อันเป็นปีที่สองของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีของ Madison เขาได้พยายามที่จะหยุดยั้ง แต่ไม่สำเร็จที่จะหยุดกฎบัตรนี้ และปล่อยให้หมดอายุไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของเขา Gallatin ต้องการให้ต่ออายุกฎบ้ติรของธนาคาร และเมื่อเกิดสงครามในปี ค.ศ. 1812 จึงได้พบว่า การไม่มีธนาคารที่จะให้การสนับสนุนการเงินในการทำสงครามนั้นได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารประเทศมากเพียงใด
ผู้ดำรงต่ำแหน่งต่อจาก Gallatin คือ Alexander J. Dallas ได้เสนอให้มีธนาคารใหม่ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1814 แต่ Madison ได้ใช้สิทธิฝ่ายบริหารวีโต้กฎหมายนั้นในปี ค.ศ. 1815 อย่างไรก็ตามในปลายปี ค.ศ. 1815 Madison ได้เป็นฝ่ายขอรัฐสภา เพื่อให้จัดตั้งธนาคารแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งในครั้งนี้มีเสียงสนับสนุนจากคนในพรรค Democratic-Republicans ในส่วนของกลุ่มคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีความรักชาติอ้นได้แก่ John C. Calhoun และ Henry Clay, และรวมไปถึงการสนับสนุนจากคนฝ่ายตรงข้าม (Federalist) อย่าง Daniel Webster จึงทำให้เกิดธนาคารกลางแห่งใหม่ขึ้น และเป็นกฎหมายในปี ค.ศ. 1816 และเขาได้แต่งตั้ง William Jones ให้เป็นผู้บริหารธนาคาร
สงครามปี ค.ศ. 1812
War of 1812
ฝ่ายอังกฤษยังคงคุกคามสหรัฐอยู่ ดังกรณีกองเรือแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ได้เข้ายึดเรือสินค้าสัญชาติอเมริกันชื่อ impress และมีการจับเกณฑ์ชาวอังกฤษที่อยู่ในเรือเพื่อไปช่วยทำการรบให้กับราชนาวีอังกฤษ Madison ได้ทำการประท้วง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ โดยการปลุกระดมความคิดเห็นของคนทางตะวันตกและทางตอนใต้ให้ทำสงคราม สิ่งหนึ่งที่ทำคือการบุกเข้าไปในแคนาดา เพื่อเป็นแต้มต่อในการเจรจา
Madison ได้เตรียมการสร้างกระแสสังคมอย่างระมัดระวัง เพราะในขณะนั้นมีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนมีการเรียกสงครามนี้ว่า Mr. Madison’s War หรือสงครามของ Madison แต่กระนั้น การทำสงครามก็มีเวลาเตรียมทัพ และการสร้างกองทัพ สร้างป้อมค่าย และการฝึกทหารพรานที่จะใช้รบได้น้อยมาก และในขณะที่หว่านล้อมรัฐสภาเพื่อประกาศการทำสงคราม Madison ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย โดยชนะ DeWitt Clinton ด้วยคะแนนไม่มากนัก โดยได้คะแนนต่ำกว่าเมื่อการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1808 และด้วยความที่เขาล้มเหลวที่จะหยุดยั้งสงคราม เขาจึงได้รับการออกเสียงให้เป็นประธานาธิบดีที่แย่ที่สุดอันดับที่ 6
ในการทำสงครามกับอังกฤษอย่างที่ไม่มีความพร้อมในปี ค.ศ. 1812 กำลังฝ่ายอังกฤษและแคนาดาและกลุมพันธมิตรได้ชนะการรบในหลายๆครั้ง รวมถึงการยึดเมือง Detroit หลังจากที่นายพลอเมริกันยอมจำนนแก่ฝ่ายศัตรูที่มีจำนวนน้อยนิดโดยไม่มีการสู้รบ และการที่ฝ่ายศัตรูได้เข้ายึดครองกรุงวอร์ชิงตัน ทำให้ Madison ต้องอพยพหนีออกจากเมือง และเฝ้าดูข้าศึกเผาทำเนียบประธานาธิบดี (White House) จนไม่เหลือซาก การเข้ารบของฝ่ายอังกฤษนั้นเพื่อเป็นการตอบโต้ที่อเมริกันได้บุกเมือง York ของแคนาดาตอนเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือเมือง Toronto, ในรัฐ Ontario ซึ่งฝ่ายสหรัฐได้เข้ายึดเมองได้สองครั้ง และเผารัฐสภาของแคนาดาตอนบน อังกฤษได้ติดอาวุธให้กับอินเดียนแดงพื้นเมือง (American Indians) ในทางตะวันตก โดยเป็นพวกภายใต้การนำของ Tecumseh แต่ในที่สุดฝ่ายพวกอินเดียนพื้นเมืองพ่ายแพ้ และฝ่ายอเมริกันรุกไปจนถึงชายแดนแคนาดา ฝ่ายอเมริกันได้ระดมสร้างเรือรบที่ทะเลสาป Great Lakes และทำได้เร็วกว่าฝ่ายอังกษ จึงสามารถรบชนะและป้องกันการเข้ายึดเมืองนิวยอร์คในปี ค.ศ. 1814 ได้ ในทางทะเล ฝ่ายอังกฤษได้ปิดกั้นตลอดแนวฝั่งทั้งหมด ตัดการค้าทั้งกับต่างประเทศ และการค้าภายในประเทศที่ต้องอาศัยการขนส่งทางเรือ ในช่วงนั้นได้สร้างความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจในบริเวณเขตอังกฤษใหม่ (New England) หรือทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เพราะสงคราม จึงทำให้เกิดผู้ประกอบการที่สามารถสร้างโรงงาน และในระยะต่อไปได้กลายเป็นฐานในการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา
ในการรบนี้ Madison ได้ประสบปัญหามากมาย มีทั้งที่การแตกแยกในคณะรัฐมนตรี พรรคที่ไม่มีเอกภาพ รัฐสภาพที่เรรวน ฝ่ายผู้ว่าการรัฐที่คอยขัดขวาง และบรรดานายพลที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบรรดาทหารพรานอาสาสมัคร ที่ปฏิเสธที่จะรบนอกบริเวณของรัฐตน ที่แย่ที่สุดคือการขาดเสียงสนับสนุนจากมหาชน มีการขู่ที่จะถอนตัวออกจากการร่วมเป็นสหรัฐจากรัฐในเขต New England ซึ่งฝืนกฎหมาย โดยการลักลอบค้าขายกับแคนาดาอย่างเป็นการใหญ่ และยังปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ทหาร แต่อย่างไรก็ตาม Andrew Jackson ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ และ William Henry Harrison ในทางตะวันตก ได้นำทัพประสบความสำเร็จในการปราบปรามอินเดียนแดงได้ในปี ค.ศ. 1813
หลังจากที่นโปเลียนต้องพ่ายแพ้ต่อสงครามกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1814 ทั้งอังกฤษและอเมริกันก็ล้วนเหนื่อยยาก จึงทำให้ลืมเรื่องบาดหมางในสงคราม ประเด็นการคุกคามโดยอินเดียนพื้นเมืองก็หมดไป และกลายเป็นเวลาแห่งสันติภาพ ได้มีสัญญาสันติภาพ Treaty of Ghent ในปี ค.ศ. 1815 ทำให้ไม่มีการรุกล้ำข้ามแดนกัน และทำให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาพต้องนิ่งเฉย (status quo ante bellum) กลับไปสู่ที่ตั้งเดิมการรบ ในสงคราม Battle of New Orleans ซึ่งทัพนำโดย Andrew Jackson ได้รบชนะอังกฤษ ได้มีการรบกันในระยะที่ได้มีการลงนามสัญญาสันติภาพไปแล้ว 15 วัน เพราะไม่สามารถรับรู้ข่าวสารได้
เมื่อเกิดสันติภาพ ได้เกิดความรู้สึกใหม่ในอเมริกา มีความรู้สึกประสบความสำเร็จ มีความเป็นอิสระอย่างเต็มตัวจากอังกฤษ ในแคนาดา สงครามได้ทำให้สรุปให้เห็นความสามารถในการปกป้องตนเอง และได้ทำให้กลายเป็นชาติใหม่ขึ้นมาในระยะต่อมา ในระยะเวลาดังกล่าว ฝ่าย Federalist Party ได้ล่มสลายลงจากวงการเมือง เกิดเป็นยุคใหม่ที่มีความรู้สึกที่ดี (Era of Good Feeling) ความหวาดระแวงทางการเมืองลดลง การด่าทอทางการเมืองค่อยๆหายไป
เมื่อสงครามสงบ
Postwar
เมื่อสงครามสงบลง แนวทางของ Madison คือการเห็นความจำเป็นของการธนาคารกลางตามความคิดของ Hamilton คู่ปรับทางการเมืองของเขา เขาเห็นด้วยในเรื่องของการมีระบบภาษี การมีกองทัพบกแบบวิชาชีพ มีกองทัพเรือที่แข็งแรง เขาวางแนวการพัฒนาในการปรับปรุงตามที่ได้เสนอโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Albert Gallatin และเมื่อมีการเสนอจากทางฝ่ายแต่ละรัฐที่จะจัดทำระบบถนน สะพาน และคลอง ที่อาจมีผล และใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐ เขาจะเห็นความสำคัญของรัฐบาลกลางที่จะเป็นฝ่ายเข้าไปจัดทำ
Madison ได้โต้เถียงในหลายประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของรัฐ และรัฐบาลกลาง โดยเขาเห็นว่าในหลายๆเรื่อง ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง (Federal Support) ที่จะทำถนน ขุดคลอง ที่จะเชื่อมหลายๆส่วนเข้าด้วยกัน และทำให้ความเป็นสหพันธ์ (Confederacy) ได้แผ่ขยายขึ้น
คณะรัฐมนตรีของเขา
Administration and Cabinet
คณะรัฐมนตรีในยุคของ Madison หรือที่เรียกว่า Cabinet มีรายชื่อ และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
The Madison Cabinet
Office
Name
Term
ประธานาธิบดีPresident
James Madison
1809 – 1817
รองประธานาธิบดีVice President
George Clinton
1809 – 1812
Elbridge Gerry
1813 – 1814
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศSecretary of State
Robert Smith
1809 – 1811
James Monroe
1811 – 1814
1815 – 1817
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังSecretary of Treasury
Albert Gallatin
1809 – 1814
George W. Campbell
1814
Alexander J. Dallas
1814 – 1816
William H. Crawford
1816 – 1817
รัฐมนตรีว่การกระทรวงสงครามSecretary of War
William Eustis
1809 – 1813
John Armstrong, Jr.
1813 – 1814
James Monroe
1814 – 1815
William H. Crawford
1815 – 1816
รัฐมนตรีว่การกระทรวงยุติธรรมAttorney General
Caesar A. Rodney
1809 – 1811
William Pinkney
1811 – 1814
Richard Rush
1814 – 1817
รัฐมนตรีว่าการกะรทวงทหารเรือSecretary of the Navy
Paul Hamilton
1809 – 1813
William Jones
1813 – 1814
Benjamin W. Crowninshield
1814 – 1817
ในคณะบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลของ Madison นั้น มีหลายคนที่มีบทบาทและมีความน่าสนใจศึกษา
James Monroe เกิดในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1758 และถึงแก่กรรมในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 นับอายุรวมได้ 73 ปี ในรัฐบาลของ Madison เขาได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีใน 2 กระทรวง คือ กระทรวงการต่างประเทศ 2 สมัย และในช่วงสั้นๆ คือปี ค.ศ. 1814-1815 ได้ว่าการกระทรวงสงคราม ในยุคต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นคนที่ 5 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ในช่วงปี ค.ศ. 1817-1825
ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี เขาได้ประกาศในปี ค.ศ. 1823 ว่าสหรัฐปฏิเสธการเข้ายุ่งเกี่ยวของยุโรป อันหมายรวมถึงทั้งฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส และขณะเดียวกันก็ยกเลิกสัญญาพันธมิตรกับฝรั่งเศสอันเป็นผลมาจากสงครามกับอังกฤษในช่วงปี ค.ศ. 1812 ช่วงการบริหารของ Monroe นับเป็นช่วงที่มีสันติภาพ ไม่มีการรบและความขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ มีการขยายดินแดน โดยมีการผนวกรัฐ Florida ในปี ค.ศ. 1819, รัฐ Missouri ในปี ค.ศ. 1820
Abraham Alfonse Albert Gallatin เกิดเมื่อวันท่ 29 มกราคม ค.ศ. 1761 และมีชีวิตจนกระทั่ง 12 สิงหาคม ค.ศ. 1849 เขาเป็นชาวอเมริกนเชื้อสายสวิส เกิดในสวิสเซอร์แลนด์ในครอบครัวผู้มีฐานะ และมีอิทธิพลทางการเมือง เขาเป็นปัญญาชนที่สนใจกว้างขวาง เป็นนักมานุษยวิทยา นักภาษาศาสตร์ สนใจในภาษาและวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง เป็นนักการเมือง นักการฑูต วุฒิสมาชิก และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ตั้งแต่สมัยของ Jefferson ต่อจนสมัยของ Madison และในระยะต่อมาเป็นผู่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอกชน คือ New York University.
ในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยุคของ Thomas Jefferson เมื่อมีการเจรจาจัดซื้อรัฐลุยเซียน่าจากฝรั่งเศส (Louisiana Purchase) เขาวางแผนการเงินที่จะจ่ายให้กับฝรั่งเศส โดยไม่ต้องเพิ่มภาษี
ในสมัยของ Madison เมื่อต้องทำสงครามในปี ค.ศ. 1812 รัฐบาลไม่ได้มีแผนในการเตรียมตัวเข้าสู่สงคราม และประเทศก็ต้องเตรียมตัวใช้หนี้ให้กับชาติในยุโรป 7 ล้านเหรียญ และเมื่อทำสงคราม สหรัฐต้องถูกห้ามการค้านอกประเทศ และเมื่อต้องทำสงครามจึงมีค่าใช้จ่ายในปี ค.ศ. 1813 อีก 39 ล้านเหรียญ แต่มีเงินที่จัดเก็บได้เพียง 15 ล้านเหรียญ ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่รัฐสภา และทำให้เขาที่ต่อต้านแนวคิดแบบ Federalists ที่จะจัดเก็บภาษีสร้างความแข็งแกร่งให้รัฐบาลกลาง ก็ต้องเปลี่ยนไป ต้องไปออกกฏหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มจากเหล่าและเกลือ การเก็บภาษีที่ดิน และภาษีจากการซื้อขายทาส ซึ่งทำให้สามารถได้เงินมา 69 ล้านเหรียญ เพื่อจ่ายเงินค่าทำสงครามที่ทำให้มีภาระรวม 87 ล้านเหรียญ
การแต่งตั้งประธานศาลสูง
Supreme Court appointments
Madison appointed the following Justices to the Supreme Court of the United States:
Gabriel Duvall – 1811
Joseph Story – 1812
การรับเข้าเป็นรัฐใหม่ States admitted to the Union
Louisiana – April 30, 1812
Indiana – December 11, 1816
สิ่งที่ฝากเอาไว้
Legacy
Madison มีทั้งส่วนที่ดี เป็นที่ชื่นชอบ ดังเช่นความสามารถทางกฏหมาย และกฎหมายรัฐธรรมนูญของเขา
จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐ” ความเป็นคนฉลาด มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ในต่างประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งของเขา คือการที่เขาเป็นคนที่นำประเทศเข้าสู่สงคราม ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อม ในขณะที่ประธานาธิบดีคนแรก อย่าง George Washington เมื่อได้รับกับอังกฤษ จนสงครามสงบ ก็ได้หลีกเลี่ยงที่จะต้องนำประเทศเข้าสู่สภาวะสงครามอีก ประธานาธิบดีคนที่สอง คือ John Adams แม้จะไม่เป็นที่ชื่นชอบของสภา และบุคคลรอบข้าง ด้วยความที่เป็นคนโผงผาง เจ้าอารมณ์ แต่ในด้านสงครามแล้ว เขาได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่นำประเทศเข้าสู่สงครามอีก ประธานาธิบดีคนที่สาม คือ Thomas Jefferson แม้จะมีความเอนเอียงไปทางฝรั่งเศส แต่ในช่วงตลอดมา เขาก็ยังไม่ได้เข้าไปใกล้จุดที่จะประกาศสงครามกับอังกฤษ
แต่ Madison ได้ตัดสินใจเข้าสู่สงครามกับอังกฤษ โดยทีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย และทำให้เขาไม่เป็นที่ชื่นชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามสงบลง ประเทศก็ได้กลับสู่ยุค “ความรู้สึกทีดีอีกครั้ง” เป็นความรู้สึกปลอดโปร่งจากสงครามและความขัดแย้ง
สิ่งที่มีการฝากชื่อของเขาไว้ด้วยความระลึกถึง (Legacy) ก็มีมาก เช่น เมืองหลายๆเมือง สถานศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ตั้งชื่อให้เกียรติแก่เขา รวมถึงชื่อแม่น้ำ ทีในยุคเขาได้ส่งเสริมให้มีการสำรวจไปทางตะวันตก
Madison County, ในรัฐ Ohio;[34] Madison Countyในรัฐ Iowa; Madison, ในรัฐ Indiana; Madison, ในรัฐ Wisconsin; Madison, ในรัฐ Georgia;
คณะวิชา James Madison College เพื่อการศึกษานโยบายภาครัฐ ที่ Michigan State University; James Madison University ในเมือง Harrisonburg,รัฐ Virginia;
แม่น้ำชื่อ Madison River ความยาว 183 ไมล้ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐ Montana (ตั้งชื่อเมื่อปี ค.ศ. 1805 โดยนักสำรวจ Lewis & Clark),
มีเขตการปกครองที่นำชื่อของเขาไปตั้งไว้เป็นเกียรติ ได้แก่ Madison County ในรัฐ Illinois.[35]
เรือรบหลายลำในกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Navy ships) ได้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ James Madison.
ภาพของ Madison ปรากฎอยู่ใธนบัตรใบละ. $5000 bill.[36]
The James Madison Institute ได้รับชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในฐานะผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์ในการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศ
ศึกษาเพิ่มเติม ( See also)
List of U.S. Presidential religious affiliations
James Madison University, named Madison College after him in 1936
James Madison Dukes, the athletic teams representing the above school
James Madison College, a residential honors college of Michigan State University
Notes of Debates in the Federal Convention of 1787
Report of 1800, produced by Madison to support the Virginia Resolutions
[edit] Notes
- ^ http://bioguide.congress.gov/scripts/biodisplay.pl?index=M000043 http://teachingamericanhistory.org/convention/delegates/madison.html http://etcweb.princeton.edu/CampusWWW/Companion/madison_james.html http://www.adherents.com/people/pm/James_Madison.html http://www.dkrause.com/americana/presidents/madison-james/
- ^ "The Founding Fathers: A Brief Overview". The U.S. National Archives and Records Administration. Retrieved on 2008-02-12.
- ^ Wood, 2006b.
- ^ Robert Alan Dahl, "Madisonian Democracy," in Dahl, et al., eds. The Democracy Sourcebook (MIT Press, 2003), pp. 207–216.
- ^ Banning, 1995; Kernell, 2003; Riemer, 1954.
- ^ James Madison to Thomas Jefferson, March 2, 1794.) "I see by a paper of last evening that even in New York a meeting of the people has taken place, at the instance of the Republican Party, and that a committee is appointed for the like purpose."*Thomas Jefferson to President Washington, May 23, 1792 "The republican party, who wish to preserve the government in its present form, are fewer in number. They are fewer even when joined by the two, three, or half dozen anti-federalists,..."*Thomas Jefferson to John Melish, January 13, 1813. "The party called republican is steadily for the support of the present constitution"
- ^ . According to the Library of Congress, [1]
- ^ Shepard, Timothy (2007). "PresidentialHeights - Every US president by height".
- ^ Adair, Douglass G. (2000), The Intellectual Origins of Jeffersonian Democracy, Lexington Books, pp. 25, ISBN 0739101250, <http://books.google.com/books?id=XYCQ7NrjK1kC&pg=PA25&lpg=PA25&dq=%22america's+first+graduate+student%22&source=web&ots=5U4wbI27rU&sig=S9ZrJFV01xNfnIXrQSFAbz5BVII>. Retrieved on 21 December 2007
- ^ Dennis F. Thompson, "The Education of a Founding Father: The Reading List for John Witherspoon's Course in Political Theory, as Taken by James Madison," Political Theory 4(1976), 523–29; Alexander Leitch: Princeton Companion, "Graduate School". Even Leitch distinguishes that Madison was doing the first non-theological post-graduate work.
- ^ Wood, 2006, pp. 163–64.
- ^ Selected summaries of The Federalist Papers
- ^ Larry D. Kramer, "Madison's Audience," Harvard Law Review 112,3 (1999), pp. 611+ online version.
- ^ Lance Banning, "James Madison: Federalist," note 1, [2].
- ^ Letter of July 20, 1788.
- ^ Matthews, 1995, p. 130.
- ^ Wood, 2006b.
- ^ Matthews, 1995, p. 142.
- ^ http://frwebgate.access.gpo.gov/cgi-bin/getdoc.cgi?dbname=105_cong_documents&docid=f:sd011.105
- ^ Wood, 2006b.
- ^ Wood, 2006a, p. 165.
- ^ Paul A. Varg, Foreign Policies of the Founding Fathers (Michigan State Univ. Press, 1963), p. 74.
- ^ As early as May 26, 1792, Hamilton complained, "Mr. Madison cooperating with Mr. Jefferson is at the head of a faction decidedly hostile to me and my administration." Hamilton, Writings (Library of America, 2001), p. 738. On May 5, 1792, Madison told Washington, "with respect to the spirit of party that was taking place ...I was sensible of its existence". Madison Letters 1 (1865), p. 554.
- ^ "definition of Madison, James". Free Online Encyclopedia. Retrieved on 2008-02-03.
- ^ "U.S. historians pick top 10 presidential errors". Associated Press article in CTV (February 18, 2006). Retrieved on 2008-02-03.
- ^ Stagg, 1983.
- ^ Tax Foundation
- ^ Garry Wills, James Madison (Times Books, 2002), p. 163.
- ^ Ibid., p. 162.
- ^ Drew R. McCoy, The Last of the Fathers: James Madison and the Republican Legacy (Cambridge Univ. Press, 1989), p.151.
- ^ Ibid., p. 252.
- ^ He was tempted to admit chaplains for the navy, which might well have no other opportunity for worship.The text of the memoranda
- ^ Wills, James Madison (Times Books, 2002), p. 164.
- ^ "Madison County of Ohio – Community Information". Madison County Chamber of Commerce. Retrieved on 2008-02-03.
- ^ Allan H. Keith, Historical Stories: About Greenville and Bond County, IL. Consulted on August 15, 2007.
- ^ "Five Thousand Green Seal". The United States Treasury Bureau of Engraving and Printing. Retrieved on 2007-06-26.
[edit] Secondary sources
[edit] Biographies
Brant, Irving. "James Madison and His Times," American Historical Review. 57,4(July, 1952), 853–870.
Brant, Irving. James Madison, 6 vols., (Bobbs-Merrill, 1941–1961). most detailed scholarly biography.
Brant, Irving. The Fourth President; a Life of James Madison (Bobbs-Merrill, 1970). one-volume condensation of his series.
Ketcham, Ralph. James Madison: A Biography (Macmillan, 1971). standard scholarly biography.
Rakove, Jack. James Madison and the Creation of the American Republic, 2nd ed., (Longman, 2002).
Riemer, Neal. James Madison (Washington Square Press, 1968).
Wills, Garry. James Madison (Times Books, 2002). short bio.
[edit] Analytic studies
Adams, Henry. History of the United States during the [First and Second] Administrations of James Madison (C. Scribners's Sons, 1890–91; Library of America, 1986).
Wills, Garry. Henry Adams and the Making of America (Houghton Mifflin, 2005). a close reading.
Banning, Lance. The Sacred Fire of Liberty: James Madison and the Founding of the Federal Republic (Cornell Univ. Press, 1995). online ACLS History e-Book. Available only to subscribing institutions.
Brant, Irving. James Madison and American Nationalism. (Van Nostrand Co., 1968).
Elkins, Stanley M.; McKitrick, Eric. The Age of Federalism (Oxford Univ. Press, 1995). most detailed analysis of the politics of the 1790s.
Kernell, Samuel, ed. James Madison: the Theory and Practice of Republican Government (Stanford Univ. Press, 2003).
Matthews, Richard K., If Men Were Angels : James Madison and the Heartless Empire of Reason (Univ. Press of Kansas, 1995).
McCoy, Drew R. The Elusive Republic: Political Economy in Jeffersonian America (W.W. Norton, 1980). mostly economic issues.
McCoy, The Last of the Fathers: James Madison and the Republican Legacy (Cambridge Univ. Press, 1989). JM after 1816.
Muñoz, Vincent Phillip. "James Madison's Principle of Religious Liberty," American Political Science Review 97,1(2003), 17–32. SSRN 512922 in JSTOR.
Riemer, Neal. "The Republicanism of James Madison," Political Science Quarterly, 69,1(1954), 45–64 in JSTOR.
Riemer, James Madison : Creating the American Constitution (Congressional Quarterly, 1986).
Rutland, Robert A. The Presidency of James Madison (Univ. Press of Kansas, 1990). scholarly overview of his two terms.
Rutland, ed. James Madison and the American Nation, 1751–1836: An Encyclopedia (Simon & Schuster, 1994).
Sheehan, Colleen A. "The Politics of Public Opinion: James Madison's 'Notes on Government'," William and Mary Quarterly 3rd ser. 49,3(1992), 609–627. in JSTOR.
Sheehan, "Madison and the French Enlightenment," William and Mary Quarterly 3rd ser. 59,4(Oct. 2002), 925–956. in JSTOR.
Sheehan, "Madison v. Hamilton: The Battle Over Republicanism and the Role of Public Opinion," American Political Science Review 98,3(2004), 405–424. in JSTOR.
Sheehan, "Madison Avenues," Claremont Review of Books (Spring 2004), online.
Sheehan, "Public Opinion and the Formation of Civic Character in Madison's Republican Theory," Review of Politics 67,1(Winter 2005), 37–48.
Stagg, John C.A., "James Madison and the 'Malcontents': The Political Origins of the War of 1812," William and Mary Quarterly 3rd ser. 33,4(Oct. 1976), 557–585.
Stagg, "James Madison and the Coercion of Great Britain: Canada, the West Indies, and the War of 1812," in William and Mary Quarterly 3rd ser. 38,1(Jan., 1981), 3–34.
Stagg, Mr. Madison's War: Politics, Diplomacy, and Warfare in the Early American republic, 1783–1830 (Princeton, 1983).
Wood, Gordon S., "Is There a 'James Madison Problem'?" in Wood, Revolutionary Characters: What Made the Founders Different (Penguin Press, 2006a), 141–72.
Wood, "Without Him, No Bill of Rights : James Madison and the Struggle for the Bill of Rights by Richard Labunski", The New York Review of Books (November 30 2006b).
[edit] Primary sources
Rakove, Jack N., ed. James Madison, Writings (Library of America, 1999) ISBN 978-1-88301166-6. Over 900 pages of letters, speeches and reports.
James Madison, Notes of Debates in the Federal Convention of 1787 Reported by James Madison (W.W. Norton, 1987); [pb: ISBN 0393304051] ([3]
James Madison, Letters & Other Writings Of James Madison Fourth President Of The United States, 4 vols., (J.B. Lippincott & Co., 1865); called the Congress edition. online edition
William T. Hutchinson et al., eds., The Papers of James Madison (Univ. of Chicago Press, 1962–). the definitive multivolume edition. 29 volumes have been published, with 16+ more volumes planned.
Gaillard Hunt, ed. The Writings of James Madison, 9 vols., (G. P. Putnam’s Sons, 1900–1910). online edition
Marvin Myers, ed. Mind of the Founder: Sources of the Political Thought of James Madison (Univ. Press of New England, 1981;1973) [ISBN 0-87451-201-8].
James M. Smith, ed. The Republic of Letters: The Correspondence Between Thomas Jefferson and James Madison, 1776–1826. 3 vols., (W.W. Norton, 1995).
Jacob E. Cooke, ed. The Federalist (Wesleyan Univ. Press, 1961).
No comments:
Post a Comment