Keywords: Cw403, International Education, การศึกษานานาชาติ, การพัฒนาชนบท
ความนำ
ผมเขียนบทความนี้ โดยตั้งเป้าหมายว่า ภายในเวลา 5 ปี เราควรจัดให้มีการศึกษานานาชาติ (International Education) ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้อย่างน้อยมีตำบลละ 1 คน ที่ได้มีโอกาสรับการศึกษาหลักสูตรแบบนานาชาติ หรืออย่างน้อยในแต่ละตำบล ให้มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้มีประสบการณ์การศึกษา หรือการฝึกงานในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ปี หรือ 10 เดือน และเมื่อจบการศึกษาแล้ว หวังว่าอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเขาเหล่านี้จะยังกลับมาทำงานในท้องถิ่นของเขา สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชุมชนระดับฐานรากของเขาได้อย่างเต็มที่
ประเทศไทยมีตำบลทั้งสิ้น 6,746 แห่ง มีหมู่บ้านทั้งสิ้นกว่า 70,000 แห่ง ความจริงหากมุ่งให้มีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในทุกหมู่บ้าน คงจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว เพราะระบบการอุดมศึกษาของไทยเป็นระบบเปิดให้แก่มวลชนอย่างกว้างขวาง ในแต่ละปีเรามีผู้จบการศึกษาขั้นปริญญาตรีขึ้นไปหลายแสนคนแล้ว แต่ถ้าจะถามว่าเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพหรือไม่ คำตอบยังไม่ชัดเจน เพราะเป็นอันมาก บัณฑิตที่เราผลิตกันนั้นยังมีปัญหาด้านคุณภาพ
ความหมายการศึกษานานาชาติ
คำว่า “การศึกษานานาชาติ” (International Education) มีสองความหมาย ความหมายหนึ่งคือการทำให้เกิดการศึกษาแบบข้ามชาติ ข้ามพรหมแดน โดยการแลกเปลี่ยนคนและนักการศึกษาต่อกัน เช่นการไปศึกษาต่อต่างประเทศ
อีกความหมายหนึ่งคือการศึกษาเปรียบเทียบ ทำให้ผู้ร่วมโครงการได้เข้าใจโลกที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา สภาพแวดล้อม รัฐบาล สัมพันธภาพทางการเมือง ศาสนา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ของโลก การศึกษานานาชาติ รวมถึง
- ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคและวัฒนาธรรมในส่วนต่างๆ ของโลก
- ทำให้เกิดความคุ้นเคยกับประเด็นที่เกี่ยวกับนานาชาติและโลก
- มีทักษะในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในโลกที่ต้องมีสภาพแวดล้อมแบบหลายวัฒนธรรม และการใช้- - - ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งหลากหลายที่มีอยู่ในโลก
- ความสามารถที่จะสื่อสารได้หลายภาษา
- ความเข้าใจและเคารพในความเป็นมนุษย์ที่มีความต่างในวัฒนธรรมกัน
- ความจริงการศึกษานานาชาติในความหมายนี้จะไม่จำกัดเพียงหลักสูตรหรือโปรแกรมการศึกษานานาชาติแบบแยกส่วนออกมา แต่ควรเป็นส่วนที่ประสมประสานไปกับหลักสูตรปกติทั่วไป และในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรืออุดมศึกษา
การพัฒนาระบบการศึกษานานาชาติในแต่ละสถาบัน แต่ละประเทศอาจมีความแตกต่าง แปรผัน และพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม และความพร้อมที่จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงการพัฒนานั้นๆ
เรียนไปทำไม
หากต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมีคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศสัก 1 คน หลายคนคงสงสัยว่าเราจะให้คนมีการศึกษา และมีความสามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศได้ดีในทุกหมู่บ้านนั้นเพื่ออะไร บางคนคงสงสัยและอาจขำขันในใจว่า จะไปส่งเสริมกันไปทำไม บางหมู่บ้านอยู่ในที่ๆ แม้ไฟฟ้าก็ยังไม่มีใช้ อย่าว่าแต่ภาษาต่างประเทศเลย แม้ภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ถ้วนหน้า ก็นับเป็นความท้าทายมากพอแล้ว
แต่ถ้าพูดถึงระดับตำบล หากมีคนมีความสามารถระดับอินเตอร์ รู้ภาษาต่างประเทศดีทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนนั้น คงชี้แจงได้ไม่ยากว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการมีคนเก่งระดับนี้ในแต่ละตำบล ผมจะลองยกตัวอย่างให้เห็นดังต่อไปนี้
กระทรวงมหาดไทยต้องการให้มีอินเตอร์เน็ตตำบล หรือประมาณเกือบๆ 10,000 แห่ง หากทำได้ก็เป็นสิ่งประเสริฐ หากทำไม่ได้เอง ส่งเสริมให้เกิดอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือศูนย์การสื่อสารและการเรียนรู้ประจำตำบลสักอย่างน้อย 1 แห่ง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และอย่างที่เราทราบ ประสิทธิภาพการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารนั้น จะให้ใช้ได้อย่างเต็มที่นั้นคงต้องให้มีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี เพราะระบบข้อมูลในโลกที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น มีที่เป็นภาษาต่างประเทศเสียร้อยละกว่า 99 โดยเฉพาะภาษาอังกฤษมากที่สุด ข้อมูลที่จัดทำเป็นภาษาไทยนั้นมีไม่ถึงร้อยละ 1 หากเรารู้เพียงภาษาไทย ก็กล่าวได้เหมือนกับปลาที่ว่ายน้ำในบ่อเล็กๆ แต่ถ้ารู้ภาษาต่างประเทศ โลกของอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเหมือนดังในแม่น้ำหรือมหาสมุทร มันกว้างใหญ่กว่ากันมาก
ในระบบการเรียนรู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นฐานนั้นต้องการคนทำหน้าที่ผู้ชี้แนะ หรือที่เรียกว่า Cyber Guide เหมือนกับการมีห้องสมุด ก็ต้องมีบรรณรักษ์ที่คอยช่วยแนะนำการใช้ห้องสมุดนั่นเอง
ประเทศไทยเป็นเมืองการท่องเที่ยว แต่ละปีมีชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวหลายสิบล้านคน มีคนมาพักอาศัยระยะยาวหรือปานกลางมากขึ้น แม้แต่ในหมู่บ้านต่างจังหวัดบางแห่งมีชาวต่างประเทศเข้ามามีครอบครัวอยู่อาศัยนับเป็นร้อยคน ในหมู่บ้านชายป่า ชายเขา ริมทะเล ตามเกาะแก่งที่เราคิดว่ากันดาลนั้น มีคนต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และธรรมชาตินิยม เขาเข้ามาพักแบบ Guest house หรือเป็นบ้านแปลงสภาพเป็น Home stay ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการคนที่จะบริหารงานบริการได้อย่างมืออาชีพ สื่อสารกับลูกค้าได้ดี แม้จะเป็นกิจการขนาดเล็ก
เราต้องการเมืองแบบไหน เมืองขนาด 10-20 ล้านคนที่เรียกว่า Mega Cities ในลักษณะคล้ายกรุงโตเกียว ซึ่งหากนับรวมประชากรที่ไปรวมตัวอาศัยกันโดยรอบด้วยแล้วจะมีถึง 31 ล้านคน หรือ นิวยอร์คที่มีประชากรโดยรอบรวม 21 ล้านคน และในแบบที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีประชากรถึง 8.5 ล้านคนก็กำลังจะเป็นไปเช่นนั้น หรือจะมีทางเลือกของความเป็นชุมชนอย่างอื่นที่น่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
กระทรวงมหาดไทยต้องการให้มีอินเตอร์เน็ตตำบล หรือประมาณเกือบๆ 10,000 แห่ง หากทำได้ก็เป็นสิ่งประเสริฐ หากทำไม่ได้เอง ส่งเสริมให้เกิดอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือศูนย์การสื่อสารและการเรียนรู้ประจำตำบลสักอย่างน้อย 1 แห่ง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และอย่างที่เราทราบ ประสิทธิภาพการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารนั้น จะให้ใช้ได้อย่างเต็มที่นั้นคงต้องให้มีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี เพราะระบบข้อมูลในโลกที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น มีที่เป็นภาษาต่างประเทศเสียร้อยละกว่า 99 โดยเฉพาะภาษาอังกฤษมากที่สุด ข้อมูลที่จัดทำเป็นภาษาไทยนั้นมีไม่ถึงร้อยละ 1 หากเรารู้เพียงภาษาไทย ก็กล่าวได้เหมือนกับปลาที่ว่ายน้ำในบ่อเล็กๆ แต่ถ้ารู้ภาษาต่างประเทศ โลกของอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเหมือนดังในแม่น้ำหรือมหาสมุทร มันกว้างใหญ่กว่ากันมาก
ในระบบการเรียนรู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นฐานนั้นต้องการคนทำหน้าที่ผู้ชี้แนะ หรือที่เรียกว่า Cyber Guide เหมือนกับการมีห้องสมุด ก็ต้องมีบรรณรักษ์ที่คอยช่วยแนะนำการใช้ห้องสมุดนั่นเอง
ประเทศไทยเป็นเมืองการท่องเที่ยว แต่ละปีมีชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวหลายสิบล้านคน มีคนมาพักอาศัยระยะยาวหรือปานกลางมากขึ้น แม้แต่ในหมู่บ้านต่างจังหวัดบางแห่งมีชาวต่างประเทศเข้ามามีครอบครัวอยู่อาศัยนับเป็นร้อยคน ในหมู่บ้านชายป่า ชายเขา ริมทะเล ตามเกาะแก่งที่เราคิดว่ากันดาลนั้น มีคนต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และธรรมชาตินิยม เขาเข้ามาพักแบบ Guest house หรือเป็นบ้านแปลงสภาพเป็น Home stay ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการคนที่จะบริหารงานบริการได้อย่างมืออาชีพ สื่อสารกับลูกค้าได้ดี แม้จะเป็นกิจการขนาดเล็ก
เราสร้างสังคมใหม่
เราต้องการเมืองแบบไหน เมืองขนาด 10-20 ล้านคนที่เรียกว่า Mega Cities ในลักษณะคล้ายกรุงโตเกียว ซึ่งหากนับรวมประชากรที่ไปรวมตัวอาศัยกันโดยรอบด้วยแล้วจะมีถึง 31 ล้านคน หรือ นิวยอร์คที่มีประชากรโดยรอบรวม 21 ล้านคน และในแบบที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีประชากรถึง 8.5 ล้านคนก็กำลังจะเป็นไปเช่นนั้น หรือจะมีทางเลือกของความเป็นชุมชนอย่างอื่นที่น่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ในโลกยุคใหม่ คนเป็นอันมากเบื่อและอึดอัดกับชีวิตแบบชาวกรุงที่ต้องเผชิญปัญหานานาประการ เช่น การจราจรติดขัด มีมลพิษทางอากาศมาก มีความเครียดในการทำงานและยังชีพ ค่าครองชีพสูง อาชญากรรมสูง ชีวิตและทรัพย์สินไม่ปลอดภัย แต่หากเขาจะเลือกอยู่ต่างจังหวัด เขาก็จะประสบปัญหาจาก การไม่มีงานมีรายได้ การศึกษาไม่มีคุณภาพ ไม่มีครูมีความสามารถในสายวิชาการที่จะทำงานในท้องที่ห่างไกล ระบบบริการสุขภาพไม่มีคุณภาพมาตรฐานเพียงพอ ไม่มีหมอ พยาบาล ทันตแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่อยากอยู่ในที่ๆ กันดาล
แต่หากเขามีทางเลือกในชีวิต ให้ได้สิ่งที่ดีของทั้งความเป็นชนบทและความเป็นเมืองใหญ่จะเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบคือเป็นไปได้ ทั้งนี้ให้ได้มีเมืองเล็กแบบทันสมัย อย่างที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Micropolis หรือ Micropolitan เป็นเมืองทันสมัย มีทุกอย่างเหมือนกับกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มีแหล่งงานที่ให้ค่าตอบแทนที่ดีพอ คนมีรายได้ที่เพียงพอและเหลือเก็บ เมืองมีครูดี มีการศึกษาที่ดี มีบริการทางการแพทย์ที่ดี มีระบบการขนส่งคมนาคมและการสื่อสารที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ และได้มีการทำให้เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมือง (Towns) ขนาดเล็กและขนาดกลางมีประชากรระหว่าง 10,000-40,000 คน สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้ามีคนเก่งคนมีความปรารถนามารวมตัวกันพัฒนา หากต้องการเห็นตัวอย่างดังกล่าว ผมสามารถชี้ให้ได้นับเป็นพันๆ แห่งในต่างประเทศ คนไทยเองก็สามารถสร้างชุมชนเมืองขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหล่านี้ได้ แต่ทั้งหมดจะต้องมีคนเก่ง คนที่มีวิสัยทัศน์ เคยเห็นการพัฒนาในที่ต่างๆ แล้ว แล้วมาเป็นผู้นำ ผู้ริเริ่มนำความคิดและทางเลือกใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ มาพัฒนาให้เกิดเป็นจริงในบ้านเรา
ประเทศไทยต้องการสังคมในแบบใหม่ ชุมชนใหม่ที่สร้างขึ้นแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเกษตร และในอีกด้านหนึ่งให้ยังสามารถสร้างงานอุตสาหกรรมและงานบริการที่ทำให้คนในส่วนภูมิภาคมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีค่าครองชีพชีวิตที่ไม่สูง
สิ่งเหล่านี้ต้องการคนเก่ง คนที่จะมาเป็นผู้นำในการพัฒนา
ในประเทศกลุ่มยุโรป เขามีความพยายามรวมตัวกันดังการเกิด European Union เขาก็ลงทุนส่งเสริมให้เกิดการศึกษาโดยใช้ภาษาที่สอง นอกเหนือจากภาษาประจำชาติของเขาเอง โดยเฉพาะแนวโน้มที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่ละประเทศเขาต้องเตรียมการในเรื่องนี้ และเขาเริ่มจากการเตรียมครูอาจารย์ใหม่ของเขา เขาส่งเสริมให้คนที่จะทำหน้าที่เป็นครู หรือนักวิชาชีพต่างๆ ได้ไปมีประสบการณ์ในต่างแดน ได้มีประสบการณ์ต่างประเทศในถิ่นที่พูดภาษาที่เขาต้องการเรียนรู้นั้นๆ
ในกรณีที่เราต้องส่งคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ คงต้องมีการใช้เงินลงทุนพอสมควร แต่ทำอย่างไรจึงจะทำให้การลงทุนนั้นคุ้มค่า
สมมุติว่าต้องส่งไปศึกษาต่อในประเทศพัฒนาแล้ว เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เหล่านี้ก็ต้องใช้เงินนับเป็นล้านบาทต่อปี หากต้องส่งคนไปเรียนสัก 7,000 คนใน 5 ปี เรียนกันคนละ 4 ปี ก็ต้องใช้เงินประมาณคนละ 4-5 ล้านบาท หรือรวมเป็นเงินสัก 28,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นแผน 5-6 ปีก็จะใช้เงินประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท
เงิน 5,000 ล้านบาทต่อปีนั้น หากนักการเมืองเขาคิดเป็นนโยบายประชานิยม แจกวัวพันธุ์เนื้อให้กับชาวบ้าน 1 ล้านตัว ค่าวัวตัวละ 10,000 บาท เขาก็จะแจกได้ในเวลา 2 ปี
เงิน 5,000 ล้านบาท หากซื้อจักรยานแจกโรงเรียน หรือซื้อแจกเด็กนักเรียน ก็จะได้จักรยานถึง 4.20 ล้านคัน สามารถซื้อจักรยานแจกนักเรียนได้ปีละ 4 แสนคันเป็นเวลา 10 ปี นโยบายดังนี้จะได้คะแนนเสียงมากกว่าแน่
ดังนั้น การส่งเสริมการศึกษาในระดับผู้นำให้กับแต่ละตำบลนั้น จะต้องมีรูปแบบที่ดึงดูดและเป็นไปได้ให้ดีพอ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้โดยไม่ใช่เป็นนโยบายแจกทุนจากรัฐบาลกลางแต่เพียงอย่างเดียว
ในประเทศอย่างมาเลเซีย เขามีโปรแกรมการศึกษานานาชาติในแบบใหม่ เขาเรียกว่า Twinning Degree Program หรือ Dual Degree Program คือเรียนแบบลูกประสม เรียนปริญญาตรีในหลักสูตรเรียนและสอนเป็นภาษาอังกฤษในประเทศ 1-2 ปี แล้วไปศึกษาต่อต่างประเทศอีก 2 ปี ดังนี้การต้องไปใช้เงินในต่างประเทศก็จะลดลงร้อยละ 50 หรือปีละประมาณ 2,500 ล้านบาท หรือเหลือการต้องไปใช้เงินในต่างประเทศที่ปีละ 2,500 ล้านบาท แทนที่จะเป็นปีละ 5,000 ล้านบาท
นอกจากนี้คือ การได้เปิดโครงการนานาชาติ (International Program) ขึ้นในประเทศไทยยังจะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ หากโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคสัก 50 แห่งร่วมโครงการ กระจายตัวเองไปในทุกจังหวัดหรือจังหวัดหลัก ก็จะเกิดประสบการณ์ในการโอนถ่ายความรู้ เกิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์ชาวต่างประเทศเข้ามาสอน มีนักศึกษาต่างชาติอื่นๆมาร่วมเรียน เกิดสังคมที่ต้องทำให้คนตระหนักต่อโลกใหม่ ภาษาใหม่ที่จำเป็นในการสื่อสารในสังคมที่มีความเป็นนานาชาติมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยในส่วนภูมิภาคโดยรวมดีขึ้น
แต่หากเขามีทางเลือกในชีวิต ให้ได้สิ่งที่ดีของทั้งความเป็นชนบทและความเป็นเมืองใหญ่จะเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบคือเป็นไปได้ ทั้งนี้ให้ได้มีเมืองเล็กแบบทันสมัย อย่างที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Micropolis หรือ Micropolitan เป็นเมืองทันสมัย มีทุกอย่างเหมือนกับกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มีแหล่งงานที่ให้ค่าตอบแทนที่ดีพอ คนมีรายได้ที่เพียงพอและเหลือเก็บ เมืองมีครูดี มีการศึกษาที่ดี มีบริการทางการแพทย์ที่ดี มีระบบการขนส่งคมนาคมและการสื่อสารที่มีคุณภาพ สะดวกรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ และได้มีการทำให้เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมือง (Towns) ขนาดเล็กและขนาดกลางมีประชากรระหว่าง 10,000-40,000 คน สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้ามีคนเก่งคนมีความปรารถนามารวมตัวกันพัฒนา หากต้องการเห็นตัวอย่างดังกล่าว ผมสามารถชี้ให้ได้นับเป็นพันๆ แห่งในต่างประเทศ คนไทยเองก็สามารถสร้างชุมชนเมืองขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหล่านี้ได้ แต่ทั้งหมดจะต้องมีคนเก่ง คนที่มีวิสัยทัศน์ เคยเห็นการพัฒนาในที่ต่างๆ แล้ว แล้วมาเป็นผู้นำ ผู้ริเริ่มนำความคิดและทางเลือกใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ มาพัฒนาให้เกิดเป็นจริงในบ้านเรา
ประเทศไทยต้องการสังคมในแบบใหม่ ชุมชนใหม่ที่สร้างขึ้นแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเกษตร และในอีกด้านหนึ่งให้ยังสามารถสร้างงานอุตสาหกรรมและงานบริการที่ทำให้คนในส่วนภูมิภาคมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีค่าครองชีพชีวิตที่ไม่สูง
สิ่งเหล่านี้ต้องการคนเก่ง คนที่จะมาเป็นผู้นำในการพัฒนา
เรียนต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายแพง
การศึกษามีคุณภาพต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตาม ในต่างประเทศเขามีสุภาษิตว่า There is no free lunch. หรือแปลได้ว่าไม่มีอะไรดีๆ ที่จะได้มาฟรี การศึกษาก็เช่นกัน การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างที่เราต้องการ ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วยในประเทศกลุ่มยุโรป เขามีความพยายามรวมตัวกันดังการเกิด European Union เขาก็ลงทุนส่งเสริมให้เกิดการศึกษาโดยใช้ภาษาที่สอง นอกเหนือจากภาษาประจำชาติของเขาเอง โดยเฉพาะแนวโน้มที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่ละประเทศเขาต้องเตรียมการในเรื่องนี้ และเขาเริ่มจากการเตรียมครูอาจารย์ใหม่ของเขา เขาส่งเสริมให้คนที่จะทำหน้าที่เป็นครู หรือนักวิชาชีพต่างๆ ได้ไปมีประสบการณ์ในต่างแดน ได้มีประสบการณ์ต่างประเทศในถิ่นที่พูดภาษาที่เขาต้องการเรียนรู้นั้นๆ
ในกรณีที่เราต้องส่งคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ คงต้องมีการใช้เงินลงทุนพอสมควร แต่ทำอย่างไรจึงจะทำให้การลงทุนนั้นคุ้มค่า
สมมุติว่าต้องส่งไปศึกษาต่อในประเทศพัฒนาแล้ว เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เหล่านี้ก็ต้องใช้เงินนับเป็นล้านบาทต่อปี หากต้องส่งคนไปเรียนสัก 7,000 คนใน 5 ปี เรียนกันคนละ 4 ปี ก็ต้องใช้เงินประมาณคนละ 4-5 ล้านบาท หรือรวมเป็นเงินสัก 28,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นแผน 5-6 ปีก็จะใช้เงินประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท
เงิน 5,000 ล้านบาทต่อปีนั้น หากนักการเมืองเขาคิดเป็นนโยบายประชานิยม แจกวัวพันธุ์เนื้อให้กับชาวบ้าน 1 ล้านตัว ค่าวัวตัวละ 10,000 บาท เขาก็จะแจกได้ในเวลา 2 ปี
เงิน 5,000 ล้านบาท หากซื้อจักรยานแจกโรงเรียน หรือซื้อแจกเด็กนักเรียน ก็จะได้จักรยานถึง 4.20 ล้านคัน สามารถซื้อจักรยานแจกนักเรียนได้ปีละ 4 แสนคันเป็นเวลา 10 ปี นโยบายดังนี้จะได้คะแนนเสียงมากกว่าแน่
ดังนั้น การส่งเสริมการศึกษาในระดับผู้นำให้กับแต่ละตำบลนั้น จะต้องมีรูปแบบที่ดึงดูดและเป็นไปได้ให้ดีพอ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้โดยไม่ใช่เป็นนโยบายแจกทุนจากรัฐบาลกลางแต่เพียงอย่างเดียว
ทางเลือกใหม่โครงการลูกประสม
หากจะคิดว่าในแต่ละปีจะต้องเสียเงินเพื่อการศึกษา โดยต้องนำเงินบาทไปใช้ในต่างแดน ต้องเสียปีละ 4,000-5,000 ล้านบาท เราคงต้องคิดหนัก แต่ถ้าเราเปลี่ยนวิธีการใหม่ หาทางลดค่าใช้จ่ายลงได้อีกสักครึ่งหนึ่ง ก็พอจะทำได้ ทางเลือกมีตัวอย่างดังนี้ในประเทศอย่างมาเลเซีย เขามีโปรแกรมการศึกษานานาชาติในแบบใหม่ เขาเรียกว่า Twinning Degree Program หรือ Dual Degree Program คือเรียนแบบลูกประสม เรียนปริญญาตรีในหลักสูตรเรียนและสอนเป็นภาษาอังกฤษในประเทศ 1-2 ปี แล้วไปศึกษาต่อต่างประเทศอีก 2 ปี ดังนี้การต้องไปใช้เงินในต่างประเทศก็จะลดลงร้อยละ 50 หรือปีละประมาณ 2,500 ล้านบาท หรือเหลือการต้องไปใช้เงินในต่างประเทศที่ปีละ 2,500 ล้านบาท แทนที่จะเป็นปีละ 5,000 ล้านบาท
นอกจากนี้คือ การได้เปิดโครงการนานาชาติ (International Program) ขึ้นในประเทศไทยยังจะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ หากโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคสัก 50 แห่งร่วมโครงการ กระจายตัวเองไปในทุกจังหวัดหรือจังหวัดหลัก ก็จะเกิดประสบการณ์ในการโอนถ่ายความรู้ เกิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์ชาวต่างประเทศเข้ามาสอน มีนักศึกษาต่างชาติอื่นๆมาร่วมเรียน เกิดสังคมที่ต้องทำให้คนตระหนักต่อโลกใหม่ ภาษาใหม่ที่จำเป็นในการสื่อสารในสังคมที่มีความเป็นนานาชาติมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยในส่วนภูมิภาคโดยรวมดีขึ้น
ในปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เขาไม่ใช่มีเพียงโปรแกรมการศึกษานานาชาติที่ต้องส่งคนไปเรียนต่างชาติ แต่ในทางกลับกัน ในแต่ละปีเขามีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในมาเลเซียเพิ่มมากขึ้น ความเป็นนานาชาติของชุมชน ความสมบูรณ์ทางวัฒนธรรมก็มีมากยิ่งขั้น นอกเหนือไปจากการมีเงินมาจับจ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น
การไปศึกษาต่างประเทศมิใช่การไปใช้เงินเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถไปทำงานหารายได้เสริมหรือรายได้หลัก ได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือได้เรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตอย่างฝรั่งเขา
ในสมัยก่อน นักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ มี 4 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 พวกทุน ก.พ. หมายถึงพวกที่ไปศึกษาต่อด้วยทุนรัฐบาล ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ พวกนี้รัฐบาลจ่ายเงินอย่างเพียงพอหากเรียนหนังสือให้ดี ไม่ไปสอบตกแล้วเขาเชิญกลับบ้าน ก็จะมีเงินทองเรียนหนังสือได้อย่างสบายใจจนจบการศึกษา บางทุนให้เรียนต่อจนถึงระดับปริญญาเอก ทุนนี้ในช่วงมีแผนพัฒนาประเทศ มีเป็นอันมากที่เป็นทุนจากต่างประเทศ มีทั้งที่จ่ายทั้งหมด จ่ายบางส่วน ไม่เก็บค่าเล่าเรียน หรือเก็บในอัตราพิเศษ ซึ่งเพิ่มโอกาสการไปศึกษาต่ออีกต่างหาก
ประเภทที่ 2 เรียกว่าทุน พ.ก. แปลว่า ทุนพ่อกู หรือครอบครัวคนชั้นกลางที่มีฐานะดีพอ ก็ลงทุนส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยการสนับสนุนจากครอบครัว รัฐบาลไม่ต้องไปจ่าย แต่ก็มีเป็นอันมากที่เมื่อจบการศึกษากลับมาแล้ว ก็มารับราชการ ทำให้รัฐบาลได้คนทำงาน ได้ข้าราชการที่มีการศึกษา โดยไม่ต้องไปลงทุนเองทั้งหมด
ประเภทที่ 3 คือ พวกโรบินฮูด (Robinhood) คือพวกที่เดินทางไปอย่างถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แล้วใช้โอกาสหางานทำ ปักหลักอยู่ในต่างประเทศ ทำงานอย่างปากกัดตีนถีบ ไม่ว่าแรงงานอะไรที่พอที่จะทำให้เป็นรายได้ ก็รับทำ ตั้งแต่ทำงานล้างชามในร้านอาหาร ภารโรง ขับรถแท๊กซี่ เป็นพนักงานประเภทใช้แรงงานตามสถานที่ต่างๆ แล้วอยู่ๆไปมีความสามารถในการสื่อสารมากขึ้น ก็เริ่มทำงานที่ต้องใช้ความสามารถมากขึ้น ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น บางส่วนมีหัวการค้าก็หันไปลงทุนเป็นผู้ประกอบการ เช่น ทำร้านอาหาร ร้านขายของชำ หรือธุรกิจขนาดเล็กทั้งหลาย
ประเภทที่ 4 คือพวกลูกประสม คืออาจเป็นพวกที่ 1 หรือพวกที่ 2 แต่ก็ไปหางานทำเพื่อหารายได้เสริม งานก็มีหลากหลายทั้งที่เขาจัดหาให้ในมหาวิทยาลัย ทั้งที่เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน พวกนี้ความจริงมีอยู่มาก และเป็นประโยชน์ เมื่อจบการศึกษา ได้กลับมาประเทศไทยเขาก็ได้ประสบการณ์ทั้งจากห้องเรียน ห้องทดลอง และยังมีประสบการณ์ในตลาดแรงงาน และสังคมโดยกว้างของต่างประเทศด้วย
ดังนั้นการไปศึกษาต่อต่างประเทศไม่ใช่ไปใช้เงินเพียงอย่างเดียว นักศึกษาสามารถไปรับประสบการณ์ หรือไปหารายได้เสริม เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการศึกษาได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่านักศึกษาคนนั้นมีการเตรียมความพร้อมในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะมากน้อยเพียงใด ในต่างประเทศทั้งอเมริกาเหนือ และยุโรป ล้วนมีช่องทางการทำงานหาประสบการณ์ได้อย่างกว้างขวาง หากแต่ต้องการมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าไปให้ดี งานที่มีโอกาสหารายได้ดี ก็มีเช่น เป็นแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เหล่านี้นอกจากจะไปเรียน ไปฝึกงานแล้ว ยังมีโอกาสหางานทำได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังมีโอกาสทางอาชีพอื่นๆ อีกมาก
ก่อนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ควรเตรียมตัวให้มีความรู้ความสามารถเพื่อการมีงานทำไปด้วย งานที่หารายได้เลี้ยงตัวเองได้มีมากมาย เช่น
อาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น งานโปรแกรมเมอร์ งานควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานกราฟฟิก งานศิลปะ ออกแบบ หรืองานช่าง เช่นช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ งานติดตั้งระบบไฟฟ้า ซ่อมระบบประปา งานประกอบอาหารเป็นพ่อครัว เหล่านี้สามารถหางานได้ง่าย และมีรายได้ดี หากมีฝีมือพื้นฐานที่ดีพอ ในต่างประเทศ แม้คนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอันมาก ก็ยังกลับไปเรียนวิชาชีพที่หางานได้ง่ายและเป็นที่ต้องการ เพราะการเรียนรู้ทางวิชาการบางส่วนนั้นเป็นการสร้างความเป็นคนที่สมบูรณ์ แต่เมื่อพูดถึงการอาชีพแล้วอาจเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ในปัจจุบัน คนไทยไปหางานสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมีอีกหลายด้าน เช่น การเปิดร้านอาหารไทย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง การทำกิจการด้านบริการร้านอาหาร โรงแรม เหล่านี้ก็มีหนทางหางานทำได้ไม่ยาก เจ้าของร้านอาหารไทยในประเทศอเมริกาหลายคนกล่าวกับผมว่า “หากเตรียมตัวมาให้พร้อม รู้จักคนที่อเมริกาไว้ แล้วก็จะมีทางไปรอด” มีงานทำมากมาย แม้รายได้ไม่สูง แต่ก็เป็นการเปิดทางในการดำรงชีวิตได้อย่างดี
ไปหาประสบการณ์ต่างประเทศ
การไปศึกษาต่างประเทศมิใช่การไปใช้เงินเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถไปทำงานหารายได้เสริมหรือรายได้หลัก ได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือได้เรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตอย่างฝรั่งเขา
ในสมัยก่อน นักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ มี 4 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 พวกทุน ก.พ. หมายถึงพวกที่ไปศึกษาต่อด้วยทุนรัฐบาล ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ พวกนี้รัฐบาลจ่ายเงินอย่างเพียงพอหากเรียนหนังสือให้ดี ไม่ไปสอบตกแล้วเขาเชิญกลับบ้าน ก็จะมีเงินทองเรียนหนังสือได้อย่างสบายใจจนจบการศึกษา บางทุนให้เรียนต่อจนถึงระดับปริญญาเอก ทุนนี้ในช่วงมีแผนพัฒนาประเทศ มีเป็นอันมากที่เป็นทุนจากต่างประเทศ มีทั้งที่จ่ายทั้งหมด จ่ายบางส่วน ไม่เก็บค่าเล่าเรียน หรือเก็บในอัตราพิเศษ ซึ่งเพิ่มโอกาสการไปศึกษาต่ออีกต่างหาก
ประเภทที่ 2 เรียกว่าทุน พ.ก. แปลว่า ทุนพ่อกู หรือครอบครัวคนชั้นกลางที่มีฐานะดีพอ ก็ลงทุนส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยการสนับสนุนจากครอบครัว รัฐบาลไม่ต้องไปจ่าย แต่ก็มีเป็นอันมากที่เมื่อจบการศึกษากลับมาแล้ว ก็มารับราชการ ทำให้รัฐบาลได้คนทำงาน ได้ข้าราชการที่มีการศึกษา โดยไม่ต้องไปลงทุนเองทั้งหมด
ประเภทที่ 3 คือ พวกโรบินฮูด (Robinhood) คือพวกที่เดินทางไปอย่างถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แล้วใช้โอกาสหางานทำ ปักหลักอยู่ในต่างประเทศ ทำงานอย่างปากกัดตีนถีบ ไม่ว่าแรงงานอะไรที่พอที่จะทำให้เป็นรายได้ ก็รับทำ ตั้งแต่ทำงานล้างชามในร้านอาหาร ภารโรง ขับรถแท๊กซี่ เป็นพนักงานประเภทใช้แรงงานตามสถานที่ต่างๆ แล้วอยู่ๆไปมีความสามารถในการสื่อสารมากขึ้น ก็เริ่มทำงานที่ต้องใช้ความสามารถมากขึ้น ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น บางส่วนมีหัวการค้าก็หันไปลงทุนเป็นผู้ประกอบการ เช่น ทำร้านอาหาร ร้านขายของชำ หรือธุรกิจขนาดเล็กทั้งหลาย
ประเภทที่ 4 คือพวกลูกประสม คืออาจเป็นพวกที่ 1 หรือพวกที่ 2 แต่ก็ไปหางานทำเพื่อหารายได้เสริม งานก็มีหลากหลายทั้งที่เขาจัดหาให้ในมหาวิทยาลัย ทั้งที่เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน พวกนี้ความจริงมีอยู่มาก และเป็นประโยชน์ เมื่อจบการศึกษา ได้กลับมาประเทศไทยเขาก็ได้ประสบการณ์ทั้งจากห้องเรียน ห้องทดลอง และยังมีประสบการณ์ในตลาดแรงงาน และสังคมโดยกว้างของต่างประเทศด้วย
ดังนั้นการไปศึกษาต่อต่างประเทศไม่ใช่ไปใช้เงินเพียงอย่างเดียว นักศึกษาสามารถไปรับประสบการณ์ หรือไปหารายได้เสริม เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการศึกษาได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่านักศึกษาคนนั้นมีการเตรียมความพร้อมในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะมากน้อยเพียงใด ในต่างประเทศทั้งอเมริกาเหนือ และยุโรป ล้วนมีช่องทางการทำงานหาประสบการณ์ได้อย่างกว้างขวาง หากแต่ต้องการมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าไปให้ดี งานที่มีโอกาสหารายได้ดี ก็มีเช่น เป็นแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เหล่านี้นอกจากจะไปเรียน ไปฝึกงานแล้ว ยังมีโอกาสหางานทำได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังมีโอกาสทางอาชีพอื่นๆ อีกมาก
เตรียมความสามารถด้านอาชีพ
ก่อนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ควรเตรียมตัวให้มีความรู้ความสามารถเพื่อการมีงานทำไปด้วย งานที่หารายได้เลี้ยงตัวเองได้มีมากมาย เช่น
อาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น งานโปรแกรมเมอร์ งานควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานกราฟฟิก งานศิลปะ ออกแบบ หรืองานช่าง เช่นช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ งานติดตั้งระบบไฟฟ้า ซ่อมระบบประปา งานประกอบอาหารเป็นพ่อครัว เหล่านี้สามารถหางานได้ง่าย และมีรายได้ดี หากมีฝีมือพื้นฐานที่ดีพอ ในต่างประเทศ แม้คนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอันมาก ก็ยังกลับไปเรียนวิชาชีพที่หางานได้ง่ายและเป็นที่ต้องการ เพราะการเรียนรู้ทางวิชาการบางส่วนนั้นเป็นการสร้างความเป็นคนที่สมบูรณ์ แต่เมื่อพูดถึงการอาชีพแล้วอาจเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ในปัจจุบัน คนไทยไปหางานสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมีอีกหลายด้าน เช่น การเปิดร้านอาหารไทย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง การทำกิจการด้านบริการร้านอาหาร โรงแรม เหล่านี้ก็มีหนทางหางานทำได้ไม่ยาก เจ้าของร้านอาหารไทยในประเทศอเมริกาหลายคนกล่าวกับผมว่า “หากเตรียมตัวมาให้พร้อม รู้จักคนที่อเมริกาไว้ แล้วก็จะมีทางไปรอด” มีงานทำมากมาย แม้รายได้ไม่สูง แต่ก็เป็นการเปิดทางในการดำรงชีวิตได้อย่างดี
บางชุมชนมีคนไทยอยู่มากพอ ก็เกิดการจัดตั้งวัดไทย และเมื่อมีศูนย์กลางที่เป็นวัด บริการอย่างหนึ่งคือสอนภาษาไทยให้กับเด็กไทยที่เกิดในต่างแดน พ่อแม่เขายังอยากให้ลูกเขาเป็นคนไทยอยู่ ให้ได้รู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย วัดไทยจึงมีบริการสอนภาษาไทย มีการรับอาสาสมัครจากประเทศไทย ไปทำงานสอน มีที่พัก มีเงินยังชีพติดกระเป๋า ได้ท่องเที่ยวบ้างเล็กน้อย และได้ใช้ชีวิตหาประสบการณ์ในต่างแดน ดังนี้เป็นต้น
ก่อนจะไปต่างประเทศ อย่างน้อยให้เรียนรู้การทำกับข้าว การทำอาหารไทยอย่างอร่อยสำหรับคนกรุงหรือฝรั่งเขาเรียกว่า Modern Thai Cuisine อันเป็นอาหารไทยทีรสชาติเป็นแบบอาหารไทย แต่ไม่จัดจ้านหรือแซ่บแบบพื้นบ้านเรา เรียนรู้สำรับสำคัญสัก 10 รายการที่เขามีตามร้านอาหารไทยในต่างแดนทั่วไป ดังเช่น ต้มยำกุ้ง แกงข่าไก่ แกงเขียวหวาน ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นต้น นอกจากจะเป็นช่องทางทำอาหารกินเองในต่างแดน ซึ่งมักจะเป็นความจำเป็นแล้ว ยังเป็นการเปิดช่องทางสำหรับไปทำงานตามร้านอาหารไทยตามเมืองต่างๆ ด้วย
ก่อนเดินทางไป ให้เตรียมทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและทักษะการเรียนรู้ให้ได้ดีพอ เช่น
ต้องสอบผ่านสมรรถนะภาษาอังกฤษให้ได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ไม่ควรปล่อยให้ต้องไปเรียนภาษาในต่างประเทศ เรียนสักครึ่งปีเสียเงินไป 4-5 แสนบาท คำแนะนำอีกประการหนึ่ง คือในการไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น ต้องให้ได้ใบตอบรับเรียบร้อยแล้วจึงจะเดินทางไป อย่าเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศแบบไปตายเอาดาบหน้า
ให้มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ อันจะเป็นสมรรถนะสำคัญสำหรับการเรียน และการทำงานในยุคใหม่ ไม่ว่าอาชีพใดๆ แม้แต่เกษตรกรยุคใหม่ ก็ต้องรู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการจ่ายอาหารสัตว์ การทำงานเป็นพยาบาล การบันทึกทางการแพทย์และรักษาพยาบาล ก็บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์กันหมดแล้ว อู่ซ่อมรถในยุคใหม่ ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์เป็นอันมากมีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ในการควบคุม สั่งการ ช่างซ่อมรถก็ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ด้วย
ก่อนเดินทางไป ให้เตรียมทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและทักษะการเรียนรู้ให้ได้ดีพอ เช่น
ต้องสอบผ่านสมรรถนะภาษาอังกฤษให้ได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ไม่ควรปล่อยให้ต้องไปเรียนภาษาในต่างประเทศ เรียนสักครึ่งปีเสียเงินไป 4-5 แสนบาท คำแนะนำอีกประการหนึ่ง คือในการไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น ต้องให้ได้ใบตอบรับเรียบร้อยแล้วจึงจะเดินทางไป อย่าเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศแบบไปตายเอาดาบหน้า
ให้มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ อันจะเป็นสมรรถนะสำคัญสำหรับการเรียน และการทำงานในยุคใหม่ ไม่ว่าอาชีพใดๆ แม้แต่เกษตรกรยุคใหม่ ก็ต้องรู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการจ่ายอาหารสัตว์ การทำงานเป็นพยาบาล การบันทึกทางการแพทย์และรักษาพยาบาล ก็บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์กันหมดแล้ว อู่ซ่อมรถในยุคใหม่ ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์เป็นอันมากมีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ในการควบคุม สั่งการ ช่างซ่อมรถก็ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ด้วย
คนได้ประโยชน์ คนนั้นจ่าย
ใครเป็นผู้รับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับโครงการที่ต้องใช้ทรัพยากรอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นการศึกษานานาชาติ ในภาษาอังกฤษมีประโยคหนึ่งว่า Who benefits, who pays.แปลเป็นความได้ว่า “ใครได้ประโยชน์ คนนั้นจ่าย”
ในการทางการศึกษานั้น คนได้ประโยชน์มีหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ตัวผู้เรียน ครอบครัว ชุมชนแวดล้อมที่ผู้รับการศึกษาจะกลับมาทำงาน รวมทั้งประเทศและสังคมโดยรวม เมื่อใช้แนวคิดนี้ คนที่จะจ่ายการลงทุนเพื่อการศึกษาจึงควรจะมาจากหลายๆ ฝ่าย และหารูปแบบการลงทุนร่วมที่เหมาะสม
ในที่นี้ผมขออภิปรายในเรื่องใครเป็นคนจ่าย โดยเน้นภาพแรกๆ ว่าหากจัดการศึกษานานาชาติ 2 ปีแรกขึ้นในชุมชน และอีก 2 ปีในต่างแดน ใครจะรับผิดชอบบ้าง
อันดับที่ 1 ผู้เรียนและพ่อแม่เป็นคนจ่าย เพราะผู้เรียนนั้นหากจบการศึกษามา และทำงานก็จะมีรายได้ที่สูงกว่าธรรมดาทั่วไป พ่อแม่ผู้ปกครองที่เป็นผู้ส่งเสียก็จะสบายใจ วางใจว่าบุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่มีคุณค่า หากเขากลับมาช่วยงานธุรกิจของตนในท้องที่ สร้างความแข็งแกร่งในกับธุรกิจครอบครัว ทำให้มีความเจริญเข้มแข็ง พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรเป็นผู้ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนนี้อาจเป็นส่วนจัดเก็บค่าเล่าเรียน ที่จะต้องมีอย่างเหมาะสม ไม่แพงจนเกินไป หรือต่ำจนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีคุณภาพ
อันดับที่สอง ชุมชนเป็นคนจ่าย การจ่ายส่วนนี้อาจใช้เป็นรูปแบบทุนการศึกษาสนับสนุนเป็นบางคน หรือบางส่วน เช่นในระดับตำบลนั้น หากจ่ายสนับสนุนการศึกษาแบบมีเงื่อนไข โดยให้ผู้เรียนต้องกลับมารับใช้ชุมชน ดังนี้ก็เป็นประโยชน์ หากขาดแคลนกำลังคนใดๆ ในระบบราชการในท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ระบบการศึกษาของท้องถิ่นขาดแคลนครูสอนภาษาต่างประเทศ ก็สามารถใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้ครูไปได้รับการศึกษาเสริมพิเศษ แต่เมื่อจบการศึกษามาแล้ว ก็ต้องกลับมารับใช้ชุมชนนั้นๆ
อันดับที่สาม จังหวัดเป็นคนจ่าย ในที่นี้อาจหมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมของจังหวัด กล่าวคือ ในแต่ละจังหวัดปัจจุบันจะมีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในจังหวัดของตน บางแห่งไม่มีมหาวิทยาลัย เพราะเป็นจังหวัดเล็ก ก็พยายามให้มีมหาวิทยาลัยส่วนกลาง หรือของจังหวัดข้างเคียงมาเปิดวิทยาเขต หรือเป็นอย่างที่เรียกว่า “วิทยาเขต” หรือฝรั่งเรียกว่า University Extension หรือ Campus การส่งเสริมการอุดมศึกษาของจังหวัดในทางเลือกอื่นๆนั้น คือการหาทางส่งเสริมมหาวิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน หรือวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเฉพาะทาง เป็นการส่งเสริมเพื่อพัฒนาด้านคุณภาพ อำนวยประโยชน์แก่ประชากรในจังหวัดของตนเอง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นการใช้งบประมาณของรัฐบาลส่วนกลางอย่างเดียว เพราะจะไม่เพียงพอที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สูตรการจ่ายเงินสนับสนุน
หลายฝ่ายมีส่วนได้ประโยชน์จากการศึกษา โดยเฉพาะจากการศึกษาแบบนานาชาติ แล้วแต่ละฝ่ายควรจะแบ่งรับค่าใช้จ่ายกันอย่างไรแต่ในการจ่ายนั้น สำหรับนักศึกษา 1 คน ที่ไปได้รับการศึกษามานั้น ประโยชน์ตกอยู่กับหลายๆฝ่าย เรียกว่า มี Stakeholders ที่ต้องมาหาทางสนับสนุนการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถกระทำได้ เช่น
การสนับสนุนการศึกษาผ่านทางสถาบันการศึกษา หรือสถาบันอุดมศึกษาที่จะเตรียมความพร้อมดังนี้ ชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้เรียนจำนวนมากได้รับประโยชน์ หรือการให้เป็นทุนการศึกษา เพื่อสนับสนุนผู้เรียนที่มีความสามารถสูง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้ได้ดี
สมมุติว่า การให้ทุนสนับสนุนนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องไปจ่ายทั้งหมด เป็นการจ่ายบางส่วน เช่น การลดค่าเล่าเรียนให้ในบางส่วน เป็นต้น
รัฐบาลกลาง ในสมัยก่อนมีสถานศึกษาไม่มากนัก มีผู้เรียนที่ได้รับการคัดสรรจำนวนหนึ่งที่จำกัด รัฐบาลเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเกือบทั้งหมดนั้นจึงยังไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่มากนัก แต่เมื่อมีการขยายโอกาสทางการศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา การจะไปจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป จึงควรให้มีการแบ่งรับค่าใช้จ่ายโดยส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น สมมุติว่าแต่ละฝ่ายจ่ายฝ่ายละ 1 ใน 3
1. ผู้เรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองฝ่ายหนึ่ง จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนเสียประมาณร้อยละ 33 ของค่าใช้จ่าย ในกรณีพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่มีรายได้พอจ่าย ก็ให้ใช้นโยบายเงินยืมเพื่อการศึกษาเพื่อสนับสนุน หากเป็นการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติของเอกชน อาจกล่าวได้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องจ่ายร้อยละ 100 แต่ในระดับส่วนภูมิภาค และการส่งเสริมให้เกิดได้จนถึงในระดับตำบล พ่อแม่ผู้ปกครองที่พอมีฐานะ ก็อาจจ่ายได้สักร้อยละ 33
2. ชุมชน ผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล เหล่านี้ระดมเงินสนับสนุน จ่ายสักร้อยละ 33 การจ่ายให้เป็นการจ่ายให้กับนักศึกษาในเขตท้องที่ แต่หากคนจากเขตอื่นมารับการศึกษา ก็ต้องจ่ายเพิ่มในส่วนนี้ ยกเว้นเป็นนโยบายของท้องถิ่นที่จะจูงใจให้คนมาศึกษาเล่าเรียนในชุมชนให้มากขึ้น
3. รัฐบาลกลาง ผ่านกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของชาติในทุกระดับ จ่ายร้อยละ 33
สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ได้นำเสนอไปนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องตายตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละฝ่าย แต่โดยรวมแล้วก็จะเป็นในลักษณะที่แต่ละฝ่ายพอรับได้
ไปศึกษาต่อต่างประเทศมีได้หลายรูปแบบ และเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ต่างกัน และการส่งเสริมนั้นจะต้องดำเนินไปอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
หากต้องการพัฒนาชุมชนในระดับฐานราก ก็ต้องถามว่าจะพัฒนาชุมชนในระดับหมู่บ้านและตำบลนั้น เขาต้องการอะไร งานในระดับตำบลที่จะต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ไปศึกษาต่อต่างประเทศจะเป็นบุคคลพวกไหนบ้าง เขาต้องการคนประเภทใด เพื่อกลับมาทำประโยชน์อะไร ก็ส่งเสริมให้คนในลักษณะนั้นๆ ให้ได้ไปศึกษาต่อ
หากเป็นใจผมที่ได้เคยไปสัมผัสชุมชนในเขตอีสานเหนือและใต้มาแล้วสัก 100 หมู่บ้าน ชุมชนชนบทนั้นเขาต้องการการมีรายได้ นั่นคือการต้องไปสร้างงานในชนบทนั้นๆ ให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่คนทำงานมีรายได้เพียงพอเสริมกับรายได้จากการเกษตรของครอบครัว แม้งานนั้นจะไม่มีรายได้เหมือนกับงานที่ทำในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ แต่เพราะต่างจังหวัดนั้นค่าครองชีพต่ำ
ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนไปลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมและจัดการระบบบริการที่มีคุณภาพในชนบท คำตอบก็คือ ต้องมีคนระดับเป็นผู้นำ เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถที่จะชักจูงนักลงทุน ผู้ประกอบการให้มองเห็นโอกาสในการไปทำกิจการในท้องที่เหล่านั้น บางส่วนอาจต้องมีคนในท้องที่นั้นเองที่เป็นผู้ประกอบการนำร่อง ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้คือชุมชนนั้นๆ ต้องมีบุคลกรด้านการศึกษาที่มีความสามารถ สามารถสร้างหลักประกันได้ว่า คนที่ไปปักหลักสร้างถิ่นฐานในต่างจังหวัดนั้น ลูกหลานของเขาจะมีการศึกษาที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ชุมชนของเขามีบริการสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี
สิ่งเหล่านี้คือการใช้การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องที่เป็นตัวนำร่อง สร้างคนดี คนเก่งให้ไปช่วยกันพัฒนาชุมชน และระบบนี้ส่วนหนึ่งอาศัยการศึกษาแบบนานาชาติได้ การสร้างคนให้มีขีดความสามารถในการทำงานกับต่างชาติ บริการคนต่างชาติ เจรจาธุรกิจกับต่างชาติได้ นำเงินลงทุนสู่ชุมชนได้ และทำได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ประสบความสำเร็จ
ครูสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาจีน และภาษาหลักอื่นๆ เหล่านี้ควรได้มีประสบการณ์ในต่างประเทศ ทั้งนี้ควรเริ่มที่ภาษาอังกฤษเป็นหลักก่อน หากมีครูสอนภาษาที่ดี ครูสอนภาษานั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นล่าม เป็น Liaison เป็นผู้ประสานงาน เป็นมักคุเทศ ช่วยงานประสาน ดูแลงานอย่างที่เข้าเรียกว่า “วิเทศสัมพันธ์” (International Relations) ให้กับชุมชนนั้นๆได้ ครูอาจไม่ใช่นักธุรกิจ แต่ครูที่มีความสามารถ ยืดหยุ่นพอ ปรับตัวทำงานได้หลายอย่างพอ เขาก็จะสามารถทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานที่ดีได้
เจ้าหน้าที่ผังเมือง เราต้องการเจ้าหน้าที่วิชาชีพในระดับตำบล ที่ต้องดูแลเกี่ยวกับระบบผังเมืองหรือผังชุมชน เข้าใจสภาพการพัฒนาชุมชนเมืองที่มีคุณภาพ มีระบบถนน ทางสัญจร มีการคมนาคมที่รวดเร็วและปลอดภัย มีไฟฟ้า น้ำประปา ระบบระบายน้ำ การกำจัดของเสีย การพัฒนาและการดูแลสภาพเมืองและอุตสาหกรรม และการส่งเสริมชุมชนเกษตร ให้ดำรงอยู่ร่วมกันกับชุมชนอุตสาหกรรมได้ สายงานแบบนี้ในมหาวิทยาลัยบางแห่งเรียกว่า การวางผังเมือง (City Planning) บางแห่งเรียกว่า Human Settlements หรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ บุคลากรระดับนี้หากไม่มีในทุกตำบล ก็ให้มีในระดับตำบลขนาดใหญ่ หรือระดับอำเภอ ก็จะเป็นประโยชน์มาก
เราต้องการผู้ประสานงานด้านการพัฒนาชุมชน ผมไม่ได้หมายถึงเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาชุมชน แต่หมายถึงคนในชุมชนเอง ที่สามารถติดต่อกับต่างประเทศ ทำแผนพัฒนาธุรกิจ (Business Plan) ได้โดยตรง สามารถช่วยงานส่งเสริมการลงทุน ประสานงานแหล่งเงินทุน การพัฒนากำลังคน การเชื่อมโยงสู่ระบบวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นฐานให้กับอุตสาหกรรม คนกลุ่มนี้มักจะไม่ใช่ราชการ แต่จะเป็นเอกชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้เสียในทางธุรกิจกับหุ้นส่วนต่างประเทศ หรือจากส่วนอื่นๆ ของประเทศได้ คนส่วนนี้ในบ้านเราอาจคิดว่าคือนายหน้าค้าที่ดิน แต่ในความหมายที่กว้างออกไป คือคนที่จะต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา ต้องรู้หลายๆด้านที่จะต้องนำมาประกอบกัน ธุรกิจเหล่านี้ในแต่ละชุมชนในต่างประเทศ เขาจะมีบริการด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายแลกเปลี่ยนบ้าน ที่ดิน ไร่นา เขาเรียกว่า Real Estate Developers
สมมุติว่า การให้ทุนสนับสนุนนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องไปจ่ายทั้งหมด เป็นการจ่ายบางส่วน เช่น การลดค่าเล่าเรียนให้ในบางส่วน เป็นต้น
รัฐบาลกลาง ในสมัยก่อนมีสถานศึกษาไม่มากนัก มีผู้เรียนที่ได้รับการคัดสรรจำนวนหนึ่งที่จำกัด รัฐบาลเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเกือบทั้งหมดนั้นจึงยังไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่มากนัก แต่เมื่อมีการขยายโอกาสทางการศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา การจะไปจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป จึงควรให้มีการแบ่งรับค่าใช้จ่ายโดยส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น สมมุติว่าแต่ละฝ่ายจ่ายฝ่ายละ 1 ใน 3
1. ผู้เรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองฝ่ายหนึ่ง จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนเสียประมาณร้อยละ 33 ของค่าใช้จ่าย ในกรณีพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่มีรายได้พอจ่าย ก็ให้ใช้นโยบายเงินยืมเพื่อการศึกษาเพื่อสนับสนุน หากเป็นการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติของเอกชน อาจกล่าวได้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องจ่ายร้อยละ 100 แต่ในระดับส่วนภูมิภาค และการส่งเสริมให้เกิดได้จนถึงในระดับตำบล พ่อแม่ผู้ปกครองที่พอมีฐานะ ก็อาจจ่ายได้สักร้อยละ 33
2. ชุมชน ผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล เหล่านี้ระดมเงินสนับสนุน จ่ายสักร้อยละ 33 การจ่ายให้เป็นการจ่ายให้กับนักศึกษาในเขตท้องที่ แต่หากคนจากเขตอื่นมารับการศึกษา ก็ต้องจ่ายเพิ่มในส่วนนี้ ยกเว้นเป็นนโยบายของท้องถิ่นที่จะจูงใจให้คนมาศึกษาเล่าเรียนในชุมชนให้มากขึ้น
3. รัฐบาลกลาง ผ่านกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของชาติในทุกระดับ จ่ายร้อยละ 33
สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ได้นำเสนอไปนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องตายตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละฝ่าย แต่โดยรวมแล้วก็จะเป็นในลักษณะที่แต่ละฝ่ายพอรับได้
จะส่งคนพวกไหนไปศึกษาต่อ
ไปศึกษาต่อต่างประเทศมีได้หลายรูปแบบ และเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ต่างกัน และการส่งเสริมนั้นจะต้องดำเนินไปอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
หากต้องการพัฒนาชุมชนในระดับฐานราก ก็ต้องถามว่าจะพัฒนาชุมชนในระดับหมู่บ้านและตำบลนั้น เขาต้องการอะไร งานในระดับตำบลที่จะต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ไปศึกษาต่อต่างประเทศจะเป็นบุคคลพวกไหนบ้าง เขาต้องการคนประเภทใด เพื่อกลับมาทำประโยชน์อะไร ก็ส่งเสริมให้คนในลักษณะนั้นๆ ให้ได้ไปศึกษาต่อ
หากเป็นใจผมที่ได้เคยไปสัมผัสชุมชนในเขตอีสานเหนือและใต้มาแล้วสัก 100 หมู่บ้าน ชุมชนชนบทนั้นเขาต้องการการมีรายได้ นั่นคือการต้องไปสร้างงานในชนบทนั้นๆ ให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่คนทำงานมีรายได้เพียงพอเสริมกับรายได้จากการเกษตรของครอบครัว แม้งานนั้นจะไม่มีรายได้เหมือนกับงานที่ทำในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ แต่เพราะต่างจังหวัดนั้นค่าครองชีพต่ำ
ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนไปลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมและจัดการระบบบริการที่มีคุณภาพในชนบท คำตอบก็คือ ต้องมีคนระดับเป็นผู้นำ เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถที่จะชักจูงนักลงทุน ผู้ประกอบการให้มองเห็นโอกาสในการไปทำกิจการในท้องที่เหล่านั้น บางส่วนอาจต้องมีคนในท้องที่นั้นเองที่เป็นผู้ประกอบการนำร่อง ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้คือชุมชนนั้นๆ ต้องมีบุคลกรด้านการศึกษาที่มีความสามารถ สามารถสร้างหลักประกันได้ว่า คนที่ไปปักหลักสร้างถิ่นฐานในต่างจังหวัดนั้น ลูกหลานของเขาจะมีการศึกษาที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ชุมชนของเขามีบริการสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี
สิ่งเหล่านี้คือการใช้การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องที่เป็นตัวนำร่อง สร้างคนดี คนเก่งให้ไปช่วยกันพัฒนาชุมชน และระบบนี้ส่วนหนึ่งอาศัยการศึกษาแบบนานาชาติได้ การสร้างคนให้มีขีดความสามารถในการทำงานกับต่างชาติ บริการคนต่างชาติ เจรจาธุรกิจกับต่างชาติได้ นำเงินลงทุนสู่ชุมชนได้ และทำได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ประสบความสำเร็จ
ครูสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาจีน และภาษาหลักอื่นๆ เหล่านี้ควรได้มีประสบการณ์ในต่างประเทศ ทั้งนี้ควรเริ่มที่ภาษาอังกฤษเป็นหลักก่อน หากมีครูสอนภาษาที่ดี ครูสอนภาษานั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นล่าม เป็น Liaison เป็นผู้ประสานงาน เป็นมักคุเทศ ช่วยงานประสาน ดูแลงานอย่างที่เข้าเรียกว่า “วิเทศสัมพันธ์” (International Relations) ให้กับชุมชนนั้นๆได้ ครูอาจไม่ใช่นักธุรกิจ แต่ครูที่มีความสามารถ ยืดหยุ่นพอ ปรับตัวทำงานได้หลายอย่างพอ เขาก็จะสามารถทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานที่ดีได้
เจ้าหน้าที่ผังเมือง เราต้องการเจ้าหน้าที่วิชาชีพในระดับตำบล ที่ต้องดูแลเกี่ยวกับระบบผังเมืองหรือผังชุมชน เข้าใจสภาพการพัฒนาชุมชนเมืองที่มีคุณภาพ มีระบบถนน ทางสัญจร มีการคมนาคมที่รวดเร็วและปลอดภัย มีไฟฟ้า น้ำประปา ระบบระบายน้ำ การกำจัดของเสีย การพัฒนาและการดูแลสภาพเมืองและอุตสาหกรรม และการส่งเสริมชุมชนเกษตร ให้ดำรงอยู่ร่วมกันกับชุมชนอุตสาหกรรมได้ สายงานแบบนี้ในมหาวิทยาลัยบางแห่งเรียกว่า การวางผังเมือง (City Planning) บางแห่งเรียกว่า Human Settlements หรือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ บุคลากรระดับนี้หากไม่มีในทุกตำบล ก็ให้มีในระดับตำบลขนาดใหญ่ หรือระดับอำเภอ ก็จะเป็นประโยชน์มาก
เราต้องการผู้ประสานงานด้านการพัฒนาชุมชน ผมไม่ได้หมายถึงเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาชุมชน แต่หมายถึงคนในชุมชนเอง ที่สามารถติดต่อกับต่างประเทศ ทำแผนพัฒนาธุรกิจ (Business Plan) ได้โดยตรง สามารถช่วยงานส่งเสริมการลงทุน ประสานงานแหล่งเงินทุน การพัฒนากำลังคน การเชื่อมโยงสู่ระบบวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นฐานให้กับอุตสาหกรรม คนกลุ่มนี้มักจะไม่ใช่ราชการ แต่จะเป็นเอกชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้เสียในทางธุรกิจกับหุ้นส่วนต่างประเทศ หรือจากส่วนอื่นๆ ของประเทศได้ คนส่วนนี้ในบ้านเราอาจคิดว่าคือนายหน้าค้าที่ดิน แต่ในความหมายที่กว้างออกไป คือคนที่จะต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา ต้องรู้หลายๆด้านที่จะต้องนำมาประกอบกัน ธุรกิจเหล่านี้ในแต่ละชุมชนในต่างประเทศ เขาจะมีบริการด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายแลกเปลี่ยนบ้าน ที่ดิน ไร่นา เขาเรียกว่า Real Estate Developers
บุคลากรดูแลต้อนรับ ในวงการท่องเที่ยว ก็ต้องการคนทำงานที่เข้าใจภาษาต่างประเทศดี ธุรกิจโรงแรม การเดินทาง เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ ไปจนถึงกิจการแบบ Guest House ที่มีขนาดห้องเพียง 10-15 ห้อง หรือ Home stay ที่นำบ้านเก่าของตนเองมาปรับปรุงเป็นที่พักสำหรับคนเดินทางหรือชาวต่างชาติ ก็จะได้ประโยชน์จากการมีลูกหลานที่รู้ภาษาต่างประเทศ เข้าใจมาตรฐานการท่องเที่ยวและการต้อนรับแบบนานาชาติเช่นกัน สายวิชาแบบนี้เขาเรียกว่า Hospitality Management ซึ่งมีความหมายที่กว้างกว่าธุรกิจการโรงแรม หรือ Hotel Management เพราะธุรกิจในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รวมไปถึง การบริการด้านท่องเที่ยว พักผ่อน อาหารการกิน การเดินทาง การมีบริการด้านสุขภาพ รวมถึงการจัดสถานที่พักเหล่านี้ให้คนมาพักอาศัยได้ทำงานโดยมีระบบสื่อสารใหม่ๆ เช่นอินเตอร์เน็ต บริการพิมพ์งาน การจัดประชุมสัมมนา ก็จะต้องมีบริการการสื่อสารและอื่นๆร่วมด้วย เหล่านี้ต้องใช้คนที่มีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
ที่ได้กล่าวมาเนิ่นนานนี้เพื่อจะบอกว่า หากในชุมชนมีคนเก่งมีความสามารถอยู่ในชุมชน สิ่งดีๆ หลายๆอย่างก็จะเกิดขึ้นได้
ควรเลือกส่งคนที่มีความพร้อม มีการเตรียมตัวทางวิชาการอย่างดีแล้วในประเทศ และใช้เวลาให้พอเหมาะ
ที่ได้กล่าวมาเนิ่นนานนี้เพื่อจะบอกว่า หากในชุมชนมีคนเก่งมีความสามารถอยู่ในชุมชน สิ่งดีๆ หลายๆอย่างก็จะเกิดขึ้นได้
ใช้เวลานานสักเท่าใด
ควรเลือกส่งคนที่มีความพร้อม มีการเตรียมตัวทางวิชาการอย่างดีแล้วในประเทศ และใช้เวลาให้พอเหมาะ
ในระดับปริญญาตรีเริ่มตั้งแต่จบมัธยมศึกษาจะ ใช้เวลาประมาณ 4 ปี
พ่อแม่ผู้ปกครองบางส่วนจึงส่งบุตรหลานไปศึกษาในลักษณะเพียงช่วงภาคฤดูร้อน หรือช่วงสั้นๆ 1-3 เดือน เพื่อเป็นการไปชิมลาง ไปให้ได้รับรู้ในบรรยากาศของประเทศที่เจริญแล้ว และเหมือนกับให้ได้รับรางวัลไปเที่ยวเมืองนอกกลายๆ แต่เป็นสภาพที่ต้องมีผู้ดูแลอยู่ในต่างประเทศรองรับ จะปลอดภัยกว่าที่ไปอยู่แบบปล่อยตามยถากรรม
สถานศึกษาและถิ่นที่จะไปศึกษาต่อนั้นเป็นสถาบันการศึกษาประเภทใด อยู่ในชุมชนลักษณะใด และอยู่ในประเทศใด ก็เป็นตัวแปรว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงมากน้อยเพียงใด
การไปศึกษาต่อในประเทศทางอเมริกาเหนือ อเมริกา หรือแคนาดา ยกตัวอย่าง หากการไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะตกปีละประมาณ 1.0-1.5 ล้านบาท หากเลือกไปศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก็จะมีค่าเล่าเรียนสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ หากเลือกไปเรียนในสถานศึกษาระดับที่เขาเรียกว่าวิทยาลัยชุมชน (Community Colleges)ก็จะมีค่าใช้จ่ายด้านค่าเล่าเรียนต่ำกว่า และไม่เคร่งเครียดกับการเรียนมากนัก บางส่วนมีญาติอยู่ต่างประเทศ ที่ต้องใช้แรงงานคน เช่นร้านอาหาร ร้านขายของเช่น Department Store หรือร้านขายของชำ ต้องการแรงงานไปช่วย ดังนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก และพอมีเวลาในการทำงานหาประสบการณ์ และลดค่าใช้จ่ายเงินตราที่จะต้องส่งไปจากประเทศไทยไปด้วย
การไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ก็จะมีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกันกับสหรัฐอเมริกา คือประมาณ 800,000 – 1,200,000 บาทต่อปี ถือว่าเป็นปกติ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ประเทศอังกฤษอยู่ในทวีปยุโรป จะได้มีโอกาสศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ได้ท่องเที่ยวเห็นความแตกต่างด้านภาษา ผู้คน และสถานที่น่าสนใจต่างๆที่หลากหลายกว่าอเมริกาเหนืออย่างสหรัฐหรือแคนาดา แต่การศึกษาต่อในหลายๆประเทศในยุโรปที่มีปัญหาคนว่างงานมากนั้น การจะหางานทำในระหว่างเรียนก็พอจะมีโอกาสเหมือนกัน แต่ไม่ง่ายนัก จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม
การไปศึกษาต่อในประเทศอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน หรือในเอเชียอย่างญี่ปุ่น หรือเกาหลี ก็จะมีปัญหาเรื่องภาษา เพราะเป็นอันมากเขาจะให้เรียนในภาษาประจำชาติเขา ดังนั้นหากต้องส่งคนไปศึกษาต่อในประเทศเหล่านี้ ก็จะต้องคำนึงถึงแหล่งงานเมื่อจบการศึกษากลับมา และจะต้องชัดเจนว่าจบกลับมาแล้ว จะให้ทำอะไร
การไปศึกษาต่อในประเทศใกล้บ้านกว่า อย่างเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และภาษาในการเรียนการสอน ค่าเงินเหรียญจะต่ำกว่าอเมริกาเหนือ ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพก็จะต่ำกว่าอีกประมาณร้อยละ 20-30 แต่โอกาสการทำงานก็จะมีน้อยกว่า และมีรายได้ที่ต่ำกว่าเช่นกัน
ศึกษาต่อใน Chindia
Chindia มาจากคำว่า China + India
มีผู้กล่าวว่าโลกกำลังหมุนกลับตะวันออก ประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางวัฒนธรรม อย่างประเทศจีน มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และมีภาษาจีนที่มีคนใช้อยู่ทั่วโลก อีกส่วนหนึ่งคือประเทศอินเดีย มีประชาการกว่า 1,000 ล้านคน และอาจคิดรวมไปถึงปากีสถานและบังคลาเทศ ก็จะไม่เล็กไปกว่าประเทศจีน
ประเทศจีนนี้อาจให้หมายรวมถึง ฮ่องกง และไต้หวัน และประเทศอินเดีย อาจให้หมายรวมถึงชมพูทวีป คือปากีสถาน บังคลาเทศ หรือศรีลังกา ที่เขาเรียกว่า เอเชียใต้
การไปศึกษาต่อในประเทศจีนนั้นมีคนไทยเป็นอันมากที่ยังมีสัมพันธ์ทางครอบครัว วงศ์ตระกูลที่ยังผูกพันกันอยู่ โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน ในปัจจุบันประเทศจีนได้มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้เปิดให้มีหลักสูตรนานาชาติ รับนักศึกษาต่างชาติไปเรียน และมีเรียนทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าเล่าเรียนก็ยังไม่สูงนัก เทียบได้เท่ากับเรียนโปรแกรมนานาชาติในประเทศไทย
ประเทศอินเดีย มีระบบการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอังกฤษ มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารอย่างแพร่หลายในกลุ่มพ่อค้า ข้าราชการ และคนมีการศึกษาทั่วไป นอกจากนี้คือมีสถาบันการศึกษาที่เปิดรับคนต่างชาติ มีคุณภาพการศึกษาที่ดี และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่มีประสบการณ์ในประเทศอินเดียมาแล้วได้ให้คำแนะนำว่า ให้เตรียมตัวและทำความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของสังคมเขาได้ด้วย เช่น เขามีวิธีการกินอยู่อย่างเรียบง่ายและประหยัด แต่หากจะต้องการอยู่อาศัยอย่างหรูหรา นอนห้องปรับอากาศ ใช้รถยนต์ ดังนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ดังนั้น คนที่ไปศึกษาต่อนั้นจะต้องฝึกหัดใช้ชีวิตอย่างชาวอินเดีย นักศึกษาอินเดียโดยทั่วไป
ประเทศสิงค์โปร มาเลเซีย สองประเทศนี้ไม่เหมือนกันเสียเลยทีเดียว การไปศึกษาต่อในประเทศสิงคโปร์นั้น หากไม่ได้เป็นนักเรียนทุน ค่าใช้จ่ายในสิงคโปร์จะสูง เพราะมาตรฐานการครองชีพของเขาสูง คือรายได้ต่อคนต่อปีที่เรียกว่า GDP ของเขานั้นเท่ากับประมาณ USD 30,000 หรือประมาณ 3-4 เท่าของคนไทย ค่าครองชีพที่เป็นแบบเมืองใหญ่ ก็จะสูงเช่นเดียวกับฮ่องกง ญี่ปุ่น แต่สำหรับประเทศมาเลเซียมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ เช่น ค่าครองชีพไม่สูง มีอาหารการกินใกล้กับไทย แม้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแบบอิสลาม แต่ก็มีคนจีนอยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้ดูคล้ายกับเมืองไทยเหมือนกัน เขามีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศที่เปิดสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ มีความร่วมมือกับต่างประเทศแล้ว สภาพแวดล้อมของบ้านเมืองที่มีการพัฒนารุดหน้าไปกว่าไทยเรา ตลอดจนหากนักศึกษาอยากไปเที่ยวดูงานในสิงคโปร์ ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก เพราะใกล้กันมาก
ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซียมีโปรแกรมการศึกษาบางส่วนที่น่าสนใจ เช่น ด้านชีววิทยา สิ่งแวดล้อม ศิลปการแสดง ส่วนภาษาอังกฤษนั้น ชาวอินโดนีเซียไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเหมือนชาวสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์ แต่มีข้อดีที่สำคัญประการหนึ่งคือที่อินโดนีเซียมีค่าครองชีพที่ไม่สูง หากมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่อกันกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นของไทย หรือการไปศึกษาดูงานระยะสั้นๆ ก็จะทั้งอำนายความสะดวก และทำให้จัดการศึกษามีคุณภาพได้ในค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก
ประเทศฟิลิปปินส์ มีการจัดการศึกษาที่ในอดีตได้ดึงดูดคนไทยไปศึกษาเล่าเรียนมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว แต่ในระยะหลังพิษการเมืองในยุคมาร์คอส (Ferdinand Marcos) ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดลง ความเป็นอยู่ก็อัตคัดขาดแคลน และทำให้การไปศึกษาต่อในประเทศดังกล่าวไม่น่าสนใจเหมือนก่อน ประกอบกับในประเทศไทยเองในช่วง 40-50 ปีหลัง ได้มีการตื่นตัวขยายโอกาสทางการอุดมศึกษากันอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การส่งคนไปศึกษาต่อในประเทศฟิลิปปินส์ลดลงไป แต่อย่างไรก็ตามประเทศฟิลิปปินส์จัดได้ว่ามีการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง หากมีความร่วมมือแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่อกัน ก็จะทำให้มีความน่าสนใจในการส่งคนไปศึกษาต่อในประเทศดังกล่าว
นอกจากนี้คือเมื่อต้องการส่งเสริมด้วยการมีทุนการศึกษาให้ จะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ต้องมีเกณฑ์ความพร้อมทางวิชาการที่ชัดเจน ใครก็ตามที่จะได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น ควรมีคุณสมบัติและความพร้อมต่อไปนี้ เช่น
ผู้เรียนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่จบการศึกษาระดับชั้นปีที่สองในมหาวิทยาลัย หรือเทียบเท่ากับได้รับอนุปริญญาไปแล้ว พร้อมที่จะศึกษาต่อได้เอง
มีคะแนนเฉลี่ยในระดับไม่ต่ำกว่า 2.5 ซึ่งต้องถือว่าเป็นระดับปานกลางขึ้นไปเป็นอย่างน้อย ในข้อนี้อาจเป็นปัญหาว่าจะเปรียบเทียบอย่างไร บางแห่งมีระบบประเมินผลอย่างปล่อยเกรด บางแห่งจริงจังกว่า
เรียนในโปรแกรมนานาชาติ เรียนเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ และผ่านระบบการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษมาอย่างเพียงพอ มั่นใจได้ว่าพร้อมที่จะไปศึกษาต่อ
มีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน สามารถทำงาน สื่อสาร และเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ต้องไปเสียเวลาเรียนในต่างประเทศ และมีโอกาสในการหางานที่ต้องใช้ความสามารถทำในต่างประเทศได้ด้วย
การมีระบบเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้ดีทั้งทางด้านวิชาการ ทักษะการสื่อสาร การทำงาน วิธีการศึกษาเล่าเรียนแบบตะวันตก เหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าปล่อยให้ไปศึกษาต่อ โดยไม่มีการเตรียมตัวให้พร้อม
การไปศึกษาต่อต่างประเทศ ให้เป็นในแบบมีโอกาสใช้ชีวิต ทำงานหารายได้ช่วยตัวเองไปด้วย โดยให้มีสถาบันการศึกษาไทย ทำหน้าที่ร่วมหรือประสานงานไปกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ มีการติดตามผลการเรียน มีข้อมูลสะท้อนกลับมายังสถานศึกษาในไทยที่เป็นสถาบันร่วมดำเนินการ ให้มีการปรับตัวด้านการศึกษา ทั้งคุณภาพของผู้จบการศึกษาในโครงการนานาชาติ และการเรียนการสอนโดยรวม
การศึกษานั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในชั้นเรียน แต่รวมถึงการใช้ชีวิต การได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของเขาไปด้วย
การไปศึกษาต่อต่างประเทศไม่จำเป็นต้องไปใช้เงินเสมอไป ผู้เรียนมีโอกาสหารายได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาไปได้
เครือข่ายนักธุรกิจไทยในต่างประเทศ นับว่าน่าจะได้ดึงเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการการศึกษานานาชาติ ดังเช่น เครือข่ายร้านอาหารไทยในต่างแดน เฉพาะที่เมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา มีร้านอาหารไทยอยู่แล้ว 380 แห่งที่ต้องการคนทำงานที่มีความรู้ด้านการประกอบอาหาร การให้บริการอาหารไทยอย่างเหมาะสม ค่าแรงงานไม่สูงนัก แต่หางานทำได้ไม่ยาก
ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จัดทำเป็นโครงการที่เรียกว่า Work Study Program คือให้ได้เรียน และทำงานหาประสบการณ์ไปด้วย เป็นการเรียนรู้คู่กับการทำงาน ดังนี้หากทำได้จะเป็นประโยชน์
หากผมเป็นรัฐบาลส่วนกลาง เช่นกระทรวงศึกษาธิการ จะไม่เข้าไปดำเนินการเอง แต่จะเป็นฝ่ายสนับสนุน การมีระเบียบที่รองรับ แต่ไม่ไปสร้างอุปสรรคในการทำงาน ต้องใช้หลักว่า “จงถือหางเสือ แต่อย่าลงพายเรือเอง” ทั้งนี้โดยเน้นการจัดสรรงบประมาณในแบบที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่แต่ละท้องถิ่น จังหวัดนับว่าทำได้ และควรทำอย่างเหมาะสม
การบริหารโครงการปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาตินั้น มหาวิทยาลัยหลักในส่วนกลางได้เริ่มขึ้นมานานแล้ว มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งได้มีการดำเนินการเพิ่มขึ้นและได้ใช้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่สถาบันการศึกษาเหล่านี้มักจะมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หรืออาจมีขยายเปิดขึ้นในเมืองใหญ่ของส่วนภูมิภาค
แต่ที่ผมเสนอนี้คืออยากเห็นโปรแกรมนานาชาติเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีวิทยาเขตทั่วประเทศอยู่ถึง 41 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งก็มีอยู่หลายแห่งเหล่านี้ ซึ่งยังไม่ค่อยได้มีการดำเนินการกัน แต่มีศักยภาพที่จะทำได้ในหลายๆแห่ง และการเปิดดำเนินการควรเป็นแบบโครงการขนาดไม่ใหญ่นัก รับนักศึกษาสักรุ่นละไม่เกิน 100 คน การทำโครงการขนาดไม่ใหญ่นี้ สามารถทำได้สะดวกกว่า และไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่ม ไม่ต้องไปจัดทำสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น ส่วนคณาจารย์ผู้สอน นอกจากจะอาศัยบุคลากรจากสถาบันความร่วมมือแล้ว ก็สามารถจัดหาบุคลากรชาวต่างประเทศที่มีถิ่นพำนักในท้องที่นั้นได้ไม่ยาก หรือจะมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรไทยที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ มาเป็นครูอาจารย์ได้ไม่ยาก
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยท้องถิ่นอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้นมีสายวิชาการศึกษา การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับชุมชนเอง ก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น จากการประสานงานไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีแนวโน้มที่จะเปิดสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรสองภาษา หรือ Bilingual Program เพิ่มขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในทัศนะของผม ในแต่ละช่วงปี มีประชากรประมาณ 800,000 คน หากมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่จัดสอนในโปรแกรมนานาชาติ (International Program) หรือเป็นแบบโปรแกรมสองภาษา (Bilingual Program) สักร้อยละ 10 และก็ให้มีการกระจายบริการไปได้ทั่วทั้งภูมิภาค ก็จะเป็นการไปเพิ่มคุณภาพมาตรฐาน และเปิดทางเลือกใหม่ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้อีกมาก
การทำสัญญาในลักษณะพหุภาคี (Multi Lateral Agreement) หรือสัญญาที่ครอบคลุมหลายฝ่ายนั้น ในบางกรณีมีประโยชน์ ทำเพื่อเปิดทางความร่วมมือในระดับฝ่ายปฏิบัติ หรือสถาบันการศึกษาเขาจะไปดำเนินการกันเอง การตกลงบางอย่างเป็นประโยชน์ในระดับปฏิบัติต่อไป เช่น
การดำเนินการจะให้ได้ผลในทางปฏิบัติ ท้ายสุด อาจจะต้องเริ่มแบบให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยจับมือเป็นคู่ๆกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานกันอย่างจริงจัง และทำแล้วทำให้เกิดผล
โครงการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาอย่างที่ผมได้กล่าวแล้ว คือโครงการที่เน้นให้สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ความร่วมมือนี้ให้ใช้แบบ “สัญญาสองฝ่าย” (Bilateral Agreement) และให้เน้นการดำเนินการกันอย่างจริงจัง เท่าที่ผมได้มีประสบการณ์มานั้น บางที่มีสัญญา หรือบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) กันมากมาย บางแห่งมีถึง 50 ฉบับ แต่ที่จะดำเนินการอย่างจริงจังให้เกิดประโยชน์นั้นมีไม่ถึงร้อยละ 20 และที่มีดำเนินการกันนั้นก็ยังมีบางส่วนที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามในความร่วมมือกันแบบทวิภาคีนั้น ทำให้ไม่ต้องไปคำนึงถึงเงื่อนไข หรือกรอบที่ใหญ่เกินไป ไม่ต้องไปกังวลกับว่าปัญหาจะไปติดขัดด้วยกรอบนั้นหรือกรอบนี้ หากมีปัญหาในแต่ละฝ่าย ก็ให้ได้ช่วยกันแก้ปัญหารับผิดชอบกันไปตามกรอบความร่วมมือ
ปัญหาในการริเริ่มโครงการศึกษาแบบนานาชาตินี้เท่าที่ติดตามดู คือมักจะเป็นปัญหาจากการต่อไปนี้
1. การขาดแม่งาน หรือคนที่ได้รับมอบหมายเป็นหลัก ที่จะต้องรับผิดชอบจากต้นจนจบ ทำหน้าที่ประสานงาน ใช้ทรัพยากร การเจรจาต่อรอง การวางแผนอย่างมีขั้นตอน การทำงานอย่างจริงจังอย่างมืออาชีพ และอย่างใส่ใจ
2. การขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร หลายสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยยังมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษานานาชาติ หรือการมีความร่วมมือกับต่างประเทศ หลายแห่งยังจัดการศึกษากันไปอย่างตามมีตามเกิด ตราบที่ยังมีคนมาเรียน ก็ถือว่าดีพอแล้ว หากคนเรียนลดลงมากๆ ค่อยมาคิดแก้ปัญหากัน
3. การขาดการสนับสนุนจากชุมชน ชุมชนเองยังไม่มีโครงสร้างที่เข้มแข็งพอ ยังไม่เห็นประโยชน์จากการลงทุนพัฒนาการศึกษาในชุมชนเอง ไม่ว่าจะในระดับตำบล หรือจังหวัด แต่ถ้ามองในลักษณะตรงกันข้าม ชุมชนใดยิ่งขาดแคลน ยิ่งห่างไกล ก็จะต้องยิ่งลงทุนพัฒนาการศึกษา เพื่อดึงดูดคนและทรัพยากรจากที่ต่างๆ มาสู่ท้องที่ของตนเอง มิฉะนั้นปัญหาสมองไหลออก อย่างที่เรียกว่า Brain Drain ของท้องที่ คือมีคนดี แต่ท้ายสุดก็ไปอยู่ในที่อื่นๆ ท้องถิ่นและผู้นำที่ก้าวหน้าจะต้องคิดอย่างสวนกระแส เรื่องนี้ต้องดูตัวอย่างการแข่งขันของรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่อดีตจัดเป็นรัฐด้อยพัฒนากว่าภูมิภาคอื่นๆของประเทศ แต่ผู้นำของเขาพยายามดึงดูดการลงทุนจากส่วนอื่นๆ ของต่างรัฐและต่างประเทศ ในปัจจุบัน เขตตอนใต้ของสหรัฐจึงไม่ใช่ถิ่นด้อยพัฒนาอีกต่อไป
4. การแสวงหา Partnership Institutions ในต่างประเทศที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยในภูมิภาคของไทยจำเป็นต้องมีวิธีการสรรหาความร่วมมือ และการคัดเลือกสถาบันที่จะมาเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา (Partnership) การจะเลือกสถาบันบางแห่งที่มีคุณภาพมาเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินการ แต่เขาอาจไม่ใส่ใจที่จะร่วมมือ หรือร่วมมือแต่ไปมองประโยชน์ทางการค้าเป็นหลักมากเกินไป บางแห่งเขาอยากร่วมมือ แต่เขาไม่มีในสิ่งที่เราต้องการ ไม่มีความจริงใจที่จะทำงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์ ไม่หวังที่จะมีสัมพันธ์ที่ยาวนาน
การศึกษาของไทยแม้จะเป็นระดับสูงอย่างบัณฑิตศึกษา ปริญญาโทและเอกก็ยังไม่ให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศ และมักจะอ้างประสบการณ์อย่างประเทศญี่ปุ่น ที่เห็นเขาพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ แต่เขาก็พัฒนาประเทศได้ บางฝ่ายเสนอทฤษฎีการแปลงานจากต่างประเทศให้เป็นไทย หาคนแปลงานเก่งๆ บางคน พัฒนาตำราให้ดี เพื่อคนจำนวนมากๆนับเป็นแสนเป็นล้าน ที่ไม่ต้องรู้ภาษาต่างประเทศได้เรียน ทั้งนี้เรายังไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาของการเรียนในแบบจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) แต่เราไม่ได้ตระหนักว่าในระหว่างที่พยายามแปลงานนั้นใช้เวลาศึกษาเพื่อเลือกงานที่จะแปล ใช้เวลาที่จะแปล ตรวจทาน และกว่าที่จะจัดพิมพ์งานนำเสนอนั้น ความรู้ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว บางรายการกว่าจะนำเสนองานแปลหรืองานวิจัย สิ่งนำเสนอนั้นก็ล้าสมัย ด้วยเหตุดังกล่าวแม้ในประเทศญี่ปุ่นหรือ European Unions เองเขาก็ต้องปรับระบบของเขา และต้องเพิ่มขีดความสามารถด้านภาษาและต้องส่งเสริมการศึกษาภาษาที่สองกันอย่างจริงจัง และนั่นก็คือภาษาอังกฤษที่มีการใช้ในแวดวงวิชาการ วิทยาศาสตร์ และธุรกิจกันมากที่สุด
ในโลกยุคใหม่ การต้องรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประชาชาติของโลกเป็นความสำคัญที่จะทำให้คนในยุคใหม่ได้สื่อสาร และเข้าใจวัฒนธรรมแบบข้ามชาติมากยิ่งขึ้น และในการสื่อสารนี้ไม่ได้ความถึงการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกันในระดับประเทศ แต่รวมถึงในระดับชุมชน และระดับประชาชนต่อประชาชนโดยตรงด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง เราจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษาของไทย ต้องเข้าใจว่าการที่เราจะมีขีดความสามารถในการสื่อสารกับต่างประเทศ การที่เรามีความเข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ ไม่ได้หมายความว่าความรักชาติและท้องถิ่นของตนจะลดลง ตรงกันข้าม คนที่ได้ไปศึกษาหาความรู้ในบ้านอื่นเมืองอื่นนั้นแหละ ท้ายสุดเขาจะเข้าใจความเป็นไทย และเห็นอย่างเปรียบเทียบได้ว่า คุณค่าของความเป็นไทยเป็นอย่างไร
---------------------------------
- หากจบปริญญาตรีทีมีคุณภาพในประเทศ แล้วเรียนต่อระดับปริญญาโทในต่างประเทศ ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี
- การเรียนระดับปริญญาโทในประเทศแล้วไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในต่างประเทศ จะใช้เวลาเรียนประมาณ 3-4 ปี
- การส่งคนไปศึกษาต่อ ต้องเป็นการศึกษาในระดับสูงก็ใช่ หรือจะว่าเป็นงานธรรมดาทั่วไป คนธรรมดาทั่วไปก็มีสิทธิส่งลูกหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศได้ก็ไม่ผิดนัก
- ในการมองในภาครัฐ การไปศึกษาต่อต่างประเทศที่จะส่งเสริมคือพวกไปเรียนในระดับปริญญาโทขึ้นไป ซึ่งจะเรียกว่าระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate Education) หรือปริญญาขั้นสูง และเนื่องจากในระยะหลังนั้นได้มีการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทยค่อนข้างมากอยู่แล้ว แต่กระนั้นก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องส่งนักศึกษาที่ได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษ เพื่อไปศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ตามทันวิทยาการก้าวหน้าในหลายสายวิชา ที่ประเทศไทยยังตามไม่ทันโลกตะวันตกหรือประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว
- การไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (Undergraduate Education) ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนกันกว้างขวางทั่วไป และมีจำนวนมากขึ้นที่จะเปิดสอนเป็นโปรแกรมนานาชาติ โดยส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการสื่อสารการเรียนการสอน แต่กระนั้นก็ตามยังมีพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง ที่ส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศตั้งแต่ระดับปริญญาตรี บางส่วนให้เหตุผลว่า ให้บุตรหลานได้ไปรับรู้ในสภาพแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศก้าวหน้าด้วย ไม่ใช่เพียงไปเรียนหนังสือในชั้นเรียน บางส่วนต้องการให้บุตรหลานไปฝึกการใช้ชีวิตแบบพึ่งตนเอง ต้องรับผิดชอบ เรียนหนังสือ ทำงานหารายได้พิเศษ บางส่วนต้องการให้ไปได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ยิ่งส่งไปเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะทำให้ได้พูดและเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอย่างไม่ติดสำเนียงแบบไทยเลย
พ่อแม่ผู้ปกครองบางส่วนจึงส่งบุตรหลานไปศึกษาในลักษณะเพียงช่วงภาคฤดูร้อน หรือช่วงสั้นๆ 1-3 เดือน เพื่อเป็นการไปชิมลาง ไปให้ได้รับรู้ในบรรยากาศของประเทศที่เจริญแล้ว และเหมือนกับให้ได้รับรางวัลไปเที่ยวเมืองนอกกลายๆ แต่เป็นสภาพที่ต้องมีผู้ดูแลอยู่ในต่างประเทศรองรับ จะปลอดภัยกว่าที่ไปอยู่แบบปล่อยตามยถากรรม
ศึกษาต่อที่ไหน
การไปศึกษาต่อในประเทศใดก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม คุณภาพความเชี่ยวชาญ ความเป็นเลิศในสายวิชานั้นๆ ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงคุณภาพชีวิต และด้านค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนี้ต้องคิดไตร่ตรองให้ดีสถานศึกษาและถิ่นที่จะไปศึกษาต่อนั้นเป็นสถาบันการศึกษาประเภทใด อยู่ในชุมชนลักษณะใด และอยู่ในประเทศใด ก็เป็นตัวแปรว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงมากน้อยเพียงใด
การไปศึกษาต่อในประเทศทางอเมริกาเหนือ อเมริกา หรือแคนาดา ยกตัวอย่าง หากการไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะตกปีละประมาณ 1.0-1.5 ล้านบาท หากเลือกไปศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก็จะมีค่าเล่าเรียนสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ หากเลือกไปเรียนในสถานศึกษาระดับที่เขาเรียกว่าวิทยาลัยชุมชน (Community Colleges)ก็จะมีค่าใช้จ่ายด้านค่าเล่าเรียนต่ำกว่า และไม่เคร่งเครียดกับการเรียนมากนัก บางส่วนมีญาติอยู่ต่างประเทศ ที่ต้องใช้แรงงานคน เช่นร้านอาหาร ร้านขายของเช่น Department Store หรือร้านขายของชำ ต้องการแรงงานไปช่วย ดังนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก และพอมีเวลาในการทำงานหาประสบการณ์ และลดค่าใช้จ่ายเงินตราที่จะต้องส่งไปจากประเทศไทยไปด้วย
การไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ก็จะมีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกันกับสหรัฐอเมริกา คือประมาณ 800,000 – 1,200,000 บาทต่อปี ถือว่าเป็นปกติ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ประเทศอังกฤษอยู่ในทวีปยุโรป จะได้มีโอกาสศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ได้ท่องเที่ยวเห็นความแตกต่างด้านภาษา ผู้คน และสถานที่น่าสนใจต่างๆที่หลากหลายกว่าอเมริกาเหนืออย่างสหรัฐหรือแคนาดา แต่การศึกษาต่อในหลายๆประเทศในยุโรปที่มีปัญหาคนว่างงานมากนั้น การจะหางานทำในระหว่างเรียนก็พอจะมีโอกาสเหมือนกัน แต่ไม่ง่ายนัก จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม
การไปศึกษาต่อในประเทศอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน หรือในเอเชียอย่างญี่ปุ่น หรือเกาหลี ก็จะมีปัญหาเรื่องภาษา เพราะเป็นอันมากเขาจะให้เรียนในภาษาประจำชาติเขา ดังนั้นหากต้องส่งคนไปศึกษาต่อในประเทศเหล่านี้ ก็จะต้องคำนึงถึงแหล่งงานเมื่อจบการศึกษากลับมา และจะต้องชัดเจนว่าจบกลับมาแล้ว จะให้ทำอะไร
การไปศึกษาต่อในประเทศใกล้บ้านกว่า อย่างเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และภาษาในการเรียนการสอน ค่าเงินเหรียญจะต่ำกว่าอเมริกาเหนือ ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพก็จะต่ำกว่าอีกประมาณร้อยละ 20-30 แต่โอกาสการทำงานก็จะมีน้อยกว่า และมีรายได้ที่ต่ำกว่าเช่นกัน
ศึกษาต่อใน Chindia
Chindia มาจากคำว่า China + India
มีผู้กล่าวว่าโลกกำลังหมุนกลับตะวันออก ประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางวัฒนธรรม อย่างประเทศจีน มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และมีภาษาจีนที่มีคนใช้อยู่ทั่วโลก อีกส่วนหนึ่งคือประเทศอินเดีย มีประชาการกว่า 1,000 ล้านคน และอาจคิดรวมไปถึงปากีสถานและบังคลาเทศ ก็จะไม่เล็กไปกว่าประเทศจีน
ประเทศจีนนี้อาจให้หมายรวมถึง ฮ่องกง และไต้หวัน และประเทศอินเดีย อาจให้หมายรวมถึงชมพูทวีป คือปากีสถาน บังคลาเทศ หรือศรีลังกา ที่เขาเรียกว่า เอเชียใต้
การไปศึกษาต่อในประเทศจีนนั้นมีคนไทยเป็นอันมากที่ยังมีสัมพันธ์ทางครอบครัว วงศ์ตระกูลที่ยังผูกพันกันอยู่ โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน ในปัจจุบันประเทศจีนได้มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้เปิดให้มีหลักสูตรนานาชาติ รับนักศึกษาต่างชาติไปเรียน และมีเรียนทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าเล่าเรียนก็ยังไม่สูงนัก เทียบได้เท่ากับเรียนโปรแกรมนานาชาติในประเทศไทย
ประเทศอินเดีย มีระบบการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอังกฤษ มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารอย่างแพร่หลายในกลุ่มพ่อค้า ข้าราชการ และคนมีการศึกษาทั่วไป นอกจากนี้คือมีสถาบันการศึกษาที่เปิดรับคนต่างชาติ มีคุณภาพการศึกษาที่ดี และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่มีประสบการณ์ในประเทศอินเดียมาแล้วได้ให้คำแนะนำว่า ให้เตรียมตัวและทำความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของสังคมเขาได้ด้วย เช่น เขามีวิธีการกินอยู่อย่างเรียบง่ายและประหยัด แต่หากจะต้องการอยู่อาศัยอย่างหรูหรา นอนห้องปรับอากาศ ใช้รถยนต์ ดังนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ดังนั้น คนที่ไปศึกษาต่อนั้นจะต้องฝึกหัดใช้ชีวิตอย่างชาวอินเดีย นักศึกษาอินเดียโดยทั่วไป
ศึกษาต่อประเทศเพื่อนบ้าน
มีหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในกลุ่มที่เรียกว่า ASEAN ที่มีจุดดีบางประการที่น่าสนใจ เช่น ค่าเล่าเรียนไม่แพง ค่าใช้จ่ายกินอยู่ไม่แพง ใกล้เคียงกับประเทศไทย และยังอยู่ใกล้บ้าน ทำให้การเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองไปเยี่ยม ก็พอจะเป็นไปได้ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านใดบ้างที่น่าสนใจนั้นจะนำเสนอดังต่อไปนี้ประเทศสิงค์โปร มาเลเซีย สองประเทศนี้ไม่เหมือนกันเสียเลยทีเดียว การไปศึกษาต่อในประเทศสิงคโปร์นั้น หากไม่ได้เป็นนักเรียนทุน ค่าใช้จ่ายในสิงคโปร์จะสูง เพราะมาตรฐานการครองชีพของเขาสูง คือรายได้ต่อคนต่อปีที่เรียกว่า GDP ของเขานั้นเท่ากับประมาณ USD 30,000 หรือประมาณ 3-4 เท่าของคนไทย ค่าครองชีพที่เป็นแบบเมืองใหญ่ ก็จะสูงเช่นเดียวกับฮ่องกง ญี่ปุ่น แต่สำหรับประเทศมาเลเซียมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ เช่น ค่าครองชีพไม่สูง มีอาหารการกินใกล้กับไทย แม้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแบบอิสลาม แต่ก็มีคนจีนอยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้ดูคล้ายกับเมืองไทยเหมือนกัน เขามีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศที่เปิดสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ มีความร่วมมือกับต่างประเทศแล้ว สภาพแวดล้อมของบ้านเมืองที่มีการพัฒนารุดหน้าไปกว่าไทยเรา ตลอดจนหากนักศึกษาอยากไปเที่ยวดูงานในสิงคโปร์ ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก เพราะใกล้กันมาก
ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซียมีโปรแกรมการศึกษาบางส่วนที่น่าสนใจ เช่น ด้านชีววิทยา สิ่งแวดล้อม ศิลปการแสดง ส่วนภาษาอังกฤษนั้น ชาวอินโดนีเซียไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเหมือนชาวสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์ แต่มีข้อดีที่สำคัญประการหนึ่งคือที่อินโดนีเซียมีค่าครองชีพที่ไม่สูง หากมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่อกันกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นของไทย หรือการไปศึกษาดูงานระยะสั้นๆ ก็จะทั้งอำนายความสะดวก และทำให้จัดการศึกษามีคุณภาพได้ในค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก
ประเทศฟิลิปปินส์ มีการจัดการศึกษาที่ในอดีตได้ดึงดูดคนไทยไปศึกษาเล่าเรียนมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว แต่ในระยะหลังพิษการเมืองในยุคมาร์คอส (Ferdinand Marcos) ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดลง ความเป็นอยู่ก็อัตคัดขาดแคลน และทำให้การไปศึกษาต่อในประเทศดังกล่าวไม่น่าสนใจเหมือนก่อน ประกอบกับในประเทศไทยเองในช่วง 40-50 ปีหลัง ได้มีการตื่นตัวขยายโอกาสทางการอุดมศึกษากันอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การส่งคนไปศึกษาต่อในประเทศฟิลิปปินส์ลดลงไป แต่อย่างไรก็ตามประเทศฟิลิปปินส์จัดได้ว่ามีการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง หากมีความร่วมมือแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่อกัน ก็จะทำให้มีความน่าสนใจในการส่งคนไปศึกษาต่อในประเทศดังกล่าว
เตรียมความพร้อมให้ดี
ในการไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น หากเป็นการให้ทุนการศึกษา ประเภทจบมัธยมศึกษา แล้วศึกษาในระดับปริญญาตรีในประเทศก่อนในหลักสูตรนานาชาติสัก 2 ปีขึ้นไป แล้วค่อยไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ดังนี้จะลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก และเป็นการให้เวลาผู้เรียนได้มีความพร้อมไปก่อนด้วยนอกจากนี้คือเมื่อต้องการส่งเสริมด้วยการมีทุนการศึกษาให้ จะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ต้องมีเกณฑ์ความพร้อมทางวิชาการที่ชัดเจน ใครก็ตามที่จะได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น ควรมีคุณสมบัติและความพร้อมต่อไปนี้ เช่น
ผู้เรียนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่จบการศึกษาระดับชั้นปีที่สองในมหาวิทยาลัย หรือเทียบเท่ากับได้รับอนุปริญญาไปแล้ว พร้อมที่จะศึกษาต่อได้เอง
มีคะแนนเฉลี่ยในระดับไม่ต่ำกว่า 2.5 ซึ่งต้องถือว่าเป็นระดับปานกลางขึ้นไปเป็นอย่างน้อย ในข้อนี้อาจเป็นปัญหาว่าจะเปรียบเทียบอย่างไร บางแห่งมีระบบประเมินผลอย่างปล่อยเกรด บางแห่งจริงจังกว่า
เรียนในโปรแกรมนานาชาติ เรียนเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ และผ่านระบบการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษมาอย่างเพียงพอ มั่นใจได้ว่าพร้อมที่จะไปศึกษาต่อ
มีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน สามารถทำงาน สื่อสาร และเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ต้องไปเสียเวลาเรียนในต่างประเทศ และมีโอกาสในการหางานที่ต้องใช้ความสามารถทำในต่างประเทศได้ด้วย
การมีระบบเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้ดีทั้งทางด้านวิชาการ ทักษะการสื่อสาร การทำงาน วิธีการศึกษาเล่าเรียนแบบตะวันตก เหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าปล่อยให้ไปศึกษาต่อ โดยไม่มีการเตรียมตัวให้พร้อม
จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
การไปศึกษาต่อต่างประเทศต้องใช้เวลาให้เหมาะสม เพียงพอ แต่อย่าใช้เวลาไปศึกษายาวนาน ส่วนการจะประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของรัฐบาล ชุมชน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นทำได้ดังนี้การไปศึกษาต่อต่างประเทศ ให้เป็นในแบบมีโอกาสใช้ชีวิต ทำงานหารายได้ช่วยตัวเองไปด้วย โดยให้มีสถาบันการศึกษาไทย ทำหน้าที่ร่วมหรือประสานงานไปกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ มีการติดตามผลการเรียน มีข้อมูลสะท้อนกลับมายังสถานศึกษาในไทยที่เป็นสถาบันร่วมดำเนินการ ให้มีการปรับตัวด้านการศึกษา ทั้งคุณภาพของผู้จบการศึกษาในโครงการนานาชาติ และการเรียนการสอนโดยรวม
การศึกษานั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในชั้นเรียน แต่รวมถึงการใช้ชีวิต การได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของเขาไปด้วย
การไปศึกษาต่อต่างประเทศไม่จำเป็นต้องไปใช้เงินเสมอไป ผู้เรียนมีโอกาสหารายได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาไปได้
เครือข่ายนักธุรกิจไทยในต่างประเทศ นับว่าน่าจะได้ดึงเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการการศึกษานานาชาติ ดังเช่น เครือข่ายร้านอาหารไทยในต่างแดน เฉพาะที่เมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา มีร้านอาหารไทยอยู่แล้ว 380 แห่งที่ต้องการคนทำงานที่มีความรู้ด้านการประกอบอาหาร การให้บริการอาหารไทยอย่างเหมาะสม ค่าแรงงานไม่สูงนัก แต่หางานทำได้ไม่ยาก
ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จัดทำเป็นโครงการที่เรียกว่า Work Study Program คือให้ได้เรียน และทำงานหาประสบการณ์ไปด้วย เป็นการเรียนรู้คู่กับการทำงาน ดังนี้หากทำได้จะเป็นประโยชน์
ใครบริหารโครงการ
สังคมไทยมีแนวโน้มที่จะต้องกระจายความเจริญ กระจายอำนาจหากผมเป็นรัฐบาลส่วนกลาง เช่นกระทรวงศึกษาธิการ จะไม่เข้าไปดำเนินการเอง แต่จะเป็นฝ่ายสนับสนุน การมีระเบียบที่รองรับ แต่ไม่ไปสร้างอุปสรรคในการทำงาน ต้องใช้หลักว่า “จงถือหางเสือ แต่อย่าลงพายเรือเอง” ทั้งนี้โดยเน้นการจัดสรรงบประมาณในแบบที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่แต่ละท้องถิ่น จังหวัดนับว่าทำได้ และควรทำอย่างเหมาะสม
การบริหารโครงการปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาตินั้น มหาวิทยาลัยหลักในส่วนกลางได้เริ่มขึ้นมานานแล้ว มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งได้มีการดำเนินการเพิ่มขึ้นและได้ใช้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่สถาบันการศึกษาเหล่านี้มักจะมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หรืออาจมีขยายเปิดขึ้นในเมืองใหญ่ของส่วนภูมิภาค
แต่ที่ผมเสนอนี้คืออยากเห็นโปรแกรมนานาชาติเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีวิทยาเขตทั่วประเทศอยู่ถึง 41 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งก็มีอยู่หลายแห่งเหล่านี้ ซึ่งยังไม่ค่อยได้มีการดำเนินการกัน แต่มีศักยภาพที่จะทำได้ในหลายๆแห่ง และการเปิดดำเนินการควรเป็นแบบโครงการขนาดไม่ใหญ่นัก รับนักศึกษาสักรุ่นละไม่เกิน 100 คน การทำโครงการขนาดไม่ใหญ่นี้ สามารถทำได้สะดวกกว่า และไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่ม ไม่ต้องไปจัดทำสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น ส่วนคณาจารย์ผู้สอน นอกจากจะอาศัยบุคลากรจากสถาบันความร่วมมือแล้ว ก็สามารถจัดหาบุคลากรชาวต่างประเทศที่มีถิ่นพำนักในท้องที่นั้นได้ไม่ยาก หรือจะมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรไทยที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ มาเป็นครูอาจารย์ได้ไม่ยาก
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยท้องถิ่นอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้นมีสายวิชาการศึกษา การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาให้กับชุมชนเอง ก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น จากการประสานงานไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีแนวโน้มที่จะเปิดสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรสองภาษา หรือ Bilingual Program เพิ่มขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในทัศนะของผม ในแต่ละช่วงปี มีประชากรประมาณ 800,000 คน หากมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่จัดสอนในโปรแกรมนานาชาติ (International Program) หรือเป็นแบบโปรแกรมสองภาษา (Bilingual Program) สักร้อยละ 10 และก็ให้มีการกระจายบริการไปได้ทั่วทั้งภูมิภาค ก็จะเป็นการไปเพิ่มคุณภาพมาตรฐาน และเปิดทางเลือกใหม่ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้อีกมาก
การดำเนินการแบบพหุพาคี
การจะดำเนินการต้องมีสัญญา และแผนงานรองรับการทำสัญญาในลักษณะพหุภาคี (Multi Lateral Agreement) หรือสัญญาที่ครอบคลุมหลายฝ่ายนั้น ในบางกรณีมีประโยชน์ ทำเพื่อเปิดทางความร่วมมือในระดับฝ่ายปฏิบัติ หรือสถาบันการศึกษาเขาจะไปดำเนินการกันเอง การตกลงบางอย่างเป็นประโยชน์ในระดับปฏิบัติต่อไป เช่น
- การให้มีสัญญาการให้นักศึกษาสามารถทำงาน ฝึกงานในประเทศที่มีคู่สัญญาต่อกัน
- การพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของภูมิภาคร่วมกัน หรือภายในประเทศ หรือภาคของประเทศร่วมกันจะเป็นประโยชน์
- การวางมาตรฐานและกำหนดเกณฑ์คุณภาพการศึกษาขั้นต่ำ การให้มีมาตรฐานระบบทดสอบความสามารถด้านการศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ พื้นฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เหล่านี้ควรมีการศึกษา พัฒนาระบบเพื่อให้เกิดความยอมรับร่วมกัน
- การโอนย้ายหน่วยกิตข้ามกัน (Credit Transfer) สมมุติว่าสักวันหนึ่ง เมื่อมีความร่วมมือกับต่างประเทศจนทำให้มาตรฐานการศึกษาในโปรแกรมนานาชาติในประเทศไทยดีพอแล้ว การส่งต่อผู้เรียนเมื่อจบชั้นปีที่สอง แล้วโอนย้ายข้ามไปเรียนในมหาวิทยาลัยภายในประเทศด้วยกันได้ ก็จะเป็นการเปิดช่องทางให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
- การใช้บุคลากร และทรัพยากรมนุษย์ที่ขาดแคลนหายากร่วมกัน (Faculty and Staff Exchange) การมีคณาจารย์แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
- การมีโปรแกรมตั๋วสายการบินในลักษณะพิเศษ เหมือนในยุโรปมีตั๋วรถไฟที่เรียกว่า Eurailpass ตีตั๋วท่องเที่ยวทั่วยุโรปสำหรับผู้มีบัตรนักศึกษาในรอบ 30 วันในราคาพิเศษ
การดำเนินการแบบทวิภาคี
ความตกลงแบบทวิภาคี (Bilateral Agreement) หมายถึงความตกลงร่วมมือกันแบบมีสองฝ่ายการดำเนินการจะให้ได้ผลในทางปฏิบัติ ท้ายสุด อาจจะต้องเริ่มแบบให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยจับมือเป็นคู่ๆกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานกันอย่างจริงจัง และทำแล้วทำให้เกิดผล
โครงการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาอย่างที่ผมได้กล่าวแล้ว คือโครงการที่เน้นให้สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ความร่วมมือนี้ให้ใช้แบบ “สัญญาสองฝ่าย” (Bilateral Agreement) และให้เน้นการดำเนินการกันอย่างจริงจัง เท่าที่ผมได้มีประสบการณ์มานั้น บางที่มีสัญญา หรือบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) กันมากมาย บางแห่งมีถึง 50 ฉบับ แต่ที่จะดำเนินการอย่างจริงจังให้เกิดประโยชน์นั้นมีไม่ถึงร้อยละ 20 และที่มีดำเนินการกันนั้นก็ยังมีบางส่วนที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามในความร่วมมือกันแบบทวิภาคีนั้น ทำให้ไม่ต้องไปคำนึงถึงเงื่อนไข หรือกรอบที่ใหญ่เกินไป ไม่ต้องไปกังวลกับว่าปัญหาจะไปติดขัดด้วยกรอบนั้นหรือกรอบนี้ หากมีปัญหาในแต่ละฝ่าย ก็ให้ได้ช่วยกันแก้ปัญหารับผิดชอบกันไปตามกรอบความร่วมมือ
ปัญหาในการดำเนินการ
ปัญหาในการริเริ่มโครงการศึกษาแบบนานาชาตินี้เท่าที่ติดตามดู คือมักจะเป็นปัญหาจากการต่อไปนี้
1. การขาดแม่งาน หรือคนที่ได้รับมอบหมายเป็นหลัก ที่จะต้องรับผิดชอบจากต้นจนจบ ทำหน้าที่ประสานงาน ใช้ทรัพยากร การเจรจาต่อรอง การวางแผนอย่างมีขั้นตอน การทำงานอย่างจริงจังอย่างมืออาชีพ และอย่างใส่ใจ
2. การขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร หลายสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยยังมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษานานาชาติ หรือการมีความร่วมมือกับต่างประเทศ หลายแห่งยังจัดการศึกษากันไปอย่างตามมีตามเกิด ตราบที่ยังมีคนมาเรียน ก็ถือว่าดีพอแล้ว หากคนเรียนลดลงมากๆ ค่อยมาคิดแก้ปัญหากัน
3. การขาดการสนับสนุนจากชุมชน ชุมชนเองยังไม่มีโครงสร้างที่เข้มแข็งพอ ยังไม่เห็นประโยชน์จากการลงทุนพัฒนาการศึกษาในชุมชนเอง ไม่ว่าจะในระดับตำบล หรือจังหวัด แต่ถ้ามองในลักษณะตรงกันข้าม ชุมชนใดยิ่งขาดแคลน ยิ่งห่างไกล ก็จะต้องยิ่งลงทุนพัฒนาการศึกษา เพื่อดึงดูดคนและทรัพยากรจากที่ต่างๆ มาสู่ท้องที่ของตนเอง มิฉะนั้นปัญหาสมองไหลออก อย่างที่เรียกว่า Brain Drain ของท้องที่ คือมีคนดี แต่ท้ายสุดก็ไปอยู่ในที่อื่นๆ ท้องถิ่นและผู้นำที่ก้าวหน้าจะต้องคิดอย่างสวนกระแส เรื่องนี้ต้องดูตัวอย่างการแข่งขันของรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่อดีตจัดเป็นรัฐด้อยพัฒนากว่าภูมิภาคอื่นๆของประเทศ แต่ผู้นำของเขาพยายามดึงดูดการลงทุนจากส่วนอื่นๆ ของต่างรัฐและต่างประเทศ ในปัจจุบัน เขตตอนใต้ของสหรัฐจึงไม่ใช่ถิ่นด้อยพัฒนาอีกต่อไป
4. การแสวงหา Partnership Institutions ในต่างประเทศที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยในภูมิภาคของไทยจำเป็นต้องมีวิธีการสรรหาความร่วมมือ และการคัดเลือกสถาบันที่จะมาเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา (Partnership) การจะเลือกสถาบันบางแห่งที่มีคุณภาพมาเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินการ แต่เขาอาจไม่ใส่ใจที่จะร่วมมือ หรือร่วมมือแต่ไปมองประโยชน์ทางการค้าเป็นหลักมากเกินไป บางแห่งเขาอยากร่วมมือ แต่เขาไม่มีในสิ่งที่เราต้องการ ไม่มีความจริงใจที่จะทำงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์ ไม่หวังที่จะมีสัมพันธ์ที่ยาวนาน
สรุป
อาจเป็นข้อดีที่ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นตะวันตก เราจึงยังมีความรู้สึกที่ดี มีความเป็นมิตรกับต่างประเทศอย่างไม่มีแผลในใจ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราขาดโอกาสและทักษะในการติดต่อค้าขาย และการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกตะวันตก ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ที่อยู่ใกล้บ้านเรา เขาสามารถติดต่อค้าขายกับตะวันตกได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ทั้งโดยใช้เครือข่ายประเทศในเครือจักรภพ และกับประเทศอื่นๆ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นเราได้เสียเปรียบในเรื่องดังกล่าวการศึกษาของไทยแม้จะเป็นระดับสูงอย่างบัณฑิตศึกษา ปริญญาโทและเอกก็ยังไม่ให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศ และมักจะอ้างประสบการณ์อย่างประเทศญี่ปุ่น ที่เห็นเขาพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ แต่เขาก็พัฒนาประเทศได้ บางฝ่ายเสนอทฤษฎีการแปลงานจากต่างประเทศให้เป็นไทย หาคนแปลงานเก่งๆ บางคน พัฒนาตำราให้ดี เพื่อคนจำนวนมากๆนับเป็นแสนเป็นล้าน ที่ไม่ต้องรู้ภาษาต่างประเทศได้เรียน ทั้งนี้เรายังไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาของการเรียนในแบบจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) แต่เราไม่ได้ตระหนักว่าในระหว่างที่พยายามแปลงานนั้นใช้เวลาศึกษาเพื่อเลือกงานที่จะแปล ใช้เวลาที่จะแปล ตรวจทาน และกว่าที่จะจัดพิมพ์งานนำเสนอนั้น ความรู้ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว บางรายการกว่าจะนำเสนองานแปลหรืองานวิจัย สิ่งนำเสนอนั้นก็ล้าสมัย ด้วยเหตุดังกล่าวแม้ในประเทศญี่ปุ่นหรือ European Unions เองเขาก็ต้องปรับระบบของเขา และต้องเพิ่มขีดความสามารถด้านภาษาและต้องส่งเสริมการศึกษาภาษาที่สองกันอย่างจริงจัง และนั่นก็คือภาษาอังกฤษที่มีการใช้ในแวดวงวิชาการ วิทยาศาสตร์ และธุรกิจกันมากที่สุด
ในโลกยุคใหม่ การต้องรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประชาชาติของโลกเป็นความสำคัญที่จะทำให้คนในยุคใหม่ได้สื่อสาร และเข้าใจวัฒนธรรมแบบข้ามชาติมากยิ่งขึ้น และในการสื่อสารนี้ไม่ได้ความถึงการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกันในระดับประเทศ แต่รวมถึงในระดับชุมชน และระดับประชาชนต่อประชาชนโดยตรงด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง เราจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษาของไทย ต้องเข้าใจว่าการที่เราจะมีขีดความสามารถในการสื่อสารกับต่างประเทศ การที่เรามีความเข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ ไม่ได้หมายความว่าความรักชาติและท้องถิ่นของตนจะลดลง ตรงกันข้าม คนที่ได้ไปศึกษาหาความรู้ในบ้านอื่นเมืองอื่นนั้นแหละ ท้ายสุดเขาจะเข้าใจความเป็นไทย และเห็นอย่างเปรียบเทียบได้ว่า คุณค่าของความเป็นไทยเป็นอย่างไร
---------------------------------
No comments:
Post a Comment