Saturday, April 4, 2009

ทำไมประเทศไทยจึงยังไม่มีรถไฟความเร็วสูง

ทำไมประเทศไทยจึงยังไม่มีรถไฟความเร็วสูง

ประกอบ คุปรัตน์ ศึกษาและเรียบเรียง
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Updated: DATE: Saturday, April 05, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia

ภาพ รถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน ในปี ค.ศ. 2012 ประเทศจีนจะมีทางรถไฟความเร็วสูงทัี่่วประเทศ 8,000 ไมล์


คำถามว่า “ทำไม่ประเทศไทยจึงยังไม่มีระบบรถไฟความเร็วสูง หรือที่เขาเรียกว่า Highs-peed Train, หรือ High-speed rail หรือระบบรางรองรับรถไฟความเร็วสูง เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา และแสวงหาโอกาสกันอย่างจริงจัง เพราะเราต้องการเดินทางด้วยความรวดเร็ว และขณะเดียวกันก็ต้องลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมอย่างการใช้รถยนต์นั่งส่วนตัว


ลองดูตัวอย่างจากประเทศสาธารณประชาชนจีน ซึ่งมีประชากร 1300 ล้านคน หากจะหวังการเดินทางด้วยความรวดเร็วไปที่การเดินทางโดยเครื่องบินก็จะไม่เพียงพอ หรือจะใช้ระบบการขนส่งโดยรถไฟแบบช้าเดิมก็จะไม่ทันใจทันธุรกิจใหม่ของเขาที่เรียกร้องในเรื่องเวลาอย่างมาก ดังนั้นเขาจึงต้องอาศัยระบบขนส่งโดยรางคือรถไฟ และมีแผนเพิ่มความเร็วของการโดยสารทางรถไฟบนเส้นทาง 6003 กิโลเมตร โดยให้มีความเร็วอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 200 กิโลเมตร และผู้ดูแลระบบการขนส่งโดยรางที่ชื่อ China Railway High-Speed ที่เรียกย่อๆว่า CRH


ในระดับชาติ เขามีรถไฟ 140 ขบวนที่ใช้ความเร็วได้มากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะเพิ่มความเร็วเป็น 257 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายในปี ค.ศ. 2007 รัฐบาลของเขาประกาศว่าจะมีรางใหม่อีก 18 สาย รวมความยาวกว่า 850 กิโลเมตร ใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตร และมีเส้นทาง 8000 กิโลเมตรที่เป็นเครือข่ายในปัจจุบัน จะให้ใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นได้เป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยความเร็วเฉลี่ยของการเดินทางบนรางทั่วประเทศ 22,000 กิโลเมตร เพิ่มความเร็วได้เป็นร้อยละ 29 และความเร็วเฉลี่ยเป็น 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในจำนวนนี้รางรถไฟความเร็วสูงส่วนหนึ่งก็ยังมีให้ใช้ร่วมกับรถไฟขนส่งสินค้าที่วิ่งช้ากว่า แต่ให้มีระยะเวลาในการใช้นำหน้าไปห่างกันอย่างน้อย 5 นาที


ประเทศไทยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนภาคพื้นทวีป และมีพื้นที่ราบมากเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในข้อนี้มีความเหมาะการใช้รถไฟความเร็วสูง


ประเทศไทยมีประชากรกว่า 64 ล้านคน ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส หรือเยอรมันในยุโรป ความหนาแน่นของประชากรนั้นมากพอที่จะทำให้ใช้ประโยชน์จากระบบการขนส่งดังกล่าว ทำให้มีความถี่ในการใช้ หากประชาชนมีความสามารถที่จะจ่ายค่าโดยสาร ซึ่งก็จะสูงกว่าค่ารถไฟช้าอย่างที่เราใช้กันอยู่บ้าง แต่น่าจะถูกกว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน และใช้พลังงานน้อยกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้แต่รถโดยสาร


แต่อะไรที่เป็นสาเหตุที่อาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนาและใช้สอยระบบรางรถไฟความเร็วสูง


1. เรายังไม่ได้มีคนทำการศึกษาอย่างจริงจัง หากจะให้หน่วยงานที่เขาคุ้นกับการสร้างทางรถยนต์อย่างกรมทางหลวง เขาก็จะคุ้นกับการพัฒนาทางหลวง หากจะให้ฝ่ายที่เขาจัดการด้านการบินเชิงพาณิชย์ เขาก็จะนึกไม่ออกว่าจะระบบที่ท้ายสุดต้องมาแข่งขันกับกิจการของเขาได้อย่างไร หรือจะปล่อยให้ระบบรถไฟความเร็วสูงต้องไปอาศัยกลไกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบรถไฟช้า และมีกลไกข้อจำกัดด้านการบริหารที่ต้องแข่งขันนั้น คงจะทำได้อยาก ดังนั้นคงต้องมองหาหน่วยงานที่จะสามารถศึกษาระบบใหม่ได้ โดยไม่ต้องไปติดยึดกับระบบเดิม ในระยะแรกควรให้มีการศึกษาในเชิงความคิดความเป็นไปได้ก่อน เพื่อหาทางกำหนดเป็นนโยบาย ก่อนที่จะมีการพัฒนาแผนงานที่ลึกและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะมีการตัดสินใจดำเนินการในทางธุรกิจต่อไป


2. การอยู่อาศัยแบบไทย ต่างคนต่างอยู่อาศัยกระจัดกระจาย เราอยู่อาศัยในประเทศไทยโดยไม่เห็นว่าเขาอยู่กันอย่างไรในประเทศอื่นๆ ลองไปดูเมืองที่เขามีการใช้รถไฟความเร็วสูง จะพบว่าเขามีการต้องเดินทางระหว่างเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และมากจนกระทั่งหากใช้เครื่องบิน เครื่องก็คงจะแน่นน่านฟ้า แต่ประเทศไทยมีเมืองที่มีประชากรขนาดเกิน 500,000 คนและอยู่ห่างกันในระดับไม่เกิน 500 กิโลเมตรไม่มากนัก


3. การยังไม่พัฒนาระบบขนส่งในระดับแยกย่อยลงมา รถไฟความเร็วสูงจะเป็นรถที่ต้องวิ่งด้วยความเร็วสูงติดต่อกันนานเพียงพอ ระยะสถานีห่างกันเพียงพอ ไมได้จอดบ่อยๆนอกจากนี้คือประชากรของเรามีมาก แต่มีการอยู่อาศัยแบบกระจัดกระจาย และติดยึดกับระบบขนส่งในแบบเดิม คือใช้รถยนต์ รถโดยสารขนาดเล็กอย่างที่เราเรียกว่ารถสองแถว


4. การยังไม่ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการ ดังในกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบบบริหารดังกล่าวไม่ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนา แม้นักบริหารฝีมือดีเพียงใดเข้าไปรับผิดชอบ ก็คงจะทำอะไรไม่ได้มากนัก ระบบบริหารดังกล่าวนี้ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเพียงใด แต่หากไม่มีระบบบริหารที่แข่งขัน และตื่นตัวตลอดเวลา ระบบก็จะไม่สามารถแข่งขันอยู่ได้ นอกจากนี้คือเรื่องของการต้องมีระบบสนับสนุนจากภาครัฐ กิจการรถโดยสารนั้น เหมือนรัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุน แต่ความจริงแล้วในประเทศไทย การเดินทางส่วนใหญ่ไมได้เสียค่าใช้ทางตามระยะทาง แต่สำหรับรถไฟนั้น เขาต้องดูแลเรื่องรางและเส้นทางเอง หากต้องการให้ระบบรถไฟความเร็วสูงได้เกิดขึ้น ต้องคิดสูตรและวิธีการสนับสนุนด้านระบบราง เหมือนกับระบบรถไฟฟ้าราง (Rapid Transit) อย่างที่มีใช้ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ทั่วโลก

5. การต้องพัฒนาระบบรางใหม่ ระบบรถไฟความเร็วสูงต้องอาศัยระบบทางพิเศษ ระบบรางรถไฟทั่วประเทศของเราที่ได้พัฒนาและใช้กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้นใช้รางขนาดกว้าง 1.00 เมตร แต่รถไฟความเร็วสูงนั้นเขาใช้ขนาด 1.50 เมตร เส้นทางต้องเป็นเส้นทางเฉพาะที่ปลอดจากการต้องไปขวางทางรถยนต์ นอกจากนี้คือการบริหารที่จะทำให้รถไฟสามารถร่วมใช้รางกันได้มาก ย่อมทำให้ต้นทุนค้าใช้จ่ายลดลง เพราะอุตส่าพัฒนาระบบรางใหม่ แล้วใช้สอยกันไม่มาก ก็จะทำให้ไม่เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการ

No comments:

Post a Comment