Sunday, April 5, 2009

โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา

ภาพ Monticello, Virginia, USA
ภาพ โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา
Jefferson, Thomas
ประกอบ คุปรัตน์แปลและเรียบเรียง
Keywords: cw105 ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา อัตตชีวประวัติ
Updated: Sunday, July 13, 2008

ความนำ

หากจะพูดถึงประชาธิปไตยแบบอเมริกัน จะมีการกล่าวถึง Thomas Jefferson ว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยของสหรัฐ เหมือนกับที่ประธานาธิบดี George Washington เป็นผู้ที่ผู้คนกล่าวถึงในฐานะผู้ต่อสู้และวีรบุรุษ
ในการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศสหรัฐ

โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นประธานาธิบดีคนที่สามของประเทศสหรัฐอเมริกา
เขามีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1743-1826 เขาดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกัน ในช่วงปี ค.ศ. 1801-1809 และเป็นคนเขียนคำประกาศอิสรภาพ และประกาศจุดยืนการเป็นประชาธิปไตยในแบบสังคมเกษตรของสหรัฐอเมริกา เขาเป็นคนยืนหยัดในการปกครองแบบสาธารณรัฐ และการเป็นประเทศในระบอบประชาธิปไตย ไม่เห็นด้วยกับพวกที่จะหันกลับไปใช้ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ ดังที่ประเทศฝรั่งเศสที่ได้ปฏิวัติเปลี่ยนเป็นการปกครองในระบบสาธารณรัฐ แต่ท้ายสุดก็กลับไปสู่การปกครองแบบกษัตริย์ในยุคของนโปเลียน เขาเน้นเจตนารมณ์การเคารพสิทธิของประชากร และของรัฐที่เข้าร่วมในสหรัฐอย่างสมัครใจ อาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีอายุยืนยาวที่สุดในสังคมตะวันตก คือพรรคเดโมแครต (Democratic Party) ซึ่งมีฐานรากเดิมมาจากพรรครีพับลิกัน (Republican Party) ที่เขาได้ริเริ่มขึ้นในช่วงหลังการก่อตั้งประเทศ

ชีวิตเมื่อเริ่มแรก

โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1743 ที่ Shadwell ใน Goochland ซึ่งปัจจุบันคือ เขต Albemarie ในรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในขณะนั้นรัฐเวอร์จิเนียจัดว่าเป็นเขตตะวันตกห่างไกล และในชีวิตของเขาที่บ้านและชีวิตในวัยเด็ก ทำให้เขาได้รับอิทธิพลและแนวคิดประชาธิปไตยแบบเสรี หลังจากเขาเรียนจบที่วิทยาลัยชื่อ College of William and Mary ในปี ค.ศ. 1762 เขาได้มีโอกาสศึกษากฎหมายกับ George Wythe

การศึกษา (Education)

ในปี ค.ศ. 1752 เจฟเฟอร์สันไดเริ่มศึกษาในโรงเรียนใกล้บ้านที่ดำเนินการโดย
William Douglas ผู้เป็นบาดหลวงชาวสก๊อต เมื่ออายุได้ 9 ปี เขาได้เริ่มศึกษา ภาษาลาติน กรีก และฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1757 เมื่อเขาอายุได้ 14 ปี บิดเขาได้เสียชีวิตและทิ้งมรดกที่ดิน 5,000 เอเคอร์ หรือประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร พร้อมกับทาสอีกหลายโหล เขาสร้างบ้านที่นั้น และในต่อมาได้มีชื่อเป็นที่รู้จักกันว่า Monticello
เมื่อบิดาเสียชีวิต เขาได้รับการศึกษาจากนักบวชผู้คงแก่เรียน ชื่อ
James Maury ซึ่งเป็นช่วงปี ค.ศ. 1758-1760 โรงเรียนนั้นอยู่ที่เมือง Fredericksville Parish ใกล้กับเมือง Gordonsville,ในรัฐเวอร์จิเนีย ( Virginia) ซึ่งห่างจาก Shadwell ออกไป 12 ไมล์ หรือประมาณ 19 กิโลเมตร เจฟเฟอร์สันพักอยู่กับครอบครัวของ Maury และที่นั้นเขาได้รับการศึกษาในแบบดั่งเดิม (Classical Education) ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ในช่วงปี ค.ศ. 1760 เขาได้เข้าเรียนที่ The College of William & Mary ที่เมือง Williamsburg เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เขาเรียนอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี จบการศึกษาโดยได้เกียรตินิยมสูงสุดในปี ค.ศ. 1762 ที่มหาวิทยาลัยนี้ เขาได้เรียนวิชาการอย่างกว้างขวาง เช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ Metaphysics เขาสนใจงานเขียนอย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมถึงงานของ John Locke, Francis Bacon, และ Isaac Newton ซึ่งในสามท่านนี้เจฟเฟอร์สันยกย่องให้เป็น 3 คนผู้ยิ่งใหญ่ที่โลกได้เคยสร้างมา ในขณะที่เรียน เขาได้เรียนภาษาฝรั่งเศสอย่างช่ำชอง เขาจะนำหนังสือภาษากรีกติดตัวไปด้วยในทุกที่ เขาฝึกไวโอลิน และอ่านงาน Tacitus และของ Homer เขาเป็นนักเรียนที่มีความขยันขันแข็ง และมีความสนใจในศาสตร์และศิลปะด้านต่างๆอย่างกว้างขวาง และตามประเพณีในครอบครัว เขาศึกษาเล่าเรียนวันละถึง 15 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ เพื่อนสนิทของเขา ชื่อ John Page แห่ง Rosewell กล่าวว่า เมื่อได้เวลาเรียน เจฟเฟอร์สันจะหลีกหนีแม้เพื่อนสนิทที่สุด เพื่อไปศึกษาเล่าเรียน
ในวิธีการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในแบบอังกฤษ เขาพักอยู่ในหอวิทยาลัย ที่ปัจจุบันเรียกว่า Sir Christopher
Wren Building และร่วมรับประทานอาหารในห้องประชุมใหญ่ และในยามเช้าและค่ำ มีการสวดมนต์ที่ Wren Chapel แต่ในอีกด้านหนึ่ง Jefferson ได้เข้าร่วมงานสังสรรค์กับผู้ว่าราชการรัฐจากอังกฤษ ชื่อ Francis Fauquier ซึ่งเขาจะเล่นไวโอลินแสดง และเขามีรสนิยมชอบดื่มไวน์ และเมื่อเขาจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1762 เขาได้รับเกียรตินิยมสูงสุด และได้ศึกษากฎหมายต่อกับ George Wythe และได้รับบรรจุเข้าสู่เนติบัณฑิตสภาแห่งรัฐเวอร์จิเนียในปี ค.ศ. 1767

ครอบครัว

ในปี ค.ศ. 1772 Jefferson ได้แต่งงานกับหม้ายสาวอายุ 23 ปี ชื่อ Martha Wayles Skelton. ทั้งสองมีบุตรธิดารวม 6 คน ซึ่งได้แก่ Martha Jefferson Randolph (1772–1836), Jane Randolph (1774–1775), บุตรชายที่เสียชีวิตเสียก่อนที่จะได้รับการตั้งชื่อ (1777), Mary Wayles (1778–1804), Lucy Elizabeth (1780–1781), และ Elizabeth (1782–1785). Martha ภรรยาของเขาเสียชีวิตในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1782 และเขาไม่เคยได้แต่งงานใหม่อีกหลังจากนั้น แต่จากการศึกษา อาจเป็นไปได้ว่า เขาได้มีความสัมพันธ์กับน้องต่างมารดาของภรรยาที่เป็นทาส ชื่อ Sally Hemings จากหลักฐานทางพันธุกรรมย้อนหลังที่เป็นข้อมูล DNA อาจเป็นไปได้ Jefferson เป็นบิดาของเด็กๆ เหล่านั้น หรืออาจเป็นญาติฝ่ายชายคนใดคนหนึ่งของเขาที่เป็นพ่อของเด็กๆเหล่านั้น

ผู้นำในช่วงประกาศอิสรภาพ

ในช่วงการรวมตัวกันที่เรียกว่า House of Burgesses ช่วงปี ค.ศ. 1769-1775 เจฟเฟอร์สันได้เป็นผู้นำของกลุ่มรักชาติ เขาเป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการแห่งเวอร์จิเนีย ที่เรียกว่า Virginia Committee of Correspondence เป็นการบ่งบอกถึงสิทธิคนอังกฤษที่อยู่ในอเมริกา (ค.ศ. 1774) เพื่อเตรียมการประชุมสมัชชาแห่งเวอร์จิเนียครั้งแรก เขาได้นำเสนอทัศนะว่ารัฐสภาของอังกฤษไม่มีอำนาจใดๆ ในบริเวณอาณานิคมนี้ และความผูกพันต่ออังกฤษและต่อพระมหากษัตริย์มีเพียงประการเดียว คือการเป็นพันธมิตรโดยสมัครใจ ถึงแม้ในประวัติศาสตร์ เขาไม่ใช่นักพูดที่มีประสิทธิภาพมากนัก แต่เขามีชื่อเสียงในฐานะเป็นคนเขียนมติและร่างต่างๆ

ในช่วงปีค.ศ. 1775-1776 เขาเป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมสภาแห่งทวีปอเมริกาครั้งที่สอง (Second continental Congress) เขาได้ทำหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการในการร่าง “ประกาศอิสรภาพ” (Declaration of Independence) ในร่างนี้ ยกเว้นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยจาก John Adams, Benjamin Franklin และคนอื่นๆ บางคน ได้มีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภา และงานของเขาทั้งหมดได้สะท้อนความลึกในทฤษฎีการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก John Locke และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสและนักคิดจากยุโรปอื่นๆ
เมื่อเจฟเฟอร์สันได้กลับไปยังเวอร์จิเนีย และร่างกฎหมาย โดยหวังว่าจะแปลอุดมคติของเขาไปสู่ความเป็นจริงในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เขาได้ผลักดันให้มีการเลิกกฎหมายให้สิทธิรับมรดกแบบคับแคบตามสายเลือดเฉพาะ และแก่ลูกชายคนโต (Primogeniture) แต่กฎนี้ยังมีใช้จนถึง ค.ศ. 1785 ในกฎหมายของเขา ได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้วยความเชื่อที่ว่าความเชื่อของคนนั้นไม่สามารถไปบังคับได้ กฏหมายนี้ไม่สำเร็จจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1786 เมื่อ James Madison ได้ทำให้เจตนารมย์นี้ได้กลายเป็นความสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1779 เจฟเฟอร์สันได้สืบอำนาจต่อจาก Patrick Henry ในฐานะเป็นผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย เขาได้ทำหน้าที่นี้ในปีสุดท้ายเมื่อเกิดสงครามปฏิวัติ เมื่อเวอร์จิเนียได้ถูกบุกโดยกองทัพอังกฤษ ด้วยเหตุของความไม่มีเงินและทรัพยากรทางทหาร จึงทำให้เขาประสบความยากลำบาก พฤติกรรมในฐานะเป็นผู้ว่าการของเขาจึงถูกสอบสวนในปี ค.ศ. 1781 แต่ก็หลุดพ้นได้อย่างสมบูรณ์
Minister to France

แผ่นป้ายที่ระลึก ณ Champs-Élysées ในกรุงปารีส ประเทศฝรั้งเศส ณ ที่ๆเขาพักอาศัยในขณะมาทำหน้าที่รัฐมนตรีการฑูต ณ ประเทศฝรั่งเศส ป้ายนี้ได้ติดตั้งในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อเป็นที่ระลึกในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนียครบครอบ 100 ปี

เนื่องจาก Jefferson ต้องทำหน้าที่ด้านการฑูตประจำอยู่ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 1785-1789 เขาจึงไม่ได้ร่วมในการประชุมใหญ่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (
Philadelphia Convention) เพื่อการ่างและรับรัฐธรรมนูญ แต่เขาให้การสนับสนุนรัฐธรรมนูญใหม่ แม้จะมีส่วนที่ว่าด้วยสิทธิของประชาชน (bill of rights) และเขาได้รับข่าวสารเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและอื่นๆ โดยผ่านเพื่อนร่วมความคิดสำคัญ คือ James Madison
เมื่อเขาพักอยู่ที่ปารีส และทำหน้าที่ทางการฑูต เขาพักอยู่ ณ ที่พักบนถนน Champs-Élysées อันมีชื่อเสียง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศSecretary of State

เมื่อเขากลับจากฝรั่งเศส เจฟเฟอร์สันได้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของประธานาธิบดีคนแรก คือ Washington (1789–1793) ในระหว่างนั้น เขา และ Alexander Hamilton ซึ่งทำหน้าที่ว่าการกระทรวงการคลังได้มีข้อขัดแย้งกันด้านแนวคิดและการปฏิบัติในนโยบายการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหนี้สินจากสงคราม โดย Hamilton เห็นว่าหนี้นั้นควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยแบ่งกันไปแก่แต่ละรัฐอย่างเท่าเทียมกัน แต่เจฟเฟอร์สันเห็นว่า แต่ละรัฐควรมีความรับผิดชอบในส่วนของตนไปสำหรับหนี้สินที่ได้เกิดขึ้น โดยรัฐเวอร์จิเนียนั้นได้จ่ายหนี้ในส่วนของตนไม่มีอะไรค้าง ก็ไม่ควรต้องมาจ่ายใหม่

ในทางความคิดเจฟเฟอร์สันมีความเห็นขัดแย้งกับฝ่าย Federalists อันเป็นพวกของ Hamilton โดยเขาขนานนามพวกนี้ว่าเป็นดังพวก Tories และพวกนิยมระบบกษัตริย์ในอังกฤษ และเท่ากับไม่ได้ให้ความสำคัญต่อระบบสาธารณรัฐใหม่ที่ได้เกิดขึ้น เขาให้ความหมายของ Federalists ว่าเป็นเท่ากับ “Royalism” หรือพวกสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ และกล่าวกระทบว่าพวกของ Hamilton นั้นเป็นเหมือนพวกที่เลี่ยนแบบพวกนิยมกษัตริย์ และคันที่อยากจะได้สรวมมงกุฏกษัตริย์ เจฟเฟอร์สันและ James Madison ในระยะต่อมาได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีชื่อว่า “พรรคสาธาณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republican Party) เขาทำงานใกล้ชิดกับ Madison และฝ่ายจัดการณรงค์หาเสียงที่ชื่อ John J. Beckley เพื่อสร้างเครือข่ายของคนที่เห็นด้วยในแนวทางของเขา เพื่อต่อสู้กับกลุ่ม Federalists ไปทั่วประเทศ

เจฟเฟอร์สันสนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสในการสู้รบกับอังกฤษ เมื่อเกิดสงครามขึ้นในยุโรประหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793 โดยนักประวัติศาสตร์ Lawrence S. Kaplan ได้ให้ข้อสังเกตว่าเจฟเฟอร์สันได้สนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสอย่างสุดใจในเหตุของสงคราม แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เห็นด้วยกับประธานาธิบดี Washington ที่จะไม่เข้าข้องเกี่ยวกับสงครามไม่ว่ากับฝ่ายใด การเข้ามาของนักการฑูตตัวแทนฝรั่งเศสที่ชื่อ Edmond-Charles Genêt ได้ทำให้เกิดวิกฤติในบทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ปล่อยให้ Genêt ก้าวล่วงในอธิปไตยของอเมริกา การมาชักจูงเสียงของประชาชนเอง หรือการทำงานข้ามหน้า Washington เพื่อเรียกร้องและปลุกระดมมวลชน โดยหวังว่าเจฟเฟอร์สันจะช่วยฝ่ายฝรั่งเศส โดย Schachner มีความเห็นว่า เจฟเฟอร์สันมีความเชื่อว่าความสำเร็จทางการเมืองในบ้านของตัวเอง เป็นผลมาจากความสำเร็จของกองทัพฝรั่งเศสในยุโรป

Thomas Jefferson, aquatint by Tadeusz Kościuszko.

เจฟเฟอร์สันมีความเห็นใจในฝรั่งเศส และหวังว่าความสำเร็จของกองทัพฝรั่งเศสในยุโรป จะส่งผลมายังภูมิภาคในอเมริกา เขากังวลว่าหากเหตการณ์แปรฝันเป็นตรงกันข้ามในสนามรบในยุโรป ก็จะทำให้พวกนิยมในระบบกษัตริย์ในอเมริกาได้พลังเพิ่ม และมีผลต่อทิศทางของระบบการปกครองในประเทศใหม่นี้ “จริงๆแล้วข้าพเจ้ากลัวว่าในฤดูร้อนนี้ หากมีวิบัตภัยเกิดขึ้นกับฝรั่งเศส มันจะทำให้พลังของฝ่ายเชื่อมั่นในระบบสาธารณรัฐถดถอยไป ซึ่งข้าพเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า เราน่าจะได้มีการปฏิรูป”

การหยุดงานในตำแหน่งบริหาร
A break from office


ในช่วงของการบริหารงานของประธานาธิบดี Washington เจฟเฟอร์สันไม่ได้มีความขัดแย้งเพียงกับฝ่าย Federalists ที่ประกอบด้วยพวกของ Hamilton และคณะรัฐมนตรีทั้งหลาย จริงๆแล้ว ประธานาธิบดี Washington วางตัวเป็นฝ่ายไม่มีพรรคและพวก อยู่เหนือความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี และตัดสินใจทั้งมวลด้วยหตุผลแห่งผลประโยชน์ของประเทศ แต่โดยรวมแล้ว เขาต้องอาศัยและเห็นตามไปกับฝ่ายของ Hamilton เป็นส่วนใหญ่

ความคิดเห็นของเจฟเฟอร์สันจึงกลายเป็นชนส่วนน้อยที่ท้ายสุด ในปี ค.ศ. 1793 เขาถอนตัวจากการเป็นคณะรัฐมนตรีของวอร์ชิงตัน และกลับไปยังบ้านที่ Monticello แต่ยังเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับ Hamilton และ Washington

อย่างไรก็ตามเมื่อมีสัญญา Jay Treaty ในปี ค.ศ. 1794 ที่ Hamilton ได้ประชาสัมพันธ์ว่าเป็นการนำสันติภาพและการค้ากับอังกฤษ มาสู่สหรัฐอีกครั้ง แต่ Madison ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจฟเฟอร์สันต้องการในลักษณะตรงกันข้าม คือการ “รัดคออดีตเมืองแม่อย่างอังกฤษ” ดังนโยบายปิดกั้นทางการค้า เพราะการใช้การค้าเป็นอาวุธ จะทำให้อังกฤษต้องยอมตามในสิ่งที่สหรัฐต้องการ

การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1796 และตำแหน่งรองประธานาธิบดีThe 1796 election and Vice Presidency
เมื่อหมดสมัยของ Washington และในฐานะเป็นตัวแทนของพรรค Democratic-Republican ในปี ค.ศ. 1796 เขาแพ้ในการเลือกประธานาธิบดีให้แก่
John Adams แต่ก็มีเสียงเพียงพอที่จะได้เป็นรองประธานาธิบดี (Vice President) ในปี ค.ศ. 1797–1801 ซึ่งโดยบทบาทของรองประธานาธิบดี เขาต้องเป็นประธานในการประชุมวุฒิสภา เขาได้เขียนคู่มือว่าด้วยการดำเนินการในรัฐสภา เรียกว่า a manual of parliamentary procedure แต่โดยรวมก็ไม่ได้มีบทบาทในวุฒิสภามากนัก

ภาพวาด Thomas Jefferson โดย Rembrandt Peale, ในปี ค.ศ. 1800

ในช่วงสมัยที่มีการเตรียมพร้อมที่จะเข้ารบกับฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “สงครามครึ่งๆกลางๆ (
Quasi-War) ได้มีการเตรียมการสะสมกำลังทัพเรือ ฝ่าย Federalists ในรัฐบาลของ John Adams ได้เริ่มสะสมกำลังทัพเรือ สร้างกองทัพบก เรียกเก็บภาษีเพิ่ม และพร้อมที่จะเข้ารบ มีการกำหนดห้ามฝ่ายที่จะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามที่จะได้สิทธิเป็นพลเมือง ด้วยวิธีการกีดกัน ดังในกฎหมาย Alien and Sedition Acts ในปี ค.ศ.1798 เจฟเฟอร์สันมองว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการโจมตีพรรคของเขามากกว่าจะไปจัดการกับฝ่ายศัตรู การโจมตีนี้มาจาก Matthew Lyon, วุฒิสมาชิกที่มาจากรัฐ Vermont.

เจฟเฟอร์สันและ Madison ได้รณรงค์เพื่อสนับสนุนข้อเขียน Kentucky and Virginia Resolutions, ซึ่งประกาศว่ารัฐบาลกลางไม่มีสิทธิที่จะใช้อำนาจที่ไม่ได้มีการมอบหมายให้โดยรัฐต่างๆ ข้อตกลงนี้หมายความว่า หากรัฐบาลกลางต้องการใช้อำนาจที่รัฐต่างๆไม่ได้มอบหมายให้ รัฐมีสิทธิที่จะละเสีย และไม่ปฏิบัติตามได้ ข้อตกลงนี้เป็นคำประกาศว่าสิทธิของรัฐ (States) รัฐมีสิทธิไม่ยอมรับ หรือเข้าขัดขวางได้
โดยแนวคิดแล้ว ประชาธิปไตยในแนวทางของเจฟเฟอร์สัน จะมีลักษณะให้ความสำคัญต้อบุคคลสูง ให้สิทธิของแต่ละรัฐ และการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจอย่างจำกัด

เมื่อเป็นผู้นำพรรครีพับลิกัน

ในช่วงปี ค.ศ. 1783-1784 เขาได้เข้าร่วมสภาแห่งทวีป (Continental Congress) เมื่อเขาได้มีส่วนร่างระบบหลักสิบ (Decimal System) ในด้านการเงิน แทนที่จะเป็นระบบปอนด์แบบอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1785 เขาได้เป็นผู้แทน ไปมีสัมพันธ์กับฝรั่งเศสแทน Benjamin Franklin และได้มีส่วนเห็นการปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 1789 ซึ่งเขามีความเห็นใจในฝรั่งเศส ความพยายามของเขา ร่วมด้วย John Adams ในการเจรจาสัญญาทางการค้ากับอังกฤษทำให้เขาตระหนักในความเห็นแก่ตัวของประเทศของเขา และเมื่อเขากลับมา เขาได้รับหน้าที่ให้ช่วยงานในฐานะรัฐมนตรีการต่างประเทศ หรือเรียกว่า Secretary of State

ในช่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงรับรองนั้น เขาไม่อยู่ในประเทศ แต่เขาสนับสนุนการมีรัฐบาลกลางที่แข็งแกร่ง แต่เมื่อมีการกล่าวถึงสิทธิประชาชน (Bill of Rights) เขาไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยไม่ได้ตระหนักถึงอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์ในช่วงที่เขาไม่อยู่ เขาไม่ได้ตระหนักถึงการคุกคามสังคมเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากข้อเสนอของ Alexander Hamilton ซึ่งเป็นคู่แข่ง และขั้วทางการเมืองที่ต่างกันกับเขาในช่วงนั้น เขาไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นพวกเห็นด้วยกับการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง (Federalist) หรือเป็นพวกต่อต้าน เขาเป็นพวกที่ต้องการสร้างความเป็นปึกแผ่นและความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับรัฐบาลใหม่

เจฟเฟอร์สันไม่ได้ต่างจาก Hamilton จนกระทั่งเริ่มแตกแยกกันในทิศทางที่จะชักจูงให้อังกฤษปล่อยป้อมและกำลังทหารในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งยังขัดกับขัอตกลงที่กระทำ ณ กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1783 เจฟเฟอร์สันเห็นด้วยกับวิธีการกดดันทางเศรษฐกิจด้วยการห้ามการนำเข้าสินค้าจากอังกฤษ แต่ Hamilton ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะเสียรายได้และทำให้แผนด้านการเงินของประเทศได้รับผลกระทบ เจฟเฟอร์สันไม่เห็นด้วยกับ Hamilton ในการจัดตั้งธนาคารแห่งชาติ (The Bank of the United States) ด้วยเหตุที่ว่ารัฐธรรมนูญไม่สามารถให้กระทำได้ แต่ในที่สุด Hamilton ก็เป็นฝ่ายชนะ

ด้วยความที่กลัวว่าประเทศจะกลับไปสู่ระบบกษัตริย์ เจฟเฟอร์สันได้กลายเป็นผู้นำของกลุ่มต่อต้านการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง (Anti-Federalist Forces) เขาได้รวบรวมคนที่มีความคิดคล้ายกันที่เรียกตัวเองว่า พวกนิยมระบบสาธารณรัฐ (Republicans) ซึ่งในที่นี้หมายถึงพวกที่เห็นด้วยกับการทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระบบสาธารณรัฐ – Republic) หรือพวกที่มีความเชื่อในระบอบสาธารณรัฐ และกลุ่มนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของพรรคเดโมแครต (Democratic Party) กลุ่มนี้มีการจัดตั้ง และในปี ค.ศ. 1791 มีหนังสือพิมพ์ของตนมีชื่อว่า National Gazette มีบรรณาธิการชื่อ Philip Freneau ทำหน้าที่ในการกระจายข่าวและความรู้สึกในการดำรงความเป็นระบอบสาธารณรัฐเอาไว้ ไม่ใช่กลับไปสู่การมีระบบกษัตริย์เหมือนอย่างของอังกฤษ

เพราะความที่ทั้งเจฟเฟอร์สันและ Hamilton ต่างมีความระแวงต่อกัน และประธานาธิบดีวอร์ชิงตันเองก็ไม่สามารถประนีประนอมได้ เจฟเฟอร์สันจึงลาออกจากคณะรัฐมนตรี และในระยะต่อมาเขาเป็นฝ่ายวิจารณ์ Jay’s Treaty ที่ได้กำหนดโดย Hamilton

The Jay Treaty of
1794 (also known as Jay's Treaty or the Treaty of London)

สนธิสัญญาเจย์ในปี ค.ศ. 1794 หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Treaty of London เป็นการตั้งชื่อให้เกียรติแก่ศาลสูงของสหรัฐชื่อ John Jay ที่ได้ทำความตกลงหลังสงครามประกาศอิสรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 1794 เพื่อยุติข้อพิพาทใดๆ ที่ยังค้างคาอยู่อันเป็นผลมาจากสงครามประกาศอิสรภาพ (American Revolutionary War)

พรรคของเจฟเฟอร์สันสามารถเลือกเขาให้เป็นรองประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1796 เนื่องด้วยตำแหน่งนี้จะได้แก่คนที่แข่งขันประธานาธิบดีและมีคะแนนเป็นอันดับที่สอง ในช่วงดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหาร เขาทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมรัฐสภา เขาได้มีส่วนเขียนคู่มือการประชุมรัฐสภาในปี ค.ศ. 1801
ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีกลุ่มต่างๆ มาสนับสนุนเจฟเฟอร์สันมากขึ้นมีฐานทั้งในพื้นที่ต่างๆ และมีจำนวนคนก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ในขณะที่กลุ่ม Federalists เริ่มขัดแย้งกันเองและเริ่มเสื่อมลงไป เจฟเฟอร์สันเป็นฝ่ายเห็นด้วยกับการที่รัฐแต่ละรัฐจะมีอำนาจและสิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

พวก Federalists หมายถึงพวกหรือพรรคที่ต้องการความแข็งแกร่งของรัฐบาลกลาง ซึ่งต่างจากพวก Republicans นำโดยเจฟเฟอร์สัน ที่เห็นการเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม และรัฐบาลกลางมีบทบาทน้อย เท่าที่จำเป็น

เมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

พรรครีพับลิกันได้รับชัยชนะอย่างง่ายดายจากการเลือกตั้ง และมีคนกล่าวว่าในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1800 นั้นเป็นการปฏิวัติแห่งปี ค.ศ. 1800 เมื่อคะแนนของ Aaron Burr ผู้ซึ่งหวังจะชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี แต่มีคะแนนเท่ากับเจฟเฟอร์สัน การเลือกจึงตกอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่าง หลังจากได้อภิปรายกันนานแต่เกิดคะแนนก่ำกึ่ง จนกระทั่งฝ่าย Hamilton ได้หันไปแนะนำให้ฝ่าย Federalists สนับสนุนเจฟเฟอร์สันด้วยเห็นว่ามีอันตรายน้อยกว่า Burr

Aaron Burr เป็นนักการเมืองที่มีฐานเสียงสำคัญมาจากทางรัฐนิวยอร์ค เป็นคู่ปรับทางการเมืองอีกคนหนึ่งของ Hamilton

เจฟเฟอร์สันได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ณ กรุงวอร์ชิงตันดีซี เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มีที่ทำงานในเมืองนี้ เมืองที่เขามีส่วนร่วมออกแบบ เมื่อเขาดำรงตำแหน่ง เขาได้นำบรรยากาศของความเรียบง่ายแบบรีพับลิกันเข้ามาสู่เมืองหลวง มีการตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง จัดคนของพรรครีพับลิกันเข้าทำหน้าที่แทนคนจากพรรค Federalist และลดอำนาจของฝ่ายตุลาการลง ด้วยมีความเชื่อว่าฝ่าย Federalists ต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานอำนาจ ในรัฐบาล เขาเชื่อว่ารัฐบาลกลางควรทำหน้าที่มากที่สุดทางด้านการต่างประเทศ ปล่อยให้การบริการรัฐและท้องถิ่นเป็นเรื่องอิสระตามแต่ท้องถิ่นจะดำเนินการ

แม้ว่าเขามีความเชื่อในเรื่องการมีรัฐบาลกลางที่มีอำนาจอย่างจำกัด แต่ เขาก็ได้ผลักดันให้มีการซื้อรัฐลุยเซียน่า (Louisiana) ทั้งๆ ที่การกระทำนี้ไม่ได้ระบุอำนาจในรัฐธรรมนูญ เขามีความสนใจในการขยายดินแดนไปทางตะวันตก และทำการสำรวจที่ทำให้มีการสนับสนุนการเดินทางสำรวจโดย Lewis และ Clark ในการขยายแผ่นดินมาทางใต้ เขาเห็นด้วยกับการซื้อฟลอริดาและผนวกเข้ากับแผนซื้อลุยเซียน่า แต่การที่เขาพยายามทำให้ได้ความยอมรับจากฝ่ายสเปนนั้น ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรค และได้รับการโจมตีจาก John Randolph ในรัฐสภา

John Randolph (Williamsburg)
From Wikipedia, the free encyclopedia

จอห์น แรนดอล์ฟ (1727January 31, 1784) เป็นนักกฎหมายชาวอเมริกันที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายกฎหมายให้กับกษัตริย์อังกฤษในอาณานิคม Williamburg ในรัฐเวอร์จิเนีย เขาได้รับใช้ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1766 จนกระทั่งเกิดสงครามประกาศอิสรภาพ

ในระยะแรก Randolph พยายามที่จะไกล่เกลี่ยกับกบฏฝ่าย Burgesses กับฝ่ายผู้ว่าการ Dunmore ซึ่งสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์อังกฤษ แต่เมื่อสงครามไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เขาจึงต้องเดินทางกลับสู่ Scotland พร้อมกับ Lord Dunmore เพราะเขาเชื่อว่าหากอยู่ต่อไป จะเป็นการขัดต่อคำสาบานที่ได้ให้ไว้ต่อหน้าที่ แม้เขาจะมีความโน้มเอียงเห็นใจต่อฝ่ายกบฏก็ตาม

เมื่อ Randdolph เสียชีวิตในกรุงลอนดอนในปีค.ศ. 1784 และด้วยคำขอของเขา เพื่อให้นำร่างของเขากลับไปฝัง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่างของเขาได้ถูกฝัง ณ โบสถ์ของวิทยาลัย William and Mary ในเมือง Williamsburg บุตรชายของเขาชื่อ Edmund Randolph ได้เป็นผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย และเป็นอัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา

ในช่วงการดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สองของเขา ความยากลำบากของเขาคือการที่เรือของสหรัฐซึ่งอยู่ในฐานะชาติเป็นกลาง ได้รับการโจมตีในช่วงสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส และเพราะสงครามดังกล่าว เขาได้ประกาศการห้ามส่งสินค้าไปอังกฤษ (Embargo) แต่นั้นก็กลับไปทำร้ายประชาชนที่เขายึดถือ เพราะการห้ามการส่งสินค้าทำให้ได้รับแรงต่อต้านและท้ายสุดก่อนที่เขาจะหมดวาระ ก็ต้องยอมตาม ยกเลิกการคว่ำบาตรสินค้านั้น

การเป็นประธานาธิบดีในช่วง ค.ศ. 1801-1809
Presidency 1801–1809


Administration and cabinet
เมื่อเขาเป็นประธานาธิบดีทั้งในสมัยแรก และสมัยที่สอง เขาต่างจาก John Adams คือ เขาได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของเขาเอง โดยเป็นการเปลี่ยนฝ่ายบริหารจากพวกที่นิยมการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง พวก Federalists มาเป็นพวกที่ยึดถือในแนวทางของฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตย

คณะรัฐบาลของเขามีหลายบุคคลที่กลายเป็นบุคคลสำคัญในการสืบทอดแนวคิดสาธารณรัฐครองอำนาจการเมืองการปกครองต่อมาอีกหลายสิบปี

The Jefferson Cabinet
Office
Name
Term
ประธานาธิบดี
President
Thomas Jefferson
1801 – 1809
รองประธานาธิบดี
Vice President
Aaron Burr
1801 – 1805
George Clinton
1805 – 1809
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
Secretary of State
James Madison
1801 – 1809
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
Secretary of Treasury
Samuel Dexter
1801
Albert Gallatin
1801 – 1809
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม
Secretary of War
Henry Dearborn
1801 – 1809
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
Attorney General
Levi Lincoln, Sr.
1801 – 1804
John Breckinridge
1805 – 1806
Caesar A. Rodney
1807 – 1809
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทัพเรือ
Secretary of the Navy
Benjamin Stoddert
1801
Robert Smith
1801 – 1809

Aaron Burr, Jr. เป็นรองประธานาธิบดีในสมัยแรก – เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1766 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1836 เป็นนักการเมืองอเมริกัน เป็นวีรบุรุษจากสงคราม เป็นนักผจญภัย เขาได้เป็นประธานาธิบดีในสมัยของ Thomas Jefferson ในสมัยแรก แต่ด้วยความที่เขามีความขัดแย้งกับ Alexander Hamilton บุคคลสำคัญในฝ่ายพรรค Federalists เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในยุคของวอร์ชิงตัน อันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและส่วนตัว จนทำให้เกิกการท้าดวลกันขึ้น และเขาได้สังหาร Hamilton ลง และตัวเขาเองแม้จะไม่ได้ถูกตัดสินผิดฐานฆ่าคนตาย แต่ก็ทำให้เขาหมดอนาคตทางการเมืองไปโดยเกือบสิ้นเชิง

George Clinton เป็นรองประธานาธิบดี - เกิดในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1799 และเสียชีวิตในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1812 เขาเป็นทหารอเมริกัน และเป็นนักการเมือง เขาได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คที่ครองตำแหน่งนานที่สุด และเป็นรองประธานาธิบดีของสหรัฐถึงสองคน คือ Thomas Jefferson และ James Madison โดยที่ George Clinton เป็นฐานเสียงที่มาจากรัฐนิวยอร์ค ซึ่งเป็นฐานของฝ่าย Alexander Hamilton ผู้นำในกลุ่ม Federalists ซึ่งมาจากรัฐนิวยอร์คเช่นเดียวกัน

เมื่อประธานาธิบดี คือ เจฟเฟอร์สัน เป็นคนมีฐานจากทางภาคใต้ การให้เกิดดุลยภาพทางการเมือง คือการได้คนที่เป็นตัวแทนมาจากทางเหนือ อย่างรัฐนิวยอร์ค

Abraham Alfonse Albert Gallatin เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง - เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1761 และเสียชีวิตในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1849 เป็นชาวสวิสเกิดในสวิส แต่ได้มาตั้งรกรากในสหรัฐ เขาเป็นนักศึกษาด้านมานุษยวิทยา นักภาษาศาสตร์ นักการเมือง นักการฑูต และวุฒิสมาชิก และที่สำคัญคือได้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยของทั้ง Jefferson และ Madison และเขาได้เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย New York University.

เมื่อเขาได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิกในปี ค.ศ. 1793 เขาได้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียง 14-12 ตามคะแนนเสียงแยกตามพรรค โดยเหตุผลว่าเขาได้รับเข้าเป็นประชาชนของสหรัฐน้อยกว่า 9 ปี (Citizenship) ในปี ค.ศ. 1795 เขาได้รับเลือกเข้าสู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้เป็นหัวหน้าเสียงส่วนมากของสภา และเขาได้เป็นตัวแทนที่จะนำเสนอในเรื่องอันเกี่ยวกับงบประมาณ และแนวทางการเงินของเขา จะตรงกันข้ามกับของ Alexander Hamilton

เขาเป็นผู้ช่วยก่อตั้งคณะกรรมาธิการงบประมาณให้กับ House Committee ซึงต่อมาเรียกว่า the Ways and Means Committee และขณะเดียวกัน เขาจะช่วยฝ่ายบริหารที่จะปฏิเสธหรือส่งกลับสิ่งที่ฝ่ายบริหาร คือประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย หรือปฏิบัติไม่ได้

James Madison, Jr. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ - เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1751 และเสียชีวิตวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1836 เป็นนักการเมืองอเมริกัน ในระยะต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1809-1817) และเป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ (Founding Fathers) ของสหรัฐอเมริกา Madison เป็นกลุ่มบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนที่เสียชีวิตล่าสุด เมื่อมีการร่างและประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 เขามีอายุได้เพียง 25 ปี เขาเป็นเพื่อนร่วมคิด เป็นคนได้รับการศึกษามาอย่างดี รู้เรื่องรัฐธรรมนูญอย่างดี และเป็นผู้รวมความคิดและอุดมการณ์กับเจฟเฟอร์สันอย่างใกล้ชิดตลอดมา

การแต่งตั้งคณะศาลสูง
Supreme Court appointments

Jefferson ได้แต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ศาลสูงของสหรัฐอเมริกา คือ
-
William Johnson – แต่งตั้งปี ค.ศ.1804
-
Henry Brockholst Livingston – แต่งตั้งปี ค.ศ.1807
-
Thomas Todd – แต่งตั้งปี ค.ศ.1807

การแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในศาลสูง หรือในประเทศไทยอาจเทียบได้กับศาลฎีกา เป็นการสรรหา และการนำเสนอเพื่อการแต่งตั้ง แต่การพิจารณาและตรวจสอบจะกระทำโดยรัฐสภา นับเป็นการปฏิบ้ติตามรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจทั้งสาม คือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ มีการคานอำนาจ และมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน

รัฐที่ได้รับเข้าเป็นสมาชิกในความเป็นสหรัฐในยุคของเขา คือ

- OhioMarch 1, รับเป็นสมาชิกรัฐหนึ่งของสหรัฐในปี ค.ศ 1803

รูปลักษณ์และอารมณ์

หากได้ศึกษาประวัติชีวิตของเจฟเฟอร์สันอย่างใกล้ชิด จะพบว่าเขาเป็นคนที่มีลักษณะแปลก และหลายอย่างขัดแย้งกันเอง เช่น เขาเขียนและพูดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความเป็นอิสระ และเสรีภาพ แต่ขณะเดียวกัน เขาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ และได้รับประโยชน์จากสมบัติจากทางฝ่ายภรรยา และทำให้เขาและภรรยาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ และมีทาสจำนวนมากในครอบครอง ช่วงที่มีมากที่สุด มีถึง 150 คน และตลอดชีวิต เขาไม่ได้แสดงให้เห็นมากนักว่า เขาจะปลดปล่อยทาสเหล่านั้น

หลายๆครั้งที่เขาแสดงตัวถึงความเป็นตัวแทนของคนระดับล่าง ชาวนา คนชนบท ความเรียบง่าย แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาได้รับการอบรมมาในแบบขุนนาง ชื่นชมในศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ความศิวิลัยของยุโรป เขาชื่นชอบรสอาหาร เขาชอบดื่มไวน์ เครื่องเคลือบ เขาชอบอ่าน เขามีหนังสือสะสมนับได้กว่า 15,000 เล่ม ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือแต่ละเล่มมีราคาสูงยิ่ง เขาติดกับรสนิยมหรูแบบยุโรปราชสำนักแบบฝรั่งเศส เขาใช้จ่ายสิ้นเปลือง และนั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาไม่สามารถเลิกการครอบครองทาสได้ เพราะเขายังต้องขายทาสเพื่อปลดปล่อยหนี้สิ้นส่วนตัวของเขา

เจฟเฟอร์สัน มีคนหลายคนเรียกเขาว่า “ปราชญ์แห่ง Monticello” ตามคำบอกเล่าของหลายๆคนว่าเป็นคนผอม สูง และเมื่อยืนจะมีความสูง 6 ฟุต และยืนตัวตรงอย่างเห็นได้ชัด

ชีวิตของเจฟเฟอร์สันจะผูกพันกับบ้านของเขาที่ Monticello บางส่วนให้ฉายาเขาว่า “คนของประชาชน” เมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจะมีบรรยากาศในการทำงานที่ทำเนียบที่เรียบง่าย ใส่เสื้อผ้าที่ถักทอแบบง่ายๆ แบบเป็นเสื้อคลุมและรองเท้าแตะ Dolley Madison ภรรยาของ James Madison ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และบุตรสาวของ Jefferson ได้ช่วยให้บรรยากาศของทำเนียบที่เคยเป็นแบบทางการ ได้กลายเป็นงานรับประทานอาหารที่เป็นกันเอง มีการแสดงทางสังคม Jefferson เป็นผู้ที่รณรงค์ให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อเสรี แต่บางครั้ง เขาเองก็มีการโต้เถียงกับสื่อ และการเรียกร้องต่อประชาชนออกมาเป็นครั้งคราว

เขาเป็นคนเขียนหนังสือได้ดี สไตล์การเขียนจะเป็นแบบนิยมประโยชน์ใช้สอย (Utilitarian) และมีลักษณะความเป็นปัญญาชน เขาสนใจในการใช้ภาษา เขาเรียนภาษา Gaelic เพื่อที่จะได้แปลงานอย่าง Ossian และส่งต่อไปยัง James Macpherson

เมื่อเขาเป็นประธานาธิบดี เขาได้หยุดประเพณีการกล่าวสุนทรพจน์ที่จะเสนอต่อรัฐสภาที่เรียกว่า the State of the Union Address แต่เปลี่ยนเป็นการส่งงานเขียนไปยังรัฐสภา การนำเสนอเช่นนี้มีไม่มากนัก ซึ่งในระยะต่อมา มีประธานาธิบดี Woodrow Wilson ซึ่งเป็นในราวๆช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วที่ได้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน Jefferson ได้กล่าวสุนทรพจน์เพียง 2 ครั้งในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเป็นคนมีโรคพูดไม่ชัด (Lisp) และจึงชอบที่จะเขียนมากกว่าการพูดหรือกล่าวสุนทรพจน์ต่อชุมชน เมื่อภรรยาของเขาเสียชีวิต เขาได้นำจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างเขากับภรรยาทั้งหมดเผาทิ้ง ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวมาก เขาเป็นคนชอบทำงานในห้องทำงานที่มีความเป็นส่วนตัว มากกว่าที่จะอยู่ต่อหน้าสาธารณชน

- Lisp คือการพูดหรืออกเสียงไม่ชัด

การก่อตั้งมหาวิทยาลัย
Father of a university


The Lawn, University of Virginia.




หลังหมดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง Jefferson ยังคงมีบทบาทในชีวิตสาธารณะของเขา เขาได้ให้ความสนใจในการก่อตั้งสถาบันการศึกษาขั้นอุดม โดยมีความเป็นอิสระทางศาสนา โดยไม่อยู่ในกำกับของศาสนาใด ผู้เรียนสามารถเลือกเชี่ยวชาญได้ในหลายๆสาขาวิชาที่ไม่มีเสนอในมหาวิทยาลัยอื่นๆในขณะนั้น Jefferson เชื่อว่าการให้การศึกษาแก่คนเป็นวิธีการที่ดีอันหนึ่งในการสร้างสังคมใหม่ สำหรับโรงเรียนนั้น ค่าใช้จ่ายควรจ่ายโดยรัฐ เพื่อให้คนที่ยากจนไม่มีฐานะได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนเช่นเดียวกัน จากจดหมายพูดคุยกับ
Joseph Priestley ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1800 Jefferson ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้มีความสนใจและได้วางแผนของมหาวิทยาลัยมานานนับเป็นหลายทศวรรษแล้ว

อย่างไรก็ตาม ความฝันของเขาเป็นจริงในปี ค.ศ. 1819 เมื่อเขาก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนีย (The University of Virginia) ในการเปิดมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1825 นั้นนับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่ได้ให้มีวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษา สำหรับสิ่งก่อสร้างของมหาวิทยาลัย นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ โดยมีลักษณะเด่นชัดที่ศูนย์กลางของมหาวิทยาลัย แทนที่จะเป็นวัด แต่กลับเป็นหอสมุด อ้นที่จริงแล้วในการวางแผนการก่อสร้าง จะไม่มีโบสถ์ในมหาวิทยาลัย และจนกระทั่งเมื่อก่อนเขาเสียชีวิต เขาจะเชิญนักศึกษาและคณาจารย์มาร่วมสังสรรค์ที่บ้านของเขา Edgar Allan Poe นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง นับเป็นหนึ่งในกลุ่มนักศึกษาที่ได้มีโอกาสไปสังสรรค์กับ Jefferson ที่บ้านของเขา

มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนีย (The University of Virginia) ตั้งที่เมือง Charlottesville รัฐเวอร์จิเนีย ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1819 โดย Thomas Jefferson ปัจจุบันมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ (Public university) มีเงินกองทุนมูลค่า 5,100 ล้านเหรียญ (USD) หรือประมาณ 170,850 ล้านบาทไทย มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี 13,636 คน ระดับบัณฑิตศึกษา 6,554 คน และมีคณาจารย์ 2,102 คน วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยได้เป็น World Heritage Site ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,682 เอเคอร์ หรือประมาณ 681 เฮคเตอร์

แนวคิดการที่รัฐบาลของรัฐส่งเสริมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนับเป็นความก้าวหน้าแห่งยุค เพราะก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นมักเป็นการก่อตั้งโดยเอกชน อันได้แก่ศาสนา และมักจะมีแต่บุตรหลานของคนมีฐานะที่จะได้ไปศึกษา ตราบจนในปี ค.ศ. 1862 จึงได้มีนิติบัญญัติชื่อ Morrill Act ปี ค.ศ. 1962 ที่รัฐบาลกลางได้กำหนดให้แต่ละรัฐ ต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในรัฐของตน

ปรัชญาการเมือง (Political philosophy)

In his May 28, 1818 letter to Mordecai Manuel Noah, Jefferson expressed his faith in mankind and his views on the nature of democracy.


เจฟเฟอร์สันเป็นผู้นำด้านความคิดและการพัฒนาความเป็นสาธารณรัฐของสหรัฐอเมริกา เขาชี้ให้เห็นระบบขุนนางแบบอังกฤษ (Aristocratic System) ว่าเป็นเหตุแห่งการฉ้อฉล และการที่อเมริกาจะเป็นอิสระได้ คือการต้องหลุดพ้นจากระบบดังกล่าว ในช่วงทศวรรษ 1790s เขาเตือนว่าแนวความคิดของ Hamilton และ Adams ที่พยายามจะสถาปนาระบบกษัตริย์ในแบบอังกฤษขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะเป็นตัวบ่อนทำลายความเป็นสาธารณรัฐใหม่นี้ เขาสนับสนุนสงครามปี ค.ศ. 1812 ในยุคประธานาธิบดี Madison ที่ทำต่ออังกฤษ โดยหวังว่าจะเป็นการผลักดันการทหารของอังกฤษออกจากแคนาดา ทัศนะค่านิยมของเจฟเฟอร์สันที่มีต่อประเทศ คือการเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ควรให้ความสำคัญต่ออาชีพหลักของประชากร ซึ่งตรงกันข้ามกับความคิดของฝ่าย Alexander Hamilton ที่เล็งเห็นความรุ่งเรืองของชาติในฐานะเป็นชาติอุตสาหกรรมและการค้าขาย ซึ่งเจฟเฟอร์สันเห็นว่าในแนวทางดังกล่าวเป็นเหตุแห่งการคอรัปชั่น ด้วยเขาเห็นว่าชาติที่เกิดใหม่อย่างอเมริกานั้นควรหลีกเลี่ยงความน่ากลัวของการแบ่งชนชั้นในแบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับสังคมอุตสาหกรรมในยุโรป

หลักการและแนวคิดทางการเมืองแบบสาธารณรัฐของเขานั้นได้รับอิทธิพลจาก “พรรคชนบท” (Country Party) ในศตวรรษที่ 18 ที่มีนักเขียนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามในอังกฤษนำเสนอ เขาได้รับอิทธิพลจาก John Locke โดยเฉพาะในส่วนของสิทธิที่ไม่สามารถพรากไปได้ (Inalienable rights) นักประวัติศาสตร์ได้มองเห็นแนวคิดของเขาที่ได้รับอิทธิพลขากนักคิดแห่งยุคอย่าง Jean-Jacques Rousseau ของฝรั่งเศส
เจฟเฟอร์สันไม่เห็นด้วยกับการมีธนาคารแห่งชาติ (
Bank of the United States) โดยเขาแสดงทัศนะว่า “ข้าพเจ้าเชื่ออย่างจริงใจว่า ระบบธนาคารที่ตั้งขึ้นจะเป็นอันตรายเสียยิ่งกว่ากองทัพ และหลักการใช้เงินนี้จะถูกคนที่ได้เปรียบกว่านำไปเป็นประโยชน์ต่อตนหรือกลุ่มของตน” แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ Madison ซึ่งเป็นคณะร่วมคิดของ Democratic Republicans ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีก็พบว่า การที่ไม่มีระบบการเงินเพื่อสนับสนุนรัฐบาลกลางให้เข้มแข็งนั้น ทำให้การเข้าทำสงครามเป็นไปด้วยความยุ่งยาก เพราะความที่ขาดธนาคารแห่งชาติที่จะช่วยจัดการด้านการเงินสนับสนุน ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ในยุคของประธานาธิบดี George Washington ก็ได้ประสบกับปัญหาการมีกองทัพที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ และเมื่อ Washington เป็นประธานาธิบดี ก็ประสบปัญหาในการจัดการกับประเทศ ที่ทำให้ต้องพึ่งการบริหารงานและจัดการด้านการเงินโดย Hamilton ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ในที่สุด แม้ Madison จะได้ปล่อยให้ธนาคารแห่งชาติที่ได้ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกจะหมดอายุกฎบัตรที่ได้รับอนุญาต แต่ด้วยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ต้องทำหน้าที่อยู่ ก็ต้องจัดให้มีธนาคารแห่งชาติแห่งที่สอง (Second Bank of the United States) ขึ้นในปี ค.ศ. 1816

เจฟเฟอร์สันเชื่อในสิทธิที่ไม่สามารถจะพรากไปจากบุคคลได้ (Certain inalienable rights) สิทธิของคนหรือของมนุษย์นี้ แม้มีหรือไม่มีรัฐบาล ก็ไม่มีสิทธิที่จะพรากสิทธินี้ หรือนำไปให้ผู้อื่นใดได้

สิทธิที่จะมีเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งเจฟเฟอร์สันได้ให้ความสำคัญอย่างมาก เขาให้คำจำกัดความของเสรีภาพนี้ว่า เป็นสิทธิที่จะไม่มีการขวางกั้น ตราบเท่าที่สิทธินี้ไม่ไปบดบังสิทธิของผู้อื่นที่ต้องมีอย่างเท่าเทียมกัน และเขาได้กล่าวว่า “เขาไม่ได้หมายความว่าสิทธิตามกฎหมาย” เพราะกฎหมายอาจมีการกำหนดโดยเผด็จการ แม้เจฟเฟอร์สันจะกล่าวว่าสิทธินี้ รัฐบาลจะไม่สามารถสร้างสิทธิที่จะมีเสรีภาพนี้แก่บุคคล แต่รัฐบาลก็มีสิทธิ หากสิทธินี้มีบุคคลใดใช้เพื่อเสรีภาพแห่งตนจนเป็นเหตุให้คนอื่นๆต้องสูญเสียสิทธิและเสรีภาพนั้นไป หน้าที่ของรัฐบาล ตามความหมายของเจฟเฟอร์สัน คือการห้ามหรือป้องก้นไม่ให้บุคคลในสังคมไปกระทำการปิดกั้น หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

ในด้านความเชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ เขาได้แสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยการยกเลิกกฎหมายดั่งเดิม ที่ให้สิทธิของบุตรชายคนแรก ที่จะเป็นผู้รับมรดกในที่ดินและทรัพย์สินของตระกูล
ความเชื่อในเรื่องของศีลธรรม เขาเชื่อว่าบุคคลต้องมีสำนึกในศีลธรรม ที่จะทำในสิ่งต่างๆ ที่จะต้องแยกระหว่างความถูกและความผิดในการที่จะมีต่อคนอื่นๆ ด้วยเขาต้องสำนึกตลอดเวลาว่าคนอื่นๆ ย่อมมีสิทธินี้เช่นเดียวกันกับเขา เขามีความเชื่อว่า หากประชาชนมีสำนึกในสิทธิของตนเองและผู้อื่นๆอย่างเพียพอแล้ว แม้บ้านเมืองจะปกครองอย่างเป็นอนาธิปไตย (
anarchist society) สังคมนั้นๆ ก็จะดำรงอยู่ได้อย่างดี หากมันมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก ในหลายโอกาส เขาได้แสดงความชื่นชมต่อคนพื้นเมืองที่เป็นชนเผ่าโบราณ ที่คงอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีกฎหมายในแบบสมัยใหม่เขียนเอาไว้ ในบางครั้งแนวคิดของเจฟเฟอร์สันมีลักษณะเป็นปรัชญาอนาธิปไตย (philosophical anarchist)

ความคิดในแบบใกล้อนาธิปไตย เขาได้กล่าวถึงในจดหมายที่เขียนถึงนายพัน Carrington ว่า “สังคมคนพื้นเมืองอย่างอินเดียนนั้น เขาอยู่กันอย่างไม่มีรัฐบาล เขาชื่นชมในการอยู่กันได้อย่างมีความสุขเสียยิ่งกว่าคนที่อาศัยอยู่ในสังคมภายใต้รัฐบาลในแบบยุโรป” แต่อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า “อนาธิปไตยจะไม่ค่อยสอดคล้องกับขนาดสังคมที่ใหญ่ขึ้น มีประชากรมากขึ้น” ดังนั้นเขาจึงไม่ส่งเสริมให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐได้ขยายใหญ่จนเกินไป และอยากให้อยู่ในระดับที่จะบริหารกันได้

เราตระหนักในข้อเท็จจริงว่า มนุษย์ทุกคน ถูกสร้างมาให้มีความเท่าเทียมกัน มีความเป็นอิสระ และสิทธิที่จะเท่าเทียมกันนี้ไม่สามารถพรากไปจากเขาได้ และสิ่งที่สำคัญคือการต้องผดุงรักษาชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข และเพื่อมุ่งสู่จุดหมายนี้ รัฐบาลถูกสร้างขึ้นมาในหมู่คน ด้วยความยอมรับของคนที่จะถูกปกครอง และเมื่อใดที่รัฐบาลที่เขาได้ยอมรับนี้ ได้กระทำการที่ทำลายและที่ไม่ไปสู่จุดหมายของประชาชน จึงเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเลิกรัฐบาลนี้เสีย และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โดยมีฐานรากและหลักการที่ว่า อำนาจในการจัดตั้งนี้เป็นส่วนสำคัญต่อความปลอดภัยและความสุขของประชาชน

สิทธิของผู้ถูกปกครอง เขาเห็นว่าจะรับผิดชอบเฉพาะในชีวิตเขา ไม่สามารถนำไปผูกพันกับคนในรุ่นก่อนหน้านั้น ทั้งนี้รวมถึงการเป็นหนี้ตามกฎหมาย หนี้นั้นไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ “โลกเป็นของเฉพาะคนที่ยังมีชีวิต” เขาได้คำนวณว่า แม้กฎหมายดังรัฐธรรมนูญนั้น ก็มีอายุและวงจรในทุก 19 ปี ก็ควรจะหมดอายุ และอายุของคนที่จะมีบรรลุนิติภาวะ เขาก็ให้ไว้ที่ 19 ปี เมื่อคนโตพอที่จะรับผิดชอบในชีวิตด้วยเหตุผลของเขาเอง เขาเห็นว่า “หนี้ของชาติ” (National Debt) ควรจะต้องกำจัดออกไป เขาไม่เชื่อว่าคนในรุ่นหนึ่งจะต้องไปรับผิดชอบกับหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นก่อนหน้านั้น การจ่ายหนี้ที่สร้างด้วยคนรุ่นก่อน หากจะมีการจ่าย ก็เป็นเรื่องของความใจกว้าง แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะมีการเรียกร้องสิทธิกัน หรือเป็นเรื่องที่บังคับหรือผูกพันให้คนรุ่นหลังต้องรับผิดชอบ

การยืนหยัดในสิทธิของรัฐ (States) เจฟเฟอร์สันเป็นผู้ที่เชื่อในเรื่องของสิทธิของแต่ละรัฐ โดยเฉพาะในกรณีของรัฐเคนตักกี้และเวอร์จิเนีย (Kentucky and Virginia) ที่ได้มีข้อยุติในปี ค.ศ. 1798 ที่จะขยายอิทธิพลและอำนาจของรัฐบาลกลาง แต่ในทางกลับกัน นโยบายการต่างประเทศของเขาเป็นเรื่องไปทำให้ต้องมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ที่สำคัญที่สุด คือการซื้อรัฐลุยเซียน่าในปี ค.ศ.1803 เมื่อเขาใช้อำนาจและอิทธิพลของรัฐบาลกลาง ในการผนวกเขตแดนที่เคยเป็นของฝรั่งเศสและลูกหลานของอินเดียนแดงพื้นเมือง การที่เขาได้มีนโยบายปิดกั้นการค้ากับยุโรป (Embargo Act of 1807) ในปี ค.ศ. 1807 ซึ่งนับเป็นนโยบายที่ล้มเหลว และในอีกด้านหนึ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลกลางดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ในท้องถิ่นอย่างไร และซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่การเกิดสงครามในปี ค.ศ. 1802
ทัศนะของการพกพาอาวุธปืนView on the carrying of arms

เจฟเฟอร์สันได้ยึดมั่นในสิทธิและเสรีภาพของคนไปในหลายเรื่อง ในหนังสือชื่อ "Commonplace Book," เขาได้คัดลอกข้อความจาก Cesare, Marquis of Beccaria ในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืน (gun control) เขากล่าวว่า “กฏหมายที่ห้ามการพกพาอาวุธปืนนั้น เท่ากับไปปลดอาวุธคนที่ไม่คิดจะก่ออาชญากรรม กฎหมายจะเป็นอันตรายต่อคนที่จะถูกทำร้าย และเป็นประโยชน์ต่อคนที่จะไปทำร้ายคนอื่นๆ แทนที่จะไปป้องกัน กลับไปส่งเสริมให้เกิดการฆ่าคน คนที่ไม่พกอาวุธ จะถูกทำร้ายด้วยความมั่นใจมากกว่าคนที่มีอาวุธป้องกันตนเอง”

ทัศนะต่อบริษัทขนาดใหญ่
View on corporations


เจฟเฟอร์สันกล่าวว่า “ข้าพเจ้าหวังว่า เราจะบดขยี้ การเกิดของชนชั้นขุนนางที่ใช้เงินของเราจัดตั้งบริษัท (Corporations) ซึ่งในปัจจุบันก็กล้าพอที่จะท้าทายรัฐบาลของเรา เป็นการทดสอบความแข็งแกร่งของประเทศเรา” เขากล่าวอย่างแข็งขันในการต่อต้านบริษัท ที่จะมีต่อรัฐบาลและสังคมของอเมริกัน
ในส้งคมโลกในยุคหลายศตวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นปรากฎการณ์โดยทั่วไป ที่คนทำงานไม่ว่าจะเป็นในไร่นา หรือกรรมการในโรงงาน มีแต่หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ยิ่งทำงานหนัก ก็ยิ่งมีแต่ความยากจนและหนี้สิน แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่ค้าพืชผล คนที่ค้าเงิน และการเก็งกำไร กลับประสบความั่งคั่งร่ำรวย เจฟเฟอร์สันมีเหตุผลแห่งยุคสมัยที่จะสงสัยและระแวงในบทบาทของบริษัท ในระบบอุตสาหกรรม การค้า และการเงิน การธนาคาร ที่มีผลเหนือคนที่ต้องทำงานหนักในไร่นาจริงๆ

ทัศนะต่อระบบศาล
Views on the judiciary


เจฟเฟอร์สันได้รับการศึกษาที่จะเป็นนักกฏหมาย แต่เขาเป็นนักเขียน ไม่เคยสะดวกใจที่จะพูด และเคยว่าความมานับเป็นร้อยๆราย แต่เขามีทัศนะที่ไม่ดีนักต่อศาล เขามีความเชื่อว่าศาล (Judges) ควรเป็นฝ่ายเทคนิคที่เชี่ยวชาญ แต่ไม่ควรมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย เขาเห็นว่าการตัดสินของศาลในกรณี
Marbury v. Madison เป็นการระเมิดหลักการประชาธิปไตย แต่เขาไม่มีเสียงสนับสนุนในรัฐสภาเพียงพอที่จะแก้กฏหมายดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดของเขา แต่เขาก็ได้แสดงความคิดตอบโต้ของเขาลงใน judicial review:

ในการพิจารณาว่าศาลเป็นแหล่งสูงสุดที่จะตีความคำถามที่มีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ นับเป็นลัทธิที่อ้นตรายมากจริงๆ และทำให้เราต้องไปตกอยู่ภายใต้การกดขี่ของอำนาจคณาธิปไตย (Oligarchy) ศาลของเราเป็นคนซื่อสัตย์เหมือนกับคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นมากกว่านั้น ศาลท่านก็มีความโลภ โกรธ หลงในการมีพรรคพวก ในอำนาจ และสิทธิประโยชน์ทั้งปวง ศาลมีสิทธิดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นอำนาจที่อันตราย ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ เหมือนกับตำแหน่งอื่นๆ ที่จะต้องได้รับเลือกตั้งเข้ามา ……

ทัศนะของเจฟเฟอร์สันจะต่างจาก Madison เพื่อนร่วมความคิด และประธานาธิบดีคนต่อไป ตรงที่ Madison เห็นในความสำคัญของการมีศาลและระบบตุลาการ เป็นหนึ่งในอำนาจถ่วงดุลก้บอีกสองอำนาจ คือฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศาลสูงที่ดำรงตำแหน่ง และแต่งตั้งมาโดย John Adams และเป็นสมาชิกในพรรค Federalists คือ John Marshall ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานที่สุดในประวัติศาสตร์ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุด และได้มีส่วนสร้างเถียรภาพทางการเมืองการปกครองประเทศในช่วงแห่งการก่อตั้งประเทศใหม่นี้
Marshall ได้ตัดสิน และได้เขียนคำตัดสินของศาลสูง (
Supreme Court) ซึ่งรวมถึง

- Marbury v. Madison, 5 U.S. (1 Cranch) 137 (1803)
-
Fletcher v. Peck, 10 U.S. 87 (1810)
-
McCulloch v. Maryland, 17 U.S. 316 (1819)
-
Dartmouth College v. Woodward, 17 U.S. 518 (1819)
-
Cohens v. Virginia, 19 U.S. 264 (1821)
-
Gibbons v. Ogden, 22 U.S. 1 (1824)
-
Worcester v. Georgia, 31 U.S. 515 (1832)
-
Barron v. Baltimore, 32 U.S. 243 (1833)

Marshall ได้ทำงานในตำแหน่งหัวหน้าศาลสูงในยุคของประธานาธิบดี 6 คน ตั้งแต่คนแรก คือ John Adams และตามด้วย Thomas Jefferson, James Madison, James Monroe, John Quincy Adams และท้ายสุดในยุคของ Andrew Jackson

โดยทางการเมืองแล้ว Marshall เป็นฝ่ายสนับสนุนพวกเห็นด้วยกับการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง (Federalists) และเป็นปรปักษ์กับฝ่ายมีความคิดประชาธิปไตยเสรี คือพวกของ Jeffersonian ในยุคของเขา แต่สิ่งที่ Marshall ได้พิสูจน์ให้เห็นคือ “ความคงเส้นคงวา” และการทำงานอย่างไม่เอนเอียง อธิบายได้ เขาได้ร่วมตัดสินคดีมากกว่า 1,000 ราย และเขาเป็นคนเขียนคำอธิบาย 519 รายด้วยตัวของเขาเอง

ทัศนะต่อการมีทาส
Jefferson and slavery


Jefferson portrayedon the U.S. Nickel
1938–2004
2005
2006–present

Jefferson owned many slaves over his lifetime. Some find it baffling that Thomas Jefferson owned slaves yet was outspoken in saying that slavery was immoral and it should be abolished. Biographers point out that Jefferson was deeply in debt and had encumbered his slaves by notes and mortgages; he chose not to free them until he finally was debt-free, which he never was.
[68] Jefferson seems to have suffered pangs and trials of conscience as a result.[69] He wrote about slavery, "We have the wolf by the ears; and we can neither hold him, nor safely let him go. Justice is in one scale, and self-preservation in the other."[70]
During his long career in public office, Jefferson attempted numerous times to abolish or limit the advance of slavery. According to a biographer, Jefferson "believed that it was the responsibility of the state and society to free all slaves."[71] In 1769, as a member of the House of Burgesses, Jefferson proposed for that body to emancipate slaves in Virginia, but he was unsuccessful.[72] In his first draft of the Declaration of Independence, Jefferson condemned the British crown for sponsoring the importation of slavery to the colonies, charging that the crown "has waged cruel war against human nature itself, violating its most sacred rights of life and liberty in the persons of a distant people who never offended him, captivating & carrying them into slavery in another hemisphere." However, this language was dropped from the Declaration at the request of delegates from South Carolina and Georgia.
In 1778, the legislature passed a bill he proposed to ban further importation of slaves into Virginia; although this did not bring complete
emancipation, in his words, it "stopped the increase of the evil by importation, leaving to future efforts its final eradication." In 1784, Jefferson's draft of what became the Northwest Ordinance stipulated that "there shall be neither slavery nor involuntary servitude" in any of the new states admitted to the Union from the Northwest Territory.[73] In 1807, he signed a bill abolishing the slave trade.
Jefferson attacked the institution of slavery in his
Notes on the State of Virginia (1784):

There must doubtless be an unhappy influence on the manners of our people produced by the existence of slavery among us. The whole commerce between master and slave is a perpetual exercise of the most boisterous passions, the most unremitting despotism on the one part, and degrading submissions on the other.
[74]

In this same work, Jefferson advanced his suspicion that black people were inferior to white people "in the endowments both of body and mind."
[75] However, Jefferson did also write in this same work that a black person could have the right to live free in any country where people judge them by their nature and not as just being good for labor as well.[76] He also wrote, "Nothing is more certainly written in the book of fate than that these people are to be free. [But] the two races...cannot live in the same government. Nature, habit, opinion has drawn indelible lines of distinction between them."[25] According to historian Stephen Ambrose: "Jefferson, like all slaveholders and many other white members of American society, regarded Negroes as inferior, childlike, untrustworthy and, of course, as property. Jefferson, the genius of politics, could see no way for African Americans to live in society as free people."[77] His solution seems to have been for slaves to be freed then deported peacefully, failing which the same result would be imposed by war and that, in Jefferson's words, "human nature must shudder at the prospect held up. We should in vain look for an example in the Spanish deportation or deletion of the Moors. This precedent would fall far short of our case."[78]
Presidential Dollar of Thomas Jefferson
On
February 25, 1809, Jefferson repudiated his earlier view, writing in a letter to Abbé Grégoire:

Sir,—I have received the favor of your letter of August 17th, and with it the volume you were so kind to send me on the "Literature of Negroes." Be assured that no person living wishes more sincerely than I do, to see a complete refutation of the doubts I have myself entertained and expressed on the grade of understanding allotted to them by nature, and to find that in this respect they are on a par with ourselves. My doubts were the result of personal observation on the limited sphere of my own State, where the opportunity for the development of their genius were not favorable and those of exercising it still less so. I expressed them therefore with great hesitation; but whatever be their degree of talent it is no measure of their rights. Because Sir Isaac Newton was superior to others in understanding, he was not therefore lord of the person or property of others. On this subject they are gaining daily in the opinions of nations, and hopeful advances are making toward their re-establishment on an equal footing with the other colors of the human family. I pray you therefore to accept my thanks for the many instances you have enabled me to observe of respectable intelligence in that race of men, which cannot fail to have effect in hastening the day of their relief; and to be assured of the sentiments of high and just esteem and consideration which I tender to yourself with all sincerity.
[79]

The downturn in land prices after 1819 pushed Jefferson further into debt. Jefferson finally emancipated his five most trusted slaves; the others were sold after his death to pay his debts.
[80]

ในช่วงสุดท้าย

หลังจากปี ค.ศ. 1809 เจฟเฟอร์สันได้เกษียณจากงานและพักอยู่ ณ Monticello ที่เขารักเป็นอย่างยิ่ง ในระหว่างนั้นเขาได้ให้คำแนะนำแก่ Madison และ James Monroe ซึ่งได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อๆ มา ความไฝ่ฝันของเขาประการหนึ่งคือการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในระหว่างนั้นเขาได้เป็นประธานของสมาคมปรัชญาแห่งอเมริกัน (American Philosophical Society) ในปี ค.ศ. 1789-1815

เจฟเฟอร์สัน เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก นักปราชญ์ และรัฐบุรุษทางการเมือง เขาสนใจในงานด้านวรรณกรรม ศิลปะ และกิจกรรมหลายๆ ด้านของมนุษย์

เขามีแรงจูงใจด้านการศึกษาที่ต้องการเห็นการศึกษาที่เป็นอิสระ เสรีที่จะคิด จะพูด หรือแสดงออก ต้องการเห็นคนที่จะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบการปกครองที่เป็นสาธารณรัฐ ไม่ใช่ระบอบกษัตริย์ และเป็นระบอบที่เป็นประชาธิปไตย

หลังจากการเสียชีวิตของ Martha Wayles Skelton ภรรยาของเขา ในปี ค.ศ. 1784 เจฟเฟอร์สันไม่ได้แต่งงานใหม่ ในช่วงเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในทำเนียบขาว Dolley Madison ทำหน้าที่เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง

Dolley Madison หรือ Dorothea Dandridge Payne Todd "Dolley" Madison เกิดในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1768 และเสียชีวิตในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1849 เป็นภรรยาของ Madisonรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และประธานาธิบดีคนที่ 4 ของประเทศสหรัฐอเมริกา และDolley ทำหน้าที่เป็นดังสุภาพสตรีหมายเลขหนึงของประเทศในช่วงของประธาน์าธิบดี Thomas Jefferson เพื่อให้งานที่กำหนดให้สตรีหมายเลขหนึ่งอันเป็นภรรยาของประธานาธิบดีต้องทำ แต่เนื่องจาก Jefferson เป็นหม้ายเนื่องจากภรรยาเสียชีวิต เธอจึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดังกล่าว

ในช่วงทศวรรษที่ 1990 มีข่าวลือว่าเขาเป็นบิดาของเด็กที่เกิดจากทาสที่ชื่อ Sally Hemings ซึ่งเป็นน้องต่างมารดาของภรรยาเจฟเฟอร์สัน และผลจากการศึกษาด้าน DNA ในระยะหลังก็พบผลที่สนับสนุนข่าวลือนั้น และจากการศึกษาอย่างละเอียดโดยมูลนิธิ Jefferson Memorial Foundation ได้สรุปเกือบแน่ชัดว่าเขาเป็นบิดาของอย่างน้อย 1 หรือทั้งหมดของลูก 6 คนอันเกิดจาก Sally Hemings แต่บางคนที่ยกย่องเขาได้เชื่อว่าน้องชายของเจฟเฟอร์สันที่ชื่อ Randolph น่าจะเป็นพ่อของลูกๆ ของ Hemings

บทส่งท้าย

เจฟเฟอร์สันเป็นคนที่ฉลาดปราดเปรื่อง แต่ไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ เขามีส่วนดีๆที่ทำให้คนจดจำเขาไว้ในประวัติศาสตร์ในที่อันสูงส่ง

เขาเป็นคนทำให้เกิดการเมืองในระบบพรรคการเมือง

การก่อเกิดประชาธิปไตยในระบบมีพรรคการเมือง (Party System) เมื่อเกิดประเทศขึ้น ประธานาธิบดี Washington เห็นว่าประเทศเกิดใหม่ ยังมีความอ่อนแอและเปราะบาง ทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำงาน เสียสละเพื่อส่วนรวมตามแบบฉบับร่วมรบในสงคราม ซึ่งต้องมีเอกภาพ

แต่เจฟเฟอร์สันเห็นว่า เสรีภาพที่จะคิดและแสดงออกเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเอกัตตบุคคลมีความแตกต่าง ก็จะต้องยอมให้มีการต่อสู้กันทางความคิด และท้ายสุดคือให้ประชาชนตัดสิน ในคณะรัฐมนตรีของ Washington มีความขัดแย้งทางความคิด และแบ่งออกเป็นพวกที่เห็นด้วยกับฝ่ายอังกฤษ แต่เจฟเฟอร์สันเห็นใจและเข้าด้วยกับฝ่ายฝรั่งเศส เมื่อคิดถึงนโยบายการมีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง อีกฝ่ายก็มองเห็นรัฐบาลกลางที่แข็งแรงเป็นเรื่องที่น่ากลัว

การปล่อยให้คนมีอิสระ (Liberty) ก็ต้องให้คนได้มีเครื่องมือที่จะคิด และทำงาน พรรคการเมือง (Party System) คือโอกาสในการให้ประชาชนมีเครื่องมือในการทำงานการเมือง เพื่อประโยชน์ของประชาชนเอง
เจฟเฟอร์ส้นร่วมกับ Madison ในการก่อตั้งพรรค Democratic-Republican ที่จะต่อสู้ทางการเมืองกับพรรค Federalists และด้วยความคิดและการนำของ Jefferson ทำให้พรรค ได้ครองอำนาจติดต่อกัน จาก วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1801 จนถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1841 รวมเป็นเวลา 40 ปีต่อเนื่องกัน

การเมืองในระบบพรรคการเมือง

การแข่งขันกับพรรค Federalists

Election year
House
1788
1790
1792
1794
1796
1798
1800
1802
1804
1806
Federalist
37
39
51
47
57
60
38
39
25
24
Democratic-Republican
28
30
54
59
49
46
65
103
116
118
% Democratic-Republican
43%
43%
51%
56%
46%
43%
63%
73%
82%
83%
Senate


Federalist
18
16
16
21
22
22
15
9
7
6
Democratic-Republican
8
13
14
11
10
10
17
25
17
28
% Democratic-Republican
31%
45%
47%
34%
31%
31%
53%
74%
71%
82%

1. Thomas Jefferson March 4, 1801 - March 4, 1809 จากพรรค Democratic-Republican 2 สมัย
2. James Madison March 4, 1809 - March 4, 1817 จากพรรค Democratic-Republican 2 สมัย
3. James Monroe March 4, 1817 - March 4, 1825 จากพรรค Democratic-Republican 2 สมัย
4. John Quincy Adams March 4, 1825 - March 4, 1829 จากพรรค Democratic-Republican 1 สมัย
5. Andrew Jackson March 4, 1829 - March 4, 1837 จากพรรค Democratic 2 สมัย
6. Martin Van Buren March 4, 1837 - March 4, 1841 จากพรรค Democratic 1 สมัย
ประธานาธิบดี Martin Van Buren ตัวแทนของพรรค Democratic คนสุดท้าย ก่อนเปิดทางให้กับพรรค
Whig ซึ่งเป็นพรรคก้าวหน้า และส่งเสริมการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม และการวางโครงสร้างประเทศเพื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ ก่อนที่ท้ายสุด เข้าสู่ยุคของความขัดแย้งในการค้าทาส และการมีตัวแทนฝ่ายเหนือ คือ Abraham Lincoln ที่ยืนหยัดในนโยบายไม่แบ่งแยกประเทศ และการต้องเลิกการมีทาส (Abolition) ซึ่งเป็นพรรคใหม่ที่ชื่อว่า Republican ในขณะที่พรรคเกิดใหม่อย่าง Whig ก็ค่อยๆหมดบทบาทลง

ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา จะมีโอกาสน้อยมากที่บุคคลจะเข้าสู่การเมืองในระดับวุฒิสมาชิกและสู่ระดับผู้นำประเทศที่จะเป็นผู้สมัครอิสระ โดยไม่สังกัดพรรค แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้ห้ามไว้
พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic-Republican Party)

From Wikipedia, the free encyclopedia
Democratic-Republican Party
ช่วงเวลามีอำนาจYears active
1792-1824

ทัศนะการเมือง
Political Ideology


Classical liberalism, strict constructionism, agrarianism, Republicanism in the United States
เสรีนิยมในแบบดั่งเดิม เน้นแนวคิด Constructionism แบบเข้มงวด เน้นสังคมประเทศแบบชาวนาอิสระ ยืนหยัดในความเป็นระบบสาธารณรัฐ ไม่ต้องการให้ประเทศหันไปใช้การปกครองในแบบกษัตริย์ หรือใกล้เคียง
จุดยืนทางการเมืองPolitical Position
N/A
การต่างประเทศInternational Affiliation
N/A
พรรคก่อนหน้านี้Preceded by

พรรคต่อไปSucceeded by
Democratic Party

การยึดมั่นในความเป็นระบบสาธารณรัฐ เจฟเฟอร์สันได้ยืนหยัดต่อต้าน Hamilton และรวมถึงแย้งกับประธานาธิบดี Washington ในหลายๆครั้ง ด้วยเหตุของการมีความยึดมั่นในระบบสาธารณรัฐอย่างเคร่งครัด
ความขัดแย้ง และการต่อสู้ทางการเมืองกับ Alexander Hamilton, John Adams, และในหลายครั้ง รวมไปถึง George Washington นั้นเป็นการต่อสู้ทางความคิดและการเมอง แต่ไม่มีการต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้ และไม่มีเหตุการณ์ปฏิวัติ รัฐประหารอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมยุคใหม่ และเมื่อเราได้ศึกษาแล้ว จะพบว่ามันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการยึดอำนาจกัน (Coup d’etat) อย่างที่กระทำกันในบางประเทศในปัจจุบัน

สิทธิเสรีภาพ (Liberty)

ความเป็นนักคิด นักเขียน การให้เสรีภาพแก่สื่อ การได้มีเอกสารอันเป็นหลักของประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ที่ให้คนได้ศึกษาต่อมา


No comments:

Post a Comment