ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat E-mail: pracob@sb4af.org
แปลและเรียบเรียง
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
Springboard For Asia Foundation (SB4AF)
Updated: วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2008
เมื่อเขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่สอง และเสนอตัวรับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่อเป็นสมัยที่สองนั้น เขาแพ้การเลือกตั้งอย่างหมดรูปให้กับ Thomas Jefferson ซึ่งในสมัยนั้นต้องเรียกว่าเป็นการปฏิวัติครั้งที่สอง (Revolution of 1800) และเป็นการเกิดการเมืองในระบบพรรคเป็นครั้งแรก ที่มีพรรคสองพรรค พรรคหนึ่งคือพรรค Federalist และอีกพรรคหนึ่งนำโดย Jefferson ที่นำเรื่องการนำประเทศสู่ความเป็นสาธารณรัฐ (Republican)
Adams นับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เข้าพักอาศัย ณ ทำเนียบประธานาธิบดีที่เรียกว่า White House ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ ณ เมือง Washington, D.C. ซึ่งกว่าจะเสร็จจริงก็เป็นปี ค.ศ. 1800
Adams จัดเป็นผู้ให้การสนับสนุนการปฏิวัติประกาศอิสรภาพของอเมริกา ในรัฐ Massachusetts และเป็นกำลังสำคัญของการนำประเทศสู่อิสรภาพในปี ค.ศ. 1776 เขาเป็นหนึ่งในตัวแทนในสภาปฏิวัติ ซึ่งเรียกว่า Continental Congress และได้เป็นตัวแทนในยุโรป เขาเป็นหัวหน้าคณะรับผิดชอบอันนำไปสู่สัญญาสันติภาพกับอังกฤษในขณะนั้นที่เรียกว่า Great Britain เป็นตัวแทนของประเทศไปทำสัญญาขอกู้เงินจากตลาดเงินในกรุงอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam money market) ที่ต้องใช้เพื่อการทำสงครามกับประเทศอังกฤษ สถานะทางการเมืองของเขาสูงส่ง เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีถึงสองครั้งในสมัยประธานาธิบดีคนแรก คือ
ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศ
แม้ในช่วงที่
เขาเป็นคนที่มีความคิดความอ่าน จอห์น อาดัมส์ (
ชีวิตเริ่มแรกของ
อาดัมส์ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัย Harvard College เมื่ออายุได้ 16 ปีในปี ค.ศ. 1751 บิดาของเขาคาดหวังให้เขาได้สืบสายการเป็นนักบวช แต่อาดัมส์ไม่มั่นใจนัก หลังจากจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1755 เขาได้ทำงานเป็นครูอยู่ระยะหนึ่งที่ Worcester และทำให้เขามีเวลาคิดสักระยะเกี่ยวกับอาชีพและอนาคต ในที่สุดเขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักกฎหมาย จึงได้ศึกษากฎหมายในสำนักของ James Putnam, ซึ่งเป็นักกฎหมายที่มีชื่อเสียงแห่ง Worcester ในปี ค.ศ. 1758 เขาได้สอบผ่านเป็นนักกฏหมาย
ภาพ อาบิเกล อาดัมส์ (Abigail Adams) ภรรยาของจอห์น อาดัมส์
ในปี ค.ศ. 1764 อาดัมส์ได้แต่งงานกับ Abigail Smith (ผู้ซึ่งเกิดในปี ค.ศ. 1744 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1818) เธอเป็นบุตรสาวของบาดหลวงในนิกาย Congregational ชื่อสาธุคุณ Rev. William Smith ซึ่งอยู่ที่ Weymouth ในรัฐ Massachusetts. ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกัน คือ Abigail (1765–1813); John Quincy (1767–1848) ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 7; Susanna (1768–1770); Charles (1770–1800); Thomas Boylston (1772–1832); และ Elizabeth (1775) ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังไม่คลอด.
อาดัมส์เป็นผู้นำที่ไม่มีคนชื่นชอบมากนัก ไม่เหมือนกับญาติของเขาที่ชื่อ Samuel Adams แต่บทบาทสำคัญของเขาคือการที่เขาทำงานเป็นนักกฎหมาย ความสามารถในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ ความรู้ในด้านกฎหมาย และการยึดมั่นในหลักการความเป็นผู้นิยมในระบอบสาธารณรัฐ (republicanism) เขาเป็นคนชอบโต้เถียงเหมือนดังการเป็นทนายความ และเป็นนิสัยที่ทำให้เขามีปัญหาในอาชีพการเมือง
การเมือง (Politics)
การต่อต้านกฎหมายแสตมป์ ปี ค.ศ. 1765(Opponent of Stamp Act 1765)
อาดัมส์ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเด่นในทางการเมืองเป็นครั้งแรกด้วยการเป็นผู้ต่อต้านกฏหมายแสตมป์ ในปี ค.ศ. 1765 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอังกฤษผู้ปกครอง และได้รับการต่อต้านจากชาวอาณานิคมอย่างกว้างขวาง จากการสังเกตุของอาดัมส์ สิ่งที่จุดประกายเป็นผลจากงานเขียนของบาดหลวงในเมืองบอสตันชื่อ Jonathan Mayhew ที่ได้ตีความตาม Romans 13 ที่อ้างความไม่เป็นธรรม และหลักของการต่อต้านอย่างยุติธรรม
กฏหมายแสตมป์ในปี ค.ศ. 1765 (1765 Stamp Act) เป็นกฎหมายแสตมป์ฉบับที่ 4 ที่ออกโดยรัฐสภาแห่งประเทศอังกฤษในขณะนั้น (Great Britain) ซึ่งบังคับใช้ให้เอกสารทางการที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ใบอนุญาต (permits), สัญญาการค้า (commercial contracts), หนังสือพิมพ์ (newspapers), พินัยกรรม (wills), แผ่นปลิว (pamphlets), และ ไพ่ (playing cards) ที่มีในเขตอาณานิคมอเมริกันจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ การเก็บภาษีในรูปอากรนี้โดยอ้างว่าเป็นการหาเงินเพื่อใช้ในการรักษากำลังทัพเพื่อการปกป้องอาณานิคม
ในปี ค.ศ. 1765 อาดัมส์ได้ร่างข้อเขียนของเขาเพื่อส่งไปยังประชากรในเขต Braintree ผ่านยังตัวแทนในฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นรูปแบบที่เมืองอื่นๆ ได้นำไปเป็นบรรทัดฐานในการส่งข้อความไม่เห็นด้วยผ่านไปย้งตัวแทนของตน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1765 เขาได้เขียนข้อความอย่างไม่ลงชื่อผู้เขียน ส่งไปยัง Boston Gazette ซึ่งได้ถูกนำไปตีพิมพ์อีกในปี ค.ศ. 1768 ในชื่อว่า True Sentiments of America และเป็นที่รู้จักบทความนี้ว่า A Dissertation on the Canon and Feudal Law
ในจดหมาย เขาได้ให้ทัศนะว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางศาสนาแบบ Protestant ในกลุ่มที่มีบรรพบุรุษจากนิกาย Puritan ที่เข้ามาอยู่ในอาณานิคมอังกฤษใหม่ อันเป็นแนวคิดต่อต้านการมีกฎหมายแสตมป์ เขาให้ทัศนะว่ากฎหมายแสตมป์ขัดหลักสิทธิพื้นฐาน 2 ประการ ที่ให้สิทธิแก่ชาวอังกฤษทั้งมวล
และเป็นสิทธิที่คนที่เป็นเสรีชนพึงมี คือการจะถูกเก็บภาษีได้ด้วยได้รับการยอมรับจากผู้เสียภาษี และการจะถูกดำเนินคดีได้ด้วยจากตัวแทนของกลุ่มชนเขา (a jury of one's peers) ในหลักการของเมือง (Braintree Instructions) ที่จะต้องเป็นสิทธิของชาวเมืองที่จะตัดสินว่าการออกกฎหมายที่จะจัดเก็บภาษีนี้ต้องเป็นสิทธิและเสรีภาพของชาวเมือง และในอีกส่วนหนึ่งที่เขาเขียนคือบทความว่าด้วยการให้การศึกษาด้านการเมือง
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1765 เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าผู้ว่าการ (Governor) และสมาชิกสภา แสดงความไม่เห็นด้วยในกฏหมายแสตมป์ ด้วยเหตุที่ว่า อาณานิคม Massachusetts นี้ ไม่ได้มีตัวแทนนั่งอยู่ในรัฐสภาแห่งอังกฤษ และไม่เคยได้รับคำยินยอมหรือราชานุญาตให้ทำเช่นนั้น
บทบาทในการสังหารหมู่ที่บอสตัน (Boston Massacre: 1770)
ในปี ค.ศ.1770 ได้มีความตึงเครียดและเผชิญหน้ากันตามท้องถนน อันเป็นผลให้ทหารอังกฤษ ได้สังหารพลเรือนดังที่เรียกกันว่า Boston Massacre ในการนี้ได้มีทหารที่เกี่ยวข้องถูกจับกุมในข้อหาในกฏหมายอาญา ทหารอังกฤษไม่สามารถหาทนายความเพื่อสู้ความตามกฎหมาย จึงได้ขอให้ Adams เพื่อช่วยทำหน้าที่เป็นทนายฝ่ายจำเลยให้ แม้อาดัมส์จะเกรงว่าการว่าความให้กับอังกฤษจะกระทบต่อชื่อเสียงและความนิยมของเขา แต่เขาก็ตกลงว่าความให้ ทำให้ทหารที่ตกเป็นจำเลย 6 นายได้พ้นผิด และมีสองนายที่ได้ยิงเข้าใส่ฝูงชนได้รับข้อหาฆาตกรรม และได้รับโทษเพียงการฆ่าคนตาย (manslaughter)
ในการนี้อาดัมส์ได้รับค่าตอบแทน นายพัน Thomas Preston ได้ให้เงิน 1 กินนี (guinea) David McCullough นักประวัติศาสตร์ได้เขียนในอัตตชีวประวัติของ
แม้การที่เขาทำหน้าที่เป็นทนายให้กับจำเลยทหารอังกฤษที่คนไม่ชอบ แต่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1770 เขาก็ได้รับการเลือกเขาไปคณะกรรมการศาลแห่งแมสสาชูเสท (Massachusetts General Court) อันเป็นระบบนิติบัญญัติของอาณานิคมในชณะนั้น แม้ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขาต้องเตรียมตัวว่าความ ความขัดแย้งในบทบาทในรัฐสภาDispute concerning Parliament's authority
ในปี ค.ศ. 1772 ผู้ว่าการรัฐ (Massachusetts Governor) ชื่อ Thomas Hutchinson ประกาศว่าเขาและคณะตุลากรไม่จำเป็นต้องรับเงินเดือนจากคณะนิติบัญญัติแห่งแมสสาชูเสท เพราะฝ่ายกษัตริย์ประสงค์ให้การจ่ายค่าตอบแทนนี้ต้องมาจากเงินรายได้ภาษีอากรที่เก็บได้ ฝ่ายพวกหัวรุนแรงในบอสตันได้แสดงความเห็นคัดค้านและถามอาดัมส์ให้อธิบายเหตุผล ในการอธิบายต่อสภาตัวแทนในแมสสาชูเสท ต่อผู้ว่าการ Hutchinson อาดัมส์อธิบายว่าชาวอาณานิคมไม่เคยอยู่ใต้รัฐสภาของอังกฤษ
เมื่อกฏหมายที่จะบังคับใช้ขึ้นอยู่กับกษัตริย์แห่งอังกฤษ และเมื่อข้อตกลงระหว่างรัฐสภาอังกฤษกับชาวอาณานิคมที่จะมีความเป็นอิสระไม่ชัดเจน อาดัมส์กล่าว ชาวอาณานิคมไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องเลือกที่จะเป็นอิสระ
ใน Novanglus; ห A History of the Dispute with America, From Its Origin, in 1754, to the Present Time อาดัมส์ได้เขียนโจมตีไม่เห็นด้วยกับบทความของ Daniel Leonard ที่เขียนปกป้องผู้ว่การ Hutchinson ที่เห็นความชอบธรรมของรัฐสภาอังกฤษที่มีเหนืออาณานิคม ใน Novanglus อาดัมส์ได้ให้ประเด็นปฏิเสธ Leonard เป็นข้อๆ และเป็นการเขียนให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของจักรวรรดิอังกฤษที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นความพยายามของอาดัมส์ที่จะอธิบายอย่างเป็นระบบถึงความเป็นมา ธรรมชาติลักษณะ การตัดสินตามรัฐธรรมนูญของอังกฤษที่ไม่ได้เขียนเอาไว้ อาดัมส์ได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับอังกฤษ และกฎหมายที่มีใช้ในอาณานิคมที่แสดงให้เห็นถึงนิติบัญญัติของอาณานิคมที่มีต่อกิจการของตนเอง และอาณานิคมมีส่วนสัมพันธ์กับประเทศอังกฤษเพียงผ่านทางกษัตริย์
รัฐสภาแห่งภาคพื้นทวีป (
ด้วยบทบาทด้านกฏหมายของอาดัมส์และการเป็นปากเสียงให้กับอาณานิคมแมสสาชูเสท เขาจึงได้รับเลือกให้ไปร่วมประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congresses) ทั้งในครั้งที่หนึ่งและที่สอง ในปี ค.ศ. 1774 และในช่วงปี ค.ศ. 1775 ถึงปี ค.ศ. 1778 ด้วยทัศนะของการสร้างความเป็นสหพันธ์ของอาณานิคม (Union) เขาเสนอชื่อ George Washington จาก Virginia ให้เป็นผู้บัญชาการทัพสูงสุด (commander-in-chief) แห่งกองทัพบก (Army) ที่ทำหน้าที่ดูแลรอบๆเมืองบอสตัน เขามีอำนาจในสภาอย่างมาก เริ่มตั้งแต่เขาพยายามให้อาณานิคมทั้งมวลแบ่งแยกจากอังกฤษ
ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1776 สภาแห่งภาคพื้นทวีป ได้มีมติตอบสนองต่อความรุนแรงกระทบกระทั่งของอาณานิคมที่มีกับอังกฤษ และการรบที่ได้เกิดขึ้น 13 เดือนก่อนหน้านั้น ที่ battles of Lexington and Concord ทำให้ฝ่ายอาณานิคมต้องมีรัฐธรรมนูญ (Constitution) ของตนเอง และเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นรัฐอิสระ
John Trumbull's famous painting depicts the five-man drafting committee presenting their work to the Congress.
ในปัจจุบัน คำประกาศอิสรภาพ (the Declaration of Independence) ถูกจดจำในฐานะเป็นกิจกรรมการปฏิวัติที่สำคัญ แต่อาดัมส์และคนในรุ่นเขานั้นมองการประกาศเป็นเพียงเรื่องของพิธีการ ส่วนผลจากการประกาศอิสรภาพนั้นต่างหาก “ความเป็นอิสระ” ในตัวของมันเองต่างหากที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญ
หลังจากประกาศ ต่อมาอีกสิบปี ชาวอเมริกันจากหลายรัฐได้มาร่วมกันจัดทำเอกสารแห่งรัฐ ได้มีการเขียนรัฐธรรมนูญที่จะเป็นกฎหมายเริ่มแรกของความเป็นประเทศ และการจะเริ่มเขียนกฎหมายนี้ได้นั้น จะต้องมีการรวบรวมแนวคิดด้านการเมอง ดังในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1776
ความคิดเกี่ยวกับการปกครอง
Thoughts on Government
ในช่วงเวลานั้น สมาชิกรัฐสภาหลายคนได้หันมาขอคำปรึกษากับอาดัมส์เกี่ยวกับกรอบของการเป็นรัฐบาล และอาดัมส์ต้องคอยบอกซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงได้พิมพ์เอกสารที่ชื่อว่า Thoughts on Government (1776) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเขียนธรรมนูญแห่งรัฐ (State constitutions) ของหลายๆรัฐ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้อภิปรายว่าข้อเขียนนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีการปกครองที่มีหลายๆด้านประสมกัน (mixed government)
อาดัมส์อธิบายว่าชนชั้นทางสังคมนั้นมีในทุกๆสังคมการเมือง และรัฐบาลที่ดีต้องยอมรับในความจริงข้อนี้ นับย้อนไปตั้งแต่สมัย Aristotle ของกรีก สังคมต้องหาทางถ่วงดุลระหว่างระบบกษัตริย์ (monarchy), ระบบขุนนาง (aristocracy), และระบบประชาธิปไตย (democracy) หรือกษัตริย์กับชนชั้นขุนนาง ชนชั้นปกครอง ซึ่งประชาชนต้องพยายามที่จะสงวนความเป็นระบบอันหมายถึงความมีขื่อมีแป การมีกฏหมายบังคับ และในอีกด้านหนึ่งคือเสรีภาพ (to preserve order and liberty) ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องสงวนและรักษาไว้ด้วยกัน
ในการใช้แนวคิดตามแบบระบบสาธารณรัฐของสหรัฐอเมริกา (Republicanism in the United States) ฝ่ายผู้รักชาติ (Patriots) เห็นว่าระบบอย่างที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือขุนนาง ล้วนเป็นการคอรัปชั่นและชั่วร้าย การมีมีรัฐสภาอังกฤษ (English Parliament) เข้ามามีบทบาทอยู่ในอเมริกา ถือเป็นการคุกคามต่อเสรีภาพของอเมริกา แต่อาดัมส์มีทัศนะที่ต่างกันในด้านคำจำกัดความของสาธารณรัฐ เขามองไปที่จุดหมายปลายทาง (Ends) มากกว่าที่จะมองเพียงวิธีการ (Means) ดังเขาเขียนใน Thoughts on Government เขากล่าวว่า “เมื่อไม่มีรัฐบาลที่ดี แล้วประชาชนในสาธารณรัฐจะได้อะไร”
อาดัมส์เป็นคนเชื่อในหลักการมีกฎหมาย และเขาเห็นข้อดีของ รัฐธรรมนูญของอังกฤษ (British constitution) ในขณะนั้น ตรงที่มันเป็นกฏหมายของจักรวรรดิ และไม่ใช่กฏหมายของคน ในข้อเขียน . Thoughts on Government” เขาเห็นด้วยกับการมีสองสภา (bicameralism)
ในการปกครอง bicameralism (bi + Latin camera, chamber หรือมีความหมายว่า ห้องประชุม) อันหมายถึงระบบนิติบัญญัติที่มีสองสภา อ้นเป็นลักษณะของการมีรัฐบาลในแบบประสม การออกเสียงในสภาที่จะถือเป็นมติ จะต้องได้จากเสียงข้างมาก (concurrent majority) จึงจะผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้
ในข้อเขียนของเขา เขาเห็นว่าฝ่ายบริหาร (executive) ควรเป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการก็จะต้องมีความสำคัญ เป็นแหล่งอ้างอิงในการใช้อำนาจในรัฐธรรมนูญของทุกรัฐ
การประกาศอิสรภาพ
Declaration of Independence
บทบาทที่สำคัญที่สุดของอาดัมส์คือการผลักดันให้เกิดการประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) การจัดการให้มีร่างรัฐธรรมนูญ (Constitution Drafting) การเสนอชื่อให้
ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1776 อาดัมส์ได้ให้การสนับสนุนรับรองร่างที่นำเสนอโดย Richard Henry Lee ที่ว่า “อาณานิคม คือ และเป็นสิทธิ และควรจะเสรี และเป็นรัฐอิสระ” เขาได้ผลักดันให้ข้อเสนอนี้ในรัฐสภา จนกระทั่งได้รับการสนับสนุนในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
หลังจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมในคณะกรรมการอันประกอบด้วย Thomas Jefferson, Benjamin Franklin, Robert R. Livingston และ Roger Sherman, ร่างคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence)
ภาพ โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ผู้ที่อาดัมส์เสนอให้เป็นคนทำหน้าที่ร่างคำประกาศอิสรภาพ และในระยะต่อมาคือประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา ต่อจาก จอห์น อาดัมส์
ในการอภิปรายเพื่อให้มีการรับรองคำประกาศดังกล่าว เขาได้ผ่านให้ Jefferson เป็นคนร่าง เพราะเขาคิดว่าจะดีกว่าที่เขาเขียนเอง และเขาเห็นว่า Jefferson มีความเหมาะสมกว่าใครๆในสภา หากเป็นเขาแล้ว อาจมีหลายคนที่ไม่ชอบเขา เพราะความเป็น “คนน่าสะพรึงกลัวและไม่มีคนชอบ” ในหลายปีต่อมา Jefferson ได้ยกย่องให้อาดัมส์เป็น “เสาหลักแห่งรัฐสภา” เป็นคนทำให้เกิดคำประกาศอิสรภาพนั้น และผลักดัน สนับสนุนในที่ประชุมจนร่างผ่านการรับรอง และลงนาม ในปี ค.ศ. 1777 อาดัมส์ได้ลาออกจากตำแหน่งในศาลสูงของแมสสาชูเสท เพื่อทำหน้าที่เป็นประธานในคณะกรรมการสงครามและการออกคำสั่ง (Board of War and Ordinance) และคณะกรรมการอื่นๆที่สำคัญ
ภาพ เหตุการณ์ในการประกาศอิสรภาพ โดยการประชุมตัวแทนอาณานิคมจากที่ต่างๆในอเมริกา
ภาพวาดของ John Adams โดย John Trumbull, ในปี ค.ศ. 1792–93
ชีวิตในยุโรป
In Europe
รัฐสภาฯ ได้ส่งอาดัมส์เป็นตัวแทนไปยุโรปสองครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1777 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1779 โดยมีบุตรชายคนโตร่วมไปด้วย อาดัมส์ได้เดินทางโดยเรือ Continental Navy frigate จาก Boston ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1778 โดยถูกติดตามหลายครั้งโดยเรือรบของอังกฤษ
เขาได้พำนักอยู่ในยุโรปครั้งแรกในระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1778 และอีกครั้งในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1779 ในช่วงดังกล่าวการทำงานของเขาไม่ค่อยได้ผลนัก และเขาได้กลับมาบ้านยัง Braintree ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1779 และเขาได้รับเลือกเพื่อให้เดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1779 และกลับในวันที่ 15 พฤศจิกายน โดยเรือของฝรั่งเศสชื่อ Sensible หลังจากได้มีการสรุปในการประชุมธรรมนูญของแมสสาชูเสท
ในการไปยุโรปในครั้งที่สอง เขาได้รับแต่งต้งเป็นรัฐมนตรีตัวแทน (Minister Plenipotentiary) เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาสันติภาพและการค้ากับประเทศอังกฤษ ในขณะเดียวกันรัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้ให้การรับรองการแต่งตั้งของอาดัมส์ ด้วยการผลักดันของรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนคือ Thomas Jefferson, John Jay และ Henry Laurens ซึ่งจะทำงานประสานกับอาดัมส์ แม้ว่า Jefferson จะไม่ได้ไปยุโรป และ Laurens ได้รับแต่งตั้งไปประจำอยู่ที่ Holland ซึ่งคือ
ตลอดการเจรจา อาดัมส์มุ่งมั่นที่ยืนยันสิทธิของสหรัฐอเมริกาในการประมงในเขตชายฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ผู้เจรจาฝ่ายเจรจาสามารถได้สิทธิจากสนธิสัญญา และทำให้ได้ครองที่ดินทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสสิปปี (Missisippi River) ยกเว้นรัฐ Florida ซึ่งจะโอนไปอยู่ในการครอบครองของสเปน เพื่อเป็นรางวัล ในสัญานี้ได้มีการลงนามกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1782
ในขณะที่เริ่มเจรจา อาดัมส์ได้ใช้เวลาในฐานะฑูต (Amdassador) ประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นระบบสาธารณรัฐแห่งเดียวที่ดำรองอยู่อย่างดี ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ 1780 เขาได้รับหน้าที่ให้ทำงานแทนทีเคยทำโดย Laurens และด้วยความช่วยเหลือของผู้นำที่รักชาติ คือ Joan van der Capellen tot den Pol อาดัมส์ได้ทำให้สหรัฐได้รับความยอมรับเป็นประเทศอิสระที่กรุงเฮก (The Hague) ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1782
ในระหว่างนั้นเขาได้เจรจาและทำให้สามารถได้เงินกู้จำนวน 5 ล้านกิลเดอร์ (Guilders) โดยการสนับสนุนโดย Nicolaas van Staphorst และ Wilhelm Willink ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1782 เขาได้เจรจาเพื่อความเป็นพันธมิตรและการค้ากับเนเธอร์แลนด์ จัดเป็นสนธิสัญญาแรกที่สหรัฐทำกับมหาอำนาจภายนอก หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1778 ได้ทำสัญญาลักษณะเดียวกันกับประเทศฝรั่งเศส บ้านที่อาดัมส์ได้ซื้อในระหว่างพำนักในเนเธอร์แลนด์ ได้กลายเป็นสถานฑูตแห่งแรกของสหรัฐในต่างแดน
ในปี ค.ศ. 1785 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นฑูตคนแรกประจำราชสำนัก Court of St. James's แห่งประเทศอังกฤษ เมื่อเขาได้เข้าไปยื่นสารตราตั้งแก่พระเจ้า George III พระองค์ได้ตระหนักว่าอาดัมส์ไม่มีความไว้วางใจรัฐบาลฝรั่งเศส อาดัมส์ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าขอยอมรับแก่พระองค์ว่ามิได้มีความสวามิภักดิ์อื่นใดเหนือไปจากความผูกพันธ์กับประเทศของข้าพเจ้า”
เมื่อ Queen Elizabeth II แห่งสหราชอาณาจักรได้เดินทางมายังสหรัฐเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ที่พระนางได้กล่าวว่า “จอห์น อาดัมส์ เอกอัครราชฑูตของสหรัฐคนแรกที่ประจำ ณ ประเทศอังกฤษได้กล่าวแก่บรรพบุรุษของข้าพเจ้า พระเจ้าจอร์จที่สาม (George III) ว่า เขามีความประสงค์ที่จะช่วยสร้างสัมพันธภาพ “ให้ความสัมพันธ์ที่ดี และอารมณ์ขันอย่างที่มีระหว่างประชาชนของเราทั้งสองประเทศได้กลับคืนมา” ความสัมพันธ์อันดีนั้นได้ทำสำเร็จนานมาแล้ว ด้วยความเชื่อมโยงด้านภาษา ประเพณี และความสัมพันธ์เป็นส่วนตัวที่ได้ดำรงรักษาไว้”
อาดัมส์ประสบความสำเร็จในฐานะนักผลักดันอย่างหัวชนฝาเพื่อให้สหรัฐได้เดินสู่เส้นทางความเป็นอิสระ ด้วยความเข้มแข็งของเขาในฐานะนักกฎหมาย คนยืดมั่นในหลักการ ในฐานะนักการฑุต เขาไม่ประสบความสำเร็จนักในการเจรจากับฝรั่งเศส แต่เขาทำได้ดีขึ้นเมื่อเจรจากับประเทศเนเธอร์แลนด์ และกับประเทศอังกฤษ และสิ่งเหล่านี้ทำให้เขาเป็นนักบริหารที่ยึดสัมพันธภาพกับประเทศอื่นๆ ยึดมั่นในหลักของกาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใดได้อย่างเคร่งครัดตามแนวทางของ
ความคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
Constitutional ideas
รัฐธรรมนูญของรัฐแมสสาชูเสทที่ได้ปรับปรุงในปี ค.ศ. 1780 เขียนโดยอาดัมส์เองเป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างของรัฐบาลคล้ายกับทัศนะทางการเมืองและส้งคมของอาดัมส์ มันเป็นครั้งแรกที่มีการเขียนรัฐธรรมนูญดดยคณะกรรมการและอนุม้ติโดยประชาชน และเป็นครั้งแรกที่มีการยอมรับในระบบสองสภา (bicameral legislature) โดยมีการระบุอำนาจฝ่ายบริหารที่สามารถจะวีโต้ได้ หากมีคะแนนรับรองจากสภาไม่ถึง 2 ใน 3 นอกจากนี้คือการให้มีฝ่ายตุลาการที่มีอำนาจที่แบ่งชัดต่างหาก
ในขณะที่อยู่ในกรุงลอนดอน อาดัมส์ได้พิมพ์งานชื่อ A Defence of the Constitutions of Government of the United States (1787) ในบทความนั้น เขาไม่เห็นด้วยกับ Turgot และนักเขียนคนอื่นๆของยุโรปในด้านเกี่ยวกับโครงสร้างของรัฐบาล Turgot ให้ทัศนะว่า ประเทศที่ขาดโครงสร้างของชนชั้นขุนนาง ไม่จำเป็นต้องมีระบบสองสภา ในทัศนะของเขา รัฐบาลสาธารณรัฐ “ควรจะมีอำนาจทั้งหมดที่รวมศูนย์อยู่ในจุดเดียว นั่นคือความเป็นประเทศ”
ในหนังสือของเขา อาดัมส์เสนอว่า “พวกคนรวย คนที่เกิดมาในตระกูลสูง และพวกที่มีความสามารถ” ควรถูกจัดให้อยู่ต่างหากจากกลุ่มอื่นๆ นั้นคือในวุฒิสภา (Senate) ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้เข้ามาข่มการแสดงความเห็นในสภาล่าง (Lower house) นักเขียนชื่อ Wood (ค.ศ. 2006) ได้ให้ความเห็นว่า อาดัมส์ในช่วงนั้นได้มีลักษณะที่สับสนในทางปัญญา ในขณะที่รัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางได้รับการยอมรับ ในขณะนั้น แนวคิดทางการเมืองของอเมริกันได้เปลี่ยนรูปร่างไปมากกว่าทศวรรษ และไม่ได้คิดในเรื่องของชนชั้นอย่างที่อาดัมส์คิดหรือเข้าใจเกี่ยวกับสังคม
อาดัมส์ต้องการให้การเมืองในระบบสาธารณรัฐมีการตรวจสอบและมีการถ่วงดุล “อำนาจจะถูกต่อต้านด้วยอำนาจ ผลประโยชน์จะถูกต่อต้านด้วยผลประโยชน์” ซึ่ง James Madison รัฐบุรุษทางการเมืองในยุคนั้นอีกคนหนึ่งได้สะท้อนทัศนะนี้ด้วยคำกล่าวว่า “ความทะเยอทะยานต้องมีการตอบโต้ด้วยความทะเยอทะยาน
ในเอกสารชื่อ The Federalist No. 51 ได้อธิบายอำนาจที่มีหลายสาขาของรัฐบาลสหรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ อาดัมส์ได้พยายามสอดใส่แนวคิด “การตรวจสอบและถ่วงดุล” (Checks and balances) ตามความคิดในแบบปัญญาชนของเขา
หลายคนมองอาดัมส์ว่าเป็นคนที่เจ้าอารมณ์ เวลาพูดอะไรแล้วเหมือนขวานผ่าซาก แต่ในด้านความเชื่อเรื่องสิทธิของมนุษย์ เขาได้ปฏิบัติตนอย่างที่เขาคิดและพูด เมื่อทหารอังกฤษต้องขึ้นศาลในช่วงก่อนสงครามปฏิวัติ เขาเป็นทนายที่กล้าว่าความให้กับจำเลย คือทหารอังกฤษที่ไม่มีคนชอบ ตลอดชีวิตของเขา เขาไม่เคยซื้อทาส และไม่เห็นด้วยกับการมีทาส ภรรยาของเขา
การเป็นรองประธานาธิบดีVice Presidency
ภาพวาดของ John Adams โดย John Trumbull, ในปี ค.ศ. 1792–93
ภาพ
เมื่อได้มีประเทศอิสระเกิดขั้น และมีการเลือกประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ Washington ได้รับเสียงเลือกเป็นประธานาธิบดีด้วยมติเอกฉันท์ และอาดัมส์มาเป็นอันดับสอง จึงได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นการเลือกในระบบตัวแทน (electoral college) เขาจึงได้เป็นรองประธานาธิบดีคนแรกในปี ค.ศ.1789 ในช่วงดังกล่าว เขาได้แสดงบทบาททางการเมืองไม่มากนักในช่วงทศวรรษ 1790s แต่เขาก็ได้รับเลือกอีกในปี ค.ศ. 1792 ประธานาธิบดี Washington ไม่ค่อยได้ขอความคิดความอ่านของอาดัมส์มากนักในช่วงที่เขาเป็นรองประธานาธิบดี หน้าที่หลักของอาดัมส์คือการเป็นประธานในที่ประชุมสภาสูง (Senate) และด้วยประเพณีดังกล่าว รองประธานาธิบดีจึงไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองมากนักในคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีเป็นประเพณีปฏิบัติเรื่อยมาจนกระทั่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
สำหรับอาดัมส์ ช่วงการเป็นรองประธานาธิบดี 2 สมัยนี้เป็นช่วงที่มีความอึดอัด เพราะความที่เขาเป็นคนมีความคิดความอ่าน มีพลังความคิด เป็นปัญญาชน และถือตนว่าเป็นคนเก่ง เขาเคยบ่นกับภรรยาว่า “ประเทศของฉันได้ใช้ความฉลาดที่จะให้ฉันทำงานในที่ๆมีบทบาทน้อยที่สุด เท่าที่จะประดิษฐให้มนุษย์ได้ทำ เพราะงานรองประธานในสภาสูง คือไปนั่งฟังและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดและแสดงความคิดเห็น และตนเองไม่ได้ทำอะไรจนกว่าที่ประชุมจะมีคะแนนเสียงก้ำกึ่งกัน รองประธานาธิบดีจึงจะใช้สิทธิออกเสียงตัดสิน ซึ่งก็มีบ้าง แต่น้อยครั้ง
การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1796
Election of 1796
Main article: United States presidential election, 1796
เมื่อ
ในที่สุดผลการเลือกตั้งคืออาดัมส์ได้เสียงจากกลุ่ม New England ในขณะที่ Jefferson ได้เสียงจากรัฐทางตอนใต้ อาดัมส์ได้เสียง 71 เสียง ซึ่งสูงสุดจึงได้เป็นประธานาธิบดี และ Jefferson ได้ 68 เสียงรองลงมา จึงได้เป็นรองประธานาธิบดี
การเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1797-1801
Presidency: 1797-1801
นโยบายการต่างประเทศ
Foreign Policy
เมื่ออาดัมส์ได้เข้าดำรงตำแหน่ง เขาตระหนักว่าเขาต้องปกป้องนโยบายของ Washington ที่จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ เพราะในขณะนั้นแม้ฝรั่งเศสจะได้ช่วยอเมริกันในการสู้รบกับอังกฤษ แต่โดยรวมแล้วอเมริกาก็ยังมีสัมพันธภาพที่ดีกับอังกฤษ แต่หลังจากการลงนามสนธิสัญญา Jay Treaty กับอังกฤษ ฝรั่งเศสได้มีความไม่พอใจ และเริ่มยึดเรือสินค้าของอเมริกาที่ทำการค้าขายกับอังกฤษ อาดัมส์ต้องส่งคณะฯไปเจรจาเพื่อทำความเข้าใจต่อกันกับฝรั่งเศส แต่ขณะเดียวกันก็ให้เตรียมกองทัพเรือและกองทัพบกให้พร้อม หากมาตรการทางการฑูตไม่ประสบความสำเร็จ
สนธิสัญญาเจย์ (The Jay Treaty) ซึ่งรู้จักกันในนาม “สนธิสัญญาลอนดอนปี ค.ศ. 1794” (the Treaty of London of 1794) ซึ่งเป็นการลงนามระหว่างสหรัฐกับประเทศอังกฤษ เพื่อไม่ให้เกิดสงครามระหว่างกัน และเป็นการแก้ปัญหาต่างๆที่ค้างมาจากสงครามประกาศอิสรภาพ ซึ่งทำให้ช่วงเวลา 10 ปีนั้นเป็นช่วงที่มีสันติภาพและค้าขายกันได้ จนกระทั่งช่วงสงครามปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสในปี ค.ศ 1789 (French Revolutionary Wars) ในทัศนะของ Washington และอาดัมส์เกี่ยวกับสัมพันธภาพกับอังกฤษนี้ ฝ่ายสนับสนุน Jefferson ที่เรียกว่า Jeffersonians ได้ต่อต้านอย่างหนัก แต่ก็ผ่านรัฐสภา ส่วนฝ่ายของ Jefferson ก็กลายเป็นจุดกำเหนิดของพรรคการเมืองแรก สนธิสัญญา Jay Treaty ได้มีการประกาศใช้ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796
นโยบายภายในประเทศ
Domestic Policies
ประธานาธิบดีอาดัมส์ในฐานะเดินตามนโยบายของประธานาธิบดี Washington เขาได้ยึดแนวทางระบบสาธารณรัฐ (Republican) ให้ความสำคัญต่อวิถีชีวิตของบุคคลและชุมชน (civic virtue) เขาไม่เคยได้รับข้อครหาใดๆ แต่สิ่งที่นักประวัติศาสตร์ได้เห็นว่าเป็นข้อผิดพลาดที่สุดของเขาคือการแต่งตั้งคนที่เคยทำงานในคณะรัฐมนตรีของ Washington ให้ทำงานต่อไปแทนที่จะแต่งตั้งคนที่ตนเองไว้วางใจ ซึ่งในคณะรัฐบาลเดิมนั้น มี Hamilton ซึ่งเป็นหัวหน้าคนนำของฝ่าย Federalist เข้ามามีอิทธิพล
อาดัมส์เองยอมรับในความเป็นนักการเมืองที่ไม่ดีนัก เขาไม่ได้คาดหวังในอำนาจ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่อาดัมส์ยอมรับบุคคลในทีมงานของ Washington เพื่อสืบเนื่องการดำเนินการต่อมาเป็นการตัดสินใจอย่างรัฐบรุษที่จะลดความกังวลของคนที่จะได้เห็นการสืบอำนาจอย่างราบรื่น
ในด้านความเป็นคนเจ้าอารมณ์นั้น เขารู้ตัวเองดี และภรรยาของเขาได้เตือนบุคลิกนี้อยู่เสมอ เขาเองยอมรับว่า “บางครั้งฉันปฏิเสธที่จะนิ่งเฉย และยอมเจ็บปวดในความเงียบ ระโหยหา สะอื้น ครวญคราง แต่บางครั้งฉันก็กรีดร้อง ตะโกน และฉันก็ยอมรับด้วยความอายและเสียใจที่มีสาบานเป็นบางครั้ง
ในช่วงการทำงาน 4 ปีของอาดัมส์ (ค.ศ. 1797-1801) จะเป็นช่วงที่มีความตึงเครียดในนโยบายต่างประเทศ อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังทำสงครามกัน อาดัมส์และฝ่าย Federalists ค่อนข้างเอนเอียงไปทางอังกฤษ ในขณะที่กลุ่ม Jefferson และผู้สนับสนุน อันเป็นพวกพรรค Democratic-Republicans เอนเอียงไปทางฝรั่งเศส ในช่วงดังกล่าวได้เกิดสงครามอย่างไม่ประกาศระหว่างสหรัฐกับฝรั่งเศส ดังที่เรียกว่า Quasi-War ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1798 เรื่องอื้อฉาวที่ฝ่ายคนของฝรั่งเศสเรียกร้องสินบนในการที่จะเปิดเจรจากับสหรัฐ ดังในกรณีของ the XYZ Affair ซึ่งข้าราชการระดับสูงของฝรั่งเศสเรียกร้องสินบนก่อนที่การเจรจาจะเกิดขึ้น และนำไปสู่การขู่ที่จะเกิดสงครามอย่างเต็มรูปแบบ และสร้างความอับอายให้กับกลุ่มสนับสนุน Jefferson ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเป็นมิตรกับฝรั่งเศส ในช่วงดังกล่าว ฝ่าย Federalists ได้ใช้กำลังเงินที่ได้จากภาษีเกิดกองทัพบกภายใต้ George Washington และ Alexander Hamilton, สร้างเรือรบ (warships) ดังเช่นเรือ USS Constitution, มีการจัดเก็บภาษีเพื่อการ
สงคราม.การจับกุมผู้ที่อพยพมาด้วยการเมืองและฝ่ายตรงกันข้ามภายในประเทศ มีการออกกฎหมายว่าด้วยคนต่างด้าว (Alien and Sedition Acts) ซึ่งอาดัมส์ได้ลงนามในปี ค.ศ. 1798
กฏหมายดังกล่าวมีความสำคัญใน 4 ตอน คือ
1. การโอนสัญชาติ (The Naturalization Act) ผ่านสภาฯในวันที่ 18 มิถุนายน
2. กฎหมายคนต่างด้าว (The Alien Act) ผ่านสภาเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
3. กฎหมายศัตรูต่างด้าว (The Alien Enemies Act) ผ่านเป็นกฎหมายในวันที่ 6 กรกฎาคม
4. กฏหมายเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ ตีพิมพ์ข้อความของคนต่างด้าวที่อาจก่อความไม่สงบภายในประเทศ (The Sedition Act) ผ่านเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม
กฎหมายทั้ง 4 ฉบับได้ออกมาเพื่อกดดันฝ่ายตรงกันข้าม คือพรรค Republican ไม่ให้มาต่อต้าน กฎหมายการโอนสัญชาติ ได้เสนอให้ต้องมีอายุการอยู่ในประเทศนานพอ ฝ่ายที่เห็นว่าให้น้อยมีตั้งแต่ 2 ปี และฝ่ายที่ต้องการกีดกันให้มีนานถึง 14 ปี แต่ในที่สุดตกลงกันได้ที่ 5 ปี
กฏหมาย Sedition Act ที่ถือว่าใครก็ตามที่ตีพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกลางในที่สาธารณะ ถือเป็นอาชญากรรม ต้องมีความผิดจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และถูกปรับระหว่าง 2,000-5,000 เหรียญ อาดัมส์ได้ลงนามในกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่ได้เป็นคนคิดหรือส่งเสริม
กฎหมายที่ออกมานี้สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างพรรคการเมือง และทำให้มีความหวาดกลัวต่อกัน อาดัมส์เองก็มีความเห็นแตกต่างและแตกแยกกับกลุ่มหัวรุนแรงในพรรค Federalists และโกรธที่มีความพยายามจะโอนอำนาจการบังคับบัญชากองทัพบกไปอยู่ในมือของ Hamilton แต่ขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธที่จะให้อำนาจไปอยู่กับกลุ่ม Democratic-Republicans อย่าง Aaron Burr ในการผลักดันให้เกิดกองทัพบกที่เข้มแข็งนั้น ฝ่าย Federalists ได้สร้างภาพความน่ากลัวของสงครามในหมู่ประชาชน และทำให้คะแนนไปตกอยู่กับกลุ่ม Democratic-Republicans และทำให้อาดัมส์และคนที่ตามเขาค่อยๆหมดอำนาจลง ฝ่าย Federalist ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่วงในของรัฐบาลในการต้องเผชิญกับสงครามกับฝ่ายฝรั่งเศส
ท่ามกลางความเครียดนี้ อาดัมส์ได้ถอนกลับไปอยู่ยังบ้านของเขาในแมสสาชูเสท ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799 เขาได้ทำให้คนตะลึงด้วยการส่งฝ่ายการฑูต ชื่อ William Vans Murray เพื่อไปเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศส ในขณะนั้น Napoleon ผู้นำของฝรั่งเศสตระหนักในความเป็นศัตรูกับสหรัฐไมได้ก่อประโยชน์อันใดกับฝรั่งเศส จึงได้ส่งสัญญาณพร้อมที่จะเป็นมิตรกับสหรัฐ จึงได้เกิดสนธิสัญญา The Treaty of Alliance of 1778 และสหรัฐไม่จำเป็นต้องมีพันธัในการเข้ายุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งในยุโรป ดังที่ประธานาธิบดี Washington ได้แสดงสุนทรพจน์ในจดหมายลาจากตำแหน่ง อาดัมส์เองได้พยายามหลีกเลี่ยงสงคราม แม้สิ่งนี้จะทำให้เขาต้องขัดแย้งกับคนในพรรคของเขาเองอย่างหนัก เพื่อการนี้ เขาได้แต่งตั้ง John Marshall เป็นรัฐมตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) และหยุดยั้งการดำเนินการเพื่อสงครามของกองทัพบก
การรณรงค์เลือกตั้งปี ค.ศ. 1800
Re-election campaign 1800
การเสียชีวิตของ Washington ในปี ค.ศ. 1799 ได้ทำให้ฝ่าย Federalists อ่อนแอลง ด้วยความที่เขาได้เป็นสัญญลักษณ์ของกลุ่มแม้จะไม่ได้มีบทบาทหรือตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ในการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1800 อาดัมส์และผู้ลงแข่งขันร่วมจากพรรค Federalists, Charles Cotesworth Pinckney ต้องแข่งขันกับ Jefferson และ Aaron Burr จากพรรค Republican ในขณะที่ Hamilton ที่มีความขัดแย้งกับ Adams ได้พยายามทำให้อาดัมส์ถดถอยลง และหวังว่า Pinckney จะได้โอกาสเป็นประธานาธิบดี แต่ผลคือ Jefferson ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ชนะไปอย่างหวุดหวิด คือกลุ่ม Jefferson และ Aaron Burr จากรัฐนิวยอร์ค ได้ 73 และ อาดัมส์ได้ 65
สาเหตุที่ทำให้อาดัมส์ต้องพ่ายแพ้ เพราะกลุ่มเน้นความเข้มแข็งของรัฐบาลกลางหัวรุนแรง (High Federalists) ที่นำโดย Hamilton ได้สร้างความไม่เห็นด้วยในหมู่ประชาชนในกฏหมาย Alien and Sedition Acts และความนิยมต่อหัวหน้าฝ่ายตรงข้ามอย่าง Thomas Jefferson ที่มีอย่างสูง และการเล่นการเมืองภายในรัฐนิวยอร์คที่มีฐานเสียงของ Aaron Burr ที่ทำให้คะแนนเสียงของฝ่าย Federalists ได้เปลี่ยนไปสู่ฝ่าย Republican
การแต่งตั้งผู้พิพากษา
(Midnight Judges)
เมื่อวาระของอาดัมส์จบลง อาดัมส์ได้แต่งตั้งคณะตุลาการเข้ามา ดังที่มีการเรียกขานว่า “คณะผู้พิพากษาเที่ยงคืน” (Midnight Judges) เพราะผู้พิพากษาเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในช่วงเวลาไม่กี่วันก่อนที่อาดัมส์จะหมดอำนาจลง คณะผู้พิพากษาเหล่านี้ต้องหมดอำนาจลง เมื่อ Jefferson ได้ยกเลิกตำแหน่ง ยกเว้น John Marshall ที่ยังคงตำแหน่งอยู่ในฐานะ หัวหน้าตุลาการศาลสูงสุดของสหรัฐ (Chief Justice of the United States) และจัดเป็นอิทธิพลท้ายสุดของกลุ่ม Federalists และเป็นการทำให้ฝ่ายตุลาการได้กลายเป็นอำนาจอิสระอีกสายหนึ่ง ที่มีอำนาจเท่าเทียมกับฝ่ายบริหาร (Executive) และฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative)
John Marshall เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1755 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พพค.ศ. 1835 เป็นรัฐบุรุษของชาวอเมริกัน เป็นผู้ได้รับชื่อว่าเป็นผู้วางระบบศาล และกฏหมายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และทำให้ศาลสูงทรงอำนาจ เป็นที่เคารพของตำแหน่งในวัฒนธรรมการเมืองของอเมริกัน
John Marshall ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศาลสูงสุด (Chief Justice of the United States) เริ่มรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1801 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1835 ก่อนหน้านี้เขาได้เริ่มชีวิตการเมืองด้วยการเป็นผู้แทนราษฏรในสภาล่าง (The United States House of Representatives) จากวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1799 จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1800 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) จากวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1800 ถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1801 เขาเป็นคนมีพื้นฐานมาจาก Commonwealth of Virginia และเป้นผู้นำคนหนึ่งของพรรค Federalist Party
เขารับหน้าที่เป็นหัวหน้าศาลสูงสุดของสหรัฐที่ยืนยาวที่สุดของสหรัฐ คือ 34 ปี และได้ทำให้ระบบศาลของสหรัฐได้มีรากฐานที่เข้มแข็ง ทำให้ศาลสามารถยืนหยัดเป็นเสาหลัก 1 ใน 3 ของประชาธิปไตยของสหรัฐ ร่วมกับอีก 2 เสา คือ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ภายใต้ระบบศาลของเขาได้ทำให้ศาลเป็นอิสระ เขาได้ตัดสินคดีที่สำคัญที่เกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลกลาง สร้างดุลย์อำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐแต่ละรัฐในช่วงแรกๆของการเป็นระบบสาธารณรัฐ และในหลายๆครั้ง เขาได้แสดงให้เห็นถึงอำนาจของรัฐบาลกลาง และกฎหมายของรัฐบาลกลาง (Federal Law) ในกรณีที่ขัดกัน จะต้องอยู่เหนือกฏหมายของแต่ละรัฐ คำตัดสินของเขาได้กลายเป็นฐานรากในทิศทางของศาลและของประเทศในระยะต่อมา
งานประธานาธิบดี
(Major presidential actions)
งานที่เกิดขึ้นในช่วงอาดัมส์ดำรงตำแหน่ง คือ
- การสร้างความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นให้กับกองทัพเรือ (Built up the U.S. Navy)
- การต่อสู้อย่างไม่เป็นทางการ หรือเปิดเผยกับฝรั่งเศส ในสงครามที่เรียกว่า Quasi War
- การลงนามในกฎหมายคนต่างด้าว และการควบคุมคนที่มีความคิดไม่เห็นด้วย ดังในกรณีของ Alien and Sedition Acts of 1798
- การยุติสงครามและความบาดหมางกับฝรั่งเศสด้วยวิธีการทางการฑุต
คำกล่าวสุนทรพจน์
(Speeches)
Inaugural Addresses
คำกล่าวเมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี (Inaugural Address (March 4, 1797) คำกล่าวรายงานต่อรัฐสภา State of the Union Address
- First State of the Union Address (November 22, 1797)
- Second State of the Union Address, (December 8, 1798)
- Third State of the Union Address, (December 3, 1799)
- Fourth State of the Union Address, (November 22, 1800)
การบริหารและคณะรัฐมนตรี
Administration and Cabinet
The Adams Cabinet
OFFICE
NAME
TERM
President -
1797 – 1801 Vice President - Thomas Jefferson
1797 – 1801
Secretary of State - Timothy Pickering
1797 – 1800 John Marshall - 1800 – 1801
Secretary of Treasury - Oliver Wolcott, Jr.
1797 – 1801 Samuel Dexter - 1801
Secretary of War - James McHenry
1796 – 1800 Samuel Dexter - 1800 – 1801
Attorney General - Charles Lee
1797 – 1801
Secretary of the Navy - Benjamin Stoddert
1798 – 1801
การแต่งตั้งศาลสูงสุด
(Supreme Court appointments)
Adams appointed the following Justices to the Supreme Court of the United States:
ภาพ จอห์น มาร์แชล (John Marshall) ผู้ซึ่งจอห์น อาดัมส์เสนอแต่งตั้งเป็นประธานศาลสูงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นบุคคลสำคัญในการวางรากฐานของกฏหมายรัฐธรรมนูญ
- John Marshall (Chief Justice) – 1801
รัฐที่ได้เข้าร่วมในประเทศStates admitted to the Union - ไม่มี
ชีวิตหลังการเป็นประธานาธิบดี
(Post Presidency)
ภาพของ
จากการพ่ายแพ้ในทางการเมืองในการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง เขาได้เกษียณตัวเองจากงานสาธารณะ และด้วยความขมขื่น เขาไม่ได้ร่วมในพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี Jefferson และกลับไปทำไร่ในบริเวณ Quincy ในรัฐแมสสาชูเสท
ในปี ค.ศ. 1812 อาดัมส์ได้กลับไปคืนดีกับ Jefferson ทั้งนี้ด้วยสื่อกลางอย่าง Benjamin Rush ผู้เป็นมิตรกับทั้งสองฝ่าย โดยชักจูงให้อาดัมส์ซึ่งเป็นเพื่อนกับ Jefferson มาตลอดชีวิตทั้งในหน้าที่การงานและส่วนตัว อาดัมส์ได้เขียนจดหมายถึง Jefferson ก่อน และทำให้ทั้งสองได้มีการเขียนติดต่อกันจนตลอดชีวิตที่เหลืออยู่
จดหมายที่ทั้งสองได้เขียนติดต่อกันนั้นแสดงถึงความคิดความอ่านของคนสองคนที่มีปัญญาและเป็นนักคิด ซึ่งมีรวมถึง 158 ฉบับ ดังบางส่วนที่เขาได้เขียนถึงกันเกี่ยวกับบทบาทของชนชั้นขุนนาง (Aristocracy) ดัง Jefferson ได้แสดงความเห็นยอมรับในบทบาทของชนชั้นนำ เขาเห็นว่า
“โดยธรรมชาติ ขุนนาง (Natural aristocracy) เป็นสมบัติอันมีค่าตามธรรมชาติ อ้นเป็นการชี้ทิศทาง ความเชื่อถือเชื่อมั่น และมีส่วนสำคัญต่อรัฐบาลและสังคม มันอาจเป็นความไม่เสมอต้นเสมอปลายของผมที่ให้ความสำคัญต่อ “คน” และ “รัฐสังคม” แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสติปัญญามากพอที่จะจัดการกับส่วนที่เป็นความจำเป็นของสังคม
อาดัมส์เองก็ยังสงสัยในความหมายของ “คนชั้นนำโดยธรรมชาติ” (Natural aristocracy) โดยมีการอภิปรายว่า มันคือสิ่งที่คนได้ติดตัวมาแต่กำเหนิดหรือ ความมั่งมีมั่งคั่ง หรือในอีกด้านหนึ่งมันเป็นความฉลาดด้วยสติปัญญา (Genius) ความแข็งแกร่ง (Strength) หรือความงาม (Beauty) แต่ถ้าความเป็นชนชั้นนำ เกิดจากเพียงกฏหมายได้ให้ความสำคัญในเกียรติในวงตระกูล ความมั่งคั่ง และอำนาจที่ได้มาด้วยการสืบทอดตามสายเลือด วงตระกูล ดังนั้นผมเห็นว่าเป็น “ชนชั้นนำแบบเทียม” (Artificial aristocracy)
อันที่จริง Jefferson เป็นนักคิด นักเขียน และนักการเมือง ที่บางครั้งก็มีความขัดแย้งกันเอง แต่แนวคิดที่เขาได้เขียนไว้ประกาศอิสรภาพ และส่วนสำคัญในรัฐธรรมนูญ ซึ่งบางทีก็ขัดแย้งกับสิ่งที่เขาปฏิบัติเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในทางสติปัญญา ทั้งสองคนได้เป็นหลักในด้านปรัชญาการเมืองแห่งยุค
อาดัมส์เป็นคนที่มีอายุยืนยาว ในเวลา 16 เดือนก่อนเขาเสียชีวิต บุตรชายของเขา John Quincy Adams ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศสหรัฐ (1825-1829) และเป็นบุตรชายประธานาธิบดีคนเดียวที่ได้เป็นประธานาธิบดี ตราบจนมีบุตรชายของอดีตประธานาธิบดีอีกคน คือ George W. Bush ที่ได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของประเทศอีกครั้ง
บุตรสาวของอาดัมส์ชื่อ Abigail ("Nabby") ได้แต่งงานกับวุฒิสมาชิก (Congressman) ชื่อ William Stephens Smith เธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ. 1813 บุตรชายของเขาชื่อ Charles เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1813 ด้วยโรคสุราเรื้อรัง Abigail ภรรยาของเขาได้เสียชีวิตลงด้วยโรค typhoid ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1818 บุตรชายของเขาชื่อ Thomas และครอบครัวของเขาที่อาศัยอยู่กับอาดัมส์ และครอบครัวของ Louisa Smith ซึ่งบเป็นหลานของ Abigail ที่เกิดกับ William พี่ชายของเธอได้อยู่กับเขา
จนสิ้นชีวิต
ความตาย (Death)
หลุมศพของประธานาธิบดี
ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1826 อันเป็นวันสำคัญ ถือเป็นวันชาติของสหรัฐ อาดัมส์ได้เสยชีวิตที่บ้านของเขาที่ Quincy คำกล่าวสุดท้ายที่มีชื่อเสียงของเขาคือ “
ที่วัดที่ได้ฝังเขา คือ United First Parish Church หรือที่รู้จักกันในนามของวัดประธานาธิบดี (Church of the Presidents) ใน Quincy อาดัมส์จัดเป็นประธานาธิบดีที่มีชีวิตที่ยืนยาวที่สุด ตราบจนปี ค.ศ. 2001 จึงมีประธานาธิบดีที่มีอายุยืนยาวกว่าคือ 90 ปี กับอีก 247 วัน สถิตินี้ได้ยืนยาวถึ 175 ปี และยังมีประธานาธิบดีที่แม้จะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเต็มวาระ คือ Gerald Ford ที่มีอายุยืนถึง 93 ปี กับอีก 165 วัน
บันทึก (Notes)
- ^ Ancestors of John ADAMS
- ^ Ferling (1992) ch 1
- ^ Timeline:Education and the Law - The
- ^ Ferling (1992) ch 2
- ^ Ferling (1992) p 117
- ^ Rev. Jonathan Mayhew, "Discourse Concerning Unlimited Submission and Non-resistance to the Higher Powers," 30 January 1750. On Adams' attribution to Rev. Mayhew refer to the Christian History Institute
- ^ Ferling (1992) pp 53-63
- ^ Zobel, The Boston Massacre, W.W. Norton and Co.(1970), 199-200.
- ^ Chinard,
- ^ McCullough,
- ^ Adams, John, Diary and Autobiography of
- ^ John Adams, 1st Vice President (1789-1797). United States Senate. Retrieved on 2007-08-01.
- ^ In 1775 he was also appointed the chief judge of the Massachusetts Superior Court.
- ^ Ferling (1992) ch 8 p 146
- ^ Wood, The Radicalism of the American Revolution (1993)
- ^ Ferling (1992) pp 155-7, 213-5
- ^ Thoughts on Government, Works of
- ^ Ferling (1992) ch 8. An 1813 letter by Adams, in which he said that one-third of the people supported the revolution, refers to the French revolution in the 1790s.[1]
- ^ Lipscomb & Bergh, eds. Writings of
- ^ (1963) Who Was Who in America, Historical Volume, 1607-1896. Chicago: Marquis Who's Who.
- ^ Adams Autobiography, entry March 10, 1778.
- ^ Ferling (1992) ch 11-12
- ^ In February 1782 the Frisian states had been the first Dutch province to recognize the United States, while France had been the first European country to grant diplomatic recognition, in 1778).
- ^ Up till 1794 a total of eleven loans were granted in Amsterdam to the United States with a value of 29 million guilders.
- ^ Dutch American Friendship Day / Heritage Day - U.S. Embassy The Hague, Netherlands
- ^ See http://www.presidency.ucsb.edu/ws/index.php?pid=6193.
- ^ Ronald M. Peters. The Massachusetts Constitution of 1780: A Social Compact (1978) p 13 says Adams was its "principal architect."
- ^ John Adams: Defence of the Constitutions, 1787
- ^ Turgot to Richard Price, March 22, 1778, in Works of
- ^ Wood, Revolutionary Characters: What Made the Founders Different (2006) pp 173-202; see also Wood, The Radicalism of the American Revolution (1993).
- ^ Thompson,1999
- ^ Works of
- ^ Madison, James, The Federalist No. 51, <http://en.wikisource.org/w/index.php?title=The_Federalist_Papers/No._51&oldid=504230>
- ^ Littlefield, Daniel C. "John Jay, the Revolutionary Generation, and Slavery." New York History 2000 81(1): p 91-132. ISSN 0146-437X
- ^ Ferling (1992) pp 172-3
- ^ Ferling (1992) ch 15
- ^ Ferling (1992) p 311
- ^ Ferling (1992) pp 316-32
- ^ Biography of John Adams
- ^ Ferling (1992) ch 16, p 333.
- ^ McCullough p 471
- ^ Ellis (1998) p 57
- ^ Ferling (1992) ch 17
- ^ Kurtz (1967) p 331
- ^ Ferling (1992) ch 18
- ^ Ferling (1992) ch 19; Ferling (2004)
- ^ Ferling (1992) p 409
- ^ Cappon (1988)
- ^ Cappon, ed., 387
- ^ Cappon, ed. 400
- ^ Ferling (1992) ch 20
- ^ Jefferson Still Survives. Retrieved on 2006-12-26.
- ^ Robert B. Everett, "The Mature Religious Thought of
- ^ See TeachingAmericanHistory.org: " A Dissertation on the Canon and Feudal Law", John Adams, 1765
- ^ The Works of
- ^ a b Unitarian Universalist Historical Society Biography. Retrieved on 2007-12-11. การอ้างอิง (References)
- Brown, Ralph A. The Presidency of
- Chinard, Gilbert. Honest
- Elkins, Stanley M. and Eric McKitrick, The Age of Federalism. (1993), highly detailed political interpretation of 1790s
- Ellis, Joseph J. Passionate Sage: The Character and Legacy of
- Ferling,
- Ferling, John.
- Grant, James.
- Haraszti, Zoltan.
- Knollenberg, Bernard. Growth of the American Revolution: 1766-1775,(2003). Online edition.
- Kurtz, Stephen G. The Presidency of
- McCullough, David.
- Miller, John C. The Federalist Era: 1789-1801. (1960). Thorough survey of politics in decade.
- Ryerson, Richard Alan, ed.
- Sharp, James. American Politics in the Early Republic: The New Nation in Crisis. (1995), detailed political narrative of 1790s.
- Smith, Page. John Adams. (1962) 2 volume; full-scale biography, winner of the Bancroft Prize
- Thompson, C. Bradley. John Adams and the Spirit of Liberty. (1998). Analysis of Adams's political thought; insists Adams was the greatest political thinker among the Founding Generation and anticipated many of the ideas in The Federalist.
- White, Leonard D. The Federalists: A Study in Administrative History (1956), thorough analysis of the mechanics of government in 1790s
- Gordon S. Wood. ‘’ Revolutionary Characters: What Made the Founders Different’’ (2006) Primary sources
- Adams, C.F. The Works of John Adams, with Life (10 vols., Boston, 1850-1856)
- Butterfield, L. H. et al., eds., The Adams Papers (1961- ). Multivolume letterpress edition of all letters to and from major members of the Adams family, plus their diaries; still incomplete [2].
- Cappon, Lester J. ed. The Adams-Jefferson Letters: The Complete Correspondence Between Thomas Jefferson and Abigail and John Adams (1988).
- Carey, George W., ed. The Political Writings of John Adams. (2001). Compilation of extracts from Adams's major political writings.
- Diggins, John P., ed. The Portable John Adams. (2004)
- John A. Schutz and Douglass Adair, eds. Spur of Fame, The Dialogues of John Adams and Benjamin Rush, 1805–1813 (1966) ISBN 978-0-86597-287-2
- C. Bradley Thompson, ed. Revolutionary Writings of John Adams, (2001) ISBN 978-0-86597-285-8
- John Adams, Novanglus; or, A History of the Dispute with America (1774) online version
- Brinkley, Alan, and Davis Dyer. The American Presidency. Boston: Houghton Mifflin company, 2004.
- Hogan, Margaret and C. James Taylor, eds. My Dearest Friend: Letters of Abigail and John Adams. Cambridge: Harvard University Press, 2007.
- Taylor, Robert J. et al, eds. Papers of John Adams. Cambridge: Harvard University Press
- Wroth, L. Kinvin and Hiller B. Zobel, eds. The Legal Papers of John Adams. Cambridge: Harvard University Press
- Butterfield, L. H., ed. Adams Family Correspondence. Cambridge: Harvard University Press External links
Wikisource has original works written by or about: John Adams
Wikiquote has a collection of quotations related to: John Adams
Wikimedia Commons has media related to: John Adams
Official NPS website: Adams National Historical Park
· John Adams Biography as well as quotes, gallery and speeches
· John Adams and the Massachusetts Constitution - Mass.gov
· John Adams @ the Jewish Encyclopedia
· John Adams White House biography
State of the Union Addresses: 1797, 1798, 1799, 1800
· Inaugural Address,
· John Adams Quotes at Liberty-Tree.ca
· "Thoughts on Government" Adams, April 1776
· The Papers of John Adams from the Avalon Project (includes Inaugural Address, State of the Union Addresses, and other materials)
· Adams Family Papers: An electronic archive Captured December 16, 2004.
· Works by John Adams at Project Gutenberg Medical and Health History of John Adams
Quotes on the preservation of freedom: [3]
The John Adams Library, housed at the Boston Public Library, contains Adams's personal collection of more than 3,500 volumes in eight languages, many of which are extensively annotated by Adams.
· Extensive essay on John Adams and shorter essays on each member of his cabinet and First Lady from the Miller Center of Public Affairs
· Quotes from John Adams on the proper role, and divine purpose of government at Our Republic
· Works by or about John Adams in libraries (WorldCat catalog)
· John Adams: A Resource Guide from the Library of Congress
· John Adams letters to Abigail Adams, Vol. 1
No comments:
Post a Comment