Sunday, April 5, 2009

บทที่ 1 สหรัฐอเมริกา ยุคอาณานิคม (Colonial America)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

อเมริกายุคอาณานิคม
(Colonial America)

อเมริกายุคอาณานิคมเป็นผลมาจากลัทธิการค้าของอังกฤษ ที่ได้มีการออกกฎหมายเรียกว่า Navigation Acts เริ่มในสมัยที่ โอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwel) เป็นผู้สำเร็จราชการ ครองอำนาจในประเทศอังกฤษ และในยุคที่มีการสถาปนาราชวงศ์สจ๊วดอีกครั้ง ชาวอาณานิคมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งทำให้อังกฤษได้รับการผูกขาดสินค้าในอาณานิคมดังกล่าว เศรษฐกิจแบบอาณานิคมใหม่ได้เกิดขึ้น เป็นการสะท้อนความแตกต่างด้านภูมิอากาศและภูมิประเทศ สินค้าการเกษตรมีความสำคัญในทุกภูมิภาค
ในเขตที่พวกอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในช่วงแรก เรียกว่า นิวอิงแลนด์ (New England) ได้มีการเพาะปลูกพืชพันธุ์หลายอย่าง ข้าวโพด (Corn) เป็นพวกธัญญพืช มีการค้าขนสัตว์กันมาก แต่เมื่อมีการจัดตั้งเป็น New England confederation และรบชนะในสงครามคิงส์ ฟิลลิป (King Philip’s War) และพวกชนพื้นเมืองหรืออินเดียนแดงได้ถูกขับไล่ไปจากอาณานิคม การประมงและการค้าขายอื่นๆ เริ่มมีความสำคัญ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ได้รับการกระตุ้นในเขตอาณานิคมอังกฤษอื่นๆด้วย

ในอาณานิคมแถบกลางหรือใต้ลงมาเป็นฟาร์ขนาดเล็ก และมีฟาร์มขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Estates มีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวาง แผ่นดินถือครองกันในแบบเจ้าครองนคร (Feudal Grant) และมีการขยายตัวไร่ขนาดใหญ่ลงมาทางใต้ การค้าขายเติบโตอย่างรวดเร็วในอาณานิคมตอนกลาง (Middle Colonies) และมีการขยายตัวของเมืองขนาดใหญ่ เช่นที่ฟิลลาเดลเฟีย (Philadelphia) และเมืองนิวยอร์ค (New York)
ฟาร์มขนาดใหญ่และแรงงานทาส

ในราวปลายศตวรรษที่ 17 ฟาร์มขนาดเล็กตามบริเวณชายฝั่งตอนใต้ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นฟาร์มขนาดใหญ๋ที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากที่เรียกว่า Plantation ซึ่งทำให้มีการนำเข้าแรงงานทาสจากอัฟริกา และก็มีการนำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไร่ขนาดใหญ่ที่มีการใช้แรงงานทาสนี้เพราะปลูกพืชพวก ยาสูบ ข้าว และพวกคราม (Indigo) การค้าขนสัตว์และการทำป่าไม้ได้เพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อมีการขยายเมืองออกไป เศรษฐกิจแบบทางใต้ยังมีลักษณะไม่หลากหลายมากนัก โดยทั่วไปอาณานิคมยังมีลักษณะเป็นชนบทอย่างมาก

ศาสนาและความเชื่อ

ในทางศาสนามีการพัฒนาไปในหลายทิศทาง ในแมสาชูเสทส์มีกลุ่มศาสนาพวกเพียวริแตน (Puritan) เป็นหลัก ในทางกลับกันทางโรดไอแลนด์ (Rhode Island) มีการอนุญาตเสรีภาพทางศาสนา แต่พวกแบปติส (Baptists) ก็เป็นกลุ่มหลัก แต่ก็ยังมีกลุ่มศาสนานิกายอื่นๆ เกิดขึ้น ทางอาณานิคมนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) และเซาท์แคโรไลน่า (South Carolina) ได้ให้เสรีภาพทางศาสนาอย่างเต็มที่ ด้านแมรี่แลนด์ (Maryland) และ Pennsylvania ได้ยอมรับความแตกต่างทางศาสนา Maryland เป็นแดนของพวกแคธอลิค ย่าน Pennsylvania เป็นแดนของพวก Quakers แต่ในไม่กี่ทศวรรษต่อมาได้มีพวกนิกาย Anglicans ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ และได้มีปรากฏในทางตอนใต้ และตามมาด้วย Presbyterians ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกมีเชื้อสายมาจากชาวสก๊อตและไอริช (Scotch & Irish)

การปกครอง

ในทางการเมือง ชาวอาณานิคมได้มีการพัฒนาสถาบันการปกครองกันขึ้น มีการจัดตั้งเป็นที่ประชุมอาณานิคม (Colonial Assemblies) แต่การมีส่วนร่วมก็ยังจำกัดอยู่กับพวกที่ถือครองที่ดินจำนวนมาก ในแดนอาณานิคมแบบเจ้าของสมบัติ (Proprietary Colonies) พวกคนทำกินมีความขัดแย้งกับพวกฝ่ายบริหาร พวกที่ถือสิทธิเป็นเจ้าของนั้นอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถอยู่คุ้มครองป้องกันอาณาเขตได้ และความขัดแย้งมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งมักจะเป็นการเข้ามามีบทบาทมากของกลุ่ม Anglicans ซึ่งเป็นศาสนากระแสหลักในประเทศอังกฤษ ในอาณานิคมแมสสาชูเสทส์ การร้องเรียนจากฝ่าย Puritans ที่ต้องการการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด
ต้องการเสรีภาพมากขึ้น

ด้วยความขัดแย้งดังกล่าวจึงทำให้อังกฤษเองมีการรวมตัวกันป้องกันการรุกรานจากฝรั่งเศสและการมีระบบควบคุมอาณานิคม จึงทำให้มีการเปลี่ยนอาณานิคมในระบบบริษัทไปเป็นภายใต้การดูแลของอาณานิคมภายใต้กษัตริย์ (Royal Colonies) โดยทั่วไปอาณานิคมภายใต้กษัตริย์มีการปกครองที่เป็นระบบกว่า มีการให้เสรีภาพที่มากกว่า แต่ก็มีการเพ่งเล็งการร้องเรียนและการกระด้างกระเดื่องจากชาวอาณานิคมที่ได้มีการก่อตัวขึ้น ที่ประชุมชาวอาณานิคมได้มีความขัดแย้งกับผู้ว่าราชการบ่อยครั้ง และที่สำคัญที่สุดคือกับ Edmund Andros และ Francis Nicholson ในประแด็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ชาวอาณานิคมได้ต่อต้านการจัดเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนนโยบายของกษัตริย์ และได้พยายามปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ

ยุค Enlightenment

ในช่วงศตวรรษที่ 18 การเรียกร้องของชาวอาณานิคมมีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ระบบการค้าผูกขาดของอังกฤษ เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร แต่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นตามมา อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของอาณานิคมก็ยังคงมีอยู่ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 นี้ได้มีความรู้สึกต้องการแยกตัวออกจากความเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น ในบริเวณ New England พวก Puritan ได้เปิดรับการค้าขายและอิทธิพลจากยุค Enlightenment มากขึ้น และในทางตอนใต้ พวกเจ้าของไร่ขนาดใหญ่ได้พัฒนาวิถีชีวิตที่หรูหราแบบขุนนาง ยุค Enlightenment ได้มีอิทธิพลในภาคใต้

การเกิดมหาวิทยาลัย

การศึกษานับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาณานิคม

ในปี ค.ศ. 1636 มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้น คือ Harvard College ในย่านใกล้เมืองบอสตัน แมสาชูเสทส์ ซึ่งต่อมาคือ Harvard University ที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น William and Mary และ King’s College ซึ่งต่อมาคือ Columbia University ที่มีชื่อเสียงในเมือง New York ปัจจุบัน การคิดค้นของ Benjamin Franklin ในฐานะนักประดิษฐ์ได้กระตุ้นสามัญสำนึกด้านการศึกษาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ

การรณรงค์ด้านศาสนา

การเคลื่อนไหวด้านศาสนาได้มีความสำคัญและได้มีการรือฟื้นขึ้นในช่วงที่เรียกว่า The Great Awakening ซึ่งกระตุ้นโดย Jonathan Edwards การเคลื่อนไหวทำให้เกิดพวกนับถือ Methodism ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านสิทธิที่เท่าเทียม แต่แม้จะมีความเชื่อมากขึ้นเรื่องสิทธีที่เท่าเทียม แต่ก็ยังไม่ได้รับชัยชนะในยุคอาณานิคม ลัทธิความเท่าเทียมได้เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของผู้ครองที่ดินที่มั่งมีแถบตะวันออกที่มีบทบาทมากในที่ประชุมชาวอาณานิคม ต้องขัดแย้งกับคนแถบชายแดนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง จนกระทั่งได้เกิดมีความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า The Regulator Movement แต่กระนั้น การคิดอย่างชาวอาณานิคมยังเข้มแข็งกว่าพวกก่อตั้งชาติใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งกันเองในชาวอาณานิคมยังไม่รุนแรงเท่ากับประเด็นความขัดแย้งกับประเทศอังกฤษ

No comments:

Post a Comment