Saturday, April 4, 2009

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ คืออะไร

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ คืออะไร

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

รวบรวมและเรียบเรียง

บทนำ

ในแวดวงการศึกษา นักบริหาร ครูอาจารย์มักไม่ได้ให้ความสนใจต่อมิติด้านเศรษฐกิจมากนัก แต่ในยุคต่อไป เราจำเป็นต้องเข้าใจสภาพพื้นฐานทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ของประเทศ หากเราจะไม่ได้ศึกษาพื้นฐานมา อย่างน้อยก็ต้องพอพูดคุยหรืออ่านทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆได้ เมื่อเขาพูดกันเรื่องเศรษฐกิจ เราก็ต้องสามารถอธิบายให้ชาวบ้านที่อาจเป็นผู้สนับสนุนทางการศึกษา ได้เข้าใจได้พอสมควร


จากความสัมพันธ์ระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างการทำหน้าที่ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ในฐานะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผลิต และฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ จะเห็นว่ากิจกรรมที่เชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจทั้งสองเข้าด้วยกัน คือ ภาคครัวเรือน (Domestic) ให้ใช้ปัจจัยแรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ ได้รายได้เป็น ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร เมื่อรวมรายได้ทุกประเภทของเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่มีส่วนร่วมในการผลิต เรียกว่า " รายได้ประชาชาติ " ซึ่งจะนำไปใช้จ่ายเพื่อซื้อผลผลิตที่อยู่ในรูปของสินค้า และบริการต่าง ๆ จากภาคธุรกิจ


คำอธิบายจากข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กระทรวงการคลัง ได้อธิบายไว้ดังนี้


" รายได้ประชาชาติ " (Gross National Production) จะเท่ากับ " ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ " และจะต้องเท่ากับ " มูลค่าของผลผลิต " อีกด้วย เช่น คนในครอบครัวไปซื้อของที่ตลาดเสียเงินไปหนึ่งร้อยบาท ก็จะต้องได้สินค้าที่มีมูลค่าหนึ่งร้อยบาทกลับมาใช่ไหม แล้วขอถามต่อว่า แล้วคนในครอบครัว เอาเงินมาจากไหน คำตอบก็คือ ได้มาจากการขายปัจจัยการผลิตในภาคธุรกิจ ซึ่งมีผลตอบแทนมาหนึ่งร้อยบาทเท่ากับปัจจัยการผลิตของเรา ที่ให้เขาเอาไปใช้นั่นเอง ดังนั้น จะคิดมูลค่าของ " รายได้ " หรือ "

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (National Product) หมายถึง มูลค่าทั้งหมดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services) ที่ผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจและทำการซื้อขายกันในตลาดในรอบหนึ่งปี คำว่า " ขั้นสุดท้าย " คือ สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ถูกนำไปบริโภคเป็นขั้นสุดท้าย โดยไม่นำเอาไปทำหรือเป็นส่วนประกอบของสินค้าและบริการอะไรต่อไปอีก เช่น ลำใย พอชาวสวนนำออกจากไร่ ก็ต้องนำออกมาจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง และลำใยก็ต้องเดินทางมายังตลาดผลไม้ เพื่อให้เราได้รับการบริโภค โดยการซื้อมารับประทานนั่นคือการบริโภคขั้นสุดท้าย แต่อีกทางหนึ่งก็คือ ไปซื้อมาเพื่อทำการผลิตส่งโรงงานเพื่อทำการแปรรูป เราจะไม่นับว่าเป็นมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เพราะถือว่า ยังไม่ใช่การบริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งการใช้ลำใยลงไปในกระป๋อง เราจะถือว่าลำใยเป็นสินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) คือ ยังไม่ไปถึงขั้นของการบริโภค อย่างไรก็ตาม สินค้าและบริการต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ประชาชาติ จะนับเฉพาะสินค้าและบริการที่นำไปบริโภคในขั้นสุดท้ายเท่านั้น


สำหรับคำว่า " รอบระยะเวลาหนึ่งปี " หมายความถึง 1 ปี ในรอบระยะเวลาปฏิทิน นั่นก็คือ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม นั่นเอง ดังนั้น เมื่อเขาพูดถึงข้อมูล ณ ปีอะไร ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ในแต่ละปีมีรายได้ประชาขาติที่อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะแต่ละปี ทุกประเทศจะมีรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นร้อยละ 1.0 ไปจนถึงระดับร้อยละ 11-12 ต่อปี


ความสัมพันธ์ของการดำเนินในการผลิต การบริโภค ระหว่างภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ คือ รายได้ ต้องเท่ากับ ค่าใช้จ่าย และเท่ากับ มูลค่าผลผลิต เพราะสามารถนำไปวัดเป็นผลิตภัณฑ์ประชาชาติได้ ซึ่งการคำนวณมูลค่าผลิตภัณฑ์มาจาก 3 ทาง คือ

1. คำนวณจากด้านผลิตภัณฑ์ (Product Approach)
2. คำนวณจากด้านรายได้ (Income Approach)
3. คำนวณจากด้านค่าใช้จ่าย (Expenditure Approach)

GDP ย่อมาจากคำว่า Gross Domestic Product ภาษาไทยแปลว่า " ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น " หรือ " ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ " หมายถึง มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบปีหนึ่ง โดยไม่ต้องสนใจว่าเจ้าของปัจจัยการผลิตจะเป็นคนไทยหรือไม่ ถ้ามาทำธุรกิจในอาณาเขตประเทศไทยแล้วจะต้องเหมารวมเป็น GDP ของไทยทั้งหมด

GNP ย่อมาจากคำว่า Gross National Product ภาษาไทยแปลว่า " ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น " หรือ " ผลิตภัณฑ์ประชาชาติมวลรวม " หมายถึง มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะผลิตที่ใดในโลก เช่น GNP ของไทย คือ มูลค่าเบื้องต้นของสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตของไทย (ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ทุกอย่างต้องเป็นของไทย) โดยจะเป็นการผลิตภายในอาณาเขตของประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม

ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อประเทศในโลกที่มีการจัดเรียงตามผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น หรือ Gross Domestic Production (GDP) โดยคิดตามความสามารถที่จะซื้อหา หรือ Purchasing Power Parity (PPP) ที่คิดเป็นรายเฉลี่ยต่อหัว/คน โดยคิดจากมูลค่าสินค้าและบริการท้ายสุดของชาติหนึ่งๆ แล้วหารด้วยจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆในปีที่มีการจัดทำ

ข้อมูลที่จัดรวบรวมมี กองทุนระหว่างประเทศ (

International Monetary Fund – IMF), มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนซิลเวเนีย (the University of Pennsylvania), และธนาคารโลก (the World Bank)
อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีการรวบรวมข้อมูล คือ สำนักงานสืบราชการลับแห่งสหรัฐอเมริกา (the
Central Intelligence Agency - CIA) ซึ่งแต่ละแห่งมีการอ้างอิงและใช้วิธีการที่อาจแตกต่างกัน ดังนั้นในการเปรียบเทียบกันในระหว่างประเทศ พึงใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกันที่สามารถใช้อ้างอิงเปรียบเทียบกันได้

ตัวอย่าง

ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States) CIA จัดอันดับให้อยู่ที่ 7 ของโลก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียให้อันดับที่ 2, สำงานกองทุนระหว่างประเทศให้อันดับที่ 4, และธนาคารโลกให้อันดับที่ 2

ประเทศลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) ตามการจัดของ CIA มีรายได้ประชาชาติในอันดับ 1 มีรายได้ต่อหัวที่ USD 80,800 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียให้เป็นอันดับที่ 1 มีรายได้ต่อหัวที่ USD 54,285 หน่วยงาน IMF ใหัอันดับที่ 1 มีรายได้ USD 87,400 และธนาคารโลก ให้อันดับที่ 1 มีรายได้ที่ USD 69,253
ข้อสังเกตคือ การดำรงชีวิตของคนอเมริกันอาจไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศลักเซมเบิร์กมากนัก เพราะเหตุที่คุณภาพชีวิตแท้จริงเกิดจากการที่คนอเมริกันมีสินค้าเพื่อการบริโภคและบริการที่มีราคาต่ำกว่า แต่ลักเซมเบิร์กไม่ได้เป็นประเทศที่มีการผลิตหรือมีบริการที่แท้จริง เป็นประเทศขนาดเล็กที่เป็นทางผ่านของการค้าขายต่างๆ

ประเทศไทย (Thailand) CIA จัดให้อยู่ในลำดับที่ 83, มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ให้อันดับที่ 78, สำนักงานกองทุนระหว่างประเทศ ใหัอันดับที่ 72, ธนาคารโลก ให้อันดับที่ 53 โดยมีรายได้เฉล่ยต่อหัวที่ USD 8000, 7668, 9714, และ 9331

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) อันเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่าประเทศไทยด้วยมีรายได้ที่สูงกว่า กล่าวคือ ข้อมูลจาก CIA อันดับที่ 56 มีรายได้ต่อหัว USD 14,400 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย อันดับที่ 50 รายได้ที่ 13,318 หน่วยงาน IMF .อันดับที่ 61 มีรายได้ที่ USD 12,754 และธนาคารโลก อันดับที่ 47 มีรายได้ USD 11,674

Mayotte ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ คืออะไรข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กระทรวงการคลัง 3/4/2549
วิธีการวัดใหม่

วิธีการจัดคำนวณและดรรชนีทางเศรษฐกิจ ดัง GDP นั้น มีการพูดกันมากขึ้นว่าไม่สามารถสะท้อนความเป็นอยู่แท้จริงของประชาชนในประเทศนั้นๆ ได้น่าจะมีวิธีการวัดทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสมกว่านี้ หรือมีการวัดด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยรวมด้วย

GDH หรือ Gross Domestic Happiness เป็นความพยายามในแนวทางใหม่ที่หวังว่าจะเป็นการวัดการพัฒนาของประเทศต่างๆ ที่ไมได้ติดยึดกับวัตถุนิยม และมีการสะท้อนความเป็นจริงของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ คือตัวแปรด้านการใช้ค่าเงินเหรียญสหรัฐ (USD) เป็นตัวเปรียบเทียบกลาง ซึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นไป แต่ค่าเงินเหรียญสหรัฐที่เคยได้รับความยอมรับ แต่เมื่อเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจในสหรัฐ ค่าเงินเหรียญ USD มีการอ่อนตัวอย่างรุนแรง ค่าปิโตรเลียมมีการขึ้นราคาอย่างมากและรุนแรงอีกเช่นกัน ยิ่งทำให้ค่าเงินที่ใช้เพื่อการเปรียบเทียบ จะยิ่งไม่ใช่ดรรชนีย์เพื่อการวัดที่เที่ยงมากอืกต่อไป


ในยุคปัจจุบัน ปัญหาจากสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ยิ่งทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในแบบทุนนิยมจะมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อการไปทำลายล้างสิ่งแวดล้อม การเผาผลาญคาร์บอน และการปล่อยคาร์บอนได้ออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากยิ่งขึ้น
การพัฒนาในแบบที่ไม่ยั่งยืน แม้การวัดด้วยครรชนีย์ทางเศรษฐกิจดัง GDP หรือ GNP จะมีประโยชน์ และมีความเที่ยงในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่วิธีการวัดที่ครอบคลุมอย่างเพียงพอ จำเป็นต้องมีการมองกันในหลายๆด้านประกอบกันด้วย


อย่างไรก็ตาม วิธีการวัดด้วย GDP ก็ยังมีประโยชน์ หากผู้ใช้รู้จักใช้อย่างมีวิจารณญาณ

No comments:

Post a Comment